ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายๆ คนบ่นถึงผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้าที่สั่งโดยแพทย์ เช่น ความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น คลื่นไส้ น้ำหนักตัวเพิ่ม ความต้องการทางเพศหรือความแข็งแกร่งทางเพศลดลง นอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย และเหนื่อยล้า [1] อย่างไรก็ตาม การใช้ยาไม่ใช่เพียงวิธีเดียวเท่านั้นในการรักษาอาการซึมเศร้า แต่ยังมีทางเลือกอื่นๆ ในการรักษาโดยธรรมชาติอีกมากมาย หากคุณกำลังมองหาการรักษาทางเลือกเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า ควรแน่ใจว่าคุณได้ใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ควบคู่กับการบำบัดโรค และแจ้งให้นักบำบัดโรคหรือแพทย์ของคุณทราบเกี่ยวกับการรักษาโดยธรรมชาติที่คุณวางแผนไว้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มองหาความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบำบัดโดยการพูดคุยเป็นวิธีรักษาอาการซึมเศร้าโดยธรรมชาติที่ดีที่สุด ดังนั้นคุณจึงควรไปพบนักบำบัดโรคโดยเร็วที่สุด นักบำบัดโรคจะคอยรับฟังและหาทางช่วยเหลือให้คุณรู้สึกดีขึ้น และแม้ว่าคุณจะตัดสินใจลองใช้วิธีรักษาอาการซึมเศร้าอื่นๆ อย่างไรก็ตาม คุณควรเข้าพบนักบำบัดโรคเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถค้นหานักบำบัดใกล้บ้านได้จากรายชื่อออนไลน์ของประกันสุขภาพ [2]
    • ลองใช้วิธีการบำบัดควบคู่ไปกับการรักษาโดยธรรมชาติ การทานอาหารเสริมสมุนไพรหรือเพียงแค่ออกกำลังกายมากขึ้นอาจไม่ช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้ จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรใช้การบำบัดเป็นวิธีหลักในการรักษาอาการซึมเศร้า และใช้วิธีการรักษาโดยธรรมชาติอื่นๆ เป็นวิธีเสริม
    • นักบำบัดโรคยังสามารถช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนนิสัยต่างๆ เพื่อให้อาการซึมเศร้าดีขึ้น อย่างเช่น เทคนิคการจัดการความเครียดที่ดีขึ้น พฤติกรรมการกินที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น หรือการคิดบวกมากขึ้น
  2. แม้ว่าคุณจะไม่อยากทานยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า แต่แพทย์เป็นผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือคุณได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ แพทย์ยังสามารถส่งต่อคุณให้เข้ารับการรักษากับนักบำบัดโรคได้อีกด้วย
    • จำไว้ว่าอาการซึมเศร้าเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง และมีอาการแย่ลงได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษา ดังนั้นจึงควรมองหาความช่วยเหลือเพื่อรับมือกับอาการซึมเศร้าโดยเร็วที่สุด [3]
    • ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาโดยธรรมชาติอื่นๆ ที่คุณกำลังพิจารณาเลือกใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้าของคุณ
  3. หากคุณรู้สึกกลัวกับการพบนักบำบัดโรคหรือแพทย์ด้วยตัวเอง ลองพูดคุยกับคนที่ไว้ใจเพื่อขอความช่วยเหลือ การได้รับแรงสนับสนุนจากคนที่เป็นที่รักหรือเพื่อนจะช่วยให้คุณมองหาความช่วยเหลือและเริ่มต้นการรักษาอาการซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น
    • จำไว้ว่าคุณไม่ควรใช้วิธีการพูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวแทนการพบนักบำบัดโรค อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและได้รับความช่วยเหลืออย่างที่ต้องการ [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ แต่เป็นวิธีที่ไม่ค่อยใช้กันเท่าไรนักในการบรรเทาอาการซึมเศร้า [5] เมื่อเริ่มออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟินออกมา ซึ่งจะช่วยให้การรับรู้ความปวดลดลงและทำให้เกิดความรู้สึกบวกมากขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถช่วยลดความเครียด เพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง และลดอาการของโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย [6]
    • การออกกำลังกายทุกประเภทสามารถช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ คุณอาจลองขี่จักรยาน เต้น วิ่งหรือวิ่งเหยาะๆ แร็กเก็ตบอล หรือขี่จักรยาน หรืออาจลองเข้าร่วมคลาสออกกำลังกายแบบกลุ่มเพื่อให้คุณได้ออกกำลังกายไปพร้อมกับการพบปะผู้อื่น
  2. ภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อแบบแผนการนอนหลับได้ เช่น การนอนหลับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนนิสัยการนอนหลับเพื่อให้แน่ใจว่าคุณนอนหลับอย่างเพียงพอและผ่อนคลาย คุณสามารถปรับเปลี่ยนกิจวัตรการนอนหลับได้โดยการเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกๆ วันแม้ในช่วยสุดสัปดาห์และหลีกเลี่ยงการงีบในระหว่างวัน และอย่าวางสิ่งรบกวนใดๆ ไว้ในห้องนอน อย่างโทรทัศน์ แล็ปท็อป และมือถือ ที่จะไปขัดขวางการนอนหลับของคุณ [7]
    • หากคุณมีปัญหานอนหลับยาก ให้แช่น้ำก่อนเข้านอนเพื่อให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย หรือลองดื่มชาสมุนไพรหรืออ่านหนังสือก็ได้เช่นกัน
  3. การทำสมาธิสามารถช่วยลดความเครียด ทำให้จิตใจสงบลง หรือแม้กระทั่งลดอาการของโรคซึมเศร้าได้ โดยเริ่มจากการฝึกสติ เพื่อให้คุณได้จดจ่ออยู่กับการเปิดรับความคิดและความรู้สึกโดยปราศจากการตัดสิน [8] และในระหว่างที่กำลังทำการฝึกสติคุณจะเริ่มตระหนักรู้ถึงตนเองมากยิ่งขึ้น จำไว้ว่ายิ่งคุณฝึกการทำสมาธิมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นผลมากขึ้นเท่านั้น
    • ในขณะที่คุณกำลังฝึกสติ ให้คุณจดจ่อกับร่างกาย ลมหายใจ และจิตใจ [9] ในการทำสมาธิให้จิตจดจ่อกับร่างกาย ให้คุณฝึกการสังเกตสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัส (เช่น ถือดอกไม้ไว้ มองอย่างใกล้ชิด แล้วจึงเริ่มดมกลิ่นและเพลิดเพลินกับกลิ่นหอม หรือคุณอาจลองชิมรสชาติดูด้วยก็ได้เช่นกัน พยายามจดจ่ออยู่กับดอกไม้ดอกนี้) และในการทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจ ให้คุณจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวในขณะสูดลมหายใจเข้าและออก รับรู้ถึงลมหายใจของตัวเองให้นานขึ้น และผ่อนคลายตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
    • หากคุณมัวแต่ครุ่นคิดอยู่กับสิ่งอื่นๆ (ความทรงจำหรือแผนการระหว่างวัน) ให้คุณมองดูความคิดเหล่านั้นไปอย่างเดียว เช่น “ฉันกำลังคิดเกี่ยวกับสิ่งที่จะกินเป็นมื้อกลางวันสำหรับวันนี้” อย่าตัดสินใดๆ เพียงแค่มองดูเฉยๆ และปล่อยให้มันผ่านไป และกลับมาจดจ่อกับการทำสมาธิเหมือนเดิม
    • หากต้องการเรียนรู้เทคนิคการทำสมาธิสำหรับอาการซึมเศร้าโดยเฉพาะ คุณสามารถอ่านบทความ วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยการทำสมาธิ เพิ่มเติมได้
  4. ในบางครั้งคุณอาจต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว และงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาให้ตัวเองได้หยุดพัก การจัดการกับความเครียดหมายถึงการพยายามไม่ให้ความเครียดก่อตัวขึ้นมาและหาทางรับมือกับมันในแต่ละวัน อย่าเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว แต่ให้ปลดปล่อยมันออกมา โดยอาจเขียนลงในบันทึกหรือระบายความกังวลของคุณกับครอบครัวและเพื่อนในช่วงคุณมีเรื่องกังวล อย่ารอจนกระทั่งสายเกินไป และแบ่งเวลาในแต่ละวันสำหรับการพักผ่อน ซึ่งรวมถึงการออกไปเดินเล่น การฟังเพลง การเล่นกีฬาหรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หรือการแช่น้ำ เป็นต้น [10]
    • รู้จักพูด “ไม่” ซึ่งอาจหมายถึงการพูด “ไม่” กับแผนงานใหม่ การรับตำแหน่งอาสาสมัครในโบสถ์ หรือการเลือกที่จะอยู่บ้านแทนที่จะออกไปข้างนอกในคืนวันศุกร์ หรือถ้ามีใครอยากคุยกับคุณแต่คุณไม่มีเวลา ให้ขอโทษอย่างสุภาพและบอกให้เขารู้ว่าคุณมีเวลาจำกัด
    • หากคุณรู้สึกเครียดแต่บอกไม่ได้ว่าความเครียดนั้นมาจากไหน ให้เริ่มเขียนบันทึกความเครียด โดยเขียนกิจวัตรประจำวัน ความคิดเห็น และข้อแก้ตัวต่างๆ (เช่น “ฉันมี 1000 สิ่งที่ต้องทำให้เสร็จในวันนี้”) และสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้คุณเกิดความเครียดในแต่ละวัน สำรวจสิ่งต่างๆ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ [11] ซึ่งอาจเป็นกำหนดเวลาของงาน การเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนไปโรงเรียน หรือการจ่ายบิล
  5. ความซึมเศร้าสามารถรบกวนชีวิตประจำวันและทำให้แต่ละวันของคุณมีความยุ่งเหยิงได้ [12] การกำหนดกิจวัตรประจำวันจะช่วยให้ชีวิตของคุณเป็นไปตามแผน ทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จลุล่วงอย่างที่ต้องการ และช่วยให้คุณหลุดพ้นจากความเครียดได้
    • วางแผนชีวิตในแต่ละวันและพยายามปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ลองทำดูสักตั้งแม้ว่าคุณอาจรู้สึกไม่มีแรงที่จะทำกิจกรรมเหล่านั้น
    • คุณอาจใส่กิจกรรมทั่วไปไว้ในรายการของคุณ อย่างการลุกจากที่นอน การอาบน้ำ หรือการทานอาหารเช้า หากคุณทำสิ่งต่างๆ จนสำเร็จไปได้เรื่อยๆ (แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ) ก็จะสามารถกระตุ้นให้คุณพยายามทำสิ่งที่เหลืออยู่ให้เสร็จสิ้นได้จนหมด
    • ให้รางวัลตัวเองหากคุณทำสิ่งที่อยู่ในรายการเสร็จสิ้นจนหมด คุณสามารถให้รางวัลตัวเองเป็นการแช่ฟองโฟม ของหวาน หรือเวลาดูทีวีก็ได้
  6. สิ่งที่ทำให้หลายคนต้องติดอยู่ในความซึมเศร้าคือความคิดในแง่ลบซ้ำไปซ้ำมาว่า “ฉันไม่ดีพอ” “ไม่มีใครชอบฉัน” “ชีวิตของฉันไม่มีค่า” หรือ “ฉันทำอะไรมีค่าไม่ได้สักอย่าง” เมื่อคุณรู้สึกซึมเศร้า ก็จะนำไปสู่ข้อสรุปที่แย่ที่สุดได้อย่างง่ายดาย [13] เพื่อต่อต้านความคิดเชิงลบเหล่านี้ (ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบ) ให้คุณใช้เหตุผลในการตัดสินว่าคำพูดเหล่านี้ถูกหรือผิด ไม่มีใครชอบคุณจริงๆ หรือตอนนี้คุณกำลังรู้สึกเหงาอยู่กันแน่ บางทีคุณอาจเป็นฝ่ายที่พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนและครอบครัวเองก็ได้ และเมื่อไปสู่บทสรุปที่แย่ที่สุด ให้ถามตัวเองว่ามีหลักฐานอะไรที่จะมาสนับสนุนความคิดเหล่านี้หรือไม่
    • พยายามนึกถึงสิ่งที่มีความหมายกับชีวิตของคุณ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ไม่ใช่การได้เลื่อนตำแหน่งใหญ่ หรือรถหรือบ้านสวยๆ แต่เป็นสุนัขที่ทักทายคุณด้วยความรักทุกๆ วัน งานการกุศลในแอฟริกาใต้ที่คุณเคยทำ หรืองานศิลปะของคุณที่สามารถสัมผัสถึงจิตวิญญาณของผู้คน
  7. ความซึมเศร้าจะทำให้คุณเกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และรู้สึกแย่อยู่ตลอดเวลา แทนที่จะจมอยู่กับความรู้สึกเหล่านี้ ให้คุณออกไปข้างนอกและลองทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อคุณได้ลองทำกิจกรรมใหม่ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมองของคุณและเพิ่มปริมาณของโดพามีน ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับความเพลิดเพลินและการเรียนรู้ [14]
    • ลองเรียนรู้ภาษาใหม่ เป็นอาสาสมัครที่สถานสงเคราะห์สัตว์ หรือเข้าคลาสวาดภาพ ทำสิ่งต่างๆ ที่แตกต่างจากปกติที่คุณคิดว่าคุณจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับมัน
  8. แม้ว่าคุณอาจรู้สึกอยากเก็บตัวอยู่คนเดียวในความเศร้าโศก แต่คุณควรลองใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณห่วงใยและที่ห่วงใยคุณ คุณอาจมีความคิดมากมายเกิดขึ้นในใจที่คอยปฏิเสธตัวเองไม่ให้ทำเช่นนี้ (“ฉันไม่อยากลุกจากที่นอน” “ฉันรู้สึกเศร้ามากๆ และฉันจะทำให้พวกเขาหดหู่ตามไปด้วย” “ไม่มีใครอยากใช้เวลากับฉัน” หรือ “พวกเขาคงรู้สึกดีหากไม่มีฉัน”) ดังนั้น ให้โทรหาเพื่อน นัดพบกัน และไปหาพวกเขา การใช้เวลาร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยว การอยู่กับเพื่อนจะช่วยให้คุณรู้สึก ‘ปกติ’ และการอยู่กับคนที่คุณห่วงใยจะช่วยให้คุณรู้สึกผูกพันและอบอุ่นขึ้น [15]
    • แม้ว่าคุณจะรู้สึกเหนื่อย ให้ตอบ “ตกลง” หากเพื่อนชวนออกไปสังสรรค์ด้วยกัน
    • พยายามใช้เวลาร่วมกับครอบครัว
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จากประวัติศาสตร์ สมุนไพรได้ถูกใช้เป็นยาแผนโบราณในการรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยรวมถึงอาการซึมเศร้ามาอย่างยาวนาน หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน (เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า) การใช้สมุนไพรก็เป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือกสำหรับอาการซึมเศร้าและความเครียด
    • สมุนไพรที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการรักษาอาการซึมเศร้าคือเซ็นต์จอห์นเวิร์ต [16]
    • หญ้าฝรั่นเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้า โดยมักใช้กันในรูปแบบสารสกัด [17]
    • ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเริ่มใช้สมุนไพร เนื่องจากสมุนไพรสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยาชนิดอื่นได้
  2. อาหารเสริมสำหรับอาการซึมเศร้าโดยส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสมุนไพร สารเคมีธรรมชาติ หรือวิตามินที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการซึมเศร้า ตัวอย่างของอาหารเสริมที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้า ได้แก่ [18]
    • กรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ สามารถทานได้โดยตรง
    • SAMe เป็นสารเคมีที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติ นิยมใช้กันในยุโรปสำหรับรักษาอาการซึมเศร้า
    • 5-HTP มีผลต่อระดับเซโรโทนิน สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา
    • DHEA เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง ซึ่งหากไม่คงที่ก็จะส่งผลต่ออารมณ์ได้
    • ควรแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  3. การฝังเข็มเป็นแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนจีน ช่วยในเรื่องการหมุนเวียนของพลังงานในร่างกาย การฝังเข็มสามารถกระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานและการฟื้นฟูการหมุนเวียนของพลังงานในร่างกาย โดยใช้เข็มขนาดเล็กปักลงไปตามจุดต่างๆ การฝังเข็มยังช่วยในการลดอาการเจ็บปวด รวมถึงปัญหาการนอนหลับต่างๆ ได้อีกด้วย [19]
    • โทรหาบริษัทประกันของคุณและสอบถามว่ามีการคุ้มครองการฝังเข็มหรือไม่ บริษัทประกันหลายแห่งจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายบางส่วนในการรักษาโดยการฝังเข็ม
  4. สิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่คุณสามารถทำได้คือการบำรุงร่างกายให้ดี แม้ว่าการทานอาหารจะไม่สามารถช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้ แต่มันสามารถช่วยสร้างเสริมอารมณ์และให้พลังงานที่มากพอในการกระตุ้นแรงบันดาลใจของคุณ และควรระวังอย่าละเลยมื้ออาหารเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ซึ่งจะช่วยลดการแกว่งของอารมณ์ได้ [20]
    • ทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าว เพื่อเพิ่มระดับเซโรโทนิน [21]
    • หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารขยะอื่นๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปออกฤทธิ์กดประสาท [22] จำไว้ว่าความผ่อนคลายเมื่อคุณได้ดื่มนั้นอยู่ได้ไม่นานและไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของคุณได้
    • หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทานอาหารสมส่วนที่ดีต่อสุขภาพ คุณสามารถอ่านบทความ วิธีการทานเพื่อสุขภาพ เพิ่มเติมได้
  5. การรักษาโดยการสะกดจิตสามารถสอนให้คุณโต้กลับและปฏิเสธความคิดเชิงลบและในแง่ร้ายที่มักกระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้า จากการหายใจลึกๆ ควบคู่กับจินตภาพและคำแนะนำ จึงทำให้การสะกดจิตสามารถขุดลึกลงไปถึงแก่นของความซึมเศร้าและประทับทักษะการรับมือในจิตใต้สำนึกของคุณโดยตรง ซึ่งจะมีอำนาจมากเกินไปหากทำในภาวะรู้สึกตัว [23] การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถปฏิเสธความคิดเชิงลบและน่าหดหู่ใจ และสร้างความคิดที่ช่วยสร้างพลังขึ้นมาแทน
    • บริษัทประกันบางแห่งคุ้มครองค่าใช้จ่ายการรักษาโดยการสะกดจิต
    • การสะกดจิตในการรักษาอาการซึมเศร้าจะได้ผลเป็นอย่างดีหากทำร่วมกับวิธีการรักษาอาการซึมเศร้าอื่นๆ [24]
  6. หากอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นตามฤดูกาล การบำบัดด้วยแสงอาจเป็นวิธีที่เหมาะสม การบำบัดด้วยแสง (หรือที่เรียกว่า โฟโตเธอราพี (phototherapy)) เป็นการบำบัดโดยการเปิดรับแสงสว่างธรรมชาติหรือแสงฟูลสเปกตรัมที่จ้ามากภายในระยะเวลาที่กำหนด (โดยส่วนใหญ่มักนาน 20 นาที) หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแดดจัด ควรออกไปรับแดดทุกๆ วันเพื่อให้ได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งจะดูดซึมได้ดีที่สุดผ่านทางผิวหนัง [25] แต่หากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อยหรือมืดในช่วงฤดูหนาว ให้หาซื้อกล่องไฟฟูลสเปกตรัม (full-spectrum light box) กล่องไฟจะจำลองแสงกลางแจ้งและทำให้สมองปล่อยสารเคมีที่จะช่วยสร้างเสริมอารมณ์ขึ้นมา [26]
    • คุณสามารถหาซื้อกล่องไฟได้โดยสั่งซื้อทางออนไลน์หรือมองหาตามร้านขายยาทั่วไป หรือลองขอคำแนะนำจากแพทย์ของคุณ
    • การบำบัดด้วยแสงได้ผลดีเป็นอย่างมากในการรักษาอาการผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดู (seasonal affective disorder) หรือที่เรียกกันว่า Winter Blues [27]
    โฆษณา
  1. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-management.htm
  2. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-management.htm
  3. http://www.webmd.com/depression/features/natural-treatments
  4. http://www.webmd.com/depression/features/natural-treatments?page=2
  5. http://www.webmd.com/depression/features/natural-treatments?page=2
  6. http://psychcentral.com/lib/social-support-is-critical-for-depression-recovery/
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/owning-pink/201103/11-natural-treatments-depression-md-s-tips-skipping-the-prozac
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/natural-remedies-for-depression/faq-20058026
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/natural-remedies-for-depression/faq-20058026
  10. http://www.webmd.com/pain-management/consider-acupuncture
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/owning-pink/201103/11-natural-treatments-depression-md-s-tips-skipping-the-prozac
  12. https://www.psychologytoday.com/blog/owning-pink/201103/11-natural-treatments-depression-md-s-tips-skipping-the-prozac
  13. http://www.rcpsych.ac.uk/healthadvice/problemsdisorders/alcoholdepression.aspx
  14. http://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-hypnotherapy
  15. http://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-hypnotherapy
  16. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminD-HealthProfessional/
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seasonal-affective-disorder/in-depth/seasonal-affective-disorder-treatment/art-20048298
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seasonal-affective-disorder/in-depth/seasonal-affective-disorder-treatment/art-20048298

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,763 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา