ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (angiogram) หรือการผ่าตัดขยายเส้นเลือด (angioplasty) คือการตรวจวินิจฉัยโดยใช้ท่อกลวงๆ ที่เรียกว่า catheter บางทีก็เพื่อรักษาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นกระบวนการระหว่างสวนหัวใจและหลอดเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคหลังพบการอุดตัน หรือนัดทำหลังสวนหัวใจและหลอดเลือดแล้ว และพบว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจ [1] [2] แน่นอนว่าขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดนั้นน่ากลัวสำหรับใครหลายๆ คน โดยเฉพาะถ้าต้องเข้ารับการตรวจแบบฉุกเฉิน ไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน เพื่อหาการอุดตันแบบฉุกเฉิน แต่จริงๆ แล้วการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดนั้นเป็นขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยทั่วไปที่ค่อนข้างปลอดภัยและไม่เจ็บปวด ถ้าคุณหมอพิจารณาแล้วเห็นว่าควรมีการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด ก็แปลว่าจำเป็นต่อการรักษาจริงๆ หลังจากตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดแล้ว มีหลายอย่างที่ควรทำเพื่อให้คุณฟื้นตัวได้ดีและรวดเร็ว เช่น พักผ่อน กินยาตามหมอสั่ง และดูแลแผล บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการฟื้นตัวหลังการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดให้คุณเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พักฟื้นในโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระหว่างการตรวจวินิจฉัย คุณหมอจะฉีดสีเข้าไปในท่อกลวง ที่สอดเข้าไปในหลอดเลือดใดหลอดเลือดหนึ่งที่ต่อไปยังหัวใจ ปอด สมอง แขน ขา หรือไต เป็นขั้นตอนที่ทำให้คุณหมอรู้ว่าเลือดคุณไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายดีแค่ไหน และจะบอกได้ว่ามีการอุดตันที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิตไหม
    • คุณหมอจะฉีดยาชาหรือวางยาสลบให้ก่อนตรวจวินิจฉัย
    • การตรวจวินิจฉัยจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง
    • หลังตรวจวินิจฉัย บางทีก็กลับบ้านได้เลย ขอแค่ไม่พบการอุดตัน
    • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด ปกติจะปลอดภัย ไม่ (ค่อย) เจ็บ แต่อาจมีช้ำบ้างบริเวณที่สอดท่อเข้าไป [3]
  2. พอตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดแล้ว อาจต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลต่ออีกหลายชั่วโมง หรือบางเคสก็ข้ามคืน ระหว่างนี้คุณหมอจะให้คุณพักผ่อนเยอะๆ ซึ่งสำคัญมาก เพราะถ้าขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวมากไปอาจทำให้เลือดไหลจากบริเวณที่สอดท่อ โดยพยาบาลจะคอยวัดความดันและสัญญาณชีพอื่นๆ ด้วย [4]
    • พยายามอยู่เฉยๆ ให้มากที่สุด นอนพักไปจนกว่าคุณหมอจะอนุญาตให้ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ ข้อนี้สำคัญมาก
    • หลังตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด จะมีการสังเกตอาการต่ออีก 6 ชั่วโมง [5]
    • บางทีคุณหมอจะสอดท่อแล้วคาไว้ ค่อยเอาออกในเช้าวันถัดมา ถ้าคุณหมอสอดท่อบริเวณขาข้างหนึ่ง ก็ต้องยกขาข้างนั้นไว้ [6]
  3. ถ้าไม่พบการอุดตัน ก็อาจจะไม่ต้องกินยา แต่ถ้าพบ ก็ต้องกินยาเจือจางเลือดหลังตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดไปประมาณ 1 ปี ให้คุณกินยาทุกวัน และปฏิบัติตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด [7]
  4. ปกติการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย แทบไม่มีผลข้างเคียง แต่ถ้าคุณรู้สึกหรือมีอาการผิดปกติหลังตรวจวินิจฉัย ก็ให้ปรึกษาคุณหมอหรือบอกพยาบาลทันที บางผลข้างเคียงต้องได้รับการดูแลรักษาทันที ไม่งั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้ามีอาการต่อไปนี้ให้รีบแจ้งคุณหมอหรือพยาบาลทันที
    • เลือดออกจากบริเวณที่สอดท่อเยอะผิดปกติ ถ้ามีเลือดซึมนิดหน่อยตอนตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดถือว่าปกติ แต่ถ้าปิดแผลแล้วเลือดยังไม่ยอมหยุดไหล ถือว่าอันตราย
    • มีอาการปวด บวม แดง บริเวณที่สอดท่อ ปกติตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดก็มีเจ็บบ้างนิดหน่อย ถ้าเจ็บปวดจนทนไม่ได้ บวมและ/หรือแดง แสดงว่าผิดปกติ [8]
  5. พอตรวจวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว คุณหมอจะอ่านผลแล้วแจ้งให้คุณทราบในวันเดียวกัน หรือคราวหน้าที่คุณหมอนัดตรวจติดตามผล [9] ระหว่างที่ยังไม่รู้ผลก็ทำใจให้สบาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กลับมารักษาตัวที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คืนแรกหลังตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดนี่แหละ ที่เสี่ยงเกิดผลข้างเคียงมากที่สุด ถ้าในบ้านมีคนอื่นด้วย ก็ไม่ต้องเกรงใจ ขอให้เขาอยู่เป็นเพื่อนก่อนแค่คืนเดียว แต่ถ้าอยู่คนเดียว ให้วานเพื่อนหรือคนในครอบครัวมาอยู่เป็นเพื่อนสักคืน [10]
  2. หลังกลับจากโรงพยาบาล ก็ต้องพักผ่อนต่ออีกประมาณ 1 อาทิตย์ ถ้าเคยหัวใจวายมาก่อน หรือมีโรคแทรกซ้อนร้ายแรง ก็ต้องพักผ่อนนานกว่านั้น เตรียมลางานเพื่อพักฟื้นสัก 2 - 3 วันเป็นอย่างน้อยได้เลย [11]
    • ถ้าสอดท่อแถวขาหนีบ ก็อย่าเพิ่งเดินขึ้นบันไดใน 1 - 2 วันหลังตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด [12]
    • อย่ายกเวทหรืออะไรหนักๆ รวมถึงงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะๆ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าเมื่อไหร่ถึงจะกลับมาทำกิจกรรมดังกล่าวได้
    • บางทีคุณหมอจะแนะนำให้งดขับรถ 1 อาทิตย์ แต่ถ้าประกอบอาชีพขับรถ ก็ต้องมีการตรวจร่างกายและออกใบรับรองแพทย์ก่อน ถึงจะกลับไปทำงานได้ [13]
    • รอ 24 ชั่วโมงแล้วค่อยอาบน้ำ [14]
  3. เพราะมีการฉีดสีเข้าหลอดเลือดตอนตรวจ เลยต้องดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อขับสีออกจากร่างกาย [15] ถ้าเป็นผู้ใหญ่ทั่วไปให้ดื่มน้ำ 6 - 8 แก้วต่อวัน แต่จะมากหรือน้อยกว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและสภาพร่างกาย [16]
  4. ถ้าคุณหมอจ่ายยาให้ เพราะพบความผิดปกติบางอย่าง และ/หรือมีการรักษาโรคหรืออาการนั้นระหว่างตรวจวินิจฉัย ก็ต้องกินยาตามขนานที่คุณหมอสั่ง ถ้ากังวลหรือมีข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับยาก็ปรึกษาคุณหมอได้เลย ที่สำคัญห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด [17]
  5. ช่วง 1 - 2 วันแรกหลังตรวจวินิจฉัย อาจมีอาการปวดและ/หรือบวมบ้าง ให้ประคบเย็น จะช่วยลดปวดบวมได้ โดยใช้เจลแพ็คหรือถุงน้ำแข็งห่อผ้าบางๆ ประคบบริเวณที่ถูกสอดท่อ แต่ละครั้งอย่าประคบนานเกิน 20 นาที [18]
    • ถ้าปวดและ/หรือบวมหนักขึ้นหรือไม่ทุเลาลง ให้รีบไปหาหมอ
    • ประคบเย็นแล้วออกแรงกดด้วย จะได้ห้ามเลือดที่ยังซึมจากแผลสอดท่อ แต่ถ้าเลือดไหลเยอะไม่ยอมหยุด ต้องรีบหาหมอ
  6. ประคบเย็นช่วยลดปวดได้ แต่ไม่ถึงกับหายปวดไปเลย ถ้ายังปวดบริเวณที่สอดท่อหลังประคบเย็นแล้ว ให้ซื้อยาแก้ปวดกินเองได้ เช่น acetaminophen ให้อ่านคำแนะนำที่ฉลากให้ดี อย่ากินยาเกินขนาด หรือจะปรึกษาคุณหมอก็ได้ [19]
  7. ต้องฟังหรือถามให้เข้าใจ แล้วดูแลแผลตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด บางทีคุณหมออาจจะบอกว่า 2 วันแรกอย่าเพิ่งอาบน้ำ ถ้ากังวลสงสัยตรงไหนเรื่องดูแลแผลก็ปรึกษาคุณหมอได้เลย [20]
  8. อาการทั่วไปที่พบได้ก็เช่น แผลเลือดออก ท่าทางจะติดเชื้อ หรือมีรอยช้ำเพิ่มมา แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปหาหมอ [21]
    • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายแผลมากกว่าเดิม
    • มีอาการติดเชื้อ เช่น แดง มีหนองไหล หรือไข้ขึ้น
    • อุณหภูมิหรือสีผิวของขาหรือแขนที่ถูกสอดท่อเปลี่ยนไป
    • ออกแรงกดแผลด้วย 2 - 3 นิ้ว ประมาณ 15 นาที แล้วเลือดยังไหล [22]
    • มีก้อนบวม "เท่าลูกกอล์ฟ" หรือรอยช้ำบริเวณที่สอดท่อ [23]
    • มึน อ่อนแรง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม หรือเหงื่อชื้นเย็น [24]
    • เจ็บแน่นหน้าอก หรือหายใจติดขัด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลสุขภาพหลังตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อันนี้แล้วแต่ว่าคุณต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเพราะอะไร บางทีก็ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่าง เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าควรปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง [25] ส่วนใหญ่ที่หลายคนต้องตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด ก็เพราะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease (CAD)) ถ้าคุณเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพราะสาเหตุนี้ ก็ต้องปรึกษาคุณหมอเรื่องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น [26]
    • เลิกบุหรี่ (ถ้าปกติเป็นสิงห์อมควัน)
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    • ลดน้ำหนัก (ถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์)
    • คลายเครียด
  2. คุณอาจจ่ายยาเจือจางเลือด (blood thinner) ให้ หรือแนะนำให้คุณกินยาแอสไพรินในปริมาณน้อยๆ ทุกวัน ไม่ว่าคุณหมอจ่ายยาหรือแนะนำให้กินยาอะไร ก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และปรึกษาคุณหมอทันทีถ้ามีเรื่องกังวลใจหรือข้อสงสัยเรื่องการใช้ยา ห้ามหยุดยาเองเด็ดขาด [27]
  3. เข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ (cardiac rehabilitation program) แบบไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล. จะได้รู้ว่าควรออกกำลังกายยังไง กินอาหารได้ถูกต้องดีต่อหัวใจ รู้วิธีคลายเครียด กระทั่งเลิกบุหรี่ได้เด็ดขาด ปกติประกันจะครอบคลุมโปรแกรมแบบนี้ แต่ควรสอบถามก่อน [28] [29] ให้คุณหมอเจ้าของไข้นั่นแหละ แนะนำโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจให้คุณ
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าหายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หมดสติ หรือเริ่มไอเป็นเลือด ต้องเรียกรถพยาบาลหรือให้ใครไปส่งที่แผนกฉุกเฉินทันที [30]
  • ถ้าเริ่มมีอาการเหมือนหัวใจจะวาย ต้องรีบโทรเรียกรถฉุกเฉินหรือรถพยาบาลทันที อาการที่ว่าก็เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหงื่อแตก หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปวดตามจุดต่างๆ (เช่น ขากรรไกร คอ หลัง ไหล่ แขน หรือท้องช่วงบน) อ่อนแรง เวียนหัว หรือหัวใจเต้นแรง/ผิดปกติ [31]
โฆษณา
  1. http://www.nhs.uk/Conditions/CoronaryAngiography/Pages/Afterwardspage.aspx
  2. https://www.bhf.org.uk/heart-health/treatments/coronary-angioplasty-and-stents
  3. https://myhealth.alberta.ca/health/aftercareinformation/pages/conditions.aspx?hwid=zc2259
  4. http://www.nhs.uk/Conditions/Coronary-angioplasty/Pages/Recovery.aspx
  5. http://www.cpmc.org/learning/documents/ir-arteriohome-ws.html
  6. http://www.angioplasty.org/nv/angio101.html
  7. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/drinking-enough-water-topic-overview
  8. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/stents/after
  9. https://myhealth.alberta.ca/health/aftercareinformation/pages/conditions.aspx?hwid=zc2259
  10. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/carotid-angioplasty/basics/what-you-can-expect/prc-20005580
  11. http://www.nhs.uk/Conditions/CoronaryAngiography/Pages/Afterwardspage.aspx
  12. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/coronary-angiogram/basics/what-you-can-expect/prc-20014391
  13. http://www.cpmc.org/learning/documents/ir-arteriohome-ws.html
  14. http://www.cpmc.org/learning/documents/ir-arteriohome-ws.html
  15. http://www.cpmc.org/learning/documents/ir-arteriohome-ws.html
  16. http://www.med.umich.edu/cardiac-surgery/patient/adult/adultcandt/coronary_angioplasty.shtml
  17. http://her.oxfordjournals.org/content/17/5/606.full
  18. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/stents/after
  19. http://my.clevelandclinic.org/services/heart/home-recovery/interventional-procedures/after-your-interventional-procedure
  20. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/More/CardiacRehab/Cardiac-Rehab_UCM_002079_SubHomePage.jsp
  21. https://myhealth.alberta.ca/health/aftercareinformation/pages/conditions.aspx?hwid=zc2259
  22. https://myhealth.alberta.ca/health/aftercareinformation/pages/conditions.aspx?hwid=zc2259

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,204 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา