ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือชีวิตส่วนตัว การตัดสินใจโดยมีข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุข เมื่อคิดดูว่าในช่วงชีวิตหนึ่งคนเราต้องตัดสินใจกี่ครั้งก็อาจทำให้รู้สึกว่าการตัดสินใจเป็นเรื่องหนักหนา แต่การเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจจะทำให้ทุกอย่างดูจัดการได้ง่ายขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เข้าใจสิ่งที่คุณเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเข้าใจผลลัพธ์ที่คาดหวังของสถานการณ์จะช่วยให้คุณทำงานแบบย้อนกลับและทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการได้ [1]
    • จุดประสงค์ควรเป็นการคาดการณ์อนาคตโดยคำนึงถึงว่าคุณคาดหวังว่าจะบรรลุอะไร การพูดออกมาอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่คุณต้องการคือ อะไร คือขั้นตอนแรกที่สำคัญก่อนที่คุณจะพยายามไปถึงเป้าหมายให้ได้ การคำนึงถึงปัจจัยนี้ในใจจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการที่ดีที่สุดในการบรรลุจุดประสงค์เหล่านั้นได้
    • ลองคิดว่าเป้าหมายและจุดประสงค์ของคุณสอดคล้องกับแผนการที่ใหญ่กว่าอย่างไร เช่น ถ้าคุณกำลังคิดว่าจะออกจากงานปัจจุบันเพื่อโอกาสการทำงานใหม่ๆ ดีไหม ให้ถามตัวเองว่า เป้าหมายด้านอาชีพการงานในระยะยาวของคุณคืออะไร ลองคิดว่างานใหม่จะช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายระยะยาวอย่างไร หรือเป็นไปได้มั้ยว่างานใหม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการไปถึงเป้าหมายของคุณ นอกจากนี้คุณอาจจะพิจารณาด้านอื่นๆ ในชีวิตทั้งหมด เช่น ลองคิดดูว่าเป้าหมายด้านอาชีพส่งผลกับเป้าหมายส่วนตัวของคุณอย่างไร และเป้าหมายส่วนตัวส่งผลต่อเป้าหมายด้านอาชีพอย่างไร
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Chad Herst, CPCC

    โค้ชฝึกสติ
    แชด เฮิสต์เป็นโค้ชประจำ Herst Wellner ศูนย์ชีวจิตในซานฟรานซิสโกที่เน้นไปที่การฝึกการผสานของจิตใจ/ร่างกาย เขาทำงานด้านนี้มากว่า 25 ปี โดยมีประสบการณ์เป็นทั้งครูสอนโยคะ นักฝังเข็ม และผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร
    Chad Herst, CPCC
    โค้ชฝึกสติ

    คิดถึงค่านิยมส่วนตัวของคุณ Chad Herst โค้ชด้านอาชีพและการใช้ชีวิตกล่าวว่า "คุณต้องรู้ว่าคุณยืนหยัดในเรื่องอะไร พอคุณรู้แล้วว่าอะไรสำคัญกับคุณ คุณก็จะสามารถเลือกสิ่งเติมเต็มชีวิตที่สัมพันธ์กับค่านิยมของคุณได้"

    โฆษณา
  1. ประเมินแหล่งที่มาของหลักฐานและเข้าใจสิ่งที่คุณต้องแลกในแต่ละตัวเลือก การรู้แน่ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งดีและไม่ดีจะช่วยให้คุณตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลได้มากขึ้น [2]
    • การเขียนข้อดีข้อเสียออกมาและเปรียบเทียบกันเป็นข้อๆ จะช่วยให้คุณเปรียบเทียบสิ่งที่คุณต้องเสียไปได้
  2. ถ้าคุณมีเรื่องที่ต้องให้ตัดสินใจตามลำดับ คุณต้องคิดให้ดีว่าต้องตัดสินใจเรื่องไหนก่อน และการตัดสินใจบางอย่างอาจจะขึ้นอยู่กับผลของการตัดสินใจอีกเรื่องหนึ่งก็ได้ [3]
    • นอกจากการจัดระเบียบสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจตามกรอบของเวลาแล้ว คุณก็อาจจะต้องปรับการจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคุณให้มากที่สุดด้วย สถานการณ์แบบวันต่อวันอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่การตัดสินใจในบางเรื่องอาจทำให้คุณต้องประเมินค่านิยมและเป้าหมายของคุณใหม่ ให้เวลาและความสำคัญกับตัวเลือกที่คุณต้องคิดทบทวนและปรับตามการเปลี่ยนแปลง
  3. การเห็นสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดในรายการที่คุณสามารถจัดการได้จะทำให้คุณชั่งน้ำหนักของผลที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ และจัดลำดับความสำคัญได้ว่าต้องตัดสินใจเรื่องไหนก่อนได้ง่ายขึ้น
    • นอกจากข้อดีและข้อเสียของตัวเลือกนั้นๆ แล้ว ให้พิจารณาตัวแปรที่ยังไม่รู้ด้วย ทุกการตัดสินใจอาจจะมีผลที่ไม่ได้คาดคิดตามมา แต่การคาดการณ์ผลลัพธ์เหล่านั้นไว้ก่อนจะช่วยให้คุณประเมินได้ว่า ผลที่อาจเกิดขึ้นนั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องหรือไม่ [4]
    • บางครั้งคุณก็จำเป็นที่จะต้องตัดสินใจทั้งที่ยังไม่มีข้อมูลทั้งหมดที่คุณต้องการ จำไว้ว่าคุณจะต้องตัดสินใจจากข้อมูลที่ดีที่สุดที่คุณมีอยู่ในตอนนั้น และคุณก็ควรจะเผื่อช่องให้ตัวเองได้ปรับเปลี่ยนการตัดสินใจเมื่อมีข้อมูลมากขึ้นด้วย
    • จำไว้ว่าไม่มีแผนการไหนที่ไม่มีอุปสรรคที่คาดการณ์ไม่ถึง เพราะฉะนั้นให้สร้างแผนสำรองหรือเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ "แล้วถ้าหากว่า..." สำหรับแต่ละตัวเลือกด้วย
  4. พิจารณาว่าปัญหาที่ล้ำลึกอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน. ปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นบางอย่างมีผลต่อหลายแง่มุมของชีวิตโดยตรง ถ้าปัญหาที่ซ่อนอยู่ไม่สามารถแก้ไขให้เสร็จได้ทันท่วงที ก็อาจจะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีใหญ่หลวงที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดตามมา
    • เช่น ความกลัวและความไม่สบายใจอาจทำให้คุณตัดสินใจได้ไม่ดี คุณอาจจะหาเหตุผลเข้าข้างการตัดสินใจที่ทำให้คุณหนีความไม่สบายใจไปได้ง่ายๆ แม้ว่ามันจะไม่ใช่การตัดสินใจที่ดีที่สุดก็ตาม พยายามรู้เท่าทันตัวเองและรู้ว่าเมื่อไหร่ที่คุณโกหกตัวเองหรือกำลังเลี่ยงอะไรบางอย่างเวลาที่ตัดสินใจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ขอความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดถึงคนรู้จักไม่ว่าจะในชีวิตส่วนตัวหรือการทำงานที่เคยตัดสินใจเรื่องเดียวกันมาก่อนในอดีต พยายามหาคนที่คุณไว้ใจที่มีประสบการณ์และความรู้ในสิ่งที่คุณกำลังรับมือด้วยเป็นอย่างดี
    • การมีค่านิยมและความสนใจเหมือนกันคือปัจจัยสำคัญของการสร้างระบบสนับสนุน แน่นอนว่าคุณคงอยากได้คำแนะนำจากหลายๆ แง่มุม แต่คำแนะนำก็ควรจะมาจากคนที่ถ้าหากอยู่ในสถานการณ์เดียวกันเขาจะตัดสินใจจากค่านิยมและเป้าหมายเดียวกับที่คุณมีในใจ และถ้าจะให้ดีก็ควรจะถามถึงภูมิหลังของเขาด้วย
    • คุณต้องแน่ใจว่าตัวเองทำตามคำแนะนำของคนที่มีความรู้และมีประสบการณ์เท่านั้น บางคนกระตือรือร้นที่จะให้คำแนะนำแม้ว่าเขาจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นเลยก็ตาม
    • เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคือระบบสนับสนุนที่ดีสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก และคุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยการเข้าไปที่เว็บไซต์ของเขา : https://www.sme.go.th
  2. บอกคนที่คุณไว้ใจถึงการตัดสินใจที่อยู่ตรงหน้า และขอคำแนะนำในเรื่องนี้ การมีระบบสนับสนุนช่วยคุณได้ทั้งในด้านอารมณ์ ซึ่งก็คือการให้ความสบายใจ และด้านร่างกาย ก็คือช่วยลดระดับความเครียดและความดันโลหิตนั่นเอง
    • ขอคำแนะนำ ไม่ใช่คำยืนยัน คุณไม่ได้อยากให้คนอื่นมาบอกในสิ่งที่คุณอยากได้ยิน แต่คุณควรจะถามเพื่อให้ตัวเองตัดสินบนพื้นฐานของข้อมูลได้ [5]
    • ขอคำแนะนำจากคนกลุ่มต่างๆ ที่มีภูมิหลังที่หลากหลาย การมีชุดคำตอบจะช่วยให้คุณประเมินได้ว่า คนส่วนใหญ่มองการตัดสินใจนี้อย่างไร แค่ต้องแน่ใจว่าทุกคนที่คุณถามนึกถึงประโยชน์ของคุณเป็นที่ตั้ง [6]
    • อย่าลืมว่าสุดท้ายแล้วคนที่ตัดสินใจก็คือคุณคนเดียวเท่านั้น คุณอาจจะขอคำแนะนำจากคนอื่นว่าเขาจะทำอย่างไรกับสถานการณ์นี้ แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินใจเป็นของคุณ
  3. ด้วยวิธีนี้คุณจะได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าจะถามคำถามอย่างไรถึงจะดีที่สุด และพวกเขาเองก็จะได้คิดอย่างถี่ถ้วนเช่นเดียวกันว่าตอบอย่างไรถึงจะดีที่สุด นอกจากนี้คุณยังมีบันทึกการสนทนาเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย เผื่อคุณจำคำแนะนำที่เขาให้มาไม่ได้
  4. เล่ารายละเอียดของสิ่งที่คุณต้องตัดสินใจและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตัวเลือก และอย่าลืมขอบคุณระบบสนับสนุนที่เสียสละเวลามาช่วยเหลือคุณ [7]
  5. ความจำเป็นที่จะต้องขอคำแนะนำจากผู้อื่นไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร ที่จริงแล้วงานวิจัยระบุว่า คนเรามองว่าการขอคำแนะนำคือสัญญาณของความฉลาด [8]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำตามแผน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีกำหนดเวลาและแผนการที่วางแผนเป็นขั้นตอนจะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้นและรู้ว่าคุณได้พิจารณาสถานการณ์อย่างถี่ถ้วนแล้ว [9]
    • การกำหนดเวลาสำหรับขั้นตอนต่างๆ ให้ตัวเองก็อาจจะช่วยได้ เช่น กำหนดวันตัดสินใจไว้หนึ่งวัน จากนั้นกำหนดวันที่ต้องวางแผนการปฏิบัติให้เสร็จอีกหนึ่งวัน และกำหนดวันที่ต้องทำตามแผนที่วางไว้อีกหนึ่งวันไปเรื่อยๆ
  2. พอคุณพิจารณาปัญหาทุกแง่มุมและปรึกษาแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้แล้ว ให้ทำตามแผนที่เลือกไว้ให้ทันกำหนดที่คุณตั้งไว้ให้ตัวเอง
  3. ตรวจสอบว่าการตัดสินใจของคุณถูกต้องแค่ไหนเมื่อเทียบกับหลักการของคุณ ค่านิยมที่ชัดเจน ความตั้งมั่นในการรับมือกับความจริงอยู่เสมอ และการวางหลักการส่วนบุคคลที่เป็นประโยชน์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่กระบวนการการตัดสินใจในอนาคต [10]
    • ประเมินผลงานของตัวเอง ถามตัวเองว่าคุณได้เปิดใจและซื่อสัตย์กับคนอื่นในการตัดสินใจครั้งนี้หรือเปล่า คุณได้ตัดสินใจอย่างดีที่สุดและมีข้อมูลมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้แล้วหรือยัง การพิจารณาคำถามเหล่านี้ช่วยให้คุณประเมินสิ่งที่คุณเลือกได้อย่างซื่อสัตย์และสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในอนาคต
    • เตรียมใจไว้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับการตัดสินใจของคุณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณตัดสินใจผิด แต่อาจจะเป็นแค่สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความยากของสิ่งที่คุณเลือก อย่าลืมบอกปัจจัยและสถานการณ์ที่แวดล้อมปัญหาให้กับคนที่จะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของคุณฟังทั้งหมด [11]
    • บางคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของคุณแค่เพราะว่าเขากลัวการเปลี่ยนแปลง อย่าให้การตอบรับที่ไม่ดีจากคนไม่กี่คนมาทำให้คุณเชื่อว่าคุณตัดสินใจผิด แต่ให้ขอความคิดเห็นและถามว่า ทำไม การตัดสินใจนี้จึงได้รับผลตอบรับที่ไม่ดี
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ก้าวไปข้างหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าให้อดีตมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจสำหรับอนาคต. แค่เพราะว่าคุณเคยตัดสินใจได้ไม่ดีในสถานการณ์ก่อนหน้าก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่สามารถเริ่มตัดสินใจให้ดีขึ้นได้ในทันที และเช่นกันว่าเพียงเพราะบางสิ่งเคยได้ผลดีในอดีตก็ไม่ได้รับประกันว่ามันจะได้ผลดีในอนาคต มองแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นคนละสถานการณ์และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่า [12]
    • อย่าก่นด่าตัวเองถ้าคุณตัดสินใจได้ไม่ดี ไม่มีอะไรผิดอะไรถูก มีแต่ได้ผลกับไม่ได้ผล เวลาที่คุณเจอประสบการณ์แย่ๆ ให้มองว่ามันคือประสบการณ์การเรียนรู้
  2. การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณประเมินได้ว่าคุณตัดสินใจอย่างซื่อตรงและรอบด้านมากกว่าจะอยากได้รับคำยืนยันและการยกย่อง [13]
    • อย่าเก็บเอาคำปฏิเสธหรือคำวิจารณ์มาเป็นเรื่องส่วนตัว แทนที่จะมองหา "หลักฐาน" ว่าคุณตัดสินใจถูกหรือผิดกันแน่ หรือมองว่าคุณค่าของการตัดสินใจเป็นสิ่งที่ชี้วัดคุณค่าของคุณเอง ให้มองหาโอกาสที่จะได้เรียนรู้และเติบโตจากกระบวนการตัดสินใจจะดีกว่า [14]
  3. ในการตัดสินใจจากข้อมูลนั้น คุณจะค่อยๆ เรียนรู้ที่จะเชื่อสัญชาตญาณและสอนให้ตัวเองรู้จักการคิดอย่างทะลุปรุโปร่งได้ดีที่สุด พอเวลาผ่านไปคุณก็จะได้เรียนรู้ที่จะรู้สึกดีกับสิ่งที่ตัวเองเลือกเพราะคุณเริ่มมั่นใจในความสามารถในการตัดสินใจของตัวเองมากขึ้น [15]
    • อย่าให้ความกลัวมากำหนดการตัดสินใจของคุณ เพราะความกลัวเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของการพัฒนาและการไว้ใจสัญชาตญาณของตัวเอง [16]
    • จดจ่ออยู่กับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คุณต้องตัดสินใจแค่สถานการณ์เดียวและลองขบคิดเรื่องนั้น คิดให้ถี่ถ้วนและเปิดกว้างถึงผลกระทบ ความเป็นไปได้ และสถานการณ์ของปัญหา จากนั้นพิจารณาผลที่ตามมาที่น่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดของแต่ละสิ่งที่คุณเลือก [17]
    • เขียนไดอารี่หรือบันทึกเพื่อจดปฏิกิริยาจากสัญชาตญาณที่มีต่อปัญหาต่างๆ และผลที่เกิดขึ้นของแต่ละการตัดสินใจ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเห็นรูปแบบการตัดสินใจและเรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของคุณได้ดีขึ้น [18]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,021 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา