ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากคุณมีปัญหาเรื่องท่าทางของคอที่ผิดปกติ เช่น คางยื่น ซึ่งเป็นท่าที่มักเกิดจากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดวัน การที่มีท่าทางของคอที่ผิดทำให้มีอาการปวดและรู้สึกไม่สบาย หากคุณเคยมีปัญหาปวดหรือตึงคอ ควรหาวิธีรักษา ซึ่งการปรับท่าทางก็เป็นหนึ่งในวิธีการรักษา โดยการยืดกล้ามเนื้อ เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน หรือการรักษาด้วยไคโรแพรกเตอร์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ยืดกล้ามเนื้อคอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตรียมกล้ามเนื้อก่อนการยืดจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อตึงและปวด การยืดเบาๆ โดยการหันหน้าไปซ้าย ขวา จากนั้นเริ่มยืดด้วยการหันหน้าไปทางขวา ก้มหน้าลง พร้อมกับเอียงไปทางซ้าย [1]
    • ทำท่านี้ซ้ำๆ หันไปซ้าย ขวา ช้าๆ
    • ทุกครั้งที่ยืดคอ ระวังต้องไม่เคลื่อนไหวให้มากเกินไป ทำช้าๆ และเบาๆ
  2. คือการยืดเหยียดคอทางด้านหน้า โดยการก้มสลับเงย โดยนั่งหลังตรงมองตรงไปข้างหน้า เก็บคางหาหน้าอก ค้างไว้ 15 วินาทีแล้วกลับสู่ท่าปกติ ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วทำท่าเงยหน้า ทำซ้ำ 10 ครั้งเช่นเดียวกันแล้วกลับมาท่าปกติ [2]
    • ต้องเคลื่อนไหวให้นุ่มนวลและไม่รุนแรง
    • หากต้องทำท่าเงยหน้าไปด้านหลัง โดยเงยช้าๆ แล้วหยุดเมื่อรู้สึกไปต่อไม่ได้
  3. คือการยืดเหยียดคอทางด้านข้าง โดยการเอียงคอไปทางด้านข้าง เริ่มจากตั้งศีรษะอยู่ตรงกลางขนานกับพื้น เอียงศีรษะไปทางขวา ค้างไว้ 15 วินาที แล้วปล่อยกลับมาหน้าตรง ทำซ้ำ 10 ครั้ง [3]
    • เมื่อทำข้างขวาเสร็จ ทำซ้ำเช่นเดียวกันในข้างซ้าย
    • หากรู้สึกไปต่อไม่ได้ให้หยุดที่ตำแหน่งนั้น
  4. ยืนหรือนั่งหลังตรง หันหน้าไปทางขวาแล้วก้มหน้าลงมองพื้น ใช้มือขวากดลงบนศีรษะในทิศเข้าหาไหล่ขวา ค้างไว้ 30 วินาที
    • ทำซ้ำเช่นเดียวกันในข้างซ้าย [4]
    • อย่ากดแรงให้ก้มมากเกินไป และเก็บคางเล็กน้อยขณะก้ม
  5. ไม่เกร็งไหล่และแขนสองข้างแนบข้างลำตัว ใช้การหนีบสะบักเข้าหากันตรงกลางค้างไว้ 5 วินาที แล้วปล่อย ทำซ้ำ 10 ครั้ง
    • ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน
    • ยืดค้างไว้ให้ถึง 10 วินาที จาก 5 วินาที [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ตำแหน่งของจอจะเป็นสาเหตุให้คอของคุณอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม ควรแหงนจอให้ 1/3 ของส่วนบนสุดของจออยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา และห่างจากสายตา 18 นิ้ว (46 เซนติเมตร) ถึง 24 นิ้ว (61 เซนติเมตร) [6]
  2. ขณะนั่งเก้าอี้ หลังและก้นควรพิงพนักเก้าอี้ เพื่อให้คงส่วนโค้งของหลังไว้ตามปกติ นอกจากนั้นให้หลังส่วนบนพิงพนักเก้าอี้ด้วย พร้อมกับนั่งให้ศีรษะอยู่ในแนวตรงกับลำตัว [7]
  3. ช่วงเวลาในการนอนนับเป็น 1/3 ของวัน การใช้หมอนที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุให้คออยู่ในท่าที่ผิด [8] หมอนที่ดีควรรองรับคอให้อยู่ในแนวเดียวกันหลังส่วนบนและหน้าอก หมอนที่สูงหรือต่ำเกินไปจะทำให้เกิดแรงกระทำที่มากเกินไปต่อกล้ามเนื้อ ทำให้อยู่ในท่าที่ผิดและปวดได้
  4. พัก เปลี่ยนท่าทาง . หลายคนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่งทำงาน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการทรงท่าและสุขภาพร่างกาย ควรจัดตารางเวลาพักในแต่ละวันเพื่อลุกเดิน และขณะลุกยืนเดิน ควรปรับการทรงท่าให้ตัวตรงด้วย [10]
    • ยืนตรง แบะไหล่และหน้ามองตรง
    • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอในช่วงพักจากการทำงาน
  5. รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และปริมาณพอเหมาะ.อาหารที่รับประทานควรมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก เช่น โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม วิตามิน K, C และ D3 จะช่วยให้น้ำหนักตัวอยูในเกณฑ์พอเหมาะ ลดการรับน้ำหนักที่มากเกินไปต่อกระดูกหรือข้อต่อ [11]
    • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผลไม้ และผักให้มาก
    • รับประทานวิตามินรวมร่วมด้วยได้
  6. การออกกำลังกายที่ไม่หนัก จะช่วยป้องกันการปวดคอและหลังได้ โดยขระออกกำลังกาย เลือดและสารอาหารจะถูกนำไปเลี้ยงที่กระดูกสันหลังและกระดูกตามส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งทำให้ลดแรงกระทำต่อข้อต่อและกระดูกได้ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาด้วยการจัดกระดูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจลองค้นหาจากอินเตอร์เน็ต จากเว็บไซต์ ดูรีวิวว่าสถานที่นั้นเป็นอย่างไรบ้าง
    • โทรไปสอบถามข้อมูลจากสถานที่นั้น
    • สอบถามว่าที่นี่รองรับสิทธิการรักษาของคุณหรือไม่ ในเรื่องของค่าใช้จ่าย
    • อธิบายอาการ และสอบถามเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีจัดกระดูก
    • หรือลองหาการรักษาแบบ Egoscue โดยผู้เชี่ยวชาญจะใช้การออกกำลังกายร่วมกับแรงโน้มถ่วงของโลกในการจัดแนวกระดูกคอและหลัง [13]
  2. โดยนัดหมายผ่านโทรศัพท์หรือทางออนไลน์ขึ้นกับความสะดวก
    • สอบถามเพิ่มเติมว่าต้องมีการให้ข้อมูลอะไรก่อนการรักษาบ้าง และควรไปก่อนเวลานัดหมายหรือไม่อย่างไร
    • แจ้งสถานที่หรือคลินิกนั้นๆ ว่าคุณต้องการรักษาด้วยการจัดกระดูกคอ
    • ในบางกรณี คุณอาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำก่อน โดยแพทย์จะตรวจประเมินและแนะนำวิธีการรักษาว่าควรรักษากี่ครั้ง รวมทั้งวิธีการดูแลตนเอง
  3. ควรสวมเครื่องแต่งกายที่หลวมเล็กน้อย สวมเครื่องแต่งกายแบบที่แยกเสื้อและกางเกงหรือกระโปรงออกจากกันได้ เพื่อการนอนและขยับตัวที่สะดวกขณะทำการรักษา
    • เตรียมคำถามที่ต้องการจะถามไว้ล่วงหน้า
  4. วางตารางล่วงหน้าไว้สำหรับการรักษาครั้งถัดไป.การรักษาครั้งเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เมื่อรักษาครั้งแรกเสร็จ ควรทำการนัดหมายก่อนกลับบ้าน เพราะหากรักษาครึ่งๆ กลางๆ ไม่ครบตามเวลาที่เหมาะสม อาจทำให้อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงได้ [14]
    • ควรนำปฏิทินหรือตารางติดตัวไปเพื่อจดวันเวลาที่นัดหมาย
    • สอบถามผู้รักษาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนเมื่อกลับไปบ้าน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  5. อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยจากการรักษา ควรแจ้งผู้รักษาหากอาการดังกล่าวคงค้าวนานหลายวัน ซึ่งผลข้างเคียงมักมีดังนี้:
  6. ผู้รักษาจะแจ้งขั้นตอนในการรักษา และให้คำแนะนำสำหรับการกลับไปปฏิบัติตนที่บ้าน ดังต่อไปนี้:
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,936 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา