ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การผ่าคลอดคือการผ่าตัดเพื่อให้กำเนิดบุตร การผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่และจะหายช้ากว่าการคลอดแบบธรรมชาติและต้องใช้เทคนิคแตกต่างกัน ถ้าคุณผ่าคลอดโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน คุณจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 3 วันและทำการห้ามเลือด ขับของเหลว และรักษาแผลประมาณ 4-6 สัปดาห์ [1] [2] แผลของคุณจะหายในไม่ช้าด้วยการดูแลอย่างดีจากทีมแพทย์ การช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนๆ และการดูแลตัวเองที่บ้าน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การรักษาตัวในโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะต้องอยู่โรงพยาบาล 2 หรือ 3 วัน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกคุณจะถูกกระตุ้นให้ยืนและเดิน การเคลื่อนไหวช่วยป้องกันผลข้างเคียงของการผ่าคลอด เช่น อาการท้องอืดและท้องเฟ้อ เช่นเดียวกับอาการแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น การอุดตันของเลือด พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลจะคอยดูการเคลื่อนไหวของคุณ [3]
    • คุณจะรู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเมื่อเริ่มเดินแต่ความเจ็บปวดจะค่อยๆ ลดลง
  2. เมื่อคุณรู้สึกดีขึ้น คุณสามารถเริ่มให้นมจากเต้าหรือขวดนมกับทารก ขอให้พยาบาลหรือที่ปรึกษาด้านการให้นมช่วยให้คุณอยู่ในท่าที่จะไม่ใช้แรงกดแผลช่วงท้องที่กำลังสมาน [4] การใช้หมอนสามารถช่วยได้
  3. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อปกป้องสุขภาพของคุณและทารก ถ้าคุณไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนก็สามารถใช้ช่วงเวลานี้เพื่อฉีดวัคซีนได้ [5]
  4. รักษาความสะอาดมือของคุณเสมอในช่วงที่อยู่โรงพยาบาลและอย่าลังเลที่จะขอให้แพทย์หรือพยาบาลทำความสะอาดมือของพวกเขาก่อนที่จะสัมผัสคุณหรือทารก การติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสสามารถป้องกันได้ด้วยการล้างมือ [6]
  5. หลังจากที่คุณออกจากโรงพยาบาลแล้วคุณจะต้องมาพบแพทย์ตามนัดภายใน 4-6 สัปดาห์หรือเร็วกว่านั้นโดยขึ้นอยู่กับแพทย์ [7]
    • ผู้ป่วยบางคนมาพบแพทย์ 2-3 วันหลังจากที่กลับบ้านเพื่อตัดไหมหรือดูแผล
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การรักษาตัวที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นอน 7-8 ชั่วโมงต่อวันถ้าเป็นไปได้ การนอนช่วยกระตุ้นความแข็งแรงของเนื้อเยื่อซึ่งจะช่วยให้แผลของคุณสมานเร็วขึ้น การนอนยังช่วยลดความเครียดซึ่งสามารถลดการอักเสบและช่วยให้คุณมีสุขภาพดีขึ้น [8]
    • การนอนให้เต็มอิ่มในช่วงกลางคืนหลังจากคลอดลูกอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย! ขอให้คู่รักหรือผู้ใหญ่ในบ้านตื่นในตอนกลางคืน ถ้าหากคุณต้องให้นม พวกเขาก็สามารถอุ้มลูกมาให้คุณได้ จำไว้ว่าการที่เด็กงอแงในตอนกลางคืนจะหายไปเอง ปล่อยให้ลูกร้อง 2-3 วินาทีก่อนที่จะตัดสินใจลุกไปดู [9]
    • นอนพักเมื่อทำได้ เมื่อลูกของคุณหลับ คุณก็สามารถหลับได้เช่นกัน เมื่อมีคนมาเยี่ยมก็ขอให้พวกเขาดูลูกแทนคุณในขณะที่คุณนอนพัก มันไม่ใช่เรื่องหยาบคายแต่คุณกำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัด [10]
  2. ดื่มน้ำและของเหลวประเภทอื่นเพื่อชดเชยของเหลวที่สูญเสียไประหว่างการคลอดและป้องกันอาการท้องผูก โรงพยาบาลจะคอยดูการดื่มของเหลวของคุณแต่เมื่อคุณอยู่บ้านก็ต้องดื่มของเหลวให้เพียงพอ เมื่อคุณให้นมลูกก็ควรวางแก้วน้ำไว้ข้างๆ ตัว [11]
    • มันไม่มีปริมาณตายตัวของน้ำที่เราควรดื่มทุกวัน ดื่มให้เพียงพอเพื่อจะไม่รู้สึกคอแห้งหรือกระหาย ถ้าปัสสาวะของคุณเป็นสีเหลืองเข้มก็แปลว่าคุณขาดน้ำและคุณต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้น [12]
    • ในบางกรณี แพทย์อาจจะขอให้คุณลดหรือไม่เพิ่มปริมาณของเหลวที่ดื่มเข้าไป
  3. การทานอาหารหรือขนมที่มีประโยชน์เป็นสิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณกำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัด ระบบการย่อยอาหารของคุณจะฟื้นตัวจากการผ่าตัดเพราะฉะนั้นคุณจะต้องปรับเปลี่ยนอาหารปกติ ถ้าคุณปวดท้องก็ควรทานอาหารรสจืดและมีไขมันต่ำ เช่น ข้าว ไก่ต้ม โยเกิร์ต และขนมปังปิ้ง
    • ถ้าคุณท้องผูกก็สามารถเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ได้ ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเพิ่มปริมาณไฟเบอร์หรือทานอาหารเสริม [13]
    • ทานวิตามินสําหรับคนท้องต่อไปเพื่อช่วยให้ฟื้นตัว
    • การทำอาหารจะทำให้คุณเสี่ยงกับการยกของและก้มตัว ถ้าคุณมีคู่รัก สมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนที่สามารถดูแลคุณได้ก็ควรขอให้พวกเขาเตรียมอาหารหรือสั่งอาหารให้คุณ
  4. คุณจะต้องเคลื่อนไหวเหมือนตอนที่อยู่ในโรงพยาบาล เพิ่มการเดิน 2-3 นาทีต่อวัน สิ่งนี้ไม่ได้แปลว่าคุณควรออกกำลังกาย อย่าปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะ หรือออกกำลังกายอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังจากการผ่าคลอดและคุณต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ [14]
    • หลีกเลี่ยงการใช้บันไดให้มากที่สุด ถ้าห้องนอนของคุณอยู่ชั้นบนก็ให้ย้ายลงมาอยู่ข้างล่างในช่วง 2-3 สัปดาห์ของการฟื้นตัวหรือถ้าคุณไม่สามารถย้ายห้องได้ก็ควรจำกัดการเดินขึ้นลงบันได [15]
    • หลีกเลี่ยงการยกของที่หนักกว่าทารกของคุณและอย่าย่อตัวและยกของ [16]
    • หลีกเลี่ยงการทำซิทอัพหรือเคลื่อนไหวที่ใช้แรงกดไปยังแผลที่หน้าท้องของคุณ
  5. แพทย์ของคุณอาจจะแนะนำอะซิตามิโนเฟน เช่น ไทลินอล ยาแก้ปวดส่วนใหญ่ปลอดภัยสำหรับรับประทานเมื่อคุณกำลังให้นมบุตรแต่คุณควรหลีกเลี่ยงแอสไพรินหรือยาที่มีแอสไพรินในช่วง 10 ถึง 14 วันหลังจากการผ่าตัดเพราะแอสไพรินจะลดการอุดตันของเลือด การจัดการกับความเจ็บปวดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่ที่กำลังให้นมบุตรเพราะความเจ็บปวดสามารถแทรกแซงการปล่อยฮอร์โมนที่ต้องใช้เพื่อให้น้ำนมไหลเวียน [17]
  6. การช่วยพยุงช่องท้องจะลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่แผลจะเปิด ถือหมอนแนบแผลผ่าตัดเมื่อคุณไอหรือหายใจแรงๆ [18]
    • เครื่องแต่งกายที่ประคบหน้าท้องหรือแผ่นคาดท้องพิสูจน์แล้วว่าไม่มีประโยชน์ ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะประคบแผลผ่าตัด
  7. ล้างแผลผ่าตัดทุกวันด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ และซับให้แห้ง ถ้าแพทย์ของคุณแปะแผ่นปิดแผลผ่าตัดมาให้ก็ควรปล่อยให้มันหลุดออกเองหรือดึงออกหลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ คุณสามารถปิดแผลด้วยผ้าก็อซเพื่อความสบายตัวหรือถ้ามีของเหลวไหลซึมแต่คุณควรเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกวัน
    • อย่าใช้โลชั่นหรือแป้งกับแผลผ่าตัด การถู ขัด ราดของเหลวหรืออาบแดดจะทำให้แผลผ่าตัดสมานช้าลงและเสี่ยงที่จะเปิดอีกครั้ง [19]
    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ทำให้แผลสมานตัวช้าลง เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ [20]
    • อาบน้ำตามปกติและซับแผลผ่าตัดให้แห้งเมื่อคุณอาบน้ำเสร็จ อย่าอาบน้ำอ่าง ว่ายน้ำ หรือแช่แผลผ่าตัดในน้ำ [21] [22]
  8. สวมเสื้อผ้าหลวมๆ นิ่มๆ ที่ไม่รัดแผลผ่าตัด [23]
  9. หลังการผ่าคลอดหรือคลอดบุตรตามธรรมชาติ ร่างกายของคุณต้องการเวลา 4-6 สัปดาห์เพื่อฟื้นตัวก่อนที่คุณจะทำกิจกรรมทางเพศได้ ถ้าคุณผ่าคลอด แผลผ่าตัดของคุณอาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้นเพื่อสมาน รอจนกว่าแพทย์บอกว่าคุณสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ [24]
  10. สวมผ้าอนามัยเพื่อซึมซับเลือดที่ซึมออกจากช่องคลอด. ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้คลอดบุตรตามธรรมชาติแต่คุณจะมีเลือดสดไหลออกจากช่องคลอดเรียกว่าน้ำคาวปลาในช่วงเดือนแรกหลังจากคลอดบุตร อย่าสวนช่องคลอดหรือใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ รอจนกว่าแพทย์ของคุณจะอนุญาตให้ทำแบบนั้น [25]
    • ถ้าเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดมีปริมาณมากหรือมีกลิ่นผิดปกติ หรือคุณมีไข้สูงกว่า 38 องศาก็ควรไปพบแพทย์ [26]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลายคนเชื่อว่าน้ำซุปจากธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำต้มกระดูกสามารถช่วยเร่งการสมานแผลได้
  • เมื่อคุณผ่าตัด คุณจะมีผิวใหม่ ผิวใหม่ทำให้เกิดแผลเป็นได้ง่ายเพราะฉะนั้นคุณต้องหลีกเลี่ยงแสงแดด 6-9 เดือนหลังการผ่าตัดหรือนานกว่านั้น [27]
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์ถ้าแผลผ่าตัดเปิด
  • ปรึกษาแพทย์ถ้ามีสัญญาณของการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด สิ่งนี้รวมไปถึงเป็นไข้ ความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้น อาการบวม แสบร้อน รอยแดง เลือดหรือน้ำหนองที่ไหลซึมออกจากแผล และก้อนบวมบริเวณลำคอ รักแร้ และง่ามขา [28]
  • ถ้าท้องของคุณรู้สึกนิ่ม เต็ม แข็ง หรือคุณรู้สึกเจ็บเมื่อปัสสาวะ คุณอาจจะกำลังติดเชื้อ [29]
  • โทรเรียกรถพยาบาลถ้าคุณมีอาการรุนแรง เช่น เป็นลม ปวดท้องสาหัส ไอเป็นเลือด หรือหายใจไม่ออก [30]
  • ปรึกษาแพทย์ถ้าหน้าอกของคุณเจ็บและคุณมีอาการเหมือนเป็นไข้ [31]
  • ถ้าคุณรู้สึกเสียใจ อยากร้องไห้ สิ้นหวังหรือท้อแท้หลังการคลอดลูก คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหลังการคลอดบุตร สิ่งนี้เป็นปกติและผู้หญิงส่วนใหญ่มีอาการแบบนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ [32]
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/healthy-baby/art-20046556?pg=1
  2. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/c-section/basics/what-you-can-expect/prc-20014571
  3. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/c-section/basics/what-you-can-expect/prc-20014571
  4. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/fiber/art-20043983
  5. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  6. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  7. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/c-section/basics/what-you-can-expect/prc-20014571
  8. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/c-section/basics/what-you-can-expect/prc-20014571
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310?pg=2
  10. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000624.htm
  11. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000624.htm
  12. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  13. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000624.htm
  14. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000040.htm
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/sex-after-pregnancy/art-20045669?pg=1
  16. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310?pg=2
  17. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  18. https://healthonline.washington.edu/document/health_online/pdf/Scars_Healing_5_11.pdf
  19. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310?pg=2
  21. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  22. http://americanpregnancy.org/labor-and-birth/cesarean-aftercare/
  23. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/c-section-recovery/art-20047310?pg=2

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,732 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา