ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Cellulitis หรือโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง มีสาเหตุจากผิวฉีกขาด เป็นแผล หรือมีอาการบาดเจ็บแล้วติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมีเชื้อ streptococcus กับ staphylococcus เป็นตัวการสำคัญ อาการของโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบคือผิวหนังอุ่นร้อน มีผื่นแดงลุกลามทำให้คันและมีไข้ร่วมด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (sepsis bone infection) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) หรือหลอดน้ำเหลืองอักเสบ (lymphangitis) เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าคุณรู้จักสังเกตอาการผิดปกติแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เข้ารับการตรวจวินิจฉัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเป็นโรคติดเชื้อที่ผิวหนังที่มักเกิดกับขาท่อนล่างหรือหน้าแข้ง สาเหตุคือติดเชื้อแบคทีเรียลุกลาม เชื้อที่พบบ่อยคือ streptococcus กับ staphylococcus มีหลายปัจจัยเสี่ยงด้วยกันที่เปิดช่องให้แบคทีเรียพวกนี้เข้าสู่ร่างกายของคุณได้ง่ายขึ้นผ่านผิวหนัง [1]
    • เป็นแผลหรือบาดเจ็บตรงบริเวณที่เป็น ทั้งรอยบาด รอยไหม้ หรือรอยครูดถลอกทำให้ผิวคุณฉีกขาดทั้งนั้น จนเปิดช่องให้แบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปได้
    • โรคผิวหนังอย่างผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema) อีสุกอีใส (chicken pox) งูสวัด (shingles) หรือผิวแห้งเป็นปื้น พอผิวชั้นนอกไม่เรียบสนิทก็ทำให้แบคทีเรียผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    • ระบบภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง (compromised immune system) ถ้าคุณมีเชื้อ HIV/AIDS เป็นโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคอื่นๆ ที่กระทบต่อภูมิคุ้มกันของคุณ ก็แน่นอนว่าคงเสี่ยงผิวหนังติดเชื้อได้ง่ายๆ
    • ภาวะบวมน้ำเหลือง (lymphedema) แขนหรือขาบวมเรื้อรัง ทำให้ผิวแตกจนเสี่ยงติดเชื้อ
    • โรคอ้วน (obesity) ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำคุณเสี่ยงเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมากขึ้น
    • ถ้าคุณเคยเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมาก่อน ก็เสี่ยงจะเป็นได้อีกในอนาคต
  2. อาการที่ชัดเจนที่สุดของโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ก็คือมีผื่นคันแดงที่ลามไปทั่วบริเวณผิวหนังที่เป็นแผลหรือบาดเจ็บ ถ้าคุณเห็นผื่นขึ้นแถวๆ รอยบาดรอยไหม้ หรือบริเวณที่ผิวแตก โดยเฉพาะที่ขาท่อนล่าง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ อาการอื่นๆ ที่พบบ่อยก็คือ
    • มีผื่นแดง ร้อน คัน ที่บวมและลุกลาม จนผิวหนังดูยืดตึง
    • รู้สึกปวด กดแล้วเจ็บ หรือระบมแถวๆ บริเวณที่ติดเชื้อ
    • หนาวสั่น เหนื่อยล้า และมีไข้เมื่ออาการติดเชื้อรุนแรงขึ้น
  3. ไปตรวจให้แน่ใจว่าคุณเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบจริงๆ. ถ้าคุณมีอาการของโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ถึงผื่นคันจะยังไม่ลุกลามเท่าไหร่ ก็ต้องไปหาหมอโดยด่วน เพราะถ้าโรคเริ่มลุกลามอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ ที่สำคัญคือ โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบอาจเป็นสัญญาณบอกว่าอาจมีอาการติดเชื้ออื่นที่ร้ายแรงกว่ากำลังแพร่กระจายอยู่เงียบๆ ก็ได้ [2]
    • ตอนไปหาหมอ ขอให้อธิบายอาการที่อาจเป็นสัญญาณบอกโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบให้ละเอียด
    • นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว คุณหมออาจทดสอบบางอย่างเพิ่มเติม เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count หรือ CBC) และการเก็บตัวอย่างเลือดไปเพาะเชื้อ (blood culture)
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เดี๋ยวนี้เชื้อดื้อยา MRSA (methicillin-resistant Staphylococcus aureus) นั้นมีเยอะแถมติดต่อง่ายจนน่ากลัว [3] [4] เพราะงั้นห้ามใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับใคร เช่น มีดโกน ผ้าเช็ดตัว หรือกระทั่งเสื้อผ้า รวมถึงให้คนที่ดูแลพยาบาลคุณใส่ถุงมือก่อนแตะต้องบริเวณที่ติดเชื้อ และแตะต้องอะไรก็ตามที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน [5]
  2. ฟอกด้วยสบู่ธรรมดาจากนั้นล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นให้พันแผลด้วยผ้าเย็นๆ ชื้นๆ จะได้สบายตัวหน่อย นี่ถือเป็นแค่การบรรเทาอาการ ยังไงก็ต้องนัดตรวจกับคุณหมอต่อไป อย่างน้อยการล้างทำความสะอาดแผลก็ช่วยลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อได้ [6]
  3. จนกว่าแผลจะตกสะเก็ด คุณต้องปิดแผลไว้ให้ดี โดยใช้ผ้าพันแผลและเปลี่ยนผ้าใหม่ทุกวัน จะได้ช่วยป้องกันอีกแรงระหว่างร่างกายสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
  4. จะได้ไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น และไม่เอาเชื้ออื่นมาติดตัวเองเพิ่ม ที่สำคัญคือไม่เสี่ยงเอาเชื้อแบคทีเรียมาแตะโดนแผลเปิดจุดอื่นบนร่างกาย ขอให้ล้างมือทั้งก่อนและหลังทำแผลเลย
  5. ถ้าแผลปวดบวม ให้กินยาแก้ปวดทั่วไปอย่าง acetaminophen หรือ ibuprofen ก็จะช่วยลดปวดบวมระคายเคืองได้ ขอให้กินยาตามปริมาณที่แนะนำอย่างเคร่งครัด จากนั้นค่อยหยุดยาเมื่อได้ยาที่หมอสั่งหรือเมื่อคุณหมอแนะนำให้หยุดยา
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาและป้องกันโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นวิธีที่นิยมใช้รักษาโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมากที่สุด โดยพิจารณาตามความรุนแรงของอาการติดเชื้อและความแข็งแรงของร่างกายคุณ ยาปฏิชีวนะมีด้วยกันหลายแบบ แต่ปกติคุณหมอจะนิยมจ่ายยาปฏิชีวนะให้กินเพื่อฆ่าเชื้อ [7] โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบจะบรรเทาอาการลงใน 2 - 3 วัน และหายขาดไปในที่สุดเมื่อครบ 7 - 10 วัน
    • คุณหมออาจแนะนำให้กิน cephalexin ในปริมาณ 500 มก. ทุก 6 ชั่วโมง ถ้าสงสัยว่าเชื้อจะดื้อยา (MRSA) คุณหมออาจจ่ายยา Bactrim, Clindamycin, Doxycycline หรือ Minocycline ให้ แต่ส่วนมากจะเป็น Bactrim
    • คุณหมอมักนัดคุณมาตรวจติดตามผลใน 2 - 3 วัน เพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือยัง ถ้าเริ่มทุเลาแล้วก็จะให้คุณกินยาปฏิชีวนะเต็มคอร์ส (ปกติคือ 14 วัน) เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาดจริงๆ ระหว่างนั้นห้ามหยุดยาหรือกินยาไม่ครบเด็ดขาด เพราะจะทำให้รักษาอาการติดเชื้อได้ยากกว่าเดิม
    • ถ้าคุณร่างกายแข็งแรงดีและติดเชื้ออยู่แค่ที่ผิวหนัง คุณหมออาจจ่ายยาปฏิชีวนะแบบกินให้ แต่ถ้าติดเชื้อลึกไปกว่านั้นและมีอาการอื่นร่วมด้วย แค่ยากินอาจไม่เห็นผลทันการ
  2. ในรายที่อาการหนักมาก จนโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบลุกลามลึกเข้าไปในร่างกาย ก็ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วให้ยาปฏิชีวนะทางสายน้ำเกลือหรือฉีดยาเพื่อฆ่าเชื้อให้เร็วกว่าการกินยา [8]
  3. โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเกิดได้ง่ายมากถ้าคุณมีแผลเปิดแล้วไม่ดูแลรักษาให้ดี จนเป็นช่องทางให้แบคทีเรียเล็ดลอดเข้าไปได้ วิธีป้องกันได้ดีที่สุดคือล้างทำความสะอาดทันทีที่เกิดแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลถลอก ถูกบาด หรือแผลไหม้ก็ตาม
  4. ถ้าเลือดไหลเวียนไม่ดีอาจทำให้แผลหายช้าลง แก้ไขได้โดยยกส่วนที่เป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบสูงไว้ เช่น ถ้าเป็นที่ขาก็ให้ยกขาสูง จะช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือดทำให้หายเร็วขึ้น [10]
    • ให้หาหมอนสักใบสองใบมาหนุนให้ขาสูงตอนนอน
  5. สำรวจแผลทุกวันตอนเปลี่ยนผ้าพันแผล จะได้แน่ใจว่าอาการดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าแผลเริ่มบวม แดง หรือคัน ก็น่าจะไปหาหมอเพื่อตรวจรักษาต่อไป หรือถ้าแผลฉ่ำมีหนองหรืออะไรไหลออกมา ก็เป็นสัญญาณอันตรายว่าแผลอาจติดเชื้อเช่นกัน ให้รีบนัดหมอด่วนเลย
  6. โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบมักเกิดกับคนที่เป็นโรคผิวหนังบางชนิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคุณหมั่นดูแลผิวตัวเองให้ดีๆ ก็สามารถป้องกันโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ผิวแพ้ง่ายหรือแห้งแตก หรือเป็นเบาหวาน ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือโรคอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อผิว ให้ลองใช้เทคนิคข้างล่างดู ผิวหนังจะได้สุขภาพดี ไม่เสี่ยงเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
    • หมั่นทาครีมบำรุงผิวไม่ให้แห้งแตก และดื่มน้ำเยอะๆ ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ [11]
    • ใส่ถุงเท้าและรองเท้าหนาๆ หน่อยเพื่อสุขภาพเท้าที่ดี
    • เวลาตัดเล็บเท้าระวังอย่าให้เป็นแผล
    • โรคน้ำกัดเท้า (ฝรั่งเรียก athlete's foot ไทยเรียกฮ่องกงฟุต) ถ้าเป็นแล้วต้องรีบรักษาก่อนพัฒนาไปเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงกว่า [12]
    • รักษาภาวะบวมน้ำเหลือง (lymphedema) เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตก
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เท้าและขาคุณถลอกปอกเปิกหรือเป็นแผล (อย่างบุกป่าฝ่าพง ทำสวน และอื่นๆ)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบได้โดยดูแลสุขภาพผิวให้ดี เป็นแผลเมื่อไหร่ให้ฟอกสบู่แล้วล้างน้ำจนสะอาด จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าพันแผลทุกครั้ง
  • หลังหาหมอครั้งแรกแล้วต้องติดตามผลเรื่อยๆ ถ้าอาการหนักอาจต้องหาคุณหมอเฉพาะทางไปเลย เช่น คุณหมอโรคติดเชื้อ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,567 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา