PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ข้อเท้าที่แข็งแรงจะนำไปสู่ความสมดุลของร่างกายและการออกกำลังกายที่ดีขึ้น รวมทั้งยังลดโอกาสเสี่ยงในการบาดเจ็บข้อเท้าด้วย บทความนี้จะบอกคุณเองว่ามีขั้นตอนใดๆ บ้างที่จะทำให้ข้อเท้าคุณแข็งแรงขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

หมุนข้อเท้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นั่งบนเก้าอี้ สอดเชือกที่ยาวหรือเชือกกระโดดเข้าไปใต้เท้าข้างหนึ่ง.
  2. เอามือดึงปลายเชือกทั้งสองข้างขึ้น ดึงไปทางด้านซ้ายเพื่อให้ข้อเท้าขยับเลื่อน ไปทางซ้าย.
  3. ให้ดันข้อเท้าไปในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่แขนดึงไป ในกรณีนี้ให้ผลักข้อเท้าไปทางขวา.
  4. เมื่อข้อเท้าของคุณไปทางขวาแล้ว ให้เปลี่ยนไปทำในทิศทางตรงกันข้าม หรือก็คือให้ปลายเท้าไปทางขวา ข้อเท้าไปทางซ้าย.
  5. โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

เคลื่อนที่เป็นตัวอักษร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ข้อเท้าขวาร่างตัวอักษรภาษาอังกฤษจาก A-Z ให้ลองจินตนาการว่านิ้วโป้งเท้าของคุณเป็นอุปกรณ์สำหรับการเขียน.
  2. สลับ พาดขาขวาไปบนขาซ้าย และทำแบบเดียวกันกับข้อเท้าซ้าย.
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

ยกข้อเท้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มัดเข็มขัดหรือเชือกที่มีความยาวพอๆ กันไว้ที่ดัมเบลที่มีน้ำหนักเบา ให้เป็นลักษณะเหมือนสามเหลี่ยมเมื่อคุณยกที่ตรงกลางของเข็มขัดหรือเชือก.
  2. นั่งลงบนม้านั่งและสอดเท้า (โดยสวมรองเท้าอยู่) เข้าไปในห่วงสามเหลี่ยม และปล่อยเท้าให้ทิ้งตัวลงตามน้ำหนักของดัมเบลที่ถ่วงเอาไว้. เชือกควรจะอยู่ต่ำกว่านิ้วโป้งเท้า
  3. โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

เขย่งปลายเท้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขย่งปลายเท้าและยืนอยู่บนปลายเท้า ทำขึ้นและลง.
  2. ขั้นตอนนี้จะช่วยในการบริหารกล้ามเนื้อน่องด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

ผลักเท้าขึ้นเบาๆ ด้วยนิ้วโป้ง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ส้นเท้าวางอยู่บนพื้น จากนั้นใช้นิ้วโป้งเท้าผลักข้อเท้าขึ้นและลง เหมือนกับเวลาเขย่ง.
  2. ตั้งเป้าหมายเบื้องต้นไว้ที่ 1 นาทีต่อการทำหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นให้พยายามเพิ่มเวลาให้นานมากขึ้น หรือเพิ่มความเร็วในการทำ.
    • วิธีการนี้เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดีเวลานั่งเล่นคอมพิวเตอร์!
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

ปล่อยส้นเท้าลงพื้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วางสมุดโทรศัพท์หรือหนังสืออื่นๆที่มีขนาดใหญ่ไว้กับพื้น.
  2. ให้ยืนอยู่บนหนังสือ แต่ให้ส้นเท้าวางอยู่ที่พื้น. ถ้าเกิดวางไม่ได้ให้หาหนังสือเล่มที่เล็กกว่ามาวางแทนเล่มใหญ่.
  3. เขย่งปลายเท้าขึ้นมาให้อยู่ในลักษณะตั้งฉากกับหนังสือ.
  4. ให้ค้างอยู่ในท่านั้นสักครู่ หลังจากนั้นปล่อยส้นเท้าลงให้มาวางที่พื้นเหมือนเดิม.
  5. คุณอาจจะฉีกสมุดโทรศัพท์เล่มหนาออกครึ่งหนึ่งก็ได้ถ้าต้องการ
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

เคลื่อนไหว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คว้ายางยืดเส้นใหญ่มา จัดการผูกเข้ากับขาเก้าอี้ข้างหนึ่ง โดยให้เป็นบ่วงเหลือไว้.
  2. ใส่เท้าซ้ายเข้าไปในบ่วง เพื่อที่เท้าซ้ายจะได้อยู่ใกล้กับเก้าอี้มากที่สุด.
  3. จับเก้าอี้เอาไว้ให้มั่นคง แล้วไขว้ขาซ้ายไปข้างหน้าขาขวาไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้. ทำซ้ำไปมา
  4. หันหน้าไปอีกทาง ให้เท้าขวาอยู่ใกล้กับเก้าอี้โดยที่ขาซ้ายยังอยู่ในบ่วงของยางเหมือนเดิม ดึงเท้าซ้ายไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้. ทำซ้ำไปเรื่อยๆ
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

หมุนข้อเท้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การหมุนข้อเท้าเป็นวงกลมขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่ดีในการฟื้นฟูข้อเท้าหรือยืดเส้นคลายกล้ามเนื้อบริเวณข้อเท้า
  • การกระโดดเชือก เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ซัพพอร์ตข้อเท้า รวมทั้งทำให้ข้อเท้าแข็งแรงขึ้นด้วย
  • เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ให้ทำเป็นประจำทุกวัน
  • ยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวก็ช่วยให้ข้อเท้าแข็งแรงขึ้นเหมือนกัน คุณอาจะทำให้ยากขึ้นด้วยการหลับตาขณะทำ หรือทำพร้อมกับส่งลูกบาสให้คนอื่น หรือแม้แต่เลี้ยงบาสไปพร้อมกันก็ได้
  • มันไม่สำคัญว่าคุณจะเริ่มที่เท้าข้างไหน แต่ขอให้คุณมั่นใจว่าคุณออกกำลังมันด้วยปริมาณและระยะเวลาที่เท่ากันก็พอ
  • ถ้าหากคุณไม่มียางยืดเส้นใหญ่ ให้คุณตัดเอามาจากกางเกงในตัวเก่าหรือบ็อกเซอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
  • ให้เริ่มปีนเขาหรือหน้าผาจำลอง 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์ และเพิ่มความยากในการปีนขึ้นไปเรื่อยๆ
  • คุณสามารถวางลูกบอลไว้ใต้ฝ่าเท้าและใช้เท้ากลิ้งไปมา เพื่อให้เท้าและนิ้วเท้าได้ใช้งาน นี่ถือเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่สามารถยกนิ้วเท้าและส้นเท้า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกเจ็บที่ข้อเท้า ให้ “หยุดทำ” เพราะคุณอาจทำให้ข้อเท้าบาดเจ็บได้


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. The exercise routine developed by Allan M. Levy, M.D., contributing author to http://www.sportsinjuryhandbook.com/authors.html , was used in researching some aspects of this article.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,895 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา