ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคหนองในเทียมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis [1] และเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากที่สุดในอเมริกา ตามปกติแล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะแพร่สู่ผู้ชายและผู้หญิงผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก [2] แม้แต่แม่ที่ติดเชื้อก็อาจจะแพร่โรคหนองในเทียมให้กับทารกน้อยในระหว่างคลอดบุตรได้ [3] การติดเชื้อโรคหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะมีบุตรยาก ความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อ HIV การติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก หรือโรคข้ออักเสบรีแอคทีฟ [4] โรคหนองในเทียมรักษาได้ไม่ยาก แต่หากปล่อยไว้ก็อาจเกิดอันตรายถาวรแก่ร่างกายได้ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการรักษาโรคหนองในเทียม [5]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ให้แพทย์วินิจฉัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าโรคหนองในเทียมมักจะแสดงอาการบางอย่างตั้งแต่เริ่มแรก แต่ก็ต้องสังเกตอาการอื่นๆ ที่คุณเป็นด้วย ปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอย่างแน่ชัด ถ้าคุณสังเกตได้ถึงสัญญาณของโรคหนองในเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน
  2. ถ้าคุณมีอาการของโรคหนองในเทียม ได้แก่ มีของเหลวออกจากอวัยวะเพศ หรือคู่นอนเปิดเผยว่าเขาเป็นโรคหนองในเทียม ให้นัดพบแพทย์เพื่อทดสอบและยืนยันผลการวินิจฉัย เพื่อหาวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ [9]
    • บอกแพทย์ถึงอาการที่คุณเป็น สัญญาณของโรคหนองในเทียมที่คุณสังเกตได้ รวมทั้งถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันด้วย
    • ถ้าคุณเคยเป็นโรคหนองในเทียมมาก่อนและกลับมาเป็นอีก ให้ติดต่อแพทย์เพื่อขอใบสั่งยา [10]
  3. ถ้าแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคหนองในเทียม แพทย์อาจสั่งตรวจหรือทดสอบเพิ่มเติม การตรวจด้วยวิธีทั่วไปเหล่านี้สามารถวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างแม่นยำ และทำให้แพทย์สามารถหาวิธีรักษาได้ง่ายขึ้นด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาโรคหนองในเทียม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคหนองในเทียม แพทย์จะสั่งชุดยาปฏิชีวนะให้คุณ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาโรคนี้ได้นอกจากการป้องกัน ปกติแล้วการติดเชื้อจะหายไปภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์ [15]
  2. ถ้าคุณตั้งครรภ์และเป็นโรคหนองในเทียม แพทย์อาจจะสั่งยา Azithromycin ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของการตั้งครรภ์เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่โรคไปยังลูกน้อย การติดเชื้อหนองในเทียมของคุณจะได้รับการรักษาระหว่างตั้งครรภ์ และเมื่อพบว่าเป็นโรคคุณก็จะต้องเข้ารับการตรวจอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อแล้ว [20] หลังคลอดแพทย์ก็จะตรวจอาการทารกที่เพิ่งคลอดและรักษาตามอาการ [21]
  3. ระหว่างการรักษาโรคหนองในเทียม คุณต้องงดเว้นกิจกรรมทางเพศทุกชนิด รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและทางทวารหนักด้วย [26] วิธีนี้อาจช่วยให้คุณไม่แพร่โรคไปสู่คู่นอนและลดความเสี่ยงที่จะกลับมาติดเชื้ออีก [27]
  4. พบแพทย์หากอาการยังอยู่หลังเข้ารับการรักษาแล้ว. ถ้าอาการของหนองในเทียมยังอยู่แม้ว่าจะรักษาครบตามเวลาแล้ว คุณต้องพบแพทย์ให้เร็วที่สุด การจัดการและการรักษาอาการโรคหนองในเทียมจะช่วยให้คุณแน่ใจได้ว่า คุณจะไม่กลับมาเป็นอีก ติดโรค หรือเจอปัญหาที่ร้ายแรงกว่าเดิม [30]
    • การไม่บอกแพทย์ว่าคุณมีอาการหรือกลับมาเป็นหนองในเทียมอีกครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ที่อาจจะไปทำลายอวัยวะสืบพันธุ์ถาวร และการตั้งครรภ์นอกมดลูก [31]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันโรคหนองในเทียมและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแพทย์รักษาอาการติดเชื้อหนองในเทียมระยะแรกให้คุณแล้ว ให้เข้ารับการตรวจโรคนี้อีกครั้งในอีกประมาณ 3 เดือนและตรวจเป็นประจำทุก 3 เดือนหลังจากนั้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า โรคนี้หายไปจากร่างกายของคุณแล้วและคุณก็จะไม่ติดเชื้ออีก [32]
    • เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อไปเมื่อเปลี่ยนคู่นอนใหม่
    • การกลับมาเป็นหนองในเทียมอีกครั้งนั้นเป็นเรื่องปกติมากๆ และมักจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชุดเดียวกัน ถ้ามีการติดเชื้ออีกครั้งหลังจากตรวจพบว่าหายแล้ว ก็แสดงว่าเป็นการติดเชื้อครั้งใหม่ [33]
  2. อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ชำระล้างช่องคลอดถ้าคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคหนองในเทียม เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไปฆ่าแบคทีเรียที่ดีและเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อหรือการกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง [34]
  3. วิธีรักษาโรคหนองในเทียมที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้เป็นตั้งแต่แรก การใช้ถุงยางอนามัยและจำกัดจำนวนคู่นอนของคุณจะช่วยลดโอกาสติดเชื้อหนองในเทียมหรือป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก [35]
    • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แม้ว่าถุงยางอนามัยจะไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหนองในเทียมได้ทั้งหมด แต่มันก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ [36]
    • ระหว่างการรักษาให้งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือกิจกรรมทางเพศทุกชนิด รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและทางปากด้วย การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์สามารถช่วยไม่ให้คุณกลับมาติดเชื้ออีกครั้งหรือแพร่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไปยังคู่นอนของคุณได้ [37]
    • ยิ่งคุณมีคู่นอนมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคหนองในเทียมมากขึ้นเท่านั้น พยายามจำกัดจำนวนคู่นอนเพื่อลดความเสี่ยง และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเสมอ [38]
  4. ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนองในเทียมได้ การตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสที่คุณจะติดเชื้อได้ [39]
    โฆษณา


  1. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/treatment/con-20020807
  7. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/treatment/con-20020807
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/treatment/con-20020807
  10. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  11. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  12. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  13. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  14. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  15. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  16. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  17. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  18. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  19. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  20. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  21. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  22. http://www.cdc.gov/std/chlamydia/treatment.htm
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/tests-diagnosis/con-20020807
  24. http://www.cdc.gov/std/tg2015/chlamydia.htm
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  31. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  33. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/prevention/con-20020807
  34. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chlamydia/basics/risk-factors/con-20020807

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,114 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา