ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเคยปวดข้อและข้ออักเสบรุนแรง ทั้งที่ไม่เคยบาดเจ็บหรือเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดแบบนั้นได้ คงถึงเวลาที่คุณต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์แล้วล่ะ [1] Gout หรือโรคเก๊าท์เกิดได้เมื่อมีผลึกกรดยูริค (uric acid crystals) ไปเกาะรอบข้อมากเกินไปจนทำให้เจ็บปวดขึ้นมา [2] คนที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์จะปวดข้อโดยเริ่มที่นิ้วโป้งเท้าเป็นจุดแรก แต่จริงๆ ก็เจ็บขึ้นมาได้ทุกข้อนั่นแหละ [3] เวลาจะตรวจหาเก๊าท์ คุณหมอจะใช้วิธีเจาะดูดน้ำในข้อไปตรวจ (joint needle aspirate test) หรือใช้การตรวจเลือดหรือฉี่แทน [4]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พวกโรคประจำตัวต่างๆ อย่างเบาหวาน ความดัน (ถ้าไม่ได้รักษาอย่างต่อเนื่อง) รวมถึงโรคหัวใจหรือโรคไต ต่างก็ทำให้คุณเสี่ยงเป็นเก๊าท์ได้ทั้งนั้น [5]
    • นอกจากนี้ การรักษามะเร็งบางชนิดก็อาจทำให้คุณเป็นโรคเก๊าท์ได้ อย่างลูคีเมียกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง [6]
    • จุดสำคัญคือคุณต้องลงรายละเอียด อย่างอาการป่วยร้ายแรง การติดเชื้อ หรืออาการบาดเจ็บกระทบกระเทือนทั้งหลายที่คุณเคยประสบพบเจอมา โดยเฉพาะถ้าอาการนั้นเพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ [7]
  2. ต้องรู้ว่าในครอบครัวคุณเคยมีใครเป็นเก๊าท์หรือเปล่า. ถ้ามี คุณก็อาจมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมได้ ลองถามพ่อแม่ของคุณดู ว่ามีญาติคนไหนเป็นเก๊าท์หรือเปล่า [8]
  3. [9] ก็เหมือนกับเวลาตรวจโรคอื่นๆ คุณต้องบอกคุณหมอให้หมดว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง เพราะบางทียาที่คุณใช้ก็มีผลข้างเคียงโดยไม่รู้ตัว หรือทำให้เกิดโรคอื่นได้ บางทีก็ทำให้คุณเป็นโรคที่ต้องไปหาหมอนั่นแหละ ที่สำคัญคือจะทำให้คุณหมอรู้ด้วยว่ายาที่จะจ่ายให้ จะไปตีกันกับยาที่คุณเองใช้อยู่หรือเปล่า [10]
    • เช่น ยาขับปัสสาวะที่มีฤทธิ์แรง (loop diuretics) หรือยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide กับแอสไพรินปริมาณน้อยๆ ต่างก็ทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์ได้ทั้งคู่ [11]
  4. จดไว้ทุกครั้งที่คุณปวดข้อ เช่น 2 ครั้งต่อวัน หรือเฉพาะตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังต้องจดด้วยว่าปวดตรงไหน เช่น เข่า หรือนิ้วโป้งเท้า รวมถึงจดอาการอื่นๆ เช่น อาการบวมแดงและเคลื่อนไหวได้จำกัด หรือข้ออักเสบ [12]
  5. บันทึกอาหาร ก็คือรายชื่ออาหารทั้งหมดที่คุณกินในแต่ละวัน รวมถึงระบุปริมาณคร่าวๆ ด้วย เช่น ให้คุณจดว่าคุณกินส้มตำ 1 จานเป็นอาหารเย็น โดยมีเครื่องเคียงเป็นคอหมูย่าง 1/2 จาน กับข้าวเหนียว 1 ห่อ แล้วก็น้ำจิ้มแจ่ว 1 ถ้วยเล็กๆ [13]
  6. เช่น คุณอาจจะอยากรู้ว่าที่ปวดข้อเป็นเพราะอาการข้ออักเสบชนิดอื่นหรือเปล่า หรืออยากรู้ว่าสาเหตุมาจากยาที่ใช้อยู่ใช่ไหม เอาเป็นว่าอยากรู้อะไรก็จดไว้ จะได้ไม่ลืมถามคุณหมอเวลานัดตรวจ [15]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตรวจหาโรคเก๊าท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำตอบของคุณนี่ล่ะที่จะเป็นประโยชน์มากต่อการตรวจวินิจฉัยของคุณหมอ ใช้ข้อมูลอาการที่คุณจดเตรียมมาแล้วตอบคุณหมอได้เลย [16]
    • เช่น ถ้าคุณเริ่มปวดจากนิ้วโป้งเท้าก่อนแล้วค่อยลามไปที่อื่น เป็นไปได้มากว่าคุณจะเป็นเก๊าท์ เพราะฉะนั้นคุณหมออาจจะถามคุณว่าคุณปวดตรงไหนบ้าง [17]
  2. ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่นิยมมากที่สุด เวลาตรวจคุณหมอจะใช้เข็มดูดน้ำไขข้อจากข้อที่คุณปวด จากนั้นเอาไปส่องกล้องจุลทรรศน์หาผลึก sodium urate ที่เป็นสัญญาณบอกโรคเก๊าท์ [18]
  3. ตัวอย่างเลือดก็เป็นอีกอย่างที่นิยมเอาไปตรวจหาโรคเก๊าท์ โดยจะใช้วัดระดับกรดยูริคในเลือด แต่การตรวจวิธีนี้มีปัญหาตรงที่คุณอาจมีระดับกรดยูริคสูงโดยไม่ได้เป็นโรคเก๊าท์นี่สิ [19] แล้วก็เป็นไปได้ที่คุณจะเป็นเก๊าท์โดยที่ระดับกรดยูริคไม่สูงเหมือนกัน [20]
    • เพราะฉะนั้นบางทีคุณหมอก็จะยังไม่ตรวจเลือด จนกว่าจะผ่านไปประมาณ 1 เดือนหลังมีอาการน่าสงสัยว่าจะเป็นเก๊าท์ เพราะระดับกรดยูริคอาจจะยังไม่สูงขึ้นจนถึงตอนนั้น [21]
    • บางทีก็มีการตรวจฉี่เหมือนกัน หลักๆ คือคุณหมอจะขอให้คุณฉี่ใส่ถ้วยสะอาดๆ ตอนไปตรวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะเอาไปตรวจวัดระดับกรดยูริค [22]
  4. คุณหมอจะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อหาผลึกกรดยูริคตามข้อและผิวหนัง จะมีการตรวจอัลตราซาวด์ก็ต่อเมื่อคุณมีอาการปวดรุนแรงเป็นพักๆ ที่ข้อเดียวหรือหลายข้อกว่านั้น แต่ถ้าคุณกลัวเข็มละก็ ลองขอคุณหมอทำอัลตราซาวด์แทนการใช้เข็มเจาะดูดน้ำในข้อไปตรวจก็ได้ [23]
  5. ถ้าคุณคิดว่าที่ปวดข้อไม่ได้เป็นเพราะโรคเก๊าท์ ก็ลองบอกให้คุณหมอช่วยตรวจหาสาเหตุอื่นดู อาจมีการเอ็กซเรย์ดูว่าข้ออักเสบหรือเปล่า ถ้าใช่ก็จะกลายเป็นอีกโรคเลย [24]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาโรคเก๊าท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติคุณหมอก็จะจ่ายยาแก้ปวดให้อยู่แล้ว บางทีก็เป็นยาแก้ปวดทั่วไปที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและคุณอาจใช้อยู่แล้ว [25]
  2. ยาสเตียรอยด์กลุ่มนี้ช่วยบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่อยากใช้ยา NSAIDs โดยจะใช้วิธีฉีดยาที่ข้อ หรือกินเข้าไปก็ได้ถ้าปวดหลายข้อ [29]
  3. ถ้าคุณปวดบ่อยๆ คุณหมอจะจ่ายยาป้องกันโรคเก๊าท์ให้ โดยมี 2 ประเภท คือแบบป้องกันการก่อตัวของกรดยูริค กับแบบลดกรดยูริคได้มากกว่าที่ร่างกายทำได้ตามธรรมชาติ [30] ยาที่นิยมใช้คือ allopurinol, febuxostat แล้วก็ probenecid [31]
  4. พวกแอลกอฮอล์กับเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตสทำให้โรคเก๊าท์ยิ่งแย่ ให้คุณหันไปดื่มน้ำเปล่าแทน [32]
  5. เนื้อสัตว์บางชนิดจะทำให้ร่างกายคุณยิ่งสร้างกรดยูริค เพราะกรดยูริคมาจากการที่ร่างกายย่อยสารพิวรีน ซึ่งเนื้อสัตว์กับอาหารทะเลบางชนิดมีพิวรีนสูงนั่นเอง [33]
    • พยายามหลีกเลี่ยงเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อแกะเป็นพิเศษ ส่วนอาหารทะเลที่ควรระวังก็เช่น ปลาแอนโชวี่ ปลาเฮร์ริง แล้วก็กุ้งกับสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่มีเปลือก ส่วนเครื่องในอย่างตับ หัวใจ และไต ก็มีพิวรีนสูงเหมือนกัน [34]
  6. การออกกำลังกายช่วยให้น้ำหนักลดลง พอไม่อ้วนก็แข็งแรงสุขภาพดี ความอ้วนนี่แหละเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคเก๊าท์ พอน้ำหนักลดลง คุณก็เสี่ยงเป็นเก๊าท์น้อยลงด้วย [35]
    • เลือกการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก เพราะถ้าคุณเป็นเก๊าท์เดี๋ยวจะเจ็บได้ ว่ายน้ำหรือเดินออกกำลังกายนี่แหละน่าสน พยายามออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่ออาทิตย์ [36]
  7. ก้อน Tophi เกิดจากผลึกกรดยูริคสะสมจนเป็นก้อนใหญ่ โดยเกิดได้ตามจุดต่างๆ ของร่างกายจนเห็นเป็นก้อนนูนๆ ใต้ผิวหนัง พบมากที่สุดคือรอบๆ ข้อและกระดูก ถ้าคุณเป็นโรคเก๊าท์แล้วปล่อยไว้ไม่รักษา ระวังก้อน tophi จะใหญ่จนต้องผ่าตัด เพราะไม่งั้นข้อส่วนนั้นของคุณจะแทบขยับเขยื้อนไม่ได้เลย [37] อีกโรคแทรกซ้อนที่ควรระวังคือนิ่วในไต เพราะจะไปอุดตันท่อไตจนกลายเป็นไตโป่งพอง (hydronephrosis) ได้ [38]
    โฆษณา
  1. http://www.uhs.net/patients-visitors/patient-medication-safety/
  2. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  3. http://www.nhs.uk/Conditions/Gout/Pages/Diagnosis.aspx
  4. http://www.realsimple.com/health/nutrition-diet/healthy-eating/keep-food-journal
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/risk-factors/con-20019400
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/preparing-for-your-appointment/con-20019400
  7. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  8. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  9. http://www.nhs.uk/Conditions/Gout/Pages/Diagnosis.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/tests-diagnosis/con-20019400
  11. http://www.nhs.uk/Conditions/Gout/Pages/Diagnosis.aspx
  12. http://www.nhs.uk/Conditions/Gout/Pages/Diagnosis.aspx
  13. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  14. http://www.nhs.uk/Conditions/Gout/Pages/Diagnosis.aspx
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/tests-diagnosis/con-20019400
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/treatment/con-20019400
  17. http://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Gout
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/treatment/con-20019400
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/treatment/con-20019400
  20. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/treatment/con-20019400
  22. http://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Gout
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019400
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/gout-diet/art-20048524
  25. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gout/basics/lifestyle-home-remedies/con-20019400
  27. http://www.healthcentral.com/chronic-pain/exercise-515640-5.html
  28. http://umm.edu/health/medical/reports/articles/gout
  29. http://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Gout

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,120 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา