ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการปากเจ่อจะมีลักษณะเป็นอาการบวมบริเวณปากหรือริมฝีปากซึ่งเกิดจากการกระแทก นอกเหนือจากอาการบวมแล้ว อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้อาจรวมถึงอาการปวด มีเลือดออก และ/หรือรอยช้ำ หากคุณมีอาการริมฝีปากเจ่อ เรามีขั้นตอนการปฐมพยาบาลที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อรักษาอาการนี้และลดภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างไรก็ตาม หากอาการปากเจ่อนั้นเกี่ยวเนื่องกับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่ศีรษะหรือปาก ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การรักษาอาการปากเจ่อที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบปากของคุณว่ามีการบาดเจ็บอื่นๆ อีกหรือไม่. ตรวจสอบลิ้นและกระพุ้งแก้มของคุณว่ามีการบาดเจ็บเพิ่มเติมที่อาจต้องพบแพทย์หรือไม่ หากคุณมีอาการฟันโยกหรือฟันแตกหัก ให้รีบเข้ารับการดูแลทางทันตกรรมแบบฉุกเฉินทันที
  2. ล้างมือและหน้าของคุณด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด. ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นรักษา ควรทำให้แน่ใจว่าบริเวณที่มีอาการและมือของคุณนั้นสะอาดดีแล้ว ขั้นตอนนี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากผิวหนังตรงนั้นแตกและเป็นแผล
    • ใช้สบู่และน้ำอุ่น ซับริมฝีปากที่เจ่อให้แห้ง และหลีกเลี่ยงการเช็ดถูเพื่อลดอาการปวดและความเสียหายเพิ่มเติม
  3. ให้ประคบน้ำแข็งที่ริมฝีปากทันทีที่คุณเริ่มจะรู้สึกบวม อาการบวมนั้นเป็นผลมาจากการที่ของเหลวมารวมตัวกัน คุณสามารถลดการรวมตัวนี้ได้โดยการประคบเย็น ซึ่งจะไปชะลอการไหลเวียนของเลือด และทำให้อาการบวม การอักเสบ และอาการปวดลดลง
    • ใช้ผ้าขนหนูหรือกระดาษทิชชู่พันก้อนน้ำแข็ง นอกจากนี้ คุณยังอาจใช้ถุงถั่วแช่แข็งหรือช้อนที่แช่เย็นก็ได้เช่นกัน
    • ค่อยๆ กดลูกประคบเย็นลงบนบริเวณที่มีอาการบวมประมาณ 10 นาที
    • พักอีก 10 นาที และทำซ้ำจนกว่าอาการบวมจะลดลง หรือจนกว่าคุณจะไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวดอีกต่อไป
    • ข้อควรระวัง: อย่าประคบน้ำแข็งลงบนริมฝีปากโดยตรง การทำเช่นนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหรือบาดแผลจากการถูกความเย็นกัดแบบไม่รุนแรงได้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำแข็งหรือกระเป๋าน้ำแข็งนั้นพันอยู่ในผ้าหรือกระดาษทิชชู่แล้ว
  4. ทายาต้านจุลชีพและปิดผ้าพันแผลหากผิวหนังแตกเป็นแผล. หากการบาดเจ็บทำให้ผิวหนังของคุณเสียหายและเป็นแผล คุณอาจจะต้องใช้ครีมต้านจุลชีพเพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อก่อนปิดผ้าพันแผล [1]
    • การประคบเย็นน่าจะช่วยห้ามเลือดไม่ให้ไหลได้ แต่ถ้าหากยังคงมีเลือดไหลออกมาจากบาดแผล ให้ใช้ผ้าขนหนูกดห้ามเลือดประมาณ 10 นาที
    • คุณสามารถรักษาบาดแผลที่มีเลือดไหลเพียงเล็กน้อยและไม่ลึกได้จากที่บ้าน แต่ควรพบแพทย์หากคุณมีแผลลึก เลือดออกมาก และ/หรือเลือดยังคงไหลไม่หยุดหลังจากผ่านไป 10 นาที
    • เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทายาต้านจุลชีพบางๆ บนบริเวณที่มีบาดแผล
    • ข้อควรระวัง: หากมีอาการคันหรือมีผื่นขึ้นบนผิวหนัง ควรหยุดใช้ยา
    • ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล
  5. การยกศีรษะของคุณให้อยู่เหนือระดับหัวใจจะช่วยระบายของเหลวออกจากเนื้อเยื่อบนใบหน้า ให้นั่งบนเก้าอี้ที่สะดวกสบายโดยเอนศีรษะไปทางพนักผิงหลังของเก้าอี้
    • หากคุณต้องการนอนพัก ให้หนุนศีรษะของคุณให้อยู่ “เหนือระดับหัวใจ” โดยใช้หมอน
  6. เพื่อช่วยลดอาการปวด การอักเสบ และอาการบวมที่เกี่ยวเนื่องกับอาการริมฝีปากเจ่อ ให้กินไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล หรือซินเฟล็กซ์
    • รับประทานยาตามข้อมูลบนฉลากและห้ามกินเกินขนาดที่แนะนำ
    • หากยังคงมีอาการปวด ให้ติดต่อแพทย์
  7. หากคุณใช้ขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดแล้วแต่ยังคงมีอาการบวม อาการปวด และ/หรือเลือดออกอย่างรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ อย่าพยายามรักษาอาการปากเจ่อที่บ้าน และติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการดังนี้:
    • อาการบวมอย่างฉับพลันที่เจ็บปวดหรือรุนแรงบนใบหน้า
    • หายใจลำบาก
    • มีไข้ กดเจ็บ หรือรอยแดง ซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อ
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การรักษาอาการปากเจ่อด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ว่านหางจระเข้เป็นยารักษาสารพัดโรคที่ช่วยลดได้ทั้งอาการบวมและอาการปวดแสบปวดร้อนที่เป็นผลมาจากริมฝีปากเจ่อ
    • หลังจากรักษาด้วยการประคบเย็น (ดูขั้นตอนด้านบน) ให้ทำการทาเจลว่านหางจระเข้ลงบนริมฝีปากที่บวมเจ่อ
    • ทาซ้ำเท่าที่ต้องการได้ตลอดทั้งวัน
    • พึงระลึกว่าแม้จะมีแหล่งข้อมูลมากมายแนะนำให้ใช้ว่านหางจระเข้ แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามันบรรเทาได้ผล [2]
  2. ชาดำมีสารประกอบ (แทนนิน) ที่ช่วยลดอาการบวมในริมฝีปากลงได้
    • ชงชาดำและทำให้เย็นลง
    • จุ่มก้อนสำลีลงไปและประคบเหนือริมฝีปากที่บวมประมาณ 10 ถึง 15 นาที
    • คุณสามารถทำซ้ำวิธีการนี้ได้หลายๆ ครั้งต่อวันเพื่อให้เห็นผลเร็วขึ้น
    • แม้การประคบด้วยชาดำจะเป็นวิธีที่ปลอดภัย แต่ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมถึงความได้ผลของมัน
  3. น้ำผึ้งทำหน้าที่เป็นยารักษาตามธรรมชาติได้ดีเท่ากับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย และสามารถนำไปใช้รักษาริมฝีปากที่มีอาการบวมได้นอกเหนือจากวิธีการรักษาอื่นๆ อีกด้วย [3]
    • ทาน้ำผึ้งบนริมฝีปากที่บวมและปล่อยทิ้งไว้ 10 ถึง 15 นาที
    • ล้างออกและทาซ้ำได้วันละหลายๆ ครั้งเท่าที่จำเป็น
  4. ทำยาพอกจากขมิ้นและใช้ทาบนริมฝีปากที่บวมเจ่อ. ผงขมิ้นทำหน้าที่เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและมีสรรพคุณในการสมานแผล คุณสามารถทำยาพอกได้ง่ายๆ ด้วยผงขมิ้นนี้และนำไปทาบนริมฝีปาก [4]
    • ผสมผงขมิ้นกับดินเหนียว Fuller’s earth ลงในน้ำสะอาด แล้วทำเป็นยาพอก
    • ทาบนริมฝีปากที่บวมและปล่อยให้แห้ง
    • ล้างออกด้วยน้ำสะอาดและทำซ้ำเท่าที่จำเป็น
  5. ทำยาพอกจากผงฟูและใช้ทาบนริมฝีปากที่บวมเจ่อ. ผงฟูสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับอาการปากเจ่อและยังสามารถช่วยลดอาการบวมลงได้อีกด้วย
    • ผสมผงฟูลงในน้ำสะอาดเพื่อทำเป็นยาพอก
    • ทาบนริมฝีปากที่บวมและปล่อยทิ้งไว้สักพัก จากนั้นล้างออก
    • ทำซ้ำเท่าที่จำเป็นจนกว่าอาการบวมจะหายไป
    • ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าผงฟูมีประสิทธิภาพ และควรทราบว่ามันอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาตรงกันข้ามในผิวที่แพ้ง่าย
  6. น้ำเกลือสามารถใช้ลดอาการบวมลงได้ และหากมีอาการปากเจ่อร่วมกับบาดแผล น้ำเกลือสามารถฆ่าแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ
    • ละลายเกลือในน้ำอุ่น
    • จุ่มสำลีหรือผ้าขนหนูลงในน้ำเกลือและใช้ทาบบนริมฝีปากที่บวม หากมีบาดแผล คุณอาจรู้สึกแสบได้ แต่อาการแสบจะหายไปเมื่อผ่านไปไม่กี่วินาที
    • ทำซ้ำวันละหนึ่งหรือสองครั้งเท่าที่จำเป็น
  7. น้ำมันทีทรีมีสรรพคุณต้านการอักเสบและถูกใช้เป็นยาปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรเจือจางน้ำมันทีทรีกับน้ำมันตัวพาทุกครั้งเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง
    • เจือจางน้ำมันทีทรีกับน้ำมันชนิดอื่น เช่น น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว หรือเจลว่านหางจระเข้
    • ทาบนริมฝีปากที่บวมประมาณ 30 นาที แล้วล้างออก
    • ทำซ้ำเท่าที่จำเป็น
    • ห้ามใช้น้ำมันทีทรีกับเด็ก
    • พึงระลึกว่างานวิจัยเรื่องน้ำมันทีทรีนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน [5]

คำเตือน

  • หากคุณมีอาการบวมร่วมกับเป็นไข้ ปวดหัวรุนแรง หรือหายใจติดขัด ให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ [6]

สิ่งของที่ใช้

  • ก้อนน้ำแข็งหรือกระเป๋าน้ำแข็ง
  • ผ้าขนหนูสะอาด
  • ผ้าพันแผลและยาทาต้านจุลชีพ (ถ้าจำเป็น)
  • ยาแก้ปวด

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 159,308 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม