ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ชีวิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เมื่อรู้สึกเคว้งคว้าง หรือไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปดี การวางแผนชีวิตอาจช่วยเราได้ ข้อดีของการวางแผนชีวิตคือทำให้เรารู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ขณะที่พบกับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต ถ้าอยากรู้วิธีการวางแผนชีวิต ลองอ่านขั้นตอนแรกของบทความนี้ดู

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กำหนดลำดับความสำคัญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรามีบทบาทซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละวัน จึงทำให้เรากระทำสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกันทุกวัน บทบาทที่เป็นอยู่ตอนนี้อาจได้แก่ เป็นลูกสาว เป็นจิตรกร เป็นนักศึกษา เป็นแฟน เป็นคนชอบชีส เป็นต้น เขียนบทบาทของตนลงกระดาษ คิดว่าบทบาทไหนที่เราทำมาตลอดอย่างไม่ขาดตกบกพร่องมากที่สุด [1]
    • ตัวอย่างบทบาทอื่นๆ (แต่ไม่จำกัดอยู่แค่นั้น) เช่น หัวหน้าพ่อครัว คนรักสุนัข พี่ชาย ช่างภาพ หัวหน้า ผู้ให้คำปรึกษา นักเดินทาง หลานชาย นักคิด เป็นต้น
  2. บทบาทที่เราเป็นอยู่ตอนนี้อาจไม่ใช่บทบาทที่เราจะเป็นในอนาคต เช่น เป็นแม่ หรือเป็นจิตกร แต่ถึงอย่างไรบทบาทเหล่านี้ก็เป็นคำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต้องการให้ใครสักคนรู้ว่าเราเป็นใครในตอนที่มีชีวิตอยู่และจากโลกนี้ไปแล้ว คิดถึงบทบาทซึ่งเรามีอยู่ในปัจจุบัน มีบทบาทไหนที่ทำให้วิตกกังวลหรือมีผลกระทบต่อชีวิตไหม ถ้ามี บทบาทพวกนี้อาจเป็นบทบาทที่เราอยากตัดออกไปในอนาคต
    • คำแนะนำนี้เป็นตัวช่วย ลองคิดสิว่าเราอยากทำอะไรบ้าง อยากเดินทางไปต่างประเทศเพราะอยากไปทำความรู้จักและสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจเขียน “นักเดินทาง” เพิ่มเติมในรายการบทบาทซึ่งต้องการทำในอนาคต
  3. คิดถึงเหตุผลว่าทำไมถึงทำหรืออยากทำบทบาทเหล่านี้. เราต้องตัดสินใจว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิตตอนนี้เพื่อที่จะวางแผนชีวิตได้ คิดสิว่าบทบาทไหนที่เราอยากทำต่อไป หรือต้องการทำในอนาคต เรามีเหตุผลอะไรถึงต้องการทำบทบาทนั้น เราอาจอยากเป็นคุณพ่อในอนาคตเพราะอยากมีลูกกับคู่ชีวิตและมีครอบครัวที่สมบูรณ์
    • วิธีหนึ่งที่จะทำให้รู้เหตุผลซึ่งซ่อนอยู่ในความปรารถนาของตนคือ ให้นึกภาพงานศพของตนเอง (ถึงจะเป็นการนึกถึงอะไรที่อัปมงคลไปสักหน่อย แต่วิธีนี้ก็ช่วยได้จริงๆ!) ใครจะมาร่วมงานศพของเรา อยากให้ผู้คนพูดถึงเราหรือบอกคนอื่นว่าเราเป็นคนอย่างไร เราอาจอยากให้ผู้อื่นพูดถึงเราว่าเป็นแม่ที่ประเสริฐและเป็นผู้มีเมตตาต่อสัตว์ ตอนที่มีชีวิตอยู่เคยเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสัตว์มานับพันชีวิต
  4. พอเราคิดถึง เหตุผล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อยากเป็นหรืออยากทำอะไรในชีวิตแล้ว ให้เขียนเหตุผลเหล่านั้นลงไป การเขียนเป็นรายการจะช่วยทำให้เรายังคงทำทุกอย่างเป็นระบบระเบียบ เมื่อเกิดนึกแผนการออกขึ้นมา
    • ตัวอย่างสิ่งที่เราเขียนอาจเช่น ฉันอยากเป็นพี่สาวที่ดี เพราะฉันอยากดูแลและช่วยเหลือน้องชายของตนเองให้มีอนาคตที่สดใส ฉันอยากเป็นนักเขียน เพราะฉันจะได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตอันน่ายกย่องของคุณปู่คุณย่าให้ผู้อื่นรับรู้ได้ เป็นต้น
  5. นึกถึงความต้องการด้านร่างกายและความต้องการด้านจิตใจ. เราต้องการอะไรบ้างถึงจะสามารถเป็นบุคคลแบบที่เราอยากเป็นได้ ถ้าเราอยากเป็น “ผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์” ความต้องการทางร่างกายของเราอาจเป็นการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ถ้าเราอยากเป็น “เพื่อนที่ดี” ความต้องการทางจิตใจของเราอาจเป็นการได้อยู่กับคนที่เรารักก็ได้ [2]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตั้งเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดสิว่าอยากทำเป้าหมายอะไรบ้างให้สำเร็จในชีวิต. ใช้บทบาท ความสำคัญ และความต้องการมาช่วยกำหนดเป้าหมายที่เราอยากทำให้สำเร็จ ให้คิดเสียว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เราอยากทำก่อนตาย จงระลึกไว้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่เรา อยาก ทำให้สำเร็จจริงๆ ไม่ใช่เป้าหมายที่คนอื่นอยากให้เราทำได้สำเร็จ ลองจัดประเภทของเป้าหมายดู เราจะได้เห็นอะไรชัดเจนขึ้น ตัวอย่างการจัดประเภทของเป้าหมายได้แก่ [3]
    • การงาน/อาชีพ สังคม (เพื่อนและครอบครัว) การเงิน สุขภาพ การเดินทางท่องเที่ยว ความรู้/สติปัญญา และจิตวิญญาณ
    • ตัวอย่างเป้าหมาย (เรียงตามลำดับประเภท) เป็นสถาปนิกที่ชื่อเสียง แต่งงานและมีลูกสองคน มีรายได้พอที่จะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยได้สบาย รักษาน้ำหนักไว้ที่ประมาณ 54 กิโลกรัม ไปเยือนทุกทวีป จบปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไปสักการะมหาสถูปบุโรพุทโธ
  2. เขียนเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจงพร้อมกำหนดระยะเวลาที่จะทำแต่ละเป้าหมายให้สำเร็จ. พอกำหนดเป้าหมายที่เราอยากทำในชีวิตเอาไว้คร่าวๆ แล้ว เช่น การจบปริญญาโท เขียนเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและเขียนวันเดือนปีที่ต้องการทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ นี้คือตัวอย่างเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนกว่าตัวอย่างเป้าหมายในขั้นตอนก่อนหน้า [4]
    • ลดน้ำหนักลง 4.5 กิโลกรัมภายในเดือนมิถุนายนปี 2014
    • ได้รับสิทธิเข้าศึกษาต่อปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ภายในเดือนเมษายนปี 2015
    • เดินทางไปที่ประเทศอินโดนีเซียเพื่อไปสักการะมหาสถูปบุโรพุทโธในปี 2016
  3. นี้หมายถึงการประเมินจุดที่เราอยู่ตอนนี้ เราต้องทำอะไรบ้างจึงจะไปถึงเป้าหมายจากจุดที่เราอยู่ได้จริงๆ ขอใช้ตัวอย่างเป้าหมายจบปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์มาอธิบาย
    • ตั้งแต่นี้จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี 2015 เรามีภารกิจต้องทำดังนี้ อย่างแรกคือ สำรวจดูว่ามีหลักสูตรปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ไหนบ้าง เตรียมเอกสารที่จำเป็นต่อการสมัคร กรอกใบสมัครและส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการรับสมัคร เข้าสอบและสัมภาษณ์ รอผลสอบ จากนั้นก็ลงทะเบียนเรียน!
    • ลองคิดถึงผู้คนหรือแหล่งข้อมูลที่คุณสามารถนำมาช่วยทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ เช่น ถ้าคุณรู้จักคนในวงการที่คุณอยากได้ข้อมูล ลองติดต่อและขอความช่วยเหลือดู
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เขียนแผนการออกมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนขั้นตอนที่จะต้องทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย. จะทำแผนการให้ออกมาในรูปแบบไหนก็ได้ เขียนด้วยลายมือตนเอง พิมพ์ในโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด เขียนขั้นตอนลงในกระดาษแผ่นใหญ่ๆ เป็นต้น ไม่ว่าจะเลือกเขียนแผนการออกมาในรูปแบบใด ให้เขียนขั้นตอนที่เราจะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายแต่ละเป้าหมายลงไปตามลำดับ ในที่สุดเราก็เขียนแผนชีวิตเสร็จเสียที [5]
    • ลองตรวจทานรายละเอียดแต่ละขั้นตอน เช่น ชื่อหลักสูตรปริญญาโทที่เราต้องการไปสมัคร หรือถ้าเป้าหมายของเราคือการมีความสุข เขียนลงไปสิว่ามีอะไรที่จะทำให้เรามีความสุขมากที่สุดบ้าง
  2. ชีวิตเปลี่ยนแปลงเสมอและเราเองก็เช่นกัน เป้าหมายและสิ่งสำคัญที่เรามีตอนอายุ 15 อาจแตกต่างไปจากตอนอายุ 25 หรือ 45 ปี การหมั่นตรวจแผนชีวิตบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้นั้นสำคัญ เพราะเราจะได้มั่นใจว่าตนเองทำตามแผนการที่จะทำให้ตัวเรามีชีวิตที่มีความสุขและน่าพอใจจริงๆ
    • เมื่อเราตรวจดูแผนชีวิตของตนเอง เราจะรู้ว่าตนเองทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง ถือเป็นการติดตามความสำเร็จไปด้วยในตัว
  3. เมื่อพบว่าสิ่งที่สำคัญและเป้าหมายได้เปลี่ยนไป แสดงว่าถึงเวลาปรับแผนชีวิตใหม่แล้ว ลองคิดสิว่าอะไรที่แตกต่างไป อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญในตอนนี้ และเราจะบรรลุเป้าหมายใหม่ได้อย่างไร จงปรับแผนชีวิตเท่าที่จำเป็น
    • อย่าจำกัดจำนวนเป้าหมายของตนเอง แผนชีวิตนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพิ่มเป้าหมายเข้าไป ถ้าเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเราและตัดเป้าหมายบางอย่างทิ้งไป ถ้าเห็นว่าไม่สำคัญอีกแล้ว
    • ความล้มเหลวบางจุดในแผนการนั้นเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าแผนพังไปหมดเสียหน่อย ลองพิจารณาทางเลือกต่างๆ และลงมือทำเมื่อเกิดความล้มเหลวขึ้น วิธีการรับมือความล้มเหลวจะเป็นสิ่งที่แสดงความแตกต่างว่าคุณจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หมั่นตรวจและปรับแผนอยู่เสมอ ชีวิตของเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด แผนชีวิตก็ควรจะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
  • ถึงแม้อยากบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จตามกำหนดเวลา แต่ถ้าเห็นว่าไม่สามารถทำทันได้ ให้ปรับแผนชีวิตและทำตามแผนชีวิตนั้นต่อไป อย่าหักโหมตนเองมากเกินไปจนทำลายสุขภาพ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,181 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา