ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Guinea pigs คือหนูตะเภา คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกหนูแกสบี้ (cavies) เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงแสนรักที่นิยมกันมากในหลายประเทศทั่วโลก [1] เพราะนอกจากจะน่ารักน่าเอ็นดูแล้วยังเลี้ยงง่าย แถมร่าเริงทำนู่นทำนี่ให้เราดูเล่นตลอด แต่ตอนเอามาเลี้ยงใหม่ๆ ก็อาจต้องรอให้หนูคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ซะก่อน พอหนูตะเภาเชื่อง คุ้นเคยกับคุณและที่ทางแล้ว รับรองว่าจะเล่นกันสนุก น่ารักมากๆ เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลหนูตะเภาตัวใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คือต้องมีกรงหรือบ้านหนูโดยเฉพาะ (มีขายทั่วไปตามร้านขายสัตว์เลี้ยง) ไว้ให้กินอยู่วิ่งเล่น แต่จริงๆ แล้วจะอยู่ในกรงหรือข้างนอกก็ได้ ขอแค่ให้หนูสบายตัวสบายใจ ปลอดภัยก็แล้วกัน
    • หนูตะเภาเป็นสัตว์สังคม เลยไม่ชอบอยู่ตัวเดียว แต่จะดีเป็นพิเศษถ้าคุณเลี้ยงหนูมาด้วยกันตั้งแต่เล็กๆ จะได้รู้ใจกัน ถ้าคุณเลี้ยงหนูตะเภาไว้มากกว่า 1 ตัว ให้แยกตัวผู้ตัวเมียจะได้ไม่จับคู่ออกลูกมาเต็มไปหมด แต่ถึงจะเป็นเพศเดียวกันก็ต้องมีมุมส่วนตัวในกรงไว้ให้แต่ละตัวด้วย เผื่ออารมณ์ไหนหนูอยากหลบมุมขึ้นมา ไม่งั้นเดี๋ยวตีกันตายเพราะแย่งกันเป็นผู้นำ (กรณีที่เป็นตัวผู้ด้วยกัน) ไม่ก็จ้องแต่จะผสมพันธุ์กันตลอด (ถึงต้องแยกตัวผู้ตัวเมีย) [2] ลักษณะกรงหนูตะเภาที่ดีก็คือ [3] [4]
      • มีขนาดใหญ่ (พื้นกรงกว้างอย่างน้อย 8 ตารางฟุต) [5]
      • สร้างจากไม้ บุพื้นแน่หนาแข็งแรง (พื้นไม่ได้เป็นซี่กรงเฉยๆ หรือลวดเส้นๆ)
      • แบ่งพื้นที่สำหรับนอนหลับพักผ่อนและวิ่งเล่นแยกกัน
      • ทนทุกสภาพอากาศ (ถ้ากรงอยู่นอกบ้าน)
      • วัสดุรองพื้นกรง ถ้าเป็นฟางหรือหญ้าแห้งจะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยอย่าใช้อะไรที่ขนฟูๆ นุ่มๆ เพราะหนูตะเภาอาจกินเข้าไป
      • ใช้ชามดินเผาหรือสแตนเลสที่หนีบติดกับกรงหรือบ้านได้ (ไว้ใส่อาหารและน้ำ)
      • ประตูเปิดปิดได้ หนูตะเภาจะได้ออกไปฝั่งวิ่งเล่นได้ ไม่ต้องให้คุณคอยหยิบ (แต่มีหรือไม่มีก็ได้) [6]
  2. [7] [8] หนูตะเภาน่ะไวต่อเสียงมาก เพราะงั้นให้อยู่ในที่สงบ ไกลจากต้นตอของเสียงต่างๆ จะดีกว่า (เช่น เสียงรถรา ผู้คน เสียงทีวีดังๆ หรือเสียงเด็กเล่นกันตึงตัง) ยิ่ง 2 - 3 วันแรกที่พาหนูเข้าบ้านยิ่งต้องรักษาความสงบ หนูจะได้มีเวลาปรับตัว
  3. ช่วงแรกๆ ที่คุณพาหนูเข้าบ้าน อย่าเพิ่งไปยุ่งมันมาก อย่างชวนเล่นหรือเอามากอด แค่คอยสังเกตการณ์อยู่เงียบๆ เป็นระยะก็พอ ว่าหนูยังสบายดีอยู่ [10] หนูตะเภาต้องใช้เวลาค่อยๆ ทำความรู้จัก สร้างความไว้ใจที่มีต่อคุณ อย่าลืมสิว่าตามธรรมชาติมีแต่สัตว์อื่นจ้องจะล่าหนูตะเภาด้วยกันทั้งนั้น [11] เพราะงั้นแรกๆ ให้เวลาหนูบ้าง จะได้ทำความคุ้นเคยกับที่ทางใหม่
    • ถ้าบ้านคุณมีเด็กเล็กๆ ต้องอธิบายให้เข้าใจว่าปล่อยให้หนูตะเภาอยู่เงียบๆ ไปก่อน อย่าเพิ่งไปจับเล่น
  4. [12] ถ้าให้อาหารเพียงพอและเป็นเวลา หนูตะเภาก็จะมีความสุข สุขภาพดี แถมพอคุณให้อาหารเวลาเดิมประจำ (2 ครั้งต่อวันกำลังดี) หนูตะเภาก็จะเชื่อมโยงเสียงคุณกับอาหารและความสะดวกสบาย ลองปรึกษาคุณหมอ ร้านขายของสัตว์เลี้ยง หรือคนที่เลี้ยงหนูตะเภาดู ว่าควรให้อาหารยังไง แต่หลักๆ หนูตะเภาควรกิน [13] [14]
    • หญ้าแห้ง
    • Guinea pig mix (อาหารสำเร็จรูปสำหรับหนูตะเภา)
    • ผักผลไม้ (เพิ่มวิตามินซี) อย่างเมล่อน ส้ม ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ เคล แล้วก็กะหล่ำปลี แต่ห้ามเด็ดขาดคือ "ผักกาดหอม"
  5. ตอนแรกหนูตะเภาอาจไม่ยอมกินอาหารต่อหน้าคุณ [15] คุณต้องคอยดูแลให้หนูกินอาหารครบถ้วน จะได้ร่างกายแข็งแรง โดยหมั่นเช็คชามอาหารและน้ำตอนเช้า ถ้าหนูยอมกิน อาหารและน้ำที่ให้ไว้ก็จะพร่องไป
    • หนูตะเภาบางตัวอาจกินอาหารและน้ำไม่มากนัก หรือไม่กินเลยในช่วงวันสองวันแรกที่คุณพาเข้าบ้าน แต่ถ้านานหลายวันแล้วก็ยังไม่ยอมกิน ควรพาไปหาหมอด่วน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปล่อยให้หนูทำความรู้จักคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาคุณแวะไปตรวจตราความเรียบร้อย ให้ลองพูดคุยกับหนูตะเภาเบาๆ แบบใจเย็น และอย่าลืมรักษาระยะห่างในช่วงแรกๆ [16] หนูตะเภาจะได้ค่อยๆ เคยชินกับเสียงของคุณและตัวคุณเอง
  2. พอแวะมาคุย 2 - 3 ครั้ง คราวนี้ลองยื่นมือไปในกรง ถ้าหนูตะเภาของคุณใจกล้าหน่อย ก็อาจจะขยับมาใกล้แล้วดมมือคุณ [17] ตอนนี้อย่าเพิ่งรีบร้อนอุ้มหนูตะเภาขึ้นมา ยื่นมือค้างไว้เฉยๆ ก่อน
    • ใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไป เพราะตอนแรกหนูตะเภาอาจจะยังไม่ดมมือคุณ ความเชื่อใจเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา
  3. พอมันเริ่มคุ้นเคยกับคุณแล้ว ให้ต้อนเข้ามุมกรง จากนั้นเอามือนึงช้อนใต้พุง ส่วนอีกมือรองใต้ก้นไว้ แล้วค่อยๆ ยกขึ้นมา [18] [19] หรือจะใช้มือเดียวจับรอบไหล่ก็ได้ แล้วอีกมือช้อนใต้ก้นไว้ [20] อุ้มหนูตะเภาแนบอกไว้ แล้วพูดคุยกับมันเบาๆ
    • ถ้าหนูตะเภาดูสงบดี ก็นั่งลงที่เก้าอี้แล้วลูบเล่นได้เลย แต่ถ้าหนูตะเภาไม่ยอม ให้รีบเอาใส่กลับไปในกรง วันหลังค่อยลองใหม่
    • หรือจะลองเอาผ้าห่อตัวหนูตะเภาไว้ก็ได้ แล้วค่อยช้อนตัวขึ้นมา จากนั้นอุ้มไว้แนบอก หนูตะเภาจะได้รู้สึกปลอดภัย
    • ช่วงอาทิตย์แรกๆ ให้หมั่นอุ้มหนูตะเภาทุกวัน ถึงหนูจะดูกลัวๆ เครียดๆ ก็เถอะ ถ้าคุณใจเย็นและอดทน อีกหน่อยก็เป็นเพื่อนรักกันเอง
    • ถ้าหนูตะเภาเริ่มส่งเสียงครืดคราด (เหมือนเวลาแมวคราง) แสดงว่ามันกำลังกลัว [21]
    • ปกติหนูตะเภาจะอ่อนโยน ไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่ถ้ากลัวจัดๆ ก็แว้งกัดหรือข่วนได้เหมือนกัน [22]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สนุกกับหนูตะเภา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยเฉพาะช่วง 2 - 3 อาทิตย์แรก เวลาคุณพยายามผูกมิตรกับหนูตะเภา ให้ใช้ขนมนี่แหละเป็นรางวัล หนูจะได้ยิ่งรู้สึกดี [23] [24] ทุกครั้งที่คุณเข้าใกล้หรืออุ้มหนูตะเภาขึ้นมา ก็ต้องให้ขนมด้วย แต่ห้าม “หลอก” อุ้มโดยที่สุดท้ายไม่ให้ขนมเด็ดขาด เพราะหนูตะเภาจะเลิกไว้ใจคุณไปเลย [25] ขนมที่น่าสนใจก็คือ
    • ผักใบเขียว
    • อาหาร (ชิ้นเล็กๆ) ที่อุดมวิตามินซี อย่างเมล่อนกับบร็อคโคลี่
    • อาหารเม็ดสำหรับหนูตะเภา
  2. หนูตะเภาที่เลี้ยงนอกบ้านส่วนใหญ่จะมีกรงใหญ่ พื้นที่ให้วิ่งเล่นเลยเยอะกว่า แต่ถ้าเป็นหนูตะเภาในบ้านแต่ฝึกจนเชื่องแล้ว นานๆ ทีคุณก็ปล่อยออกไปวิ่งเล่นได้เหมือนกัน ลองหาห้องโล่งๆ ที่ไม่มีหลุมมีรูอะไร (หนูจะได้ไม่หลุดออกไปโดยบังเอิญ) และปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ (ไม่มีสายไฟหรือพลาสติกที่หนูแอบแทะได้ เป็นต้น) [26] ถ้าคุณคอยคุมอยู่ละก็ รับรองว่าหนูตะเภาจะวิ่งเล่นสนุกแถมได้ออกกำลังกายอีกต่างหาก
    • เครื่องเล่นสำหรับหนูตะเภาอย่างกรงที่มีท่อ บันได กล่อง และอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ให้หนูตะเภาวิ่งลอดไปมาก็น่าสนใจเหมือนกัน [27] จริงๆ คุณก็สร้างเองได้ แต่หาซื้อแบบสำเร็จมาเลยจะสวยและถูกกว่า มีขายทั้งตามร้านขายสัตว์เลี้ยงและตามเว็บทั่วไป
    • หรือจะลองสอนทริคสนุกๆ ให้หนูตะเภา อย่างการกระโดดขึ้นกล่อง หรือวิ่งลอดท่อมากินขนมจากมือคุณ
  3. พอหนูตะเภาสนิทกับคุณและยอมให้อุ้มจนชินแล้ว ให้หาเวลาในแต่ละวันมาเล่นกับหนูบ้าง อุ้มหนูตะเภาไว้บนตักแล้วลูบเล่นไปเรื่อยๆ ตอนดูรายการโปรด ตอนฟังเพลง หรือจะแค่อุ้มแล้วคุยกันเฉยๆ ก็ได้ (บอกเลยว่าหนูตะเภาเนี่ยจอมเม้าท์เลย)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หนูตะเภาอยู่ได้ประมาณ 5 - 8 ปี แต่ก็มีบ้างที่นานกว่านั้น [28] ถ้าคิดจะเลี้ยงก็ต้องพร้อมจะรับผิดชอบนานขนาดนั้นด้วยล่ะ
  • ระวังอย่าให้หนูตะเภากัด (จะกัดก็ต่อเมื่อกลัวจัดเท่านั้น เพราะปกติหนูตะเภาน่ะใจดี๊ดี)
  • อาหารบางอย่างก็เยอะหรือใหญ่เกินไปสำหรับหนูตะเภา ให้ลองเอาไปปั่นในเครื่องปั่นดู น่าจะช่วยได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 72,063 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา