ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial vaginosis หรือ BV) คือภาวะการอักเสบของช่องคลอดประเภทหนึ่งซึ่งเป็นการติดเชื้อในช่องคลอดที่พบมากที่สุดในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 44 ปี [1] ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตมากผิดปกติของแบคทีเรียในช่องคลอด [2] แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียแต่อาจเกิดจากปัจจัยบางประการ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ นอกจากนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังตระหนักถึงการป้องกันไว้ก่อนสามารถช่วยปกป้องคุณจากโรคนี้ได้ด้วย [3]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การป้องกันการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย แม้ว่าการยับยั้งชั่งใจตัวเองจะเป็นวิธีเดียวที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้แต่ก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่สุด ดังนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยเสมอขณะมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย [4]
    • หากคุณมีความสัมพันธ์แบบคู่ครองเดียวและโดยปกติแล้วไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ควรใช้หากคุณกำลังรักษาอาการติดเชื้อในช่องคลอดที่เกิดจากแบคทีเรีย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่อไปเพื่อตัวคุณเองและคู่รักของคุณ [5]
  2. ยิ่งมีคู่นอนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสูงขึ้นเท่านั้น [6] ดังนั้นพยายามจำกัดจำนวนคู่นอนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคให้น้อยลง
  3. คิดถึงวิธีการใช้ห่วงอนามัยในการคุมกำเนิดให้ดี. ผลการศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าการใช้อุปกรณ์ภายในมดลูกหรือห่วงอนามัยในการคุมกำเนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ หากคุณเคยมีประวัติช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมาก่อน ให้พูดกับแพทย์เรื่องการใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นแทน [10]
    • ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่ช่วยลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และการติดโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
    • การคุมกำเนิดแบบอื่นที่คุณสามารถใช้ได้คือ การกินยา แผ่นแปะหรือวงแหวนคุมกำเนิด การใช้ฝาครอบไดอะแฟรม การฉีดยาคุม (โดยใช้ฮอร์โมน) หรือการใช้หมวกครอบปากมดลูก [11]
  4. ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอดของคุณ การช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดนั้นช่วยให้คุณปลอดภัยจากภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ นอกจากนั้นการทำความสะอาดในแต่ละวันและการสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมในสภาพอากาศอุ่นๆ อาจช่วยรักษาความสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดได้เช่นกัน [12]
  5. ใช้น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวในการทำความสะอาดช่องคลอดหากมีความจำเป็น. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์สวนล้างภายในเพื่อทำความสะอาดภายในช่องคลอดของคุณ และห้ามใช้ยาสวนล้างช่องคลอดหากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย [16]
    • ช่องคลอดของคุณจะทำความสะอาดตัวมันเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว หากคุณรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดมัน ให้คุณล้างด้วยน้ำอุ่นขณะอาบน้ำอย่างเดียว
  6. การเข้าพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจภายในสม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นเท่านั้นแต่ยังทำให้สุขภาพของจุดซ่อนเร้นของคุณดีขึ้นตามไปด้วย [17] แพทย์อาจตรวจพบภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการตรวจอย่างสม่ำเสมอและสามารถวางเส้นทางในการรักษาให้คุณได้
    • ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ทั่วไปก็สามารถตรวจภายในประจำปีให้คุณได้หากคุณไม่มีสูตินรีแพทย์
  7. เป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณจะต้องกินยาตามแพทย์สั่งทั้งหมดเพื่อที่จะรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หากแพทย์ตรวจพบว่าคุณมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ต้องแน่ใจว่าคุณกินยาทั้งหมดที่แพทย์สั่งเรียบร้อย และติดต่อแพทย์ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจ การรักษาไม่ต่อเนื่องสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคซ้ำอีกได้ [18]
  8. ทานอาหารที่มีโปรไบโอติกส์หรืออุดมไปด้วยจุลินทรีย์ในกลุ่มแลคโตบาซิไล. บางทฤษฎีถือว่าการกินอาหารโปรไบโอติกส์หรือใช้การรักษาด้วยกลุ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิไลซึ่งช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอดของคุณนั้นจะสามารถช่วยป้องกันจากภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะฉะนั้นการกินอาหารจำพวกเนยแข็งหมักด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์หรือโยเกิร์ตจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการรักษาด้วยกลุ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิไล อาหารเหล่านี้อาจช่วยรักษาแบคทีเรียในช่องคลอดให้แข็งแรงได้ [19]
    • จุลินทรีย์ในกลุ่มแลคโตบาซิไลมีจำนวนลดต่ำลงในผู้หญิงที่มีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เพราะฉะนั้นควรใช้ทฤษฏีการรักษาด้วยกลุ่มจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัสเป็นแบบแผนหนึ่งในการรักษา [20]
    • มีงานวิจัยเล็กๆ เพื่อตรวจสอบการบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ในกลุ่มแลคโตบาซิไลสูง เช่น โยเกิร์ตหรือกล้วยจะช่วยป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ [21]
    • พิจารณาเลือกรับประทานโปรไบโอติกที่จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ การศึกษาบางชิ้นแนะนำว่าการใช้โปรไบโอติกสามารถช่วยป้องกันภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้ [22]
    • คุณสามารถรับโปรไบโอติกส์ได้จากอาหารเหล่านี้ เช่น ชาหมักคอมบุฉะ (kombucha) มิโสะ (เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น) หรือบัวหิมะธิเบต (kefir) ผักดองและเนยแข็งต่างๆ เช่น กะหล่ำปลีดอง กิมจิ เนยแข็งเกาดา เนยแข็งเชดดาร์หรือสวิสซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีโปรไบโอติกส์สูง [23]
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีอาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียแตกต่างกันมากมายที่คุณอาจเป็นอยู่ การศึกษาอาการของโรคสามารถช่วยให้คุณระบุอาการได้และรู้ว่าเมื่อใดที่คุณต้องกำหนดเวลานัดกับแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่มีศักยภาพ
  2. ให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย. หากคุณมีอาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียใดๆ ก็ตาม ให้คุณเข้าพบแพทย์เนื่องจากเขาจะได้ยืนยันการวินิจฉัยโรคและสั่งยาให้คุณซึ่งเป็นวิธีเดียวในการรักษาภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย [27]
  3. หากคุณสงสัยหรือรู้ว่าตัวเองมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียและไม่ได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ คุณอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับสภาพร่างกายของคุณได้ การรู้จักความเสี่ยงของการไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลทำให้คุณตัดสินใจเข้าพบแพทย์ได้
  4. ไม่ควรเชื่อในสิ่งที่เล่าต่อๆ กันมาเกี่ยวกับภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย. คุณควรรู้จักสิ่งที่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคเช่นเดียวกับที่คุณควรรู้จักวิธีการป้องกัน คุณไม่สามารถติดโรคนี้ได้จากที่นั่งบนชักโครก ที่นอน สระว่ายน้ำหรือการสัมผัสวัตถุในบริเวณใกล้เคียงของคุณได้ [35]
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3285477/
  2. http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control
  3. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  4. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  5. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  6. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  7. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  8. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  9. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/basics/treatment/con-20035345
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24299970
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/basics/treatment/con-20035345
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24299970
  14. http://www.womenshealthmag.com/nutrition/foods-high-in-probiotics
  15. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  16. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  17. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  18. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  19. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/basics/treatment/con-20035345
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/basics/treatment/con-20035345
  22. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  23. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  24. http://www.cdc.gov/std/bv/stdfact-bacterial-vaginosis.htm
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bacterial-vaginosis/basics/treatment/con-20035345
  26. http://womenshealth.gov/publications/our-publications/fact-sheet/bacterial-vaginosis.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,785 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม