ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปวดเกร็งหรือเป็นตะคริวที่หน้าท้องนั้นทรมานมาก แต่ก็พอมีวิธีบรรเทาอาการ เช่น รักษาโรคที่เป็นต้นเหตุ บางวิธีก็ทำเองได้ โรคที่อาจเป็นสาเหตุของตะคริวท้องก็เช่น โรคในระบบย่อยอาหาร หลอดเลือดแดงเอออร์ตา (aorta) ไส้ติ่ง ไต ถุงน้ำดี และม้าม เป็นต้น หรือเกิดจากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเกิดติดเชื้อขึ้นมา [1] ช่วงมีประจำเดือน ผู้หญิงมักเป็นตะคริวท้อง หรือก็คืออาการ "ปวดท้องเมนส์" นั่นเอง แต่ถ้ายืดเส้นยืดสายหรือออกกำลังกายหน่อยจะช่วยบรรเทาอาการได้ เวลาท้องปวดเกร็งมากๆ ไม่ได้แปลว่าอาการรุนแรงเสมอไป บางทีอาจเป็นเพราะมีแก๊สในระบบย่อยอาหาร ซึ่งไม่อันตรายแต่อย่างใด กลับกัน ถ้าเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งลำไส้ หรือไส้ติ่งอักเสบขั้นแรกๆ จะปวดท้องนิดหน่อยหรือไม่ปวดเลยด้วยซ้ำ [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 7:

รักษาอาการกรดไหลย้อน/อาหารไม่ย่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จริงๆ 2 อาการนี้ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ถ้าอาหารไม่ย่อย ก็ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ อาหารไม่ย่อย หรือ dyspepsia นั้นคือ
    อาการอึดอัดไม่สบายท้องส่วนบนเล็กน้อย
    ที่มักตามมาด้วยความรู้สึกแน่นท้อง [3] แต่กรดไหลย้อน (heartburn) จะรุนแรงกว่า คือ
    มีอาการแสบร้อนข้างล่างหรือกลางอก
    [4] นั่นเพราะกรดในกระเพาะ “reflux” หรือไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร (esophagus เป็นท่อต่อลงไปถึงกระเพาะ)
    • อาการอื่นๆ ของกรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อย ก็คือกินอาหารแล้วแน่น ไม่สบายท้อง และ/หรือแสบร้อนกลางอก
    • ดูว่าคุณมีอาการแพ้ใดๆ หลังรับประทานอาหารบางชนิดหรือไม่ เช่น กลูเตน ไข่ หรือถั่ว ลองเลิกรับประทานอาหารเหล่านั้นสัก 4 สัปดาห์เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่
  2. 2
    ตรวจดูสัญญาณของการมีแบคทีเรียเติบโตในลำไส้เล็กหรือไม่. การมีแบคทีเรียเติบโตในลำไส้เล็ก หรือ SIBO สามารถทำให้เกิดอาการเกร็ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือปวดท้องได้ ให้ไปพบแพทย์ถ้าเกิดอาการเหล่านี้เพื่อรับยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อรา
  3. จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อยได้ พฤติกรรมที่แนะนำก็เช่น [5] [6]

    ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
    ลดการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
    กินอาหารเผ็ดๆ หรือมันเลี่ยนให้น้อยลง
    กินน้อยแต่บ่อย ดีกว่ากินน้อยมื้อแต่จานใหญ่
    กินช้าลง และอย่ากินแล้วเข้านอนทันที
    นั่งพิงหรือยกหัวสูงตอนนอน ถ้าชอบเป็นกรดไหลย้อนตอนกลางคืน
    คลายเครียด
    ออกกำลังกายบ่อยๆ
    เลิกสูบบุหรี่
    ลดน้ำหนัก (ถ้าเกินเกณฑ์)
    อย่ากินยาแอสไพรินหรือ NSAIDs

  4. ยาลดกรด (antacid) หรือยาป้องกันไม่ให้เกิดกรดในกระเพาะ (acid blocker) ตามร้านขายยาช่วยลดอาการกรดไหลย้อนและอาหารไม่ย่อยได้ มีให้เลือกหลายแบบด้วยกัน เช่น [7] [8]
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดกรดต่อเนื่องระยะยาว เพราะมันจะทำให้อาการ SIBO, อาการการดูดซึมผิดปกติ, หรือ IBS แย่ลง

    ยาป้องกันไม่ให้เกิดกรดในกระเพาะที่มีจำหน่าย
    ยาลดกรด เช่น แอนตาซิลเยล ใช้ได้ผลดีในระยะสั้นๆ โดยไปปรับกรดในกระเพาะให้เป็นกลาง (neutralize)
    H2 blocker เช่น Zantac หรือ Pepcid จะป้องกันไม่ให้เกิดกรดในกระเพาะ โดยออกฤทธิ์ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
    Proton pump inhibitors (PPIs) หรือยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น Prilosec และ Omeprazole จะยับยั้งไม่ให้เกิดกรดในกระเพาะ ช่วยบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนบ่อยๆ เป็นยาที่นิยมใช้ในระยะยาว

  5. ถ้ากลัวเรื่องสารเคมี ก็มีวิธีทางเลือกอย่างการลดกรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อยโดยใช้สมุนไพร เช่น

    สมุนไพร
    คาโมไมล์: เขาวิจัยกันมาแล้วว่าถ้าใช้คาโมไมล์ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ จะทำให้สบายท้องขึ้นได้ [9] แต่ห้ามใช้ควบคู่กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) เพราะจะไปขัดขวางการทำงานของยา
    น้ำมันเปปเปอร์มินต์: แคปซูลน้ำมันเปปเปอร์มินต์แบบ enteric coated หรือเคลือบฟิล์มให้ละลายในลำไส้เท่านั้น ช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนได้ มีงานวิจัยที่ชี้ว่าน้ำมันเปปเปอร์มินต์ถ้าใช้คู่กับน้ำมันเทียนตากบ (caraway oil) จะทำให้อาหารย่อยง่ายขึ้น [10]
    สารสกัดจากชะเอมเทศ (Deglycyrrhizinated licorice (DGL)): จากการศึกษาวิจัยเบื้องต้นพบว่า รากชะเอมเทศช่วยเรื่องการย่อยอาหารและลดกรดไหลย้อนได้ แต่จะมีผลข้างเคียงคือทำให้ความดันสูงขึ้น

    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 7:

รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะมักเป็นสาเหตุทำคุณปวดท้องหรือท้องอืดได้ อาการที่บอกว่ามีแก๊สในกระเพาะก็เช่น เรอหรือผายลมบ่อยๆ นอกจากนี้มีแก๊สในกระเพาะแล้วยังทำให้ปวดเกร็งหน้าท้อง ท้องอืด หรือปวดบิดได้ด้วย [11]
  2. ก็ช่วยบรรเทาและป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ เช่น [12] [13]
    • ดื่มน้ำเยอะๆ โดยเฉพาะน้ำเปล่า และลดน้ำอัดลม
    • ระวังผักที่กินเยอะแล้วเกิดแก๊ส เช่น ถั่ว บร็อคโคลี่ และกะหล่ำปลี
    • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ
    • กินช้าลง จะได้ไม่งับลมเข้าท้องเยอะ
  3. ลองงดอาหารบางชนิดที่คุณอาจแพ้ (ย่อยยาก กินแล้วท้องเสีย) ไม่รู้ตัว เช่น นม และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ พวกนี้บางคนกินแล้วปวดท้อง เป็นตะคริว โดยเฉพาะคนที่แพ้แลคโตส [14]
  4. ยาตามร้านขายยา
    อย่างไซเมทิโคน (simethicone) เช่น Air-X ก็ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้
    ส่วนคนแพ้แลคโตสต้องใช้เอนไซม์ช่วยย่อย (digestive enzyme) เช่น Beano ที่ช่วยย่อยถั่วและผักต่างๆ [15]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 7:

รักษาอาการท้องผูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ท้องผูกก็ทำให้ปวดท้องได้ อาการที่บอกว่าคุณท้องผูกก็คือ
    อึไม่ถึง 3 ครั้งต่ออาทิตย์ อึไม่ค่อยออก และอึแห้งแข็ง
    [16]
  2. ก็ช่วยบรรเทาและป้องกันไม่ให้ท้องผูกได้ เช่น [17] [18]
    • กินอาหารที่มีกากใย (ไฟเบอร์) มากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช
    • ดื่มน้ำเยอะๆ (อย่างน้อยวันละ 8 - 13 แก้ว)
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. เดี๋ยวนี้มียาระบายและอาหารเสริมเพิ่มไฟเบอร์ให้เลือกมากมาย แต่ถ้าใช้ยาระบายต้องระวังผลข้างเคียง พยายามเลือกที่ปลอดภัยหน่อย ที่สำคัญคืออย่าใช้รักษาอาการท้องผูกในระยะยาว [19]

    ยาระบาย
    สารหล่อลื่น (lubricant) เช่น mineral oil จะทำให้อึง่ายถ่ายคล่อง
    ยาทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (stool softener) เช่น docusate จะทำให้อึนิ่มขึ้น เหมาะกับคนที่ใช้ยาตัวอื่นที่มักทำให้ท้องผูก
    ยาเพิ่มมวลอุจจาระ (bulk-forming laxative) เช่น psyllium จะเป็นการเพิ่มกากใยให้อึง่ายขึ้น
    ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (stimulant laxative) เช่น bisacodyl จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อของผนังลำไส้บีบรัด จนต้องขับถ่ายออกมา แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ ระวังเป็นอันตรายกับผนังลำไส้
    ยาระบายเพิ่มน้ำในลำไส้ (osmotic laxative) เช่น saline laxative (ยาระบายแบบเกลือ) หรือ polyethylene glycol จะทำให้ร่างกายดูดน้ำกลับเข้าทางเดินอาหาร ทำให้อึง่ายขึ้น แต่ผลข้างเคียงคือเกลือแร่ไม่สมดุลย์
    อาหารเสริมเพิ่มไฟเบอร์ อย่าง Metamucil จะทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำดีขึ้น ขับถ่ายเป็นปกติ

  4. ก็เป็นวิธีทางเลือกช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
    ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ก็คือเมล็ดแฟลกซ์ (flaxseed)
    เพราะมีใยอาหารที่ละลายในน้ำได้ (soluble fiber) ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น [20]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 7:

รักษาอาการปวดท้องเมนส์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการปวดท้องเมนส์จะเกิดแถวท้องน้อย ทั้งก่อนและ/หรือระหว่างมีเมนส์ บางคนที่ปวดรุนแรงอาจเป็นเพราะโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) หรือมีเนื้องอกในมดลูก (uterine fibroids)
  2. ก็ช่วยบรรเทาและป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดท้องเมนส์ได้ เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คลายเครียด และไม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าวิตามินอี กรดไขมันโอเมก้า-3 วิตามินบี 1 (thiamine) วิตามินบี 6 และอาหารเสริมที่มีแมกนีเซียม สามารถลดอาการปวดท้องเมนส์ได้ [21]
  3. ยาแก้ปวดอย่าง ibuprofen ถ้ากินขนานปกติ ตั้งแต่ก่อนวันแรกที่เป็นเมนส์
    ก็ช่วยลดอาการปวดท้องเมนส์ได้ แต่เหมาะสำหรับคนที่รอบเดือนตรงเวลา ลองใช้ยาขนาด 200-400 มก.ได้ถึงวันละ 3 ครั้ง หลังจากนั้นถ้าจะใช้ยาต่อ ก็ต้องปรึกษาคุณหมอ เช่น 2 - 3 วัน หรือจนกว่าหายปวด แต่ถ้าปวดมากขึ้น คุณหมออาจจ่ายยาคุมให้ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์รุนแรงได้ [22]
    • ลองใช้การประคบอุ่นบนหน้าท้องช่วงล่างสัก 15-20 นาที
  4. บางงานวิจัยพบว่าการฝังเข็มก็ช่วยลดอาการปวดท้องเมนส์ได้ รวมถึงการใช้สมุนไพรอย่างผักชีล้อม (fennel) ด้วย [23]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 7:

รักษาอาการไวรัสลงกระเพาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Gastroenteritis (กระเพาะและลำไส้อักเสบ) หรือที่คนชอบเรียกกันว่า “ไข้หวัดลงกระเพาะ” จะทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง
    รวมถึงคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีไข้
    [24]
  2. เพราะเป็นโรคนี้แล้วร่างกายขาดน้ำได้ง่ายมาก ให้ดื่มน้ำโดยเฉพาะน้ำเปล่าเยอะๆ หรือดื่มน้ำเกลือแร่เจือจาง (ถ้าเพียวๆ จะหวานไป เลยต้องเติมน้ำช่วย) โดยค่อยๆ จิบไปเรื่อยๆ อย่าดื่มรวดเดียวหมด [25] {{greenbox:==อาการที่บอกว่าคุณกำลังขาดน้ำ==
    ฉี่สีเข้ม
    วิงเวียน
    เป็นตะคริว
    อ่อนเพลีย
    ปากแห้ง [26]
  3. นอกจากตะคริวท้องแล้ว พอไวรัสลงกระเพาะแล้วมักทำให้คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เพราะงั้นให้กระเพาะได้พักหน่อย พอรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยเริ่มกินอาหารที่ย่อยง่ายและรสอ่อนๆ งดอาหารเผ็ดๆ มันๆ นมเนย คาเฟอีน และแอลกอฮอล์สัก 2 - 3 วัน [27]

    อาหารที่ย่อยง่าย
    แครกเกอร์
    ขนมปังปิ้ง
    กล้วย
    ข้าวขาว
    ซอสแอปเปิล
    ไข่
    มันหวาน
    วุ้น

  4. พักผ่อนแล้วร่างกายจะฟื้นตัวเร็ว ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น เลยทำให้ไม่ป่วยนาน
  5. ถ้าคนในบ้านหรือเพื่อนร่วมงานเป็น “ไวรัสลงกระเพาะ” ต้องล้างมือบ่อยๆ จะได้ไม่ติดมา
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 7:

แก้ปวดเกร็งด้วยวิธีอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำสมาธิ หายใจเข้าออก จะช่วยให้ผ่อนคลาย ดึงความสนใจไปจากอาการปวดที่ไม่รุนแรงนัก ให้คุณใช้เทคนิคการหายใจนี้ร่วมกับการทำกิจกรรมอื่น จะได้ไม่จดจ่ออยู่กับอาการ อาจจะดูทีวีไปเพลินๆ ก็ได้
    • จดจ่ออยู่กับลมหายใจ
      โดยหายใจเข้าออกถี่ๆ ตื้นๆ ใช้จังหวะ 1-2 (หายใจเข้าสั้นๆ หายใจออกสั้นๆ)
  2. แอลกอฮอล์ คาเฟอีน และน้ำอัดลมจะทำให้ปวดท้องกว่าเดิม ให้เปลี่ยนมาจิบน้ำเปล่า ไม่ก็ซุปหรือน้ำอะไรใสๆ รสอ่อนๆ ทีละน้อยแทน [28]
  3. ไปเดินรอบบ้านหรือสนามก็ช่วยได้ ถ้านั่งหรือนอนเฉยๆ แล้วไม่สบายท้อง
    • คุณอาจจะพบว่ามันดีที่จะ
      ไม่พยายามออกกำลังกายด้วยท่าที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
      เพราะบางทีตะคริวหรืออาการปวดเกร็งก็มาจากออกกำลังกายหักโหมหรือผิดท่านี่แหละ
  4. บางงานวิจัยก็ว่าโยคะช่วยลดอาการปวดท้อง เช่น โรคลำไส้แปรปรวน [29] ถ้าชอบหรือปกติเล่นโยคะอยู่แล้ว
    ให้ลองหาท่าที่เปิดหรือแผ่ช่วงท้อง
    อันนี้แล้วแต่ว่าคุณปวดเกร็งบริเวณไหน แต่ท่าที่แนะนำก็เช่น ท่า fish pose, ท่า reclining hero และท่า downward facing dog เป็นต้น
    • ถ้าคุณเป็นตะคริวจนปวดเพราะกล้ามเนื้อท้องหดเกร็ง อย่าเพิ่งออกกำลังกาย ให้ยืดเหยียดด้วยท่า cobra pose พวกท่าที่เงยหน้า มองตรง หรือนอนหงาย จะไม่ทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องเกร็งมากเท่าไหร่
  5. เอาแผ่นประคบร้อน กระเป๋าน้ำร้อน หรือขวดน้ำร้อนมาประคบที่ท้องก็ช่วยลดอาการปวดเกร็งได้ชั่วคราว แต่บางคนก็ไม่แนะนำเพราะอาจทำให้คลื่นไส้ อันนี้แล้วแต่วิจารณญาณยังไงลองหาวิธีที่ตรงตามความต้องการของคุณที่สุด โดยศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเอง รวมถึงลองใช้จริง
  6. ไม่ใช่เรื่องน่าอายเพราะช่วยได้จริงๆ ถ้าอยู่ที่ออฟฟิศหรือที่สาธารณะ แล้วกลัวอายหรือไม่เหมาะสม ให้ขอตัวไปห้องน้ำ ดีกว่าทนท้องอืดหรือเป็นตะคริวท้อง ซึ่งเจ็บปวดและอันตรายกว่า
  7. ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งได้เช่นกัน แต่อย่าให้น้ำร้อนเกินไป แค่อุ่นกำลังสบายก็พอ
    โฆษณา
วิธีการ 7
วิธีการ 7 ของ 7:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องรู้จักประเมินอาการ ว่าตอนไหนที่ต้องไปหาหมอหรือขอความช่วยเหลือด่วน อาการปวดเกร็งที่หน้าท้องเป็นสัญญาณบอกโรคต่างๆ ซึ่งบางทีก็เป็นโรคร้ายแรง อย่างแผลในกระเพาะอาหาร ตับอ่อนอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ แพ้ภูมิตัวเอง นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็ง และอื่นๆ สรุปแล้วคือให้รีบไปหาหมอถ้ามีอาการต่อไปนี้ [30]
    • ปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก คอ และไหล่
    • อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือด
    • ท้องแข็งหรือกดเจ็บ
    • ถ่ายไม่ออก และอาเจียนร่วมด้วย
  2. กรดไหลย้อน/อาหารไม่ย่อยรุนแรงจนต้องหาหมอไหม. ปกติอาการจะไม่รุนแรงและรักษาง่าย ซื้อยากินเองก็หาย แต่ถ้ามีอาการต่อไปนี้ให้พบแพทย์ด่วน [31] [32]
    • เป็นนานกว่า 2-3 วัน หรือกินยาแล้วก็ไม่หาย
    • น้ำหนักลดฮวบฮาบ โดยไม่ได้ไดเอท
    • เจ็บปวดรุนแรงหรือเฉียบพลัน โดยเฉพาะเจ็บแน่นเหมือนถูกกดทับ
    • กลืนอาหารไม่ค่อยลง
    • สีผิวหรือสีตาซีดจางลงหรือออกเหลือง
    • อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นเลือดหรือสีเข้ม
    • ถ่ายออกมาเหมือนเมล็ดกาแฟคั่วบด
  3. ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ให้ไปหาหมอด่วน [33]
    • อาเจียนนานเกิน 2 วัน
    • ท้องเสียหลายวันหรือถ่ายเป็นเลือด
    • ไข้สูงไม่ลด 38°C ขึ้นไป
    • วิงเวียน เป็นลม หรือลุกแล้วบ้านหมุน
  4. ถ้าคิดจะไปหาหมอ
    อย่ากินยาแอสไพริน, ibuprofen หรือยาแก้อักเสบอื่นๆ และยาแก้ปวดแบบ narcotic (เสพติดได้) เว้นแต่คุณหมอเคยจ่ายให้
    เพราะจะทำให้ปวดท้องหนักกว่าเดิม [34]
    • ถ้ารู้แน่ว่าปวดท้องเมนส์ ให้กินยาแก้อักเสบได้ [35]
    • กินยา acetaminophen ได้ ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าอาการปวดของคุณไม่เกี่ยวข้องกับโรคตับ [36]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพยายามกินของเผ็ด
  • ไม่ต้องกินยา เว้นแต่ปวดมากจริงๆ
  • เวลานอนให้นั่งตัวตรงพิงหัวเตียงโดยเอาหมอนหนุนหลังไว้
  • นั่งตัวตรงเป๊ะ แล้วเอาแผ่นประคบร้อน (hot pack) แปะหรือกอดถุงน้ำร้อนไว้ ยกเท้าสูงด้วย
  • บางทีตะคริวท้องอาจเป็นอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคโครห์น (Crohn's disease), โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome (IBS)), แผลในกระเพาะ (ulcers), โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ (diverticulitis), ภาวะลำไส้อุดตัน (bowel obstruction), ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis), ลำไส้ใหญ่เป็นแผล (ulcerative colitis), โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary infections), มะเร็งต่างๆ และไส้เลื่อน (hernias) [37] ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติมให้แน่ใจ จะได้รักษาตรงจุด
โฆษณา

คำเตือน

  • พิษต่างๆ เช่น แมลงสัตว์กัดต่อย ก็ทำให้ปวดเกร็งหน้าท้องรุนแรงได้ ถ้าเพิ่งถูกตัวอะไรกัด ต่อย หรือสัมผัสสารเคมีอันตราย ควรรีบปฐมพยาบาลแล้วไปโรงพยาบาลด่วน
  • บทความนี้เป็นเพียงความรู้เบื้องต้น ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองปวดเกร็งหรือเป็นตะคริวที่ท้องเพราะอะไร และควรรักษายังไง ให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุด
โฆษณา
  1. https://nccih.nih.gov/health/peppermintoil
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/gas.html
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/gas.html
  4. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003124.htm
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003120.htm
  6. http://www.iffgd.org/site/manage-your-health/symptoms-causes/controlling-gas/treatment
  7. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/constipation.html
  8. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003125.htm
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/constipation.html
  10. http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1904830&resultClick=3
  11. https://nccih.nih.gov/health/flaxseed/ataglance.htm
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/treatment/con-20025447
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/treatment/con-20025447
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/alternative-medicine/con-20025447
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/gastroenteritis.html
  16. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-gastroenteritis/basics/ART-20056595?p=1
  17. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-gastroenteritis/basics/ART-20056595?p=1
  18. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-gastroenteritis/basics/ART-20056595?p=1
  19. Med Line Plus, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003120.htm
  20. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2642499/
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abdominalpain.html
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/indigestion.html
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/heartburn.html
  24. http://www.iffgd.org/site/manage-your-health/symptoms-causes/controlling-gas/treatment
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003120.htm
  26. http://www.wisegeek.com/what-are-the-most-common-causes-of-stomach-cramps.htm
  27. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003120.htm
  28. http://www.wisegeek.com/what-causes-abdominal-cramping.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 201,829 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา