ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tendinitis คือโรคเอ็นอักเสบ เอ็นในที่นี้ก็คือส่วนปลายของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูก เอ็นจะทำงานทุกครั้งที่กล้ามเนื้อกดเกร็งและกระดูกขยับเขยื้อน ที่เอ็นอักเสบก็เลยมักเป็นเพราะคุณใช้งานมากไป เช่น ทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้ท่าทางเดิมซ้ำๆ โรคเอ็นอักเสบจริงๆ แล้วก็เป็นได้ทุกส่วน แต่ที่มักพบบ่อยคือเอ็นข้อมือ ข้อศอก ไหล่ สะโพก แล้วก็ส้นเท้า (ที่เรียกว่า Achilles tendon) [1] โรคเอ็นอักเสบจะมีอาการปวดมากจนบางทีก็ขยับเขยื้อนไม่ค่อยได้ ปกติจะดีขึ้นภายใน 2 - 3 อาทิตย์ โดยเฉพาะถ้ารักษาพยาบาลตัวเองให้ดีๆ ระหว่างนั้น แต่ในบางเคส โรคเอ็นอักเสบก็กลายเป็นโรคเรื้อรัง จนต้องไปรักษากับคุณหมออย่างจริงจัง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดูแลง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอ็นอาจอักเสบได้จากการบาดเจ็บกะทันหัน แต่ปกติมักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ทีละน้อยแบบไม่รู้ตัวจนผ่านไปหลายวัน หลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน [2] การกระทำซ้ำๆ ทำให้เอ็นตึงเกร็ง จนเกิด micro-tears หรือการฉีกขาดเล็กๆ และการอักเสบตรงจุดนั้น หาให้เจอว่าอะไรที่ทำให้เอ็นคุณอักเสบ แล้วหยุดทำก่อน (สัก 2 - 3 วัน) หรือปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำ ถ้าคุณเกิดเอ็นอักเสบเพราะการทำงาน ให้ปรึกษาหัวหน้าหรือเจ้านายเพื่อขอเปลี่ยนไปทำหน้าที่อื่นชั่วคราว แต่ถ้าคุณเอ็นอักเสบเพราะการออกกำลังกาย แสดงว่าออกหนักไปหรือออกไม่ถูกวิธี ลองปรึกษา personal trainer ดูก็ดี
    • การเล่นเทนนิสหรือกอล์ฟมากไปคือสาเหตุยอดนิยมของอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ ถึงได้เรียกกันว่า "tennis elbow" กับ "golfer's elbow" ไง
    • เอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันปกติจะหายได้เองถ้าคุณหยุดพักจากการกระทำนั้นๆ แต่ถ้ายังฝืนทำต่อละก็ อาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง (ไม่ยอมหาย) ได้ ทีนี้ล่ะรักษายากแน่
  2. อาการปวดของโรคเอ็นอักเสบนั้น หลักๆ ก็เพราะอาการอักเสบตามชื่อ เป็นความพยายามของร่างกายที่จะรักษาและปกป้องเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเสียหาย แต่กระบวนการต้านการอักเสบของร่างกายอาจดีเกินไปจนกลายเป็นปัญหาซะเอง เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องควบคุมดูแลให้ดี อาการถึงจะบรรเทา เช่น ประคบเย็นตรงจุดที่เอ็นอักเสบด้วยน้ำแข็ง เจลแพ็ค หรือถุงผักแช่แข็งก็ได้ เพื่อบรรเทาอาการและลดปวด [3] ประคบเย็นแบบนี้ทุก 2 - 3 ชั่วโมง จนพอหายปวดลดการอักเสบลง
    • ถ้าจุดที่อักเสบเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นตรงจุดที่เล็กและเปิดเผย (อย่างข้อมือหรือข้อศอก) ให้ประคบเย็นประมาณ 10 นาที แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อหรือเอ็นที่ใหญ่หรืออยู่ลึก (อย่างไหล่หรือสะโพก) ก็ต้องประคบกันนานถึง 20 นาที
    • ระหว่างประคบเย็นเอ็นที่อักเสบ ให้ยกส่วนนั้นสูงไว้ และพันทับให้แน่นกระชับด้วยผ้ายืดพันแผล สองจุดนี้จะทำให้ลดการอักเสบได้อย่างเห็นผลยิ่งขึ้น
    • อย่าลืมห่อน้ำแข็งด้วยผ้าบางๆ ก่อนประคบเย็น จะได้ไม่เกิดอาการข้างเคียง อย่างผิวไหม้เพราะความเย็น
  3. อีกวิธีสู้โรคเอ็นอักเสบ ก็คือกินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปนี่แหละ [4] ยากลุ่ม NSAIDs อย่างแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) แล้วก็นาพรอกเซน (Aleve) ช่วยเพลาๆ ปฏิกิริยาตอบโต้ที่ร่างกายมีต่ออาการอักเสบได้ ทำให้ลดบวมลดปวด แต่ยากลุ่ม NSAIDs นั้นมักทำให้ปวดท้อง (ส่งผลต่อตับและไตบ้าง) เพราะงั้นจะดีกว่าถ้าคุณไม่กินต่อเนื่องนานเกิน 2 อาทิตย์ ไม่ว่าจะบาดเจ็บตรงไหนก็ตาม
    • ถ้าไม่อยากกินยา ก็ลองทาครีมหรือเจลแก้อักเสบลดปวดดูตรงบริเวณที่เป็น ถ้าเป็นตื้นๆ แถวบริเวณผิวหนัง ยาก็ยิ่งซึมและเห็นผลดีกว่า
    • อย่าพยายามกินยาแก้ปวด (acetaminophen) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (cyclobenzaprine) เพื่อรักษาโรคนี้ เพราะไม่ได้ช่วยเรื่องการอักเสบเลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เริ่มรักษาจริงจัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นอาการกล้ามเนื้อหรือเอ็นยึดปานกลางถึงไม่มากนัก การยืดเส้นยืดสายจะช่วยได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และเพิ่มความคล่องตัว ให้คุณขยับเขยื้อนได้มากขึ้น [5] โรคเอ็นอักเสบแบบเฉียบพลันก็ยืดเส้นยืดสายได้ (ขอแค่อาการปวดบวมอักเสบไม่มากนัก) และช่วยป้องกันไม่ให้อาการอักเสบเรื้อรังรุนแรงไปกว่าเดิม ระหว่างที่ยืดเส้น ให้ออกท่าทางช้าๆ แต่มั่นคง และค้างไว้ประมาณ 20 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3 - 5 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง
    • สำหรับคนที่เป็นโรคเอ็นอักเสบเรื้อรังหรืออยากยืดเส้นเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ ให้ประคบร้อนตรงบริเวณที่เป็นก่อนยืดเส้น จะได้เป็นการวอร์มอัพกล้ามเนื้อกับเอ็นให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
    • ข้อควรระวังคืออาการปวดของโรคเอ็นอักเสบจะยิ่งแย่ตอนกลางคืน และหลังคุณออกท่าออกทางหรือทำกิจกรรม
  2. ถ้าคุณเป็นโรคเอ็นอักเสบที่หัวเข่า ข้อศอก หรือข้อมือ ให้ใช้ที่รัดข้อแบบผ้ายาง neoprene ที่ขยับเขยื้อนได้ง่ายหน่อย หรือใช้ผ้ายืดรัดข้อแบบผ้าไนล่อนหรือมีเทปเวลโครติดให้แน่นกระชับ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนนั้นขยับเขยื้อนมากไปหรือกระทบกระเทือน [6] การใส่ผ้ายืดรัดข้อยังช่วยเตือนใจคุณให้เพลาๆ กิจกรรมนั้นๆ ลงหน่อย และไม่หักโหมทำงานหรือออกกำลังกายมากเกินไป
    • แต่ก็อย่ารัดหรือยึดบริเวณที่อักเสบแน่นเกินไปจนขยับไม่ได้ เพราะเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อรอบๆ ต้องขยับได้บ้าง เลือดถึงจะไหลเวียนไปเลี้ยงสม่ำเสมอและหายดี
    • นอกจากใส่ที่รัดแล้ว ให้ลองหาเฟอร์นิเจอร์ในห้องทำงานแบบ ergonomics ที่ปรับให้เหมาะสมตามสรีระและการใช้งานของคุณดู ถ้าจำเป็นก็ต้องปรับหมดทั้งเก้าอี้ คีย์บอร์ด และระดับโต๊ะหรือหน้าจอคอม ข้อกับเอ็นของคุณจะได้ไม่รับภาระหนักอย่างที่เคย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ถึงเวลาไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าโรคเอ็นอักเสบไม่หายสักที ทั้งที่พักผ่อนและรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วก็ไม่ดีขึ้น ให้นัดตรวจร่างกายโดยละเอียดกับคุณหมอ จะได้ประเมินความรุนแรงของอาการโรคเอ็นอักเสบของคุณ โดยอาจตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออย่าง ultrasound หรือ MRI แล้วถึงแนะนำวิธีรักษา ถ้าเอ็นฉีกจากกระดูก (rupture) ก็ต้องโอนเคสต่อไปยังศัลยแพทย์กระดูกเพื่อผ่าตัดรักษาต่อไป [7] แต่ถ้าไม่รุนแรงมาก แค่ทำกายภาพบำบัดกับ/หรือฉีดสเตียรอยด์ก็น่าจะพอ
    • การผ่าตัดรักษาโรคเอ็นอักเสบรุนแรงมักเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (arthroscopic) โดยจะสอดกล้องกับอุปกรณ์ขนาดจิ๋วผ่านเข้าไปในรอยผ่าเล็กๆ ใกล้กันกับข้อ [8]
    • ส่วนถ้าเป็นโรคเอ็นอักเสบเรื้อรัง จะผ่าแบบ focused aspiration of scar tissue หรือ FAST คือผ่าตัดเล็กเพื่อเอา scar tissue หรือเนื้อเยื่อที่อักเสบเสียหายจนกลายเป็นแผลเป็นออกจากเอ็น โดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเนื้อเยื่อดีแต่อย่างใด [9]
  2. ถ้าโรคเอ็นอักเสบของคุณเป็นแบบเรื้อรังแต่ไม่รุนแรงมากนัก คุณหมออาจพิจารณาโอนเคสไปฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย เช่น การทำกายภาพบำบัด (physiotherapy) นักกายภาพบำบัดจะกำหนดกายบริหารทั้งการยืดเส้นและเสริมสร้างความแข็งแรงในแบบที่เหมาะสมกับเอ็นส่วนที่อักเสบของคุณโดยเฉพาะ รวมถึงระบบกล้ามเนื้อโดยรอบ เช่น eccentric strengthening หรือการออกกำลังกายโดยเกร็งค้างไว้ตอนกล้ามเนื้อหรือเอ็นยืดออกไป ใช้รักษาโรคเอ็นอักเสบเรื้อรังได้ดีมาก [10] คุณต้องทำกายภาพบำบัดประมาณ 2 - 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ติดต่อกันนาน 4 - 8 อาทิตย์ ถึงจะเห็นผลสำหรับโรคเอ็นอักเสบเรื้อรัง
    • นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดยังช่วยรักษาเอ็นที่อักเสบของคุณได้ด้วยการใช้อัลตร้าซาวด์บำบัด (therapeutic ultrasound) หรือใช้คลื่นความถี่ต่ำ (micro-current) ทั้ง 2 วิธีพิสูจน์แล้วว่าลดการอักเสบได้ แถมกระตุ้นให้หายเร็วขึ้น
    • นักกายภาพบำบัดบางคน (รวมถึงหมอด้วย) อาจใช้คลื่นแสงพลังงานต่ำ (low-energy light waves เช่น infrared) ลดปวดลดการอักเสบเมื่อเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อแบบไม่ร้ายแรงนัก [11]
  3. ถ้าคุณหมอรับรองว่าไม่เป็นอันตราย ก็อาจแนะนำให้คุณฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในเอ็นที่อักเสบ สเตียรอยด์อย่าง cortisone นั้นใช้แล้วช่วยลดการอักเสบแบบเห็นผลดีมากในเวลาอันสั้น ทำให้คุณหายปวดเป็นปลิดทิ้ง แถมยังกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม (อย่างน้อยก็ชั่วคราว) แต่ก็อันตรายอยู่เหมือนกัน [12] ในบางเคสที่หายาก การฉีด corticosteroid อาจทำให้เอ็นที่อักเสบนั้นอ่อนแรงจนฉีกขาดได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรฉีด corticosteroid หรือก็คือสเตียรอยด์ซ้ำติดต่อกันเกิน 3 เดือน เพราะจะทำให้เอ็นเสี่ยงจะฉีกขาดซะแทน [13]
    • การฉีดสเตียรอยด์ช่วยลดปวดชั่วคราวก็จริง แต่ในระยะยาวอาจไม่ได้ผลดีอย่างที่คิด [14]
    • นอกจากทำให้เอ็นอ่อนแอแล้ว การฉีดสเตียรอยด์ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ อีก เช่น การติดเชื้อ กล้ามเนื้อบางส่วนฝ่อ เส้นประสาทเสียหาย และภูมิต้านทานลดลงได้
    • ถ้าฉีดสเตียรอยด์แล้วรักษาโรคเอ็นอักเสบไม่ได้ผล โดยเฉพาะถ้าทำควบคู่ไปกับการภาพบำบัด ก็คงต้องพิจารณาผ่าตัดแทน
  4. การฉีด PRP นั้นเป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างใหม่ ยังต้องศึกษากันอีกมาก แต่หลักๆ คือต้องเก็บตัวอย่างเลือดของคุณไปปั่น เพื่อแยก platelets หรือเกล็ดเลือด กับ healing factor หรือสารต่างๆ ที่ช่วยรักษาเยียวยาร่างกาย ออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดแดง [15] จากนั้นก็จะได้ส่วนผสมของพลาสม่าที่ใช้ฉีดเข้าเอ็นอักเสบแบบเรื้อรังของคุณ ว่ากันว่าช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นให้หายเร็วกว่าเดิม
    • ถ้าใช้แล้วได้ผล การฉีด PRP ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า การฉีดสเตียรอยด์เยอะเลย เพราะผลข้างเคียงน้อยกว่า
    • แต่ก็เหมือนการฉีดยาและผ่าตัดทั่วไป คือยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อไม่มากก็น้อย รวมถึงภาวะเลือดออกผิดปกติ และ/หรือการก่อตัวของ scar tissue ด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การป้องกันโรคเอ็นอักเสบนั้นง่ายกว่ารักษาเยอะเลย เพราะฉะนั้นอย่าหักโหมถ้ายังไม่คุ้นชินกับการออกกำลังกายหรือกิจกรรมการทำงานนั้นๆ
  • เลิกสูบบุหรี่ซะ เพราะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี จนกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจนกับสารอาหารได้
  • ถ้าการออกกำลังกายหรือกิจกรรมนั้นๆ ทำให้คุณปวดกล้ามเนื้อหรือเอ็น ก็เปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นจะดีกว่า หมั่นออกกำลังกายให้หลากหลาย จะได้ไม่ใช้กล้ามเนื้อหรือเอ็นส่วนเดิมซ้ำๆ จนกลายเป็นโรคเอ็นอักเสบขึ้นมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 124,826 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา