ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การปรับบุคลิกท่าทางการนั่งการยืนให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพกายและจิตของคุณให้สมบูรณ์แข็งแรงเป็นอย่างมาก เพราะในระหว่างที่คุณพยายามสร้างบุคลิกภาพที่ดี อวัยวะต่างๆ จะได้รับการจัดวางให้เข้าที่เข้าทางอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ การสร้างบุคลิกภาพที่ดีจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดปัญหาสุขภาพนานาที่หลายคนกำลังประสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหลังปวดคอ ปวดศีรษะ หรือภาวะร่างกายอ่อนแรงเรื้อรัง เท่านั้นยังไม่พอ การดูแลสุขภาพโดยรวม รวมถึงการยืน (หรือนั่ง) หลังตรงยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความมั่นใจให้แก่คุณ ในบทความนี้ เราจึงนำวิธีการปรับปรุงและรักษาบุคลิกของคุณให้ดูดีทุกท่วงท่ามาฝากกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 9:

เทคนิคชิคๆ ในการปรับบุคลิกท่าทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองจินตนาการว่ามีเส้นเชือกงอกขึ้นมาจากศีรษะและกำลังดึงคุณขึ้นไปยังเพดานเบาๆ การจินตนาการภาพเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยไกด์ให้คุณสามารถกะตำแหน่งและความสูงของท่วงท่าที่เหมาะสมได้ดีทีเดียว
  2. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ให้เพื่อนแปะเทปกาวเป็นรูปตัว X ใหญ่ๆ ไว้บนหลัง พาดยาวตั้งแต่ไหล่ข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง. ตามด้วยการแปะเทปกาวเป็นเส้นตรงจากไหล่ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างเพื่อปิดช่องเปิดด้านบนตัว X และแปะทิ้งไว้ทั้งวันเพื่อช่วยดัดหลังของคุณเสียใหม่ วิธีการนี้ใช้การได้ดีอย่าบอกใครโดยเฉพาะถ้าก่อนหน้านี้คุณชอบเผลอห่อไหล่บ่อยๆ โดยแนะนำให้ใช้เทปกาวที่ไม่ยืดและกว้างสักหน่อย และถ้าเปลี่ยนเทปกาวทุกวันได้จะถือว่าดีมาก
  3. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    พยายามเดินอย่างสมดุลเหมือนคุณมีหนังสือวางอยู่บนศีรษะตลอดเวลา
  4. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ถ้าคุณจำเป็นต้องมีตัวช่วยเตือนความจำให้คอยรักษาบุคลิกท่าทางอยู่เสมอ อาจจะลองคิดถึงวัตถุหรือสีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อนึกถึงวัตถุนี้ขึ้นมาเมื่อไร ให้เช็คท่วงท่าของร่างกายทันที
  5. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในขณะเดิน ลองรักษาท่วงท่าและสมดุลของร่างกายโดยอาศัยช่วงน่องให้มากยิ่งขึ้น ปล่อยตัวตามสบายและก้าวย่างไปด้วยความกระฉับกระเฉง คุณจะรู้สึกราวกับลำตัวช่วงบนได้รับการปลดปล่อย ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและตั้งลำตัวให้ตรงได้มากขึ้น อีกทั้งยังได้ยืดช่วงหลัง ไหล่ และลำคอ รวมถึงบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องไปด้วยในตัว วิธีนี้จึงถือว่าเจ๋งสุดๆ เพราะเป็นโอกาสที่น่องและกล้ามเนื้อของเราจะได้อวดความแข็งแรง!
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 9:

ท่านั่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    คุณโดนแม่เอ็ดเรื่องนี้มากี่ครั้งแล้ว? หลายๆ คน คงเริ่มได้ยินคำเตือนนี้จากคุณแม่ไล่เลี่ยกับคำเตือนอย่าง “กินผักด้วย” หรือ “ ทำอย่างนั้นระวังตาจะเหล่เข้าจริงๆ” ความจริงสิ่งที่คุณแม่พร่ำบ่นก็มีเหตุผลว่าไหม อย่างน้อยก็เรื่องการนั่งของเรา โดยเฉพาะตอนนี้ที่หลายๆ คนต้องนั่งโต๊ะทำงานตลอดทั้งวัน การปฏิบัติตามคำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญทั้งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพของคุณเอง
    • สำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานกับโต๊ะนานหลายชั่วโมง ถ้าเลือกได้ล่ะก็ ควรใช้เก้าอี้ที่ออกแบบมาให้เข้ากับสรีระของมนุษย์ และเหมาะกับส่วนสูงและน้ำหนักของคุณ แต่ถ้าเลือกไม่ได้จริงๆ ลองใช้หมอนใบเล็กๆ รองตรงช่วงเอวดูหน่อยเป็นไง
    • วางแผ่นหลังให้เข้ากับพนักพิงของเก้าอี้ออฟฟิศ วิธีการนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณงอตัวหรือโน้มตัวไปข้างหน้า ซึ่งเป็นท่วงท่าที่คุณอาจเผลอทำเมื่อนั่งกับโต๊ะนานๆ
    • ถ้าคุณต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ลองปรับตำแหน่งหน้าจอให้หันขึ้นมากกว่าปกติสักนิด โดยเฉพาะสำหรับคนที่ชอบนั่งตัวงอ วิธีการนี้จะบังคับให้คุณต้องนั่งหลังตรงเพื่อมองจอให้ชัดขึ้นนั่นเอง
    • ในส่วนของท่ายืน ให้ตั้งไหล่ตรง 180 องศา เชิดหน้ามองตรง และจัดวางลำคอ หลัง และส้นเท้าให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม
    • วางเท้าทั้ง 2 ข้างไว้บนพื้นหรือที่วางเท้า (ถ้ายืดขาไม่ถึงพื้น)
    • ปรับเก้าอี้และตำแหน่งของลำตัวให้แขนงอเข้า ไม่ยืดตรง โดยทำมุมประมาณ 75-90 องศาตรงข้อศอก เพราะถ้ายืดแขนตรงเกินไป จะทำให้ลำตัวของคุณงอไปด้านหลังมากเกินไป และถ้ายืดออกมากกว่า 90 องศา จะทำให้คุณนั่งใกล้จอคอมมากเกินไปหรือนั่งตัวงอนั่นเอง
  2. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    แม้คุณจะนั่งด้วยท่วงท่าสุดเพอร์เฟคบนเก้าอี้ที่ได้รับออกแบบมาดีที่สุดในโลก (ซึ่งยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเก้าอี้นี้มีจริงหรือไม่) [1] อย่างไรคุณก็ยังต้องยืนขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปรอบๆ และออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ หรือยืนขึ้นเฉยๆ แค่ 2-3 นาทีก็ยังดี เพราะร่างกายของคนเราไม่ได้ออกแบบมาให้นั่งอยู่กับที่ตลอดทั้งวัน ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยซิดนีย์เมื่อเร็วๆ นี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า "การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจนำไปสู่สาเหตุของโรคหลากหลายชนิด ไม่ว่ากิจกรรมอื่นที่คุณทำจะมีลักษณะอย่างไรก็ตาม" รอช้าอยู่ใย ขยับร่างกายกันหน่อยดีกว่า!
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 9:

ท่าเดิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การเดินในท่าที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาจากการยืนอย่างถูกวิธี นั่นคือ หน้าตั้ง อกผาย ไหล่ผึ่ง และตามองตรงไปข้างหน้า
    • พยายามอย่าโน้มศีรษะไปด้านหน้า
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 9:

การนอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    แม้คุณจะไม่สามารถควบคุมท่านอนได้ในระหว่างที่กำลังหลับ แต่รู้หรือไม่ว่า วิธีการนอนก็มีผลต่อท่วงท่าในยามตื่นของคุณด้วยเช่นเดียวกัน
    • การใช้เบาะนอนที่แข็งขึ้นเพื่อให้รองรับแผ่นหลังได้อย่างเหมาะสมเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยได้
    • การนอนหงายจะทำให้ไหล่ของคุณตั้งตรง และมักทำให้หลังรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าการนอนคว่ำ
    • ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบนอนตะแคง ลองสอดหมอนแบนๆ ใบเล็กๆ ไว้ระหว่างเข่าเพื่อปรับกระดูกสันหลังให้เข้าที่และตั้งตรง
    • ใช้หมอนรองที่เหมาะสมเพื่อให้ศีรษะและไหล่วางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่ต้องระวังอย่าใช้หมอนมากเกินไป เพราะอาจทำให้ศีรษะของคุณหันไปในตำแหน่งที่ผิดธรรมชาติ การนอนผิดท่าในลักษณะนี้จะทำให้คุณรู้สึกตึง ปวด และวิงเวียนศีรษะเมื่อตื่นขึ้นมา
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 9:

ท่าขับรถ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การนั่งในท่าที่ถูกต้องไม่ได้ส่งผลดีต่อบุคลิกภาพของคุณเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อความปลอดภัยอื่นๆ อีกด้วย เพราะตำแหน่งของเก้าอี้และระบบป้องกันต่างๆ ภายในรถล้วนได้รับออกแบบมาสำหรับผู้ที่นั่งบนเก้าอี้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ท่านั่งจึงมีผลต่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง
    • พิงหลังกับเก้าอี้และวางศีรษะบนพนักพิง
    • ปรับเก้าอี้ให้ห่างจากแป้นเหยียบและพวงมาลัยในระยะที่เหมาะสม ถ้านั่งแล้วรู้สึกว่าลำตัวเอียงไปข้างหน้า นิ้วเท้าชี้ไปข้างหน้า หรือต้องยืดแขนไปยังพวงมาลัย แสดงว่าคุณนั่งไกลออกมามากเกินไป แต่ถ้าลำตัวของคุณเบียดแน่น คางวางอยู่เหนือพวงมาลัย แสดงว่าคุณอยู่ใกล้เกินไป
  2. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    คุณควรปรับพนังศีรษะให้ช่วงกลางศีรษะพิงอยู่บนพนัก และปรับเอนพนักตามความจำเป็น เพื่อให้ส่วนหลังของศีรษะอยู่ห่างออกมาจากพนักพิงไม่เกิน 4 นิ้ว (10 ซม.)
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 9:

บริหารกล้ามเนื้อส่วนสำคัญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในการดูแลระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกทั้งหมดให้สมดุลเพื่อให้สามารถรองรับท่วงท่าของคุณได้เป็นอย่างดี อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนั่นคือการรักษาหุ่นให้สมส่วนอยู่เสมอ ลองนำเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้ดูสิ:
    • นอนหงายลงกับพื้นและงอขาเป็นมุม 90 องศาตรงช่วงเข่า โดยให้ขาวางอยู่บนบนพื้น
    • ดึงสะดือเข้าหากระดูกสันหลังจนสุดและค้างไว้ นี่เป็นอีกหนึ่งท่าหดเกร็งลำตัวที่ต่างจากท่าครันช์ (ท่าครันช์จะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนหน้าเสียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ท่านี้จะเน้นบริหารกล้ามเนื้อด้านในที่อยู่ใกล้กับช่วงหลังของคุณ)
    • ทำค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำจนครบ 8 รอบ โดยควรทำเป็นประจำทุกวัน
    • รักษาท่วงท่าให้เหมาะสมอยู่เสมอแม้คุณจะรู้สึกเหนื่อยและไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นเลย เช่น กล้ามเนื้อหลังหรือก้น
    • พยายามหายใจด้วยจังหวะปกติในระหว่างที่ทำท่านี้ เพราะเป้าหมายของเราคือการบริหารอวัยวะในร่างกายให้คงอยู่ในท่านี้ได้ในระหว่างที่เราทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 9:

ท่ายืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ท่ายืนที่ถูกต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดวางลำตัวและรักษาสมดุลของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับคุณ และนี่คือเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณยืนตรงได้อย่างถูกต้อง:
    • กางขาออกให้ห่างจากกันประมาณช่วงไหล่ เหมือนในเวลาที่คุณออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้แรง
    • ยืนตัวตรง ขั้นตอนนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญของการยืนอย่างถูกต้องและต้องอาศัยการทำซ้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อคุณฝึกนิสัยให้ยืนอย่างถูกต้องอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติในที่สุด
    • ทิ้งน้ำหนักไปบนฝ่าเท้าส่วนหน้า เพราะการทิ้งน้ำหนักไปที่ส้นเท้ามักจะทำให้คุณงอตัวโดยไม่รู้ตัว ลองลุกขึ้นและพยายามยืนบนฝ่าเท้าส่วนหน้า แล้วสังเกตว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ มีการตอบสนองอย่างไร จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับมาทิ้งน้ำหนักลงบนส้นเท้า คุณจะสังเกตได้ว่าการเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียวนี้ทำให้ลำตัวทั้งหมดเข้าสู่โหมด "ห่อตัว" ในทันที
    • ตั้งไหล่ให้ตรงอยู่เสมอ คุณอาจรู้สึกไม่ชินในช่วงแรกๆ หากไม่เคยฝึกนิสัยการจัดวางลำตัวให้ถูกต้องมาก่อน แต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ คุณจะทำสิ่งนี้ได้โดยสัญชาตญาณเหมือนในการฝึกยืนตรง
    • เงยหน้ามองตรง ลองจินตนาการว่าศีรษะของคุณกำลังถูกดึงขึ้นไปยังเพดาน โดยให้ศีรษะตั้งตรงอยู่บนลำคอและกระดูกสันหลัง วิธีนี้นอกจากจะช่วยปรับบุคลิกภาพของคุณแล้ว ยังทำให้คุณดูสูงและผอมเพรียวขึ้นอีกด้วย มาลองดูกัน!
  2. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ทำให้ร่างกายรับรู้ว่าท่าที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร. โดยการยืนเอาหลังพิงประตูหรือกำแพง ให้ส่วนหลังของศีรษะ ไหล่ และก้นสัมผัสกับประตูหรือกำแพงเพียงเบาๆ มันอาจจะรู้สึกแปลกๆ และไม่สบายตัวไปบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเมื่อคุณฝึกนิสัยการยืนอย่างถูกต้องพร้อมบริหารร่างกายด้วยท่าต่างๆ ไปเรื่อยๆ ท้ายที่สุดคุณจะรู้สึกไม่สบายตัวถ้า "ไม่" ยืนในท่านี้
    โฆษณา
วิธีการ 8
วิธีการ 8 ของ 9:

ท่าทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การสร้างบุคลิกท่าทางที่ดีไม่มีอะไรมากไปกว่าการจัดวางร่างกายให้ถูกต้อง หากต้องการยืนอย่างถูกต้อง เพียงยืดหลังขึ้น ไหล่ตรง คางตั้ง อกตึง เก็บหน้าท้องเข้า เท้าชี้ไปด้านหน้า พร้อมรักษาสะโพกและเข่าให้อยู่ตรงกลางเข้าไว้ ถ้าคุณสามารถวาดเส้นตรงจากติ่งหูผ่านช่วงไหล่ สะโพก เข่า ไปจนถึงช่วงกลางข้อเท้าได้ นั่นล่ะใช่เลย! วิธีการค้นหาท่วงท่าที่เหมาะสำหรับคุณ มีดังนี้:
    • จัดตำแหน่งของหู ไหล่ และสะโพกให้ถูกต้องโดยใช้กระจกเป็นตัวช่วย ถ้าคุณจัดวางอวัยวะเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม หูของคุณจะวางอยู่เหนือช่วงไหล่และสะโพก และเหมือนอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ คุณจะสามารถลากเส้นตรงผ่านอวัยวะเหล่านี้ได้ ในขณะที่กระดูกสันหลังของคุณจะโค้งคล้ายๆ ตัว 'S' โดยไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บเลยแม้แต่น้อย ถ้ารู้สึกเจ็บล่ะก็ ลองหันลำตัวด้านข้างและมองไปยังกระจกเพื่อเช็คดูว่าหลังของคุณกำลังบิดตัวไปในตำแหน่งที่ผิดธรรมชาติรึเปล่า แต่ถ้าไม่รู้สึกเจ็บเลย ให้พยายามรักษาท่านี้เอาไว้อย่าให้เปลี่ยนเชียว เพราะถ้าคุณปล่อยให้อวัยวะเหล่านี้อยู่ผิดที่ มันอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
    • กระดูกสันหลังของคนเราจะมีส่วนโค้งเว้าตามธรรมชาติที่เรียกว่าเส้นรูป "ดับเบิลซี" (double C) หรือรูปตัว "เอส" หรือที่เรียกได้อีกอย่างว่าเส้นแอ่น (lordotic) และเส้นโก่ง (kyphotic) เส้นแอ่น คือ เส้นโค้งที่อยู่ตรงกระดูกส่วนเอว เมื่อมุมตรงส่วนนี้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เราจะเรียกอาการนี้ว่าอาการหลังแอ่นตรงกระดูกเอว ในขณะที่เส้นโก่งจะพบได้ตรงกระดูกส่วนอก เมื่อไรที่เส้นโค้งตรงจุดนี้มีขนาดมากกว่า 50 องศา เราจะเรียกอาการนี้ว่าอาการหลังโก่งตรงกระดูกอก เส้นโค้งเหล่านี้พบได้ตั้งแต่ช่วงฐานของศีรษะลงมาจนถึงช่วงไหล่ และจากหลังช่วงบนไปจนถึงส่วนฐานของกระดูกสันหลัง ลองยืนตัวตรงและพยายามถ่ายน้ำหนักไปยังเท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน เพราะก่อนที่คุณจะเริ่มลงมือหาท่าที่เหมาะสม คุณควรจะยืนในท่านี้ได้อย่างสบายตัวเสียก่อน
  2. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังช่วงบนและกล้ามเนื้อไหล่จะทำให้คุณสามารถรักษาท่าทางให้เหมาะสมได้ตลอดเวลา อย่างไรก็ดี คุณไม่จำเป็นต้องบริหารหุ่นให้ฟิตเปรี๊ยะ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือการทำให้ "กล้ามเนื้อจดจำตำแหน่ง" เพื่อให้คุณสามารถรักษาท่วงท่าที่ถูกต้องได้โดยสัญชาตญาณโดยไม่รู้สึกเมื่อยล้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ยกเวท อย่าลืมบริหารกล้ามเนื้อทั้งส่วนทำการ (agonist) และกล้ามเนื้อต้าน (antagonist) ให้เท่าๆ กัน เช่น บริหารกล้ามเนื้อช่วงต้นขาด้านหลังให้เท่าๆ กับช่วงต้นขาด้านหน้า และช่วงหน้าอกให้เท่าๆ กับช่วงหลัง เพราะนี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องอยู่เสมอได้ ลองทำเทคนิคต่อไปนี้ไปใช้กันดู (จะใช้ดัมเบลหรือไม่ใช้ก็ได้)
    • ท่าที่ 1
      • จัดวางลำตัวให้ตรงและหน้าตั้ง เพื่อให้ใบหูอยู่ในแนวเดียวกับช่วงไหล่
      • กางแขนทั้ง 2 ข้างออกให้อยู่ในระนาบเดียวกับใบหู และหงายฝ่ามือขึ้น
      • งอแขนส่วนหน้าขึ้นลงเข้าหาไหล่ โดยพยายามให้ปลายนิ้วสัมผัสกับกระดูกสะบัก
      • ทำซ้ำ 10 ครั้งด้วยแขนทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กัน จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นทำซ้ำ 10 ครั้งทีละข้าง
    • ท่าที่ 2
      • จัดตำแหน่งของหูและไหล่เหมือนอย่างในท่าที่ 1
      • กางแขนทั้ง 2 ข้างออกให้อยู่ในระดับไหล่ค้างไว้พร้อมนับ 1-10 ช้าๆ
      • ค่อยๆ พับแขนลงมาข้างลำตัวช้าๆ พร้อมนับ 1-10 ไปด้วย
      • ค่อยๆ กางแขนออกในระดับไหล่ดังเดิมพร้อมนับ 1-10 ในระหว่างที่ยกแขนขึ้น
      • ทำซ้ำ 10 ครั้ง และอย่าลืมเช็คการจัดวางลำตัวไปด้วยในแต่ละครั้ง ถ้าการทำซ้ำ 10 ครั้งดูจะเป็นการฝืนมากเกินไปสำหรับการเริ่มต้นของคุณ ให้ทำเท่าที่ทำได้ดูก่อน แต่อย่างน้อยๆ ควรฮึดสู้ทำจนรู้สึกล้าหน่อยๆ ตรงกล้ามเนื้อช่วงไหล่
  3. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    ในระหว่างที่รอหน้าเว็บโหลดหรือขนมปังปิ้งได้ที่ ลองกางข้อศอกออกข้างลำตัวและเอามือแตะไหล่
    • วางมือค้างไว้บนไหล่ โดยให้หูอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ ยกข้อศอกทั้ง 2 ข้างขึ้น (นับ 1-2) จากนั้นจึงยกกลับลงมา (นับ 1-2) ทำซ้ำมากเท่าที่จะทำได้ แล้วคุณจะตกใจเมื่อได้รู้ว่าคุณออกกำลังกายได้มากเพียงใดภายในเวลาแค่ 30 วินาที
  4. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    วิธีการนี้ช่วยได้มากทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังหรือคอ อีกทั้งยังเป็นเทคนิคดีๆ ที่ทำระหว่างวันได้สำหรับผู้ที่ทำงานที่ต้องนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
    • เอียงหรือยืดศีรษะไปทุกทิศทางรอบๆ ไหล่ (หน้า, หลัง, ซ้าย, ขวา) ตามด้วยนวดคอเบาๆ แต่ให้หลีกเลี่ยงการหมุนเป็นวงกลม เพราะอาจทำให้รู้สึกตึงมากยิ่งขึ้น
    • วางมือและเข่าลงกับพื้นในท่าคลาน 4 ขา โก่งหลังขึ้นเหมือนแมว จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นแอ่นหลังลง โดยแอ่นลงไปจนถึงจุดที่คิดว่าคุณสามารถวางถ้วยลงไปบนช่วงเว้าบนแผ่นหลังได้
    • บริหารร่างกายด้วยท่าข้างต้นซ้ำ 2-3 ครั้งเป็นประจำทุกวัน ถ้าทำในช่วงเช้า จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณได้ยืดเส้นยืดสายคลายความอ่อนแรงหลังการนอนหลับ ในขณะที่การทำเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน จะช่วยเพิ่มระดับพลังงานของคุณได้เหมือนการออกกำลังกายอย่างหนักเลยทีเดียว
  5. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    การเล่นโยคะส่งผลดีทั้งต่อบุคลิกภาพและสุขภาพโดยรวมของคุณ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างสมดุลของร่างกาย เพราะการเล่นโยคะทำให้คุณได้บริหารกล้ามเนื้อหลักให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการจัดวางร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง
    • นอกจากนี้ โยคะยังช่วยสอนถึงวิธีการจัดวางลำตัวให้ตรงทั้งในขณะนั่ง ยืน และเดิน ลองหาคลาสเรียนโยคะใกล้บ้าน หรือเสาะหาคลิปสอนดีๆ บน YouTube กันดูนะ
    โฆษณา
วิธีการ 9
วิธีการ 9 ของ 9:

การยกของหนัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปรับบุคลิกท่าทางให้ดียิ่งขึ้น
    หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้หลังได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ. การยกของหรือถือของทำให้คุณต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นจนอาจทำให้เกิดปัญหาในการรักษาสมดุล ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในกิจกรรมออกแรงตามปกติที่คุณทำในแต่ละวัน การยกหรือถือสิ่งของโดยไม่คำนึงถึงรูปร่างสรีระของคุณจึงอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว ปวดเมื่อย หรือในบางกรณีอาจถึงขั้นบาดเจ็บรุนแรงได้เลยทีเดียว และนี่คือคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับท่ายกของที่เหมาะสม:
    • เมื่อต้องยกสิ่งของใดๆ ก็ตามที่มีน้ำหนักมากกว่าน้องแมวตัวน้อยขึ้นมาจากพื้น ให้คุณย่อตัวลงไปด้วยการงอเข่าทุกครั้ง อย่าเผลองอช่วงเอวเป็นอันขาด เพราะกล้ามเนื้อหลังของคนเราไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการยกของหนัก ส่วนที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับหน้าที่นี้โดยเฉพาะคือกล้ามเนื้อท้องและขาซึ่งมีขนาดใหญ่ เพราะฉะนั้นให้พยายามใช้กล้ามเนื้อตรงส่วนนี้เข้าไว้
    • ถ้าคุณต้องยกของหนักบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในการยกเวทหรือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน อาจจะลองหาเข็มขัดช่วยพยุงมาสวมใส่ดู อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยให้คุณสามารถจัดวางร่างกายได้อย่างเหมาะสมในระหว่างที่ยกของ
    • ถือไว้ให้กระชับที่สุด ในขณะที่ยกวัตถุหนักๆ นั้น ยิ่งคุณถือไว้ใกล้กับหน้าอกมากเท่าไร จะยิ่งทำให้คุณใช้หลังช่วงล่างน้อยลง โดยเราจะเปลี่ยนมาใช้กล้ามเนื้อแขน หน้าอก และหลังช่วงบนแทน
      • ลองถือถุงแป้งทำขนมที่หนักประมาณ 5 ปอนด์ (2.26 กก.) แล้วยื่นออกไปไกลๆ ทางด้านหน้าของคุณ จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงกลับเข้ามาที่หน้าอก คุณจะรู้สึกได้เลยว่าคุณใช้กล้ามเนื้อคนละกลุ่มในแต่ละช่วง
    • รักษาสมดุลในการยกของเพื่อป้องกันอาการตึงและเมื่อยล้า เช่น ในขณะที่ถือกระเป๋าหนักๆ ให้พยายามเปลี่ยนแขนบ่อยๆ คุณจะรู้ได้เองเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

เคล็ดลับ

  • ใจเย็นกับตัวเองสักหน่อย การปรับแก้บุคลิกท่วงท่าอาจต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะถ้าคุณยืนนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องติดต่อกันนานหลายปี
  • ยกหน้าจอคอมหรือหนังสือขึ้นให้อยู่ในระดับสายตา แทนที่จะก้มหน้าลงไปอ่าน
  • อย่าเผลอเดินตัวงอเป็นอันขาด เพราะมันจะทำให้เกิดอาการลงพุง
  • ลองฝึกยืดไหล่ให้ผายออก หน้าตั้ง และหลังตรงเป็นเวลา 5 นาที คุณอาจจะรู้สึกแปลกๆ ไปบ้างในช่วงแรกๆ แต่ถ้าพยายามทำอย่างสม่ำเสมอ การจัดวางลำตัวของคุณจะดีขึ้นอีกแยะเมื่อเวลาผ่านไป
  • อย่ายืดกล้ามเนื้อจนเกร็งในขณะที่พยายามจัดวางลำตัวให้ตรง เพราะมันจะทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณตึงเครียดมากเกินไป อีกทั้งยังส่งผลต่อกระดูก และลงเอยด้วยการทำร้ายบุคลิกภาพ หรือแม้แต่วิธีการเคลื่อนไหวและการหายใจของคุณ ลองเปลี่ยนเป็นค่อยๆ ปรับลำตัวอย่างผ่อนคลาย เมื่อไรที่รู้สึกปวดหลัง ให้หยุดทันที! เพราะอาการปวดแสดงให้เห็นว่าคุณอาจกำลังทำให้กล้ามเนื้อตึงมากเกินไปโดยไม่จำเป็น การแยกแยะระหว่างอาการปวดหลังกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกล้ามเนื้อที่คุณต้องใช้ยังไม่คุ้นชินกับท่าทางการจัดวางลำตัวที่ถูกต้อง มันจึงอาจยังไม่แข็งแรงพอในตอนนี้ เทคนิคมีอยู่ว่า ถ้าทำท่าไหนแล้วรู้สึกหายใจติดขัด ให้รีบเปลี่ยนทันที ให้ลมหายใจเป็นเครื่องช่วยนำทางให้กับคุณ ท่าที่ถูกต้องควรทำให้คุณรู้สึกดีในทุกลมหายใจ! ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักหน่อยกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรงและรักษาสมดุลให้กับท่าต่างๆ ได้ แม้จะเป็นงานที่หนักเอาการ แต่รับประกันว่าผลลัพธ์ในท้ายที่สุดคุ้มค่าอย่างแน่นอน
  • ถ้าศีรษะของคุณกำลังเอียงไปด้านข้าง นั่นคงไม่ใช่ท่าที่ถูกต้องเป็นแน่ เพราะศีรษะของคุณจะต้องอยู่ในระดับที่ทำให้คุณสามารถมองตรงไปข้างหน้าได้โดยไม่ต้องเหลือบตาขึ้น ถ้าคุณไม่สามารถมองตรงได้โดยไม่รู้สึกตึงบริเวณลำคอล่ะก็ แสดงว่าคุณกำลังทำให้กล้ามเนื้อตึงมากเกินไปโดยไม่จำเป็น
  • ลองนำขั้นตอนต่อไปนี้ไปใช้ในการจัดวางร่างกาย: ดันไหล่ไปด้านหน้า จากนั้นจึงดึงขึ้นตรงๆ ตามด้วยการดันไปด้านหลัง ปิดท้ายด้วยการดึงลงมาตรงๆ รู้สึกดีใช่ไหม ถ้าคุณรู้สึกแข็งหรือตึงๆ ที่ไหล่ แสดงว่าคุณอาจกำลังทำให้ไหล่ตึงเครียดโดยไม่จำเป็น
  • ลองสวมใส่เสื้อรูปแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเรื่องการจัดวางร่างกายโดยเฉพาะ เสื้อชนิดนี้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยฝึกดีๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และกระตุ้นให้ไหล่ของคุณรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องได้ตลอดทั้งวัน
  • การตั้งหน้ามองตรงและจัดหู/ไหล่/สะโพกให้อยู่ในแนวเดียวกันอยู่เสมอมีอีกหนึ่งข้อดีสุดเลิศ นั่นคือ ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและปรับทัศนคติที่คุณมีต่อตัวคุณเอง เพราะการมองตรงไปข้างหน้าในขณะที่เดินจะทำให้คุณดูมั่นอกมั่นใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้คุณรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น วิธีการนี้นอกจากจะช่วยปรับวิธีการคิดและอารมณ์ของคุณได้แล้ว ยังทำให้การเดินหน้ามองตรงกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
  • หลีกเลี่ยงการใช้แล็ปท็อปติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้งานนานกว่า 1 ชั่วโมง ลองหาแท่นวางแล็ปท็อปมาใช้เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณวางอยู่ในท่าที่เหมาะสม
  • บางคนอาจมีเท้าที่ผิดรูปแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในระยะปฏิสนธิ (หรือที่เรียกว่า "รอธบาร์ทฟุต" หรือ "อาการเท้าปุก") สิ่งนี้อาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพของคุณ แต่ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่า "การบำบัดระบบประสาทรับรู้ภาวะรอธบาร์ท" (Rothbarts Proprioceptive Therapy)
โฆษณา

คำเตือน

  • สิ่งหนึ่งที่สำคัญและต้องเตือนไว้ก่อนนั่นคือ เมื่อไรก็ตามที่เราพยายามแก้ไขบุคลิกท่าทาง เรามักจะประสบกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกายหลังการออกกำลังกายและเมื่อพยายามรักษาท่วงท่าให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา นั่นเพราะร่างกายของเราอยู่กับท่าทางที่ผิดมาเป็นเวลานาน และกำลังพยายามปรับตัวเข้าสู่ท่าทางใหม่
  • อย่าฝืนออกกำลังกายต่อไปถ้ารู้สึกปวด เกิดเสียงลั่นในข้อต่อ กล้ามเนื้อตึงเกร็ง หรือรู้สึกมากกว่าแค่อาการล้าเบาๆ เพราะการฝืนไม่ได้ช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายเร็วขึ้น มันรังแต่จะทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดและพาลไม่อยากออกกำลังกายอีก อีกทั้งยังเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บรุนแรง ถ้าคุณสามารถทำแต่ละท่าซ้ำได้มากที่สุดแค่ 3 ครั้ง ขอเพียงหมั่นทำบ่อยๆ สัก 3 ครั้งหลังตื่นนอน 3 ครั้งหลังอาหารเช้า และอีก 3 ครั้งก่อนออกจากบ้าน วิธีการนี้จะช่วยให้คุณทำได้มากขึ้นเป็น 4 ในวันพรุ่งนี้หรือวันถัดไป และค่อยๆ เพิ่มเป็น 7 ครั้ง 10 ครั้งไปเรื่อยๆ
  • ถ้าคุณตั้งใจจะเข้าคอร์สปรับบุคลิกภาพ ขอแนะนำให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของคำแนะนำที่คุณได้รับทุกครั้ง เพื่อนของคุณอาจมีคำแนะนำเกี่ยวกับครูสอนที่ผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณตรวจสอบข้อมูลอ้างอิงเพื่อหาวิธีการที่ได้ผลสำหรับคุณ แม้คำแนะนำที่ได้รับจะเป็นวิธีการทางการแพทย์หรือเป็นงานวิจัยของแพทย์ประจำตัวคุณก็ตาม
  • การบำบัดร่างกายและการแพทย์แผนออสทีโอพาธี (Osteopathy) เป็นหนึ่งวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำ อีกทั้งยังสามารถขอเบิกเงินประกันได้ในบางประเทศ การรักษาในแขนงอื่นๆ ที่อาจครอบคลุมอยู่ในเงื่อนไขประกันได้แก่ การรักษาด้วยวิธีการไคโรแพรกติก การฝังเข็ม และเทคนิคอเล็กซานเดอร์ (ซึ่งออกแบบมาสำหรับปรับบุคลิกภาพโดยเฉพาะ) อย่างไรก็ดี วิธีการเหล่านี้ยังไม่มีการรับรองผลในทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์อีกหลายแขนงที่ออกแบบมาเพื่อปรับบุคลิกภาพและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการรับรองทางการแพทย์และบริษัทประกันยังไม่ให้ความสำคัญ
  • ผู้ที่เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง คอ หัวเข่า หรืออุ้งเชิงกรานไม่ควรพยายามปรับแก้การวางตัวของร่างกายด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในแขนงอื่นๆ ก่อนที่จะลองปรับแนวการจัดวางร่างกาย
  • มีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อที่อธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ยาก และยากยิ่งกว่าเมื่อคุณต้องทำความเข้าใจและแปลสารออกมาเป็นการเคลื่อนไหวที่คุณรับรู้ได้ หากท่าบริหารต่างๆ ที่พูดถึงในหน้านี้ไม่ช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น ไม่สามารถทำให้คุณยืดอวัยวะต่างๆ ออกได้มากขึ้นในลักษณะที่คุณสามารถสัมผัสได้ในทันที ควรหยุดและขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี ไม่ควรฝืนทำตามคำแนะนำในที่นี้ต่อไปเรื่อยๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 55,966 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา