ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปวดหัวเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าปวดแน่นในหน้า หรือกดหน้าผาก ตา หรือแก้มแล้วเจ็บ นั่นแหละปวดหัวไซนัส (sinus headache) Sinuses หรือไซนัส คือโพรงเล็กๆ ในกะโหลกศีรษะของเรา ที่คอยกรองและเพิ่มความชื้นให้อากาศก่อนผ่านเข้าไปสู่ปอด ในกะโหลกจะมีไซนัส 4 คู่ด้วยกัน [1] ซึ่งไซนัสเหล่านี้สามารถอักเสบหรือคัดแน่นได้ จนทำให้คุณปวดหัวนั่นเอง ถ้าคุณแน่ใจว่าอาการของคุณคืออาการปวดหัวไซนัส ไม่ใช่ไมเกรน ก็ต้องลดอักเสบแล้ว drain ระบายเมือกหรือน้ำมูกที่คัดแน่นในโพรงไซนัสด้วยตัวเอง รวมถึงกินยา ไม่ก็ไปหาหมอถ้าอาการหนัก

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจใช้เครื่องพ่นไอระเหยแบบอุ่น (steam vaporizer) หรือเย็น (cool-mist humidifier) ช่วยลดอาการอักเสบ ไม่ก็สร้างอากาศชื้นๆ เองโดยวางอ่าง/กะละมังน้ำร้อน เอาผ้าเช็ดตัวคลุมหัว แล้วก้มหน้าไปสูดไอน้ำ (อย่าใกล้เกิน) อีกวิธีคืออาบน้ำอุ่นจัด แล้วสูดไอเข้าไป พยายามใช้วิธีหายใจเอาความชื้นเข้าไปแบบนี้ 2 - 4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 10 - 20 นาที [2]
    • ระดับความชื้นในบ้านของคุณ ควรอยู่ที่ประมาณ 45% ถ้าต่ำกว่า 30% แสดงว่าอากาศแห้งเกินไป ส่วนมากกว่า 50% ก็ชื้นแฉะจนเหนอะหนะ หายใจลำบาก ลองใช้อุปกรณ์ชื่อ hygrometer วัดระดับความชื้นดู [3]
  2. โดยประคบร้อนบริเวณใบหน้าตรงที่มีโพรงไซนัสประมาณ 3 นาที จากนั้นประคบเย็นอีก 30 วินาที สลับกัน 3 รอบใน 1 การประคบ ทำซ้ำได้ 2 - 6 ครั้งต่อวัน [4]
    • หรือเอาผ้าชุบน้ำร้อนน้ำเย็น บิดหมาด แล้วเอามาประคบที่หน้าก็ได้ผลไม่แพ้กัน
  3. เพราะช่วยลดความเหนียวข้นของน้ำมูกที่คัดแน่นในไซนัส จนระบายออกง่ายขึ้น [5] [6] มีงานวิจัยที่แนะนำว่า ผู้ชายควรดื่มน้ำ 13 แก้วต่อวัน ส่วนผู้หญิงควรดื่มน้ำ 9 แก้วต่อวัน [7]
    • บางคนก็ว่าดื่มเครื่องดื่มร้อนแล้วช่วยได้เยอะ ถ้างั้นก็ให้ดื่มชาหรือซุปร้อนๆ น่าจะช่วยให้จมูกโล่งขึ้น [8]
  4. ให้ใช้ตามวิธีการที่ฉลากอย่างเคร่งครัด ไม่เกิน 6 ครั้งต่อวัน [9] Saline nasal spray หรือสเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก จะช่วยให้ cilia หรือขนกวัดทำงานสะดวกขึ้น ลดการอักเสบของจมูก ทำให้ไม่ปวดหัวไซนัส [10] นอกจากนี้สเปรย์น้ำเกลือยังทำให้โพรงจมูกชุ่มชื้น ไม่มีขี้มูกเกรอะกรัง หายคัดจมูก แถมสเปรย์ยังช่วยชะล้างเกสรออกไป ทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ ไม่ปวดหัวไซนัส [11]
    • คุณทำน้ำเกลือใช้เองได้ โดยผสมเกลือโคเชอร์ (kosher salt) 2 - 3 ช้อนชา กับน้ำต้มสุกหรือน้ำกลั่น (distilled/sterile) 1 ถ้วยตวงให้เข้ากัน แล้วเติมเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา เสร็จแล้วใส่ในลูกสูบยางหรือที่หยดยา ไว้ฉีดพ่นเข้าจมูกได้เลยไม่เกิน 6 ครั้งต่อวัน [12]
  5. โดยผสมน้ำเกลือเทใส่กาเนติ ยืนที่อ่างล้างมือแล้วก้มหน้า เอียงคอนิดหน่อยแล้วเทน้ำเกลือเข้ารูจมูกโดยตรง ให้ไหลผ่านเข้าไป น้ำเกลือจะไหลเข้าโพรงจมูกไปในหน้า/คอ เสร็จแล้วให้สั่งน้ำมูกหรือบ้วนน้ำออกมาได้เลย [13] ทำซ้ำแบบเดียวกันกับจมูกข้างที่เหลือ กาเนตินี้ช่วยลดไซนัสอักเสบและแก้ขัดจมูกได้ดี ไม่เหลือสารก่อภูมิแพ้ตกค้างด้วย [14]
    • น้ำที่ใช้ในกาเนติต้องเป็นน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุกเท่านั้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อไปยับยั้งฮิสตามีนที่ร่างกายหลั่งเวลาเกิดอาการแพ้ ฮิสตามีน (histamine) นี่แหละที่ทำให้เกิดอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) พวกจาม คันตา คันจมูก น้ำมูกไหล ยาแก้แพ้ส่วนใหญ่หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาและกินแค่วันละครั้ง ตอนนี้มีการพัฒนายาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 (second-generation antihistamine) ออกมา เช่น loratadine, fexofenadine และ cetirizine โดยลดอาการง่วงซึมอันเป็นผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ของยารุ่นแรก (อย่าง diphenhydramine หรือ chlorpheniramine) [15]
    • ถ้าคุณปวดหัวไซนัสเพราะเป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล ให้ลองใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasal corticosteroids) ดู หาซื้อได้ตามร้านขายยาเช่นกัน ช่วยแก้แพ้ได้ชะงัดนัก ให้คุณพ่นจมูกด้วย fluticasone หรือ triamcinolone วันละครั้ง ข้างละ 1 - 2 สเปรย์ [16]
  2. มีทั้งยาใช้ภายนอก (ยาพ่นจมูกอย่าง oxymetazoline) และยากิน (อย่าง pseudoephedrine) แต่ก็แก้คัดจมูกลดน้ำมูกได้เหมือนกัน ถ้ายาพ่นให้ใช้ทุก 12 ชั่วโมง แต่อย่าใช้ติดต่อกันเกิน 3 - 5 วัน ไม่งั้นอาการจะตีกลับ (rebound nasal congestion) ทำให้คัดจมูกมากกว่าเดิมเพราะได้รับยาเกินขนาด ส่วนยากิน ให้กิน 1 - 2 ครั้งต่อวัน โดยกินร่วมกับยาแก้แพ้อย่าง loratadine, fexofenadine หรือ cetirizine ได้ด้วย
    • pseudoephedrine เป็นส่วนประกอบหลักของ methamphetamine หรือ speed ก็คือพวกยาบ้าหรือยาไอซ์ ไม่ว่าจะใช้เดี่ยวๆ หรือร่วมกับยาแก้แพ้ เลยเป็นยาควบคุมที่แพทย์ต้องสั่งจ่าย ป้องกันไม่ให้คนมากักตุน ซื้อไปใช้ในทางที่ผิด [17]
  3. เช่น แอสไพริน, acetaminophen, ibuprofen และ naproxen พวกนี้กินแก้ปวดหัวไซนัสชั่วครั้งชั่วคราวได้ ย้ำว่ายาแก้ปวดตามร้านขายยาใช้รักษาโรคไซนัสอักเสบไม่ได้ แค่ช่วยบรรเทาหรือแก้อาการปวดหัวที่เป็นส่วนหนึ่งของไซนัสอักเสบเท่านั้น
    • กินยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือที่ฉลากอย่างเคร่งครัด
  4. คุณหมออาจจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่มักเกิดควบคู่หรือเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวไซนัส สัญญาณที่บอกให้รู้ว่าไซนัสอักเสบติดเชื้อ ก็คือเจ็บคอ น้ำมูกเขียวหรือเหลือง คัดจมูก มีไข้ และอ่อนเพลีย Acute bacterial sinusitis หรือไซนัสอักเสบเฉียบพลัน หายได้ใน 10 - 14 วันด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าอักเสบเรื้อรัง (chronic bacterial sinusitis) ต้องใช้เวลา 3 - 4 อาทิตย์
    • คุณหมออาจจ่ายยา triptans ที่ปกติใช้รักษาไมเกรนให้ด้วย โดยมีงานวิจัยชี้ว่าคนไข้ส่วนใหญ่ที่ปวดหัวไซนัส อาการดีขึ้นมากเมื่อใช้ triptans [18] ยา triptans ก็เช่น sumatriptan, rizatriptan, zolmitriptan, almotriptan, naratriptan, rizatriptan และ eletriptan
  5. คุณหมออาจแนะนำให้ฉีดสารก่อภูมิแพ้ (allergy injection) เข้าร่างกายทีละนิด เพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาของร่างกาย ในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรง ไม่ก็หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ [19] โดยคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ (allergist) จะเป็นคนบำบัดรักษาให้
  6. ให้ไปตรวจรักษากับคุณหมอหูคอจมูก (Ear, Nose, and Throat (ENT)) จะได้รู้ว่าจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดป้องกันอาการปวดหัวไซนัสไหม คุณหมอสามารถผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก (nasal polyps) หรือกระดูกงอก (bone spurs) ออกได้ พวกนี้เป็นสาเหตุทำไซนัสติดเชื้อ ไม่ก็ผ่าเปิดโพรงไซนัสแทน
    • ตัวอย่างการรักษาด้วยการผ่าตัดก็เช่น การทำบอลลูนจมูก (balloon rhinoplasty) โดยสอดลูกโป่งเข้าไปในโพรงจมูก แล้วเป่าลมเพื่อขยายโพรงไซนัส [20]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาด้วยวิธีทางเลือก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะอยู่ในช่วงค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม ว่าอาหารเสริมช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไซนัสได้มากน้อยแค่ไหน แต่ก็ลองป้องกันหรือบรรเทาอาการปวดหัวไซนัสด้วยอาหารเสริมต่อไปนี้ดู [21]
    • Bromelain คือเอนไซม์จากสับปะรด ช่วยลดอาการอักเสบของไซนัส แต่ห้ามกินคู่กับยาเจือจางเลือด เพราะอาหารเสริมนี้อาจทำให้เลือดไม่หยุดไหลได้ รวมถึงห้ามกิน bromelain ถ้าใช้ยากลุ่ม angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitors ที่ใช้รักษาโรคความดันอยู่ เพราะ bromelain จะทำให้ความดันต่ำผิดปกติ
    • Quercetin เป็น plant pigment หรือรงควัตถุของพืชที่ทำให้ผักผลไม้มีสีสันสดใส ว่ากันว่าเป็นมีสรรพคุณต้านฮิสตามีนตามธรรมชาติ แต่ยังต้องรอการค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมว่าใช้เป็นยาแก้แพ้ได้มากน้อยแค่ไหน
    • Lactobacillus (แลคโตบาซิลลัส) เป็นโปรไบโอติกส์ หรือแบคทีเรียดีที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารและขับถ่าย รวมถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาหารเสริมนี้จะทำให้เกิดอาการแพ้น้อยลง รวมถึงลดผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องอืด และปวดท้อง
  2. มีสมุนไพรหลายชนิดใช้บรรเทาอาการปวดหัวไซนัสได้ โดยป้องกันหรือช่วยบรรเทาหวัด สร้างเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน หรือลดอาการอักเสบของไซนัส มีงานวิจัยที่ชี้ว่าอาหารเสริมจากสมุนไพรอย่าง Sinupret ช่วยลดอาการอักเสบของไซนัสได้ เพราะทำให้น้ำมูกเหนียวข้นน้อยลง เลยสั่งหรือระบายออกจากโพรงไซนัสง่ายขึ้น [22] สมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่คนนิยมใช้รักษาอาการปวดหัวไซนัสก็เช่น
    • Chinese skullcap - ให้ชงเป็นชา โดยเทน้ำเดือด 1 ถ้วยตวงใส่ใบแห้ง 1 - 2 ช้อนชา จากนั้นปิดฝาทิ้งไว้ 10 - 15 นาที ใช้ดื่ม 2 - 3 แก้วต่อวันจนหายแน่นหน้าแน่นจมูก
    • Feverfew (ดอกเก๊กฮวย) - ให้ชงเป็นชา โดยเทน้ำเดือด 1 ถ้วยตวงใส่ใบสดที่เพิ่งสับ 2 - 3 ช้อนชา ทิ้งไว้ 15 นาที กรองกากออก แล้วดื่มไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน
    • Willow bark (สารสกัดจากต้นหลิวจีน) - ให้ชงเป็นชา โดยใช้ผงหรือเปลือกต้นหลิวสับ 1 ช้อนชาสำหรับน้ำ 8 – 10 ออนซ์ ให้น้ำเดือดแล้วเคี่ยวต่ออีก 5 นาที ดื่มได้ 3 - 4 ครั้งต่อวัน
  3. เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าน้ำมันหอมระเหยบางชนิด ถ้าเอามาแตะหรือกดที่ขมับ ช่วยลดอาการปวดหัวไซนัสและปวดหัวจากความเครียดได้ ให้ผสมน้ำมันยูคาลิปตัสหรือน้ำมันเปปเปอร์มินต์เจือจาง 10% กับแอลกอฮอล์ล้างแผล จากนั้นชุบฟองน้ำเอามาแตะๆ ที่ขมับ [23] ใหผสมแอลกอฮอล์ 3 ช้อนโต๊ะกับน้ำมันเปปเปอร์มินต์หรือน้ำมันยูคาลิปตัส 1 ช้อนชา
  4. เป็นวิธีทางเลือกกึ่งๆ ความเชื่อ(ควรใช้วิจารณญาณ) ที่ใช้สารตามธรรมชาติเล็กน้อย กระตุ้นร่างกายให้รักษาตัวเอง หลายคนที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังก็หันไปพึ่ง homeopathy กัน โดยมีหลักฐานยืนยันว่าผู้ป่วยหลายคนก็ดีขึ้นจริงใน 2 อาทิตย์ [25] สารที่ใช้กระตุ้นร่างกายรักษาอาการปวดหัวไซนัสแบบแน่นหน้าก็เช่น
    • Arsenic album, Belladonna, hepar sulphuricum, iris versicolor, kali bichromicum, mercurius, natrum muriaticum, pulsatilla, silicea และ spigelia
  5. การฝังเข็มเป็นศาสตร์ที่คนจีน (และคนไทย) นิยมกันมาเนิ่นนานแต่โบราณ วิธีการคือใช้เข็มเล่มเล็กบางจิ้มลงไปที่จุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเชื่อว่าสามารถแก้ไขให้พลังงานในร่างกายกลับมาหมุนเวียนตามปกติได้ [26] สำหรับการรักษาโรคปวดหัวไซนัส แพทย์แผนจีนหรือหมอฝังเข็มจะจัดการกับอาการไซนัสอักเสบ (หรือความชื้น) โดยฝังเข็มแถวๆ ม้ามและกระเพาะ [27]
  6. ก็อาจช่วยลดอาการปวดหัวไซนัสได้ โดยจัดเรียงกระดูกในจุดต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง แต่ยังไม่ค่อยมีหลักฐานรองรับเรื่องนี้เท่าไหร่ ส่วนใหญ่ถ้าจะแก้อาการไซนัส จะเน้นจัดการกระดูกกับเยื่อเมือกในโพรงไซนัส
    • การจัดกระดูกและข้อให้เข้าที่เข้าทางช่วยกระตุ้นระบบประสาท เลยทำให้การทำงานต่างๆ ของร่างกายกลับมาเป็นปกติ [29]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ความรู้เพิ่มเติมเรื่องปวดหัวไซนัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายงานวิจัยชี้ว่า คนส่วนใหญ่ที่คิดว่าตัวเองปวดหัวไซนัส จริงๆ แล้วอาจเป็นไมเกรนไม่รู้ตัว [30] โชคดีที่มีหลายอาการช่วยแยกแยะ 2 โรคนี้ได้ [31]
    • ไมเกรนเจอเสียงหรือแสงจ้าๆ จะยิ่งอาการหนัก
    • ไมเกรนตามมาด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน
    • ไมเกรนปวดหัวได้ทุกจุด และอาจลามมาถึงคอ [32]
    • ไมเกรนจะไม่มีน้ำมูกเหนียวข้นหรือไม่ได้กลิ่น
  2. สาเหตุหลักของการปวดหัวไซนัส ก็คือเยื่อเมือกในโพรงไซนัสนั้นอักเสบ สั่งน้ำมูกไม่หมดสักทีหรือสั่งไม่ได้ (เหนียวข้น) เลยทำให้คัดจมูกแน่นหน้าจนเจ็บไปหมด ไซนัสอักเสบได้เพราะติดเชื้อ ภูมิแพ้ ติดเชื้อที่ฟันบน หรือน้อยมากคือเกิดจากเนื้องอก (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ก็ตาม) [33] อาการเวลาปวดหัวไซนัสก็คือ [34]
    • แน่นจมูกแน่นหน้า และกดหน้าผาก แก้ม หรือแถวๆ เบ้าตาแล้วเจ็บ
    • ก้มหัวแล้วปวดมากขึ้น
    • ปวดแถวๆ ฟันบน
    • ปวดมากตั้งแต่เช้า
    • ปวดหลายระดับ ตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงรุนแรง ปวดได้ทั้งข้างเดียว (unilateral) และสองข้าง (bilateral)
  3. คุณมีแนวโน้มจะปวดหัวไซนัสได้เพราะหลายสาเหตุ เช่น [35] [36]
    • เคยเป็นภูมิแพ้หรือหอบหืด
    • เป็นหวัดเรื้อรัง (ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน)
    • หูติดเชื้อ
    • ต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์โต
    • ริดสีดวงจมูก
    • จมูกผิดรูป เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด
    • เพดานโหว่ (cleft palate)
    • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • เคยผ่าตัดไซนัสมาก่อน
    • ปีนเขาหรือขึ้นเครื่องบิน (อยู่ในที่สูง ความกดอากาศต่ำ)
    • ขึ้นเครื่องบินตอนที่ทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ
    • อักเสบหรือเป็นฝีที่ปลายรากฟัน
    • ว่ายน้ำหรือดำน้ำบ่อยๆ
  4. ถ้าปวดหัวนานเกิน 15 วันต่อเดือน หรือต้องซื้อยาแก้ปวดกินเองบ่อยๆ แปลว่าควรไปหาหมอแล้ว รวมถึงกรณีที่กินยาแก้ปวดแล้วยังไม่หายหรือปวดมากขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน (เช่น ต้องขาดงานหรือลาโรงเรียน) [37] แต่ถ้าปวดหัวไซนัสแล้วมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที [38]
    • ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน และปวดอยู่อย่างนั้นหรือรุนแรงขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมง
    • ปวดหัวรุนแรงเฉียบพลันแบบ “ไม่เคยเป็นมาก่อน” ทั้งๆ ที่ปกติปวดบ่อย
    • ปวดหัวรุนแรงหรือเรื้อรังในคนอายุเกิน 50 ปี
    • เป็นไข้ คอแข็ง คลื่นไส้ และอาเจียน (ซึ่งอาจเป็นอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ได้ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรงถึงชีวิต)
    • จำอะไรไม่ได้ สับสน ทรงตัวไม่ค่อยอยู่ มองเห็นภาพเบลอ ลิ้นแข็ง หรือแขนขาชา เป็นเหน็บ ไม่มีแรง (ซึ่งอาจเป็นอาการของหลอดเลือดสมองตีบตัน (stroke))
    • ปวดมาถึงตา (ข้างเดียว) และตาแดง (ซึ่งอาจเป็นอาการของต้อหินเฉียบพลัน (acute angle closure glaucoma))
    • ปวดหัวแปลกๆ แบบไม่เคยเป็นมาก่อน
    • เพิ่งหัวกระทบกระเทือนมา
  5. คุณหมอจะพิจารณาจากประวัติการรักษา และตรวจเช็คร่างกายโดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหัว เช่น ตรวจหาอาการบวมหรือกดเจ็บที่ใบหน้า ตรวจจมูกหาอาการอักเสบ อาการคัดจมูก และน้ำมูก รวมถึงอาจส่งตัวไปตรวจทางรังสีวิทยา เช่น เอ็กซเรย์ CT scan (computed tomography) หรือทำ MRI (magnetic resonance imaging) ถ้าคุณหมอคิดว่าสาเหตุอาจมาจากภูมิแพ้ ก็ต้องตรวจรักษาให้ตรงจุดต่อไป [39]
    • ถ้าเป็นไปได้ ควรรับการตรวจรักษากับคุณหมอหูคอจมูกจะดีที่สุด เพราะจะได้ส่องกล้อง fiber optic scope เห็นโพรงไซนัสชัดเจน [40]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเป็นคนท้องแล้วเกิดอาการปวดหัว อาจเป็นได้ทั้งไซนัสอักเสบ ไมเกรน และความเครียด หรือที่น่ากลัวกว่าคือภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia) และภาวะหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน (cerebral venous thrombosis)
  • ถ้าผู้สูงอายุมักเสี่ยงเป็นโรคปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ (secondary headaches) เช่น โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia) และโรคหลอดเลือดขมับอักเสบ (temporal arteritis)
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/allergies/saline-spray?page=2
  2. https://www.entnet.org/content/sinus-headaches
  3. http://www.aaaai.org/conditions-and-treatments/library/allergy-library/saline-sinus-rinse-recipe.aspx
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/neti-pot/faq-20058305
  5. https://www.entnet.org/content/sinus-headaches
  6. http://acaai.org/allergies/symptoms/allergy-headaches
  7. http://acaai.org/allergies/symptoms/allergy-headaches
  8. http://www.medscape.com/viewarticle/484014
  9. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  10. http://acaai.org/allergies/symptoms/allergy-headaches
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  12. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  14. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7954745?dopt=Abstract
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7954745?dopt=Abstract
  16. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  17. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/acupuncture/basics/definition/prc-20020778
  18. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  19. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/acupuncture/basics/risks/prc-20020778
  20. http://guidedoc.com/chiropractic-sinus-adjustment-complete-guide
  21. http://www.nnadoc.com/pdf/The%20Sinus%20Headache%20Myth.pdf
  22. https://www.cedars-sinai.edu/Patients/Health-Conditions/Sinus-Headaches.aspx
  23. http://www.mhni.com/headache-pain-faq/content-disclaimer/sinus-headache
  24. http://www.emedicinehealth.com/sinus_headache/page2_em.htm#sinus_headache_causes
  25. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/sinus-headache
  26. http://www.mountsinai.org/patient-care/health-library/diseases-and-conditions/sinus-headache
  27. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sinus-headaches/basics/symptoms/con-20025426
  29. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  30. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache
  31. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/sinus-headache

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,798 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา