ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปกติประจำเดือนของผู้หญิงจะเวียนมาทุก 28 วัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นเมนส์ทุก 21 - 35 วันก็ยังถือว่าปกติดี ช่วงเวลาที่คุณมีประจำเดือน หรือเอาง่ายๆ ก็คือ “เป็นเมนส์" จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 8 วัน การมีเลือดออกจางๆ ระหว่างเดือน (ก่อนมีเมนส์) หรือที่ฝรั่งเรียกว่า “spotting” นั้นจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่ไม่เป็นไรเพราะเรามีวิธีดูแลรักษามาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำยังไงไม่ให้เลือดออกจางๆ ก่อนมีเมนส์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptives หรือ birth control pills) เพื่อรับมือเรื่อง spotting ก่อนมีเมนส์ ยาคุมจะไปจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างรอบเดือน [1]
    • ยาคุมช่วยให้เมนส์คุณมาสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ผนังมดลูกหนาเกินไปเพราะไข่ไม่ตกตามปกติ แต่สำหรับใครที่ไข่ตกตามกำหนด ยาคุมจะช่วยให้เลือดไม่ไหลเยอะหรือเยอะผิดปกติระหว่างเป็นเมนส์ [2]
  2. การลืมกินยาคุมหรือกินไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ spotting ถ้าเป็นเพราะแบบนี้ละก็ แนะนำว่าต้องหาวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแทนระหว่างรอบเดือน
  3. Progestin นั้นเป็นฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนสังเคราะห์ ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (Progesterone) คือฮอร์โมนตามธรรมชาติที่สร้างโดยรังไข่ ยานี้จะช่วยจัดการปริมาณเลือดของคนที่ไม่ตกไข่เป็นประจำ โดยยา progestin นั้นกินง่ายเพราะส่วนใหญ่จะเป็นยาเม็ด [3]
    • ยาเม็ด Progestin จะมีส่วนผสมหลักที่ชื่อ medroxyprogesterone กับ norethindrone การกินที่แนะนำคือวันละครั้ง 10 - 12 วันต่อเดือน โดยต้องใช้ติดต่อกันหลายเดือน แต่บางครั้งคุณหมอก็จ่ายยา progestin ให้คุณกินวันละครั้ง ติดต่อกันทุกวัน นอกจากนี้ก็ยังมียา progestin แบบฉีด แบบฝัง แล้วก็แบบห่วงคุมกำเนิดด้วย
  4. ในบางคนที่เลือดไหลผิดปกติ ทางเลือกที่น่าสนใจก็อาจเป็นการใช้ IUD หรือห่วงคุมกำเนิดที่มีสาร progestin โดยคุณหมอจะใส่เข้าไปในมดลูกของคุณ และมีสายโผล่ออกมาให้อุ่นใจว่าห่วงยังอยู่ดีไม่หนีหายไปไหน [4]
    • ห่วงอนามัยหรือห่วงคุมกำเนิดที่มีสาร Progestin ช่วยลดอาการเลือดไหลผิดปกติได้ถึง 50% ให้คุณไม่กลับไปเกิดอาการ spotting อีก แถมยังปวดท้องเมนส์น้อยลงด้วย ในบางกรณี คนที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้อาจประจำเดือนขาดไปเลยก็มี [5]
  5. ถ้าตอนนี้คุณกินยาคุมอยู่แล้ว ให้ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าอยากลองเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น อาจจะหมายถึงเปลี่ยนยาที่กิน ใช้วิธีฝังยาคุม ใส่ห่วงคุมกำเนิด หมวกครอบปากมดลูก ยาแปะคุมกำเนิด หรือเปลี่ยนมาฉีดยา [6]
    • ถ้าคุณใช้ห่วงคุมกำเนิดแบบไม่มีตัวยา ให้ลองถามคุณหมอว่าจะเปลี่ยนห่วงคุมกำเนิดได้ไหม ไม่ก็เปลี่ยนไปคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นเลย เพราะคนที่ใช้ห่วงคุมกำเนิดมักมีอัตราการเกิด spotting สูงกว่าคนใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่น
  6. จำกัดการกินยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซนระหว่างเป็นเมนส์. ยาพวกนี้ช่วยแก้ปวดไม่สบายตัวระหว่างเป็นเมนส์ได้ดีก็จริง แต่รู้ไหมว่ามันทำให้เลือดคุณเจือจางลง ทำให้บางทีก็เกิดเลือดไหลทั้งที่ไม่ได้เป็นเมนส์หรือก็คือ spotting ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา [7]
  7. เครียดมากไปก็ทำให้เมนส์มาช้าหรือไม่มาซะเฉยๆ ไม่ว่าคุณจะเครียดบ่อยหรือเครียดน้อย ก็ส่งผลต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ได้ทั้งนั้น [8]
    • ไฮโปทาลามัสคือส่วนสำคัญที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหรือสารต่างๆ ตามธรรมชาติของทั้งร่างกาย รวมถึงรังไข่ที่เป็นตัวควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรนด้วย พอคุณเครียดเมื่อไหร่ รังไข่จะสูญเสียการควบคุมจนการหลั่งฮอร์โมน อย่างโพรเจสเทอโรน ไม่ปกติ ถ้าไม่มีการหลั่งฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนละก็ เอสโตรเจนที่มากไปอาจทำให้เกิดอาการ spotting ได้เหมือนกัน [9] [10]
    • ความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจต่างก็ส่งผลต่อรอบเดือนของคุณ และทำให้เกิด spotting ได้ทั้งนั้น พยายามออกกำลังกายหน่อย ไม่ต้องหนักมากก็ได้ อย่างพวกโยคะ และฝึกเทคนิคการผ่อนคลายให้หายเครียด
  8. โรคอ้วนจะทำให้คุณเสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ แต่ถ้าโหมออกกำลังกายหรือลดน้ำหนักเร็วเกินไปก็ทำเอารอบเดือนผิดปกติได้เหมือนกัน อาจทำให้คุณประจำเดือนขาดหรือผิดปกติ เกิด spotting ได้เหมือนกัน [11]
  9. นัดตรวจประจำปีอย่างการตรวจภายใน (pelvic exam) ตรวจ pap smear คัดกรองมะเร็งปากมดลูก แล้วก็การตรวจหาอาการผิดปกติอื่นๆ ถ้าคุณมีอาการ spotting บ่อยๆ ให้ลองปรึกษาคุณหมอดู จริงๆ แล้วการตรวจ pap smear กับการตรวจภายใน บางทีก็ทำให้เกิด spotting ได้ แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอะไรน่ากังวล [12]
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

แล้วเมื่อไหร่ที่ควรหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการ spotting หรือมีเลือดจางๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดถือเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับคนท้องถือเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การแท้ง หรือท้องนอกมดลูก (ectopic pregnancy) [13]
  2. ถ้าคุณเลือดออกผิดปกติแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย. พวกอาการปวด อ่อนแรง หรือวิงเวียน เป็นสัญญาณบอกว่าคุณควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ [14]
  3. ถ้าก่อนและหลังเป็นเมนส์แล้วเลือดไหล หรือเลือดไหลเยอะตอนกำลังเป็นเมนส์ แปลว่าคุณอาจมีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งหลายอาการสามารถรักษาได้ง่ายๆ ให้นัดตรวจกับสูติ-นรีแพทย์ก่อนเลย จะได้หาสาเหตุและแนะนำวิธีการรักษาต่อไป [15]
  4. ไม่ว่าคุณจะบำบัดด้วยฮอร์โมนแบบต่อเนื่อง แบบเป็นรอบ หรือไม่ได้รับฮอร์โมนเลย แต่ถ้ามีเลือดไหลเมื่อไหร่แปลว่าผิดปกติแล้ว ให้คุณรีบหาหมอทันทีที่มีอาการ [16]
    • ถ้าคุณหมดประจำเดือนแล้วแต่ยังมีเลือดไหล จะเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น 10% เลยทีเดียว [17]
  5. ถ้าคุณไม่มีเมนส์ติดต่อกันนานถึง 90 วัน รีบไปหาหมอจะดีกว่า [18]
  6. หยุดใช้ทันทีแล้วรีบหาหมอด่วน โดยเฉพาะถ้ามีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ท้องเสียหรืออาเจียน วิงเวียนหรือเป็นลม ผื่นไหม้เหมือนแพ้แดดแบบหาสาเหตุไม่ได้ เจ็บคอ หรือตาแดง [19]
  7. อาการ spotting อาจเป็นเพราะโรคหรืออาการอื่น ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของผู้หญิง แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะอะไร คุณหมอจะวิเคราะห์ให้คุณเอง [20]
    • การใช้ยาบางตัวอย่างพวกยากลุ่ม corticosteroids ยาเจือจางเลือด (blood thinner) กระทั่งยารักษาโรคซึมเศร้า (antidepressant) ก็อาจทำให้เกิดอาการ spotting ได้ โรคไทรอยด์กับเบาหวานก็เหมือนกัน
    • ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงที่อาจทำให้คุณเลือดไหลผิดปกติก็เช่น เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids) ติ่งเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (uterine polyps) ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome) เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะหรือช่องคลอด รวมถึงมะเร็ง การตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ (Abnormal pap test) และการติดเชื้อหนองในทั้งแท้ (gonorrhea) และเทียม (chlamydia) ก็ทำให้เกิดอาการเลือดไหลผิดเวลาได้เหมือนกัน ถ้ายังมีอาการ ให้คุณรีบหาหมอทันที [21]

เคล็ดลับ

  • เด็กผู้หญิงอายุต่ำกว่า 8 ขวบ และเด็กที่ยังไม่มีแววว่าจะแตกเนื้อสาว ไม่ควรมีเลือดไหลจากช่องคลอดไม่ว่ากรณีใดๆ ถ้ามีละก็รีบพาไปตรวจด่วน
  • เป็นเรื่องปกติ ที่เด็กวัยรุ่นที่เพิ่งมีเมนส์จะมาบ้างไม่มาบ้าง และเกิดอาการ spotting ในช่วงไม่กี่ปีแรก
  • คนที่เพิ่งเริ่มกินยาคุมอาจเกิดอาการ spotting บ้างช่วงเดือนแรกๆ เพราะร่างกายยังปรับตัวเรื่องฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอยู่
  • อาการป่วยไข้หรือท้องเสียอาจทำให้รอบเดือนคุณไม่ปกติ และเกิด spotting ได้ แต่พอดีขึ้นแล้ว เดี๋ยวก็กลับมาเป็นปกติเอง ไม่ต้องกังวล
  • ควรจดบันทึกว่าก่อน-หลังมีเมนส์ คุณมีเลือดออกแบบ spotting วันไหนและเยอะไหม เวลาไปหาหมอจะได้มีข้อมูลให้คุณหมอแนะนำวิธีรักษาถูก
  • อย่าชะล่าใจว่าเลือดออกผิดปกติก็ไม่เป็นไร ถ้ามีอะไรผิดแปลกไปจากรอบเดือนธรรมดาละก็ รีบหาหมอจะดีกว่า

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,284 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม