ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โครงสร้างบางอย่างในชีวิตของคุณอาจจะน่าสะดวกสบาย แต่ถ้าเมื่อไหร่บาริสต้าเริ่มผสมเครื่องดื่มให้คุณก่อนคุณจะเอ่ยปากสั่ง บางทีก็อาจจะถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรสักหน่อย ออกมาจากพื้นที่ปลอดภัยของคุณและอัดฉีดสิ่งท้าทายเข้าไปในชีวิตประจำวันจะช่วยให้หลายสิ่งคาดเดาได้ยากและมีชีวิตชีวาขึ้น


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ศึกษากิจวัตรประจำวันของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนปักหมุดบางพื้นที่ของชีวิตที่ค่อนข้างตายตัวและสามารถยืดหยุ่นมันได้ กิจกรรมใดกันที่คุณทำบ่อยๆ?
    • เริ่มตั้งแต่เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้า สิ่งแรกที่คุณต้องทำในตอนเช้าคืออะไร เมื่อไหร่ที่กิจวัตรของคุณเริ่มขึ้น
    • พกสมุดจดไว้กับตัวในวันธรรมดาและพยายามเขียนรายการสิ่งที่คุณทำแล้วรู้สึกเหมือนมันเป็นกิจวัตร ถ้าคุณเดินเท้าไปทำงาน การเดินของคุณเป็นเหมือนเดิมทุกวันหรือไม่? คุณนั่งบนโต๊ะเดิมระหว่างเรียนหรือไม่? กินอาหารกลางวันเหมือนเดิมทุกวันหรือไม่? สั่งอาหารเดิมๆ ในร้านอาหารหรือไม่? ขึ้นรถสายเดิมตลอดหรือไม่? แล้วเสื้อผ้าล่ะ?
  2. หลายครั้ง พฤติกรรมที่ทำซ้ำบ่อยๆ เป็นผลจากความกังวลที่ฝังลึกและการจำกัดความเชื่อที่โผล่ขึ้นมาด้วยวิธีที่คาดไม่ถึง เมื่อคุณเริ่มจดเนื้อหาของกิจวัตรของคุณในวันที่กำหนดไว้แล้วพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนเรื่องต่างๆ เสียใหม่ คุณรู้สึกประหม่าหรือเปล่าถ้าไม่ได้สั่งเมนูประจำที่สตาร์บั๊กส์? หรือขึ้นรถประจำทางแทนที่จะเดิน? อะไรที่น่ากลัวสำหรับความคิดเหล่านี้?
    • เขียนสิ่งเหล่านี้ลงไปถัดจากลำดับขั้นของกิจวัตรของคุณ พยายามให้เฉพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรคือสิ่งที่น่ากลัวสำหรับการนั่งข้างคนที่ไม่รู้จักและถูกชวนคุย? อะไรทำให้คุณไม่อยากไปทานอาหารในร้านใหม่ๆ?
    • ขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวและเพื่อน บ่อยครั้งที่เพื่อนของคุณจะรู้จักคุณมากกว่าตัวคุณเองเสียอีก ถามคำถามเพื่อนอย่างเช่น “ฉันเป็นคนเดาง่ายไหม?” ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นเช่นนั้น พวกเขาอาจจะชี้กิจวัตรจำเพาะหลายอย่างที่คุณอาจไม่ทันได้นึกถึง
  3. ส่วนหนึ่งของความท้าทายคือต้องทำตัวคึกคัก ในระหว่างวันให้คุณบันทึกทุกครั้งที่ต้องนั่งแกร่วอยู่ในบ้านโดยไม่มีอะไรให้ทำ หรือเวลาที่คุณเบื่อ สิ่งที่คุณเลือกจะทำในเวลานั้นคืออะไร?
    • เมื่อคุณจดสิ่งเหล่านี้ ให้เขียนเพิ่มเรื่องของ “วันในฝัน” ว่าคุณจะทำอะไรก็ได้กับเวลานั้น คุณจะทำอะไรเมื่อมีโอกาสและทรัพยากรไม่จำกัด? อะไรจะทำให้เวลาเย็นหลังเลิกเรียนหรือเลิกงานสมบูรณ์แบบได้?
  4. ไล่ดูรายการของคุณทั้งหมดแล้วตัดสินใจว่าคุณอยากจะเปลี่ยนสิ่งไหน กิจวัตรบางอย่างก็ดี การทำอะไรจนเป็นนิสัยก็ช่วยทำให้เรามีผลงานมากขึ้นและสะดวกขึ้น แต่กิจวัตรบางอย่างก็เป็นผลจากความเชื่อที่จำกัดและความกังวลที่ทำให้เราขี้เกียจและไม่พร้อมจะยื่นมือออกไปสัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ
    • โดยเฉพาะลงไปอีก ให้จดสิ่งที่คุณคิดว่าคุณอับอายเกี่ยวกับมัน เช่นหากยามเย็นในฝันของคุณมีการออกไปเต้นรำแต่คุณมักจะใช้เล่นวิดีโอเกมที่เล่นไปแล้วก็มักจะรู้สึกผิด นั่นคือสัญญาณว่ามันเป็นกิจวัตรที่เปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณสั่งกาแฟอเมริกาโน่เสมอเพราะคุณชอบกาแฟเอสเพรสโซ่ และเพราะมันคือเมนูที่ถูกที่สุด ดังนั้นทำไมถึงต้องเปลี่ยน?
    โฆษณา


ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แหวกกฎกิจวัตร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผสมรวมแบบแผนของคุณเข้าด้วยกันเล็กน้อยโดยดูจากรายการของกิจวัตรที่เปลี่ยนแปลงได้ ใช้เส้นทางอื่นไปทำงาน นำอาหารกลางวันไปกินเองแทนที่จะแวะเข้าไปกินที่โรงอาหาร/ร้านขายอาหาร โทรหาเพื่อนและชวนออกมาดื่มตามสถานที่เที่ยวยามค่ำคืนแทนที่จะตรงดิ่งกลับบ้านทันทีหลังเลิกงาน เข้าไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุดแทนที่จะไปอ่านที่ร้านหนังสือ เมื่อทำไปแล้วมันทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นหรือไม่? หรือว่าทำให้กังวลมากกว่าเดิม?
  2. หลายครั้งการหลีกเลี่ยงความไม่แน่ไม่นอนจะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยว เราคิดว่าเมื่อทุกคนออกไปมีความสุข คุณกลับติดแหง็กอยู่ที่บ้าน ถึงกระนั้นเมื่อคุณกำลังคิดวางแผนออกไปข้างนอก คุณก็มักจะออกไปคนเดียว
    • ชวนผู้คนไปทำสิ่งง่ายๆ ด้วยกัน ถ้าการนั่งดื่มเบียร์ที่ระเบียงบ้านคือค่ำคืนธรรมดาที่คุณชอบ มันก็สามารถจะกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญได้ถ้ามันรวมเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเอาไว้ด้วย ตามให้ทัน วางแผนจะทำสิ่งต่างๆ ให้มากขึ้น
  3. ความเอาแน่เอานอนไม่ได้ก็เกี่ยวข้องกับ “การให้ผู้คนเดาเอาเอง” เท่าๆ กับการที่มันทำให้คุณบันเทิง คราวหน้าถ้ามีคนถามว่าวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นยังไงบ้าง “มันเหนื่อยมากทีเดียว ของคุณล่ะ?” การตอบคำถามแบบคลุมเครือจะทำให้ผู้คนสงสัยเรื่องคุณและวิธีใช้เวลาของคุณ ลากพวกเขาเข้ามาและให้ทางเลือกที่มากกว่าสำหรับการผจญภัยที่คาดเดาไม่ได้
  4. [1] ถ้าคุณอยากกินพิซซ่าตอนดึกๆ หรืออยากจะกินมังสวิรัติในช่วงสุดสัปดาห์ อะไรคือสิ่งที่หยุดไม่ให้คุณทำสิ่งเหล่านี้? มันง่ายมากที่จะนึกเหตุผลขึ้นมาเพื่อไม่ให้ตัวเองทำอะไรสักอย่าง แทนที่จะมานั่งกังวลว่าความคิดแปลกๆ ของคุณจะผิดพลาดหรือไม่หรือว่าคุณจะมาเสียใจทีหลังที่กินอะไรเข้าไปหลังสี่ทุ่มหรือไม่ ให้ทำไปเลย
    • ถ้าคุณพบว่าตัวเองเสียใจภายหลังที่ไม่ได้ทำตามความคิดประหลาดๆ ของคุณโดยเฉพาะ ให้เรียนรู้ที่จะจดจำมันและทำตามมันภายหลัง
  5. เมื่อคุยกับเพื่อนๆ มันจะเป็นเรื่องง่ายที่จะสร้างแผนคลุมเครือสำหรับอนาคต เช่น “เราน่าจะออกไปตั้งแคมป์กันสักวันนะ” หรือ “มากินข้าวกลางวันกันสักวันเถอะ” แทนที่จะทำเช่นนั้น ให้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมและเวลาให้แน่นอน เปลี่ยน “ฉันหวังว่าพวกเราจะได้ทำอะไรสักอย่างด้วยกันช่วงหยุดฤดูใบไม้ผลินี้” เป็น “มาจองตั๋วกันตอนนี้เลยเถอะ”
    • ในทางอื่นๆ ถ้าคุณเป็นคนชอบวางแผนที่ซับซ้อนจนเป็นนิสัย พยายามที่จะ “ไม่” วางแผน บางทีอาจจะพูดว่าคุณจะไปเจอใครสักคนภายหลัง แต่ไม่ต้องคิดถึงสิ่งที่จะทำด้วยกัน ให้เจอกันในส่วนที่ไม่คุ้นเคยในเมืองและสำรวจมันด้วยกัน
  6. บางทีมันง่ายที่จะถูกทำให้ติดแหง็กอยู่กับกิจวัตรเมื่อคุณอยู่ในที่เดิมตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าคุณอยู่ในตัวเมืองขนาดกลางเล็ก คุณสามารถทำให้ความเป็นไปได้สำหรับกิจกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับกรณีอื่น
    • ใช้เวลาวางแผนการท่องเที่ยวแต่ให้ทิ้งวันว่างๆ เอาไว้เพื่อแผนการใหม่ๆ หรือความเป็นไปได้อื่นๆ ถ้าแผนการที่แย่ที่สุดคือการเดินไปเที่ยวที่ใหม่ๆ อย่างไม่มีจุดหมายสักวันหนึ่ง นั่นแสดงว่าคุณเข้าที่เข้าทางแล้ว
    • มันไม่จำเป็นต้องเป็นการท่องเที่ยวที่แพง แค่การออกไปเที่ยวดูโชว์ร้านกาแฟราคาถูกในเมืองข้างๆ ก็เป็นความตื่นเต้นใหม่ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับคืนวันศุกร์ธรรมดาๆ ในเมืองของคุณเอง
    โฆษณา


ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตอบตกลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนขอคุณในเรื่องอะไรสักเรื่องให้ตอบตกลง. การปฏิเสธจะสร้างวงจรของสิ่งที่คุณทำเป็นประจำทุกวัน มีคนเสนอให้คุณไปเรียนคาราเต้แต่คุณปฏิเสธเพราะคุณไม่สนใจมันใช่ไหม? มีเพื่อนชวนคุณออกไปที่ใหม่ๆ แต่คุณปฏิเสธไปเพราะว่าคุณไม่มันใจในที่แห่งนั้นใช่หรือไม่? เอาคำว่า “ไม่” ออกไปจากพจนานุกรมและเปิดใจให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ
    • การตอบตกลงจะพาคุณออกเดินทาง คิดสิ คุณรู้แน่หรือไม่ว่าคุณจะทำอะไรในวันพรุ่งนี้ ? แต่ถ้าคุณเปิดใจรับโอกาสใหม่ๆ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้
  2. เราต่างก็มีเสียงที่เราจะฟังแตกต่างกันไป เรามีเสียงหนึ่งที่เต็มไปด้วยความบ้า ความสร้างสรรค์ ความคิดที่เป็นสิ่งกระตุ้นของเวลาหนึ่ง และแนวคิดต่างๆ เสียงที่เห็นร้านอาหารญี่ปุ่น-อิตาเลี่ยนแล้วพูดว่า “เข้าไป!” เสียงที่เห็นคูปองออนไลน์สำหรับการเรียนปั้นดินเผาแล้วคิดว่า “ฉันอยากจะทำมัน” อย่าละเลยเสียงนั้น ตอบตกลงกับตัวคุณเองเสียด้วย
    • และยังมีเสียงที่เต็มไปด้วยประสบการณ์และเป็นเหตุเป็นผล เสียงที่ชอบกิจวัตรและความเรียบง่าย อย่าให้เสียงนั้นเป็นจุดศูนย์กลาง ถ้าคุณพบว่าตัวเองกำลังใช้มัน ถามตัวเองว่าทำไมเสียงนี้ถึงชนะ เพราะว่ามันไม่ควรน่ะสิ!
  3. พูดให้กระจ่างเลยตรงนี้ ถ้าเพื่อนของคุณบอกให้คุณโดดลงไปจากหน้าผา อย่าตอบตกลง ถ้ามีโอกาสที่จะเมาจนสลบไป อย่าตอบตกลง ถ้าเพื่อนบ้านขอเงินคุณหนึ่งล้าน อย่าตกลง ให้คิดว่า มีสถานการณ์บางอย่างที่การตอบ “ตกลง” ไม่ใช่แม้แต่ทางเลือก ถ้าการตอบตกลง “คือ” ทางเลือก ล่ะก็คุณควรจะทำมันเลย มันสำคัญมากที่จะรู้ถึงความแตกต่าง
    • จงทำตามความสนใจสูงสุดของคุณ ถ้าคุณไม่อยากจะไปงานเต้นรำในถ้ำเรืองแสง ก็ไม่ต้องไป คุณจะอยู่ที่นั่นอย่างย่ำแย่ก็เท่านั้นเอง การตอบตกลงไม่ได้เกี่ยวกับการบังคับให้ตัวเองไปทำสิ่งต่าง – มันเป็นเรื่องของการบังคับให้ตัวคุณเองทำสิ่งที่คุณอาจจะชอบแต่ไม่มีวันจะได้ทำต่างหาก
  4. ประเมินผล “การตอบตกลง” ของคุณบ้างเป็นครั้งคราว. ปรัชญาชีวิตที่เปิดกว้างให้ทุกสิ่งนี้จะทำให้คุณเข้าถึงโอกาสมากมาย อย่างไรก็ตาม มันอาจจะนำคุณไปสู่สิ่งที่ไม่ได้ผลเล็กๆ น้อยๆ ได้เหมือนกัน หลังจากที่คุณปฏิบัติตนเช่นนี้ได้สักพักแล้ว ลองสำรวจดูว่าอะไรได้ผล อะไรไม่ได้ผล บางทีคุณอาจจะควรตอบตกลงกับสักสิ่งหนึ่งต่อวัน บางทีคุณควรตอบตกลงกับสิ่งที่คุณ “รู้” ว่าคุณจะไม่เสียใจภายหลัง คุณจะทำอย่างไรให้ระบบ “ตอบตกลง” เข้าที่เข้าทางสำหรับคุณ ?
    • จงแน่ใจที่จะมองหาสิ่งที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับคุณ ถ้าคุณเจอร้านอาหาร คาเฟ่ หรือสถานที่ใหม่ๆ ที่ให้เข้าไปลองในเมืองล่ะก็ ดีเลย! จดจ่ออยู่ที่สิ่งนั้น ถ้าคุณกำลังออกเที่ยวอยู่กับคนที่คุณไม่ค่อยอยากจะออกไปด้วย คุณก็อาจจะอยากเริ่มปฏิเสธคำเชิญไปเลย ใช้ความเอาแน่เอานอนไม่ได้ของคุณทำให้ชีวิตน่าสนุกมากขึ้น ไม่ใช่ทำให้วุ่นวายและเป็นอุปสรรค
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณไม่จำเป็นต้องทำสิ่งต่างๆ มากไปเพื่อที่จะมีชีวิตที่ท้าทาย คุณสามารถมีชีวิตที่ท้าทายได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกไปกินข้าวนอกบ้านทุกคืนหรือใช้เงินกับเสื้อผ้ามากเกินไป มันคือสภาวะทางความคิด “การมีชิวิตที่ท้าทาย” ก็อาจกลายเป็นกิจวัตรได้เช่นกัน
  • เรียนรู้ที่จะเชื่อในตัวคุณเอง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,734 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา