ภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นรูปแบบความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ส่วนตัว ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่งนั้น มีปัญหาในการเข้าถึงและปรับสมดุลของอารมณ์ของตนเอง ซึ่งก็เหมือนความผิดปกติทางจิตแบบอื่นๆ ในแง่ที่ว่า ภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกเครียดอย่างรุนแรง หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม และจำเป็นต้องมีอาการจำเพราะบางอย่าง ถึงจะนำมาวินิจฉัยได้ว่า เขาหรือเธอเข้าข่ายเป็นผู้มีภาวะอาการดังกล่าวหรือไม่ และผู้ที่จะทำหน้าที่วินิจฉัย จะต้องเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการรับรองมาเท่านั้น คนทั่วไปจะไม่สามารถวินิจฉัยตัวเองหรือคนรอบข้างได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง มันอาจเป็นเรื่องยากสักหน่อย ที่จะรับมือกับภาวะผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นนี้ ไม่ว่าคุณจะมีอาการเหล่านั้นเอง หรือว่าต้องคอยรับมือกับอาการของคนที่คุณรักก็ตาม อย่างไรก็ดี หากคุณหรือคนที่คุณรักมีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งแล้วล่ะก็ ยังพอมีทางที่จะเรียนรู้วิธีรับมืออาการเหล่านี้ได้อยู่เหมือนกัน
ขั้นตอน
-
มองหาความช่วยเหลือจากนักบำบัด. การบำบัดมักเป็นทางเลือกของการรักษาอันดับแรก สำหรับผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง แม้ว่าจะมีการบำบัดหลายประเภทที่อาจนำมาใช้ได้ในการรักษาภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง แต่วิธีหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุดที่มีการบันทึกไว้ คือ พฤติกรรมบำบัดแบบวิภาษวิธี ซึ่งส่วนหนึ่งพัฒนามาจากแนวทางของความคิดและพฤติกรรมบำบัด ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมาช่า ไลน์แฮน (Marsha Linehan) [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- การบำบัดประเภทนี้ เป็นวิธีการรักษาที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งโดยเฉพาะ ผลการศึกษาพบว่า มันมีอัตราการรักษาได้ผลในระดับที่คงที่ พฤติกรรมบำบัดแบบวิภาษวิธีจะเน้นไปที่การสอนผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ให้รู้จักปรับสมดุลหรืออารมณ์ของพวกเขาด้วยตนเอง มีความอดทนต่อความหงุดหงิดมากขึ้น เรียนรู้ทักษะการเจริญสติ ระบุและตั้งชื่อให้แก่อารมณ์แบบต่างๆ รวมถึงเสริมสร้างทักษะการรับมือสถานการณ์ต่างๆ ในสังคม ที่อาจมีผลต่อจิตใจ เพื่อช่วยให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นได้ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Linehan, M. M. (1993). Skills training manual for treating borderline personality disorder. New York; Guilford Press.
- การรักษาที่แพร่หลายรูปแบบหนึ่ง คือ การบำบัดด้วยวิธีเน้นแบบแผน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคตามแนวคิดของกลุ่มความคิดและพฤติกรรมบำบัด กับเทคนิคการบำบัดแบบอื่นๆ ด้วย เพื่อเน้นให้การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ให้รู้จักจัดระเบียบหรือโครงสร้างทางการรับรู้และประสบการณ์ของตัวเอง เพื่อช่วยในการเสริมภาพลักษณ์ส่วนตัวให้ดีขึ้น [5] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- การบำบัด ทำได้ทั้งแบบตัวต่อตัวหรือแบบเป็นกลุ่ม การผสมผสานทั้ง 2 วิธีนี้เข้าด้วยกันเป็นไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
-
ใส่ใจความรู้สึกของตัวเอง. ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ต้องพบเจอก็คือ ไม่สามารถรับรู้ ระบุ หรืออธิบายรูปแบบอารมณ์ของตัวเองได้ คุณควรพยายามหาเวลาสงบสติอารมณ์ ในช่วงที่มีสถานการณ์ทำให้อารมณ์แปรปรวน การครุ่นคิดถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้คุณ ได้เรียนรู้ในการปรับสมดุลอารมณ์ตัวเอง [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พยายามหาเวลา “ปลีกวิเวก” เข้าไปภายในตนเองให้บ่อยครั้งระหว่างวัน ตัวอย่างเช่น คุณอาจหาเวลานอกจากการทำงานสักพัก เพื่อหลับตาลงและเข้าไปสำรวจภายในร่างกาย รวมถึงอารมณ์ของตัวเอง จดบันทึกดูว่า คุณมีความรู้สึกตึงเครียดหรือเจ็บปวดร่างกายส่วนไหนบ้าง ลองทบทวนดูว่า คุณหมกมุ่นอยู่กับความคิดหรือความรู้สึกใดในช่วงที่ผ่านมา การจดบันทึกความรู้สึกตนเองเช่นนี้ จะช่วยให้คุณได้รับรู้อารมณ์ตัวเอง ซึ่่งจะส่งผลให้คุณ หาวิธีปรับสมดุลทางอารมณ์ได้ดีขึ้น
- พยายามใช้วิธีดังกล่าวแบบจำเพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะคิดว่า “ฉันโมโหเหลือเกิน จนทนมันไม่ได้อีกต่อไป” ก็พยายามจดบันทึก ด้วยว่า คุณคิดว่าอารมณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอะไร เช่น “ฉันกำลังโมโห เพราะกำลังจะไปทำงานสาย เนื่องจากรถติด”
- พยายามอย่าไปตัดสินอารมณ์ของตัวเอง ในขณะที่คิดถึงมัน ตัวอย่างเช่น คุณควรหลีกเลี่ยงที่จะพูดในทำนองว่า “ตอนนี้ฉันกำลังโมโห ฉันนี่ช่างเป็นคนไม่ดีเลยจริงๆ ที่มีความรู้สึกเช่นนั้น” แต่คุณควร โฟกัส ไปที่การรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ตัดสินมันเท่านั้นพอ ตัวอย่างเช่น “ฉันกำลังรู้สึกโมโห เพราะว่าฉัน เจ็บปวด พี่เพื่อนฉันมาสายกว่าที่นัด” [7] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
-
แยกแยะระหว่างอารมณ์ปฐมภูมิและทุติยภูมิ. การเรียนรู้ที่จะขุดคุ้ยทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละสถานการณ์ ถือเป็นก้าวสำคัญไปสู่การเรียนรู้วิธีปรับสมดุลทางอารมณ์ เพราะผู้ป่วยมักจะถูกรุมเร้าด้วยอารมณ์นานาชนิดไวกว่าปกติ ดังนั้น จงใช้เวลาสักชั่วขณะ ในการแยกแยะระหว่างความรู้สึกที่เกิดขึ้นก่อน และความรู้สึกอื่่นๆ ที่อาจเพิ่งเกิดตามหลังมา [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนของคุณ ลืมว่าคุณทั้งคู่นัดทานข้าวกลางวันกัน ปฏิกิริยาตอบสนองอันดับแรก อาจจะเป็นความโกรธ ซึ่งถือว่าเป็นอารมณ์ปฐมภูมิ
- ความโกรธดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความรู้สึกอื่นๆ ตามมาด้วย ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกเจ็บปวดที่เพื่อนลืมคุณ จนเกิดความรู้สึกกลัวว่า นี่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่า เพื่อนคุณไม่ใส่ใจคุณอีกต่อไปแล้ว จากนั้น คุณอาจจะรู้สึกละอาย ราวกับว่าตัวคุณไม่มีค่าพอที่เพื่อนจะจดจำ อารมณ์ต่างๆ ที่กล่าวมา ถือได้ว่าเป็น อารมณ์ทุติยภูมิ
- การทบทวนเกี่ยวกับต้นตอของอารมณ์ จะสามารถช่วยคุณเรียนรู้วิธีการปรับสมดุลให้กับมันได้
-
ใช้หลักการคุยกับตัวเองในเชิงบวก. วิธีหนึ่งในการเรียนรู้ที่จะรับมือปฏิกิริยาตอบสนองของคุณเอง ในสถานการณ์ต่างๆ ให้มีผลในเชิงบวกมากขึ้น คือ การท้าทายปฏิกิริยาในทางลบของตัวเอง ด้วยการใช้หลักการพูดคุยกับตัวเองในเชิงบวกแทน วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่คุณจะรู้สึกเคยชินและทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่มันก็มีประโยชน์สำหรับคุณมาก [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง การวิจัยพบว่า ใช้วิธีพูดคุยกับตัวเองในเชิงบวก สามารถช่วยคุณ มีความจดจ่อ มากขึ้น ช่วย เสริมสร้างสมาธิ และบรรเทาความวิตกกังวลของคุณได้ด้วย [11] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Science Direct ไปที่แหล่งข้อมูล
- กล่าวย้ำกับตัวเองว่า คุณมีค่าคู่ควรกับความรักและเคารพ [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล ทำให้เป็นเหมือนการเล่นเกม ในการค้นหาคุณลักษณะของตัวเองที่คุณชื่นชอบ เช่น ความมุมานะ ความใส่ใจ ความเป็นคนมีจินตนาการ ฯลฯ [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง พยายามย้ำเตือนตัวเองถึงคุณลักษณะด้านบวกเหล่านี้ ในยามที่คุณรู้สึกเชิงลบกับตัวเอง
- พยายามย้ำเตือนตัวเองว่า สถานการณ์อันไม่สบอารมณ์นั้น เป็นเรื่องชั่วคราว มีขีดจำกัด และเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ตัวอย่างเช่น หากครูผู้ฝึกสอนคุณ ตำหนิฝีมือการเล่นเทนนิสของคุณ คุณควรย้ำเตือนตัวเองว่า สถานการณ์เช่นนี้ ไม่ได้เป็นตัวกำหนด ผลงานการฝึกซ้อม ทั้งในอดีตและในอนาคตต่อไป ดังนั้น แทนที่จะปล่อยให้ตัวเอง จมปลักอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต จงพยายามแก้ไขให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป ซึ่งจะช่วยให้คุณเกิดความรู้สึกว่า สามารถควบคุมการกระทำของตนเองได้ แทนที่จะรู้สึกเหมือนกับว่า ตนเองตกเป็นเหยื่อของใครบางคน [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปรับมุมมองของความคิดเชิงลบ ให้เป็นนัยยะเชิงบวก ตัวอย่างเช่น หากคุณทำข้อสอบได้ไม่ดี ความคิดแบบแรกของคุณ อาจจะคิดว่า “ฉันมันพวกขี้แพ้ ฉันมันไร้ค่า ฉันจะต้องตกวิชานี้แน่นอน” ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่มีประโยชน์ และไม่ยุติธรรมกับตัวเองด้วย คุณควรคิดว่า สามารถเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ดังกล่าวได้มากกว่า เช่น “ฉันอาจทำได้ไม่ดีในการสอบครั้งนี้ ฉันสามารถไปพูดคุยกับอาจารย์ของฉัน เพื่อค้นหาว่า ฉันมีจุดอ่อนตรงไหน และจะได้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และพร้อมสำหรับการสอบครั้งต่อไป” [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
หยุดและทบทวนตัวเอง ก่อนที่จะสนองตอบต่อการกระทำของผู้อื่น. ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง คือ มักจะโกรธหรือท้อแท้ วนเวียนอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนทำบางสิ่งที่ทำให้คุณโมโห สัญชาตญาณแรกของคุณอาจจะเป็นการตอบสนองด้วยการโวยวาย และพูดจาขู่เข็ญ ดังนั้น คุณควรใช้เวลาสักพัก ในการเข้าตรวจสอบอารมณ์ของตัวเอง และระบุลักษณะของมัน จากนั้น จึงนำไปสื่อสารให้อีกฝ่ายรู้ ในลักษณะที่ไม่ก้าวร้าวขู่เข็ญ [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนของคุณมาสาย จากที่นัดกินข้าวกลางวันกันไว้ ปฏิกิริยาเฉพาะหน้าของคุณอาจจะเป็นการโกรธ คุณอาจจะรู้สึกอยากตะโกนใส่เขาหรือเธอ และถามว่าทำไมไม่เคารพกันบ้าง
- การตรวจสอบอารมณ์ดังกล่าว ก็ทำได้โดยการถามตัวเองว่า คุณกำลังมีความรู้สึกใด อะไรคืออารมณ์ปฐมภูมิ และมีอารมณ์ทุติยภูมิเกิดขึ้นหรือไม่ ตัวอย่างเช่น คุณอาจรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณก็รู้สึกกลัวด้วย เพราะคุณเชื่อว่า อีกฝ่ายหนึ่งมาสาย เนื่องจากเขาหรือเธอ ไม่ใส่ใจความรู้สึกคุณ
- ใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบถามไปว่า ทำไมเขาหรือเธอจึงมาสาย โดยไม่ต้องตัดสินหรือขู่ ใช้หลักการบอกกล่าวด้วยสรรพนาม "บุรุษที่ 1" ตัวอย่างเช่น ฉันกำลังรู้สึก เจ็บปวดที่เธอมาสาย จากที่นัดกินข้าวกลางวันไว้กับฉัน ทำไมเธอถึงมาสายล่ะ” คุณอาจจะพบว่า สาเหตุที่เพื่อนของคุณมาสาย เป็นเรื่องที่ไร้สาระ เช่น รถติด หรือมัวแต่หากุญแจอยู่ การใช้สรรพนาม "บุรุษที่ 1" เป็นการป้องกัน ไม่ให้คุณมีท่าทีเหมือนกล่าวตำหนิ ซึ่งอาจจะทำให้พวกเขารู้สึกอยากปกป้องตัวเอง และเปิดใจรับฟังมากขึ้น
- การย้ำเตือนตัวเอง ให้ทบทวนอารมณ์ที่เกิดขึ้นและอย่าเพิ่งด่วนตัดสินหรือสรุป จะช่วยให้คุณเรียนรู้ที่จะปรับสมดุล ต่อการตอบสนองผู้อื่นได้
-
บรรยายลักษณะทางอารมณ์ของคุณออกมาในรายละเอียด. ลองเชื่อมโยงอาการที่เกิดขึ้นทางร่างกาย กับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้สึกทางกายของตนเอง เช่นเดียวกับความรู้สึกทางอารมณ์ด้วย จะช่วยให้คุณสามารถบรรยายและเข้าใจอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น
- ตัวอย่างเช่น คุณอาจรู้สึก โหวงเหวงภายในช่องท้องเมื่อเกิดบางสถานการณ์ขึ้น และคุณอาจจะไม่รู้ว่า ความรู้สึกดังกล่าวเชื่อมโยงกับสิ่งใด ครั้งต่อไปที่คุณรู้สึกโหวงเหวงเช่นนั้น พยายามคิดให้ออกว่า คุณกำลังรู้สึกแบบไหนอยู่ มันอาจเป็นไปได้ว่า ความรู้สึกดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับความวิตกกังวล และความรู้สึกประหม่า
- หลังจากที่คุณรู้ว่า ความรู้สึกในช่องท้องของคุณ เป็นความเกี่ยวเนื่องกับความวิตกกังวล สุดท้ายแล้ว คุณจะรู้สึกว่า ตัวเองควบคุมความรู้สึกดังกล่าวได้ดีขึ้น แทนที่จะรู้สึกราวกับว่า มันคอยควบคุมคุณอยู่
-
เรียนรู้พฤติกรรมการปลอบโยนตัวเอง. การเรียนรู้พฤติกรรมที่ช่วยในการปลอบโยนตัวเอง สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสงบลงได้ ในยามที่คุณกำลังรู้สึกเจ็บปวดทางอารมณ์ พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่คุณสามารถทำเพื่อปลอบโยน และแสดงความเมตตาต่อตัวเอง [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- อาบหรือแช่น้ำอุ่น. ผลการวิจัยพบว่า ความอบอุ่นจากร่างกาย ส่งผลให้หลายๆ คน เกิดความรู้สึกเหมือนได้รับการปลอบโยน [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ฟังเพลงช่วยปลอบประโลม. ผลการศึกษาพบว่า การฟังเพลงบางประเภทสามารถช่วยให้คุณผ่อนคลายได้ สถาบันการใช้เสียงบำบัดของประเทศอังกฤษก็เคยจัดทำรายชื่อเพลงที่ผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ว่า ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและหายเศร้าได้ [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองสัมผัสเพื่อปลอบตนเอง การสัมผัสตนเองด้วยท่าทีของความกรุณา สามารถช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและหายเครียด ด้วยการที่ร่างกายหลั่งสารอ๊อกซิโตซินออกมา ลองไขว้แขนไปกอดรัดตัวเองดูอย่างอ่อนโยน หรือเอามือทาบหน้าอกบริเวณหัวใจไว้ และสังเกตความอบอุ่นจากผิว รวมถึงลองรับรู้การกระเพื่อมขึ้นลงของหน้าอก ขณะที่ตนเองกำลังหายใจก็ได้ จงหาเวลาย้ำเตือนกับตนเองว่า คุณเป็นคนที่งดงามและคู่ควรเสมอ [20] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ฝึกความอดทน ในการรับมือความไม่แน่นอนและความเครียด. ความอดทนทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการทนต่อารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ โดยไม่สำแดงพฤติกรรมใดออกมาในทางลบ คุณอาจเริ่มฝึกด้วยการทำความคุ้นเคยกับอารมณ์ตัวเองก่อน และค่อยๆ ออกไปเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่แน่นอน ในสภาวะที่ไม่อันตรายมากนัก [21] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- นำสมุดบันทึกติดตัวไว้ตลอดทั้งวันเพื่อจดบันทึก ถึงช่วงเวลาใดก็ตามที่คุณรู้สึกไม่แน่ใจ มีความวิตกกังวล และหวาดกลัว อย่าลืมระบุด้วยว่า กำลังมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้นตอนที่คุณรู้สึกในลักษณะดังกล่าว รวมถึงการตอบสนองของคุณต่อช่วงเวลานั้นด้วย
- จัดอันดับความรู้สึกไม่แน่ใจของคุณ ลองประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่แน่นอน หรือวิตกกังวล และให้คะแนนจาก 0 ถึง 10 ตัวอย่างเช่น การไปกินข้าวในร้านอาหารคนเดียว คุณอาจจะให้คะแนน 4 แต่การปล่อยให้เพื่อนเป็นคนวางแผนไปเที่ยวพักผ่อน อาจเป็นสถานการณ์ที่ได้ถึง 10 คะแนน
- ฝึกความอดทนต่อสถานการณ์ไม่แน่นอน เริ่มจากสถานการณ์เล็กๆ และไม่เป็นอันตรายดูก่อน ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะลองสั่งเมนูที่คุณไม่เคยกินมาก่อนที่ร้านอาหารแห่งใหม่ คุณอาจจะรู้สึกมีความสุขหรือไม่ก็ได้กับอาหารมื้อดังกล่าว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะคุณได้แสดงให้ตัวเองประจักษ์แล้วว่า คุณเข้มแข็งมากพอที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนได้ด้วยตัวเอง คุณยังสามารถค่อยๆ ฝึกฝนรับมือกับสถานการณ์ที่หนักหนากว่านี้ ตราบใดที่คุณรู้สึกปลอดภัยเพียงพอที่จะลองทำ
- จดบันทึกลักษณะการตอบสนองของคุณไว้ เวลาที่คุณลองทำบางสิ่งที่ไม่แน่นอน ให้จดเอาไว้ด้วยว่า สถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างไร คุณทำอะไรลงไปบ้าง คุณรู้สึกอย่างไรระหว่างที่เกิดประสบการณ์ดังกล่าวขึ้น และหลังจากนั้น คุณรู้สึกอย่างไร หากมันไม่ได้เป็นไปตามที่คุณคาดหมาย คุณมีการตอบสนองอย่างไร คุณคิดว่าตัวเองจะสามารถรับมือกับมันได้มากขึ้นในอนาคตหรือไม่
-
ฝึกฝนการรับมือกับประสบการณ์ที่ไม่สบอารมณ์ ด้วยแนวทางที่ปลอดภัย. นักบำบัด จะสามารถช่วยให้คุณเรียนรู้วิธีรับมือกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ด้วยการมอบหมายแบบฝึกหัดให้คุณทำ ในบางเรื่องที่คุณสามารถลองทำได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น:
- ถือก้อนน้ำแข็งเอาไว้ จนกว่าคุณจะรู้สึกว่า อารมณ์ในทางลบผ่านพ้นไปแล้ว โฟกัสไปที่ความรู้สึกทางร่างกาย จากการที่มีก้อนน้ำแข็งอยู่ในมือ ลองสังเกตลักษณะที่มันเย็นสุดขั้วในช่วงแรกๆ ก่อนที่จะเย็นน้อยลงเรื่อยๆ เปรียบไปก็เหมือนอารมณ์ของคุณนั่นเอง [22] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลองหลับตาและจินตนาการภาพคลื่นในมหาสมุทร นึกภาพว่า มันกำลังก่อตัวขึ้นจนในที่สุดก็เป็นคลื่น และคอยคอยสลายไปจงยำเตือนตัวเองว่า อารมณ์ของคุณก็เหมือนคลื่นดังกล่าว ที่ก่อตัวขึ้นสูงแล้วก็มลายหายไป
-
พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ. การออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความรู้สึกตึงเครียด ความกังวล และอากาศซึมเศร้าได้ [23] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เป็นเพราะว่าการออกกำลังหรือบริหารร่างกาย จะช่วยหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายเราผลิตขึ้นตามธรรมชาติให้รู้สึกดี [24] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล สถาบันสุขภาพจิตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำว่า คนเราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดความรู้สึกในทางลบ [25] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- ผลการศึกษาพบว่า แม้แต่การออกกำลังกายขนาดปานกลาง เช่น การเดินหรือการทำสวน ก็ยังส่งผลดีดังกล่าวได้ [26] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
-
พยายามรักษาตารางกิจกรรมที่กำหนดไว้. เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ถือเป็นอาการหลักของผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพก้ำกึ่งดังนั้น การกำหนดกิจวัตรให้มีความสม่ำเสมอ เช่น การรับประทานอาหารหรือการนอนหลับตามเวลา เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณที่ขึ้นๆ ลงๆ หรือการอดหลับอดนอน อาจทำให้อาการของภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งแย่ลงได้ [27] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- หากคุณมีปัญหาในการลืมดูแลตัวเองอยู่บ่อยๆ เช่น ลืมกินอาหารบางมื้อ หรือไม่ยอมเข้านอนในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็ควรที่จะขอให้ใครบางคนคอยเตือนคุณด้วย
-
วางเป้าหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริง. การจัดการกับความผิดปกติใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องใช้เวลาและการฝึกฝน คุณไม่มีทางที่จะเห็นความคืบหน้าของตัวเองภายใน 2-3 วัน แต่อย่าปล่อยให้ตัวเองท้อแท้เสียก่อน จำไว้ว่า ขอเพียงแค่ทำให้ดีที่สุดก็พอ แค่นั้นก็ถือว่าดีพอแล้ว [28] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- จำไว้ว่า อาการต่างๆ ของคุณ จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ใช่ภายในชั่วข้ามคืน
โฆษณา
-
ตระหนักว่า ความรู้สึกของคุณเป็นเรื่องปกติ. บรรดาญาติสนิทมิตรสหายของผู้ที่ป่วยจากภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักจะรู้สึกว่า มันหนักหนาสาหัส ยุ่งเหยิง น่าเหนื่อยหน่าย หรือมีความเจ็บปวดเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนรัก ทั้งอาการซึมเศร้า ความรู้สึกสิ้นหวังหรือแปลกแยก และความรู้สึกผิด ทั้งหมดนี้ถือเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ ในหมู่ของผู้ที่มีคนรักอยู่ในภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง [29] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Hoffman, P., Fruzzetti, A., & Buteau, E. (2007). Understanding and engaging families: an education, skills and support program for relatives impacted by borderline personality disorder. Journal Of Mental Health, 16(1), 69-82. มันจึงมีประโยชน์ที่จะตระหนักว่า ความรู้สึกทั้งหมดที่กล่าวมา ถือเป็นเรื่องปกติและไม่ได้หมายความว่า คุณเป็นคนไม่ดีหรือขาดการเอาใจใส่ต่อผู้อื่น
-
ศึกษาเกี่ยวกับภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง. แม้ว่าภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง จะเป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นจริงและส่งผลในทางลบได้เช่นเดียวกับอาการป่วยทางกาย แต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ “ความผิด“ ของคนที่คุณรัก คนที่คุณรักอาจจะรู้สึกละอายหรือรู้สึกผิดอย่างรุนแรงแต่ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเองได้ทั้งนี้งานมีความรู้เกี่ยวกับภาวะบุกและภาพกล้ามครึ่งให้มากขึ้นจะช่วยให้คุณให้กำลังใจจากคนรักของคุณได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นคุณควรเริ่มศึกษาเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวให้มากขึ้น และศึกษาหาหนทางช่วยเหลือเท่าที่คุณจะทำได้ [30] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- สถาบันสุขภาพจิตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง [31] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- นอกจากนี้ก็ยังมีโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมากมาย รวมถึงบล็อกและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจได้มากขึ้นว่า ภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ทำให้เกิดปัญหาได้อย่างไรบ้าง [32] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [33] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ตัวอย่างเช่น กลุ่มสหภาพนักวิชาการ ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ก็ได้มีการจัดทำคู่มือสำหรับสมาชิกในครอบครัวขึ้นมาด้วย [34] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง นอกจากนี้ ก็ยังมีศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งอีกหนึ่งแห่ง ที่มีการจัดทำไฟล์วีดีโอ หนังสือแนะนำ และคำปรึกษาอื่นๆ ที่คุณสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่คนรักได้ [35] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ส่งเสริมให้คนที่คุณรัก ยอมเข้ารับการบำบัด. คุณก็ต้องตระหนักด้วยว่า การบำบัดอาจต้องใช้เวลาสักระยะ กว่าที่จะเห็นผล นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งบางคน ก็อาจไม่ตอบสนองต่อการบำบัดก็ได้ [36] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พยายามอย่ารับมือกับคนที่คุณรักด้วยทัศนคติแบบตัดสินพวกเขา ตัวอย่างเช่น มันไม่มีประโยชน์เลยที่จะพูดในทำนองว่า “คุณทำให้ฉันเป็นกังวลนะ” หรือ “คุณทำให้ผมรู้สึกแปลกๆ” แต่คุณควรที่จะใช้สรรพนาม “บุรุษที่ 1” ในการแสดงความห่วงใยและกังวลมากกว่า เช่น “ฉันรู้สึกกังวลบางเรื่องจากการที่ได้เห็นพฤติกรรมของคุณ” หรือ “ฉันรักคุณและต้องการที่จะช่วยให้คุณได้รับการช่วยเหลือต่อไป”
- คนที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งจะยอมเข้ารับการบำบัด ก็ต่อเมื่อเขาหรือเธอเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ และเข้ากันได้ดีกับผู้บำบัด อย่างไรก็ดี ลักษณะที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ของผู้ที่ป่วยหรือมีภาวะดังกล่าว ในแง่ของการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น อาจจะส่งผลให้การค้นหา และรักษาความสัมพันธ์ด้านการบำบัดที่ดีเอาไว้ เป็นเรื่องยากลำบาก [37] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- ลองพิจารณาในการมองหาการบำบัดแบบครอบครัว การรักษาสำหรับภาวะบุคลิภาพก้ำกึ่ง อาจรวมถึงการบำบัดเป็นกลุ่มในครอบครัว โดยมีคนในครอบครัวที่เขาหรือเธอรักร่วมอยู่ด้วย
-
พยายามไม่ถือสากับความรู้สึกของเขาหรือเธอ. แม้ว่าคุณจะไม่เข้าใจว่า ทำไมคนที่คุณรักจึงรู้สึกในแบบที่เขาหรือเธอเป็นอยู่ คุณก็ควรพยายามที่จะเสนอความช่วยเหลือ และแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ [38] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล ตัวอย่างเช่นคุณอาจพูดในทำนองว่า “เรื่องนั้นมันดูเหมือนเป็นเรื่องยากสำหรับคุณทีเดียวนะ” หรือ “ฉันพอจะเห็นภาพว่า ทำไมคุณหัวเสียกับเรื่องนั้น” [39] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
- จำไว้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับคนที่คุณรัก เพียงเพื่อที่จะแสดงให้เขาหรือเธอเห็นว่า คุณกำลังรับฟังและกำลังเห็นใจ พยายามสบสายตาพวกเขาในขณะที่รับฟัง และเปรยออกมาในลักษณะที่ว่า “อ๋อ เหรอ“ หรือ “จริงด้วย” ในขณะที่อีกฝ่ายกำลังพูดก็พอ [40] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
-
จงเสมอต้นเสมอปลาย. ด้วยความที่ผู้ป่วยบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักมีอารมณ์แปรปรวนอย่างบ้าคลั่ง มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย และเป็นที่พึ่งพิงได้ เหมือนเป็นที่ยึดเหนี่ยวของพวกเขา เช่น หากคุณบอกคนที่คุณรักว่า คุณจะกลับบ้านตอนห้าโมง คุณก็ควรที่จะพยายามทำให้ได้ตรงตามเวลานั้น [41] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ดี คุณไม่ควรจะไปถือสากับการขู่เข็ญ เรียกร้อง หรือการพยายามชักจูงของพวกเขา คุณต้องแน่ใจว่า การกระทำของคุณสอดคล้องกับความจำเป็น และสิ่งที่ตัวเองยึดถือไว้ด้วย [42] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [43] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- มันยังรวมถึงการที่คุณต้องคอยรักษาขอบเขตของตัวเองไว้ให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเตือนคนที่คุณรักว่า ถ้าเขาหรือเธอโวยวายใส่ คุณจะเดินหนีไปทันที ซึ่งถือว่ายุติธรรมดีแล้ว ดังนั้น หากคนที่คุณรักเริ่มที่จะส่งเสียงโวยวาย ก็อย่าลืมทำตามที่ตัวเองพูดเอาไว้ด้วย [44] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
- มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องวางแผนการรับมือไว้ว่า จะทำอย่างไร หากคนที่คุณรักเริ่มที่จะประพฤติตัวในแง่ร้าย หรือขู่เข็ญที่จะทำร้ายร่างกายตัวเอง คุณอาจพบว่า มันมีประโยชน์มากที่จะร่วมกันวางแผนดังกล่าว กับคนที่คุณรักด้วย รวมถึงประสานงานกับนักบำบัดของเขาหรือเธอให้ช่วยอีกแรงหนึ่ง [45] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แต่ไม่ว่าคุณจะวางแผนไว้อย่างไร ก็อย่าลืมปฏิบัติตามแผนนั้นให้ได้ด้วย
-
วางกรอบกติกาเอาไว้และยืนหยัดในกรอบนั้น. ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งอาจจะอยู่ร่วมได้ด้วยยากเสียหน่อย เพราะพวกเขาไม่รู้วิธีปรับสมดุลอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพพวกเขาอาจจะไม่รู้จักขอบเขตที่ผู้อื่นวางไว้ และตัวพวกเขาเองก็ไม่รู้วิธีการกำหนดกรอบของตัวเองหรือเข้าใจมันด้วยซ้ำ [46] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง การตีกรอบของตัวเองขึ้นมา ตามความเหมาะสมและจำเป็นของตนเอง จะช่วยให้คุณรู้สึกมั่นคงและสงบลงได้ เวลาที่ต้องรับมือกับคนที่คุณรัก
- ตัวอย่างเช่น คุณอาจบอกคนที่คุณรักว่า คุณจะไม่รับสายโทรศัพท์หลัง 4 ทุ่ม หากพวกเขาโทรมาหลังเวลาดังกล่าว เพราะคุณต้องการนอนหลับพักผ่อน มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะต้องยึดมั่นในกรอบที่วางไว้นั้น และอย่าไปรับสาย แต่หากเผลอรับสายไปแล้ว ก็ควรว่ากล่าวตักเตือนเขาหรือเธอ โดยเตือนให้รู้ถึงขอบเขตอีกครั้งด้วย ในขณะที่ต้องพยายามเข้าถึงอารมณ์ของพวกเขาไปด้วย เช่น “ผมเป็นห่วงคุณนะ และผมก็รู้ว่าคุณกำลังมีปัญหา แต่นี่มันห้าทุ่มครึ่งแล้ว และผมก็เคยบอกแล้วว่า ไม่ควรจะโทรหาผมหลังสี่ทุ่ม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผม คุณจะโทรหาผมตอนสี่โมงครึ่งพรุ่งนี้ก็ได้ แต่ตอนนี้ผมขอวางสายก่อนนะ บาย”
- หากคนที่คุณรักกล่าวหาว่า คุณไม่เอาใจใส่เขาหรือเธอ เพียงเพราะไม่ยอมรับสายโทรศัพท์เหล่านั้น คุณควรย้ำเตือนเขาหรือเธอว่า คุณได้วางกรอบเอาไว้แล้ว และก็อาจจะบอกให้พวกเขาโทรมาในเวลาอื่นที่เหมาะสมกว่าแทน
- คุณอาจจำเป็นที่ต้องยึดมั่นในกรอบเขตที่ตัวเองวางเอาไว้ เป็นเวลาอีกหลายครั้ง ก่อนที่เขาหรือเธอจะยอมเข้าใจว่า ขอบเขตดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่นๆ คุณต้องทำใจไว้ด้วยว่า คนที่คุณรักอาจจะตอบสนองต่อการยึดมั่นในขอบเขตของคุณ ด้วยความโกรธ ความขมขื่น หรือปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงในรูปแบบอื่นๆ แต่อย่าไปถือสา หรือโต้ตอบ หรือโกรธขึ้นมา พยายามหนักแน่นและยึดมั่นในขอบเขตที่วางไว้ต่อไป [47] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จำไว้ว่า การพูดว่า “ไม่” มันไม่ได้หมายความว่า คุณเป็นคนเลว หรือเป็นคนไม่ห่วงใยผู้อื่น แต่คุณจำเป็นที่ต้องดูแลสุขภาพกายและจิตของตัวเองก่อน [48] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ตอบสนองในเชิงบวกต่อพฤติกรรมที่เหมาะสม. มันสำคัญมากที่จะตอบสนองเวลาที่พวกเขาทำตัวดี ด้วยปฏิกริยาในเชิงบวกและการชื่นชม เพราะจะช่วยให้คนที่คุณรักรู้สึกว่า พวกเขาเริ่มสามารถดูแลอารมณ์ตนเองได้แล้ว และยังเป็นการกระตุ้นให้พวกเขาพยายามต่อไปด้วย [49] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น หากคนที่คุณรัก เริ่มที่จะตะคอกใส่คุณ และจากนั้น เขาหรือเธอก็มานั่งทบทวนตัวเอง คุณก็ควรที่จะกล่าวขอบคุณพวกเขา พยายามแสดงความเข้าใจว่า คุณตระหนักดีว่า พวกเขาต้องใช้ความพยายามแค่ไหน ในการยับยั้งพฤติกรรมด้านลบของตัวเอง และบอกพวกเขาไปว่า คุณซาบซึ้งใจ
-
มองหากำลังใจให้กับตัวเองด้วย. การดูแลและให้กำลังใจคนที่คุณรัก ซึ่งมีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจเป็นเรื่องที่ทำให้อารมณ์คุณเกิดความเหนื่อยหน่ายและไร้เรี่ยวแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมองหาแหล่งในการดูแลและให้กำลังใจตัวเองด้วย ในช่วงของการพยายามหาจุดสมดุล ระหว่างการให้กำลังใจทางอารมณ์กับการวางกรอบอย่างเหมาะสม
- สมาพันธ์ด้านสุขภาพจิตแห่งชาติในอเมริกา (Nami) และสมาพันธ์ค้นคว้าเกี่ยวกับอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง(NEA-BPD) มีข้อมูลมากมายให้คุณได้พึ่งพา [50] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Alliance on Mental Illness ไปที่แหล่งข้อมูล [51] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณยังอาจพบว่ามันมีประโยชน์มากที่จะพาตัวเองไปพบนักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษา ซึ่งคนเหล่านั้นจะสามารถช่วยคุณจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง และเรียนรู้ทักษะการรับมือที่เหมาะสม
- สมาพันธ์ด้านสุขภาพจิตแห่งชาติในอเมริกา ยังมีการจัดทำโปรแกรมคู่มือรับมือในครอบครัว ที่ชื่อว่า “ครอบครัวถึงครอบครัว” ซึ่งเกี่ยวกับการถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เป็นโปรแกรมฟรี [52] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Alliance on Mental Illness ไปที่แหล่งข้อมูล
- การบำบัดแบบครอบครัว ก็อาจจะมีประโยชน์เช่นกัน มันจะช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่คุณรัก ผู้บำบัดจะเสนอความช่วยเหลือและการฝึกอบรมทักษะบางอย่างให้คุณ เพื่อนำไปช่วยเหลือคนที่คุณรัก [53] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล การบำบัดสายใยในครอบครัว จะเน้นไปที่ความต้องการของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน มันเน้นไปที่การช่วยให้สมาชิกแต่ละคนพัฒนาทักษะของตัวเองให้แข็งกล้า วางกลยุทธ์การรับมือ รวมถึงเรียนรู้แหล่งทรัพยากรที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความสมดุล ระหว่างการใส่ใจกับความต้องการของตัวเอง กับความต้องการของคนที่คุณรัก [54] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ดูแลตัวเอง. คุณอาจจะเผลอเอาตัวเองไปมัวแต่ดูแลคนที่คุณรัก จนทำให้ลืมดูแลตัวเองได้ง่ายๆ มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ และพักผ่อนให้เพียงพอเสมอ หากคุณอดหลับอดนอน เกิดความกังวล หรือไม่ดูแลตัวเอง มันก็ยิ่งมีโอกาสที่คุณจะตอบสนองพฤติกรรมของคนที่คุณรัก ด้วยความหงุดหงิดและฉุนเฉียว [55] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ HelpGuide ไปที่แหล่งข้อมูล
- ออกกำลังกายด้วย การออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวลได้ มันยังช่วยส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีและสมบูรณ์ และเป็นเทคนิคการรับมือที่เหมาะสมอย่างหนึ่งด้วย [56] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ กินอาหารให้ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอและดูแลเรื่องโภชนาการให้สมดุล ซึ่งต้องมีทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และผักผลไม้สด รวมถึงต้องหลีกเลี่ยงพวกอาหารขยะ และจำกัดการบริโภคคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย [57] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- นอนหลับให้เพียงพอ พยายามเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาเดิมทุกวัน แม้แต่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ พยายามอย่าทำกิจกรรมอื่นใดบนเตียงของคุณ [58] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ผ่อนคลายที่บ้านลองฝึกสมาธิเล่นโยคะหรือกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายในแบบพื้นดิน เช่น บับเบิ้ลบาธหรือเดินชมวิวทิวทัศน์การมีคนรักเป็นผู้ป่วยคุณภาพเครื่องกลึงอาจทำให้เกิดความตึงเครียดได้มากดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะหาเวลาดูแลตัวเองด้วย
-
รับมือกับการขู่หรือทำร้ายร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง. แม้ว่าคุณอาจจะเคยได้ยินเขาหรือเธอขู่ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายร่างกายตัวเองมาก่อนมันก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องไม่ประมาทให้เห็นเป็นเรื่องจริงจังประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยบุคลิกภาพครั้งหนึ่งมีอาการพยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิตของพวกเขาและอีก 8 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ก็ทำสำเร็จเสียด้วยดังนั้นหาคนที่คุณรักขู่ฆ่าตัวตายควรโทรแจ้ง 191 หรือนำตัวไปในสถานที่ฉุกเฉิน
- นอกจากนี้ คุณยังอาจโทรหาฮอตไลน์สายด่วนของกรมสุขภาพจิต 1323 และ 1667 และเอาเบอร์โทรศัพท์นี้ ติดตัวพวกเขาไว้ด้วย เผื่อยามจำเป็น
โฆษณา
-
ทำความเข้าใจว่า อาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มีการวินิจฉัยจากปัจจัยใดบ้าง. บุคลากรทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งได้รับการอบรมมาจะอ้างอิงจากหนังสือคู่มือการวินิจฉัยและสถิติ สำหรับความผิดปกติทางจิต ในการวินิจฉัยบุคลิกภาพก้ำกึ่ง คู่มือดังกล่าวระบุว่า หากจะเข้าข่ายมีอาการป่วยแบบบุคลิกภาพก้ำกึ่ง บุคคลผู้นั้นต้องมีอย่างน้อยคุณลักษณะ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้: [59] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- มีความพยายามอย่างถึงที่สุด ในการหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง ไม่ว่าจะความจริงหรือคิดไปเอง
- มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่แรงและไม่เสถียรซึ่งดูได้จากการที่ยกย่องคนนั้นอย่างสุดขั้วสลับกับการดูถูกเหยียดหยามคนคนนั้น
- มีอัตลักษณ์ยุ่งเหยิงแปรปรวน
- มีแรงกระตุ้นอย่างน้อย 2 ด้าน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง
- มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง
- มีการแสดงความรู้สึกที่แปรปรวน ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบสนองทางอารมณ์ฉับไว
- มีอาการรู้สึกว่างเปล่าเรื้อรัง
- มีการระเบิดอารมณ์อย่างรุนแรงและไม่เหมาะสม หรือมีปัญหาในการควบคุมความโกรธ
- มีอาการวิตกจริตจากความกดดันอย่างฉับพลัน หรือมีภาวะแตกแยกทางบุคลิกภาพขั้นร้ายแรง
- จำไว้ว่า คุณไม่สามารถวินิจฉัยตัวเองหรือผู้อื่นที่มีอาการสุขภาพก้ำกึ่งได้ ข้อมูลในบทความนี้ เพียงเพื่อให้คุณสามารถพอจะบอกได้ว่า ตัวคุณหรือคนที่คุณรัก อาจจะ มีอาการดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น
-
คอยสังเกตอาการกลัวถูกทอดทิ้งอย่างรุนแรง. ผู้ป่วยที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะรู้สึกถึงความกลัวอย่างรุนแรง หากรู้สึกว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม ต่อการแยกทางกับคนที่ตนรัก โดยเขาหรือเธออาจจะแสดงอาการหุนหันพลันแล่น เช่น การขู่ฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเอง [60] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ปฏิกิริยาตอบสนองที่กล่าวมายังอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะจำเป็นต้องแยกทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีการเตรียมใจมานานแล้วก็ตาม หรือแม้กระทั่งกรณีเพียงชั่วครู่ชั่วยาม (เช่น เวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องออกไปทำงาน) [61] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ผู้ที่มีภาวะอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง โดยทั่วไปแล้วจะมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง กับการที่ต้องอยู่ลำพัง และพวกเขาก็จะมีความต้องการอย่างเรื้อรัง ที่จะมองหาความช่วยเหลือจากผู้อื่น เขาหรือเธออาจจะเกิดอาการกระวนกระวายหรือระเบิดอารมณ์ออกมา เวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งจากไปแม้เพียงชั่วสั้นๆ หรือมาสาย [62] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
คำนึงถึงเสถียรภาพของความสัมพันธ์กับผู้อื่น. ผู้ป่วยที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักจะไม่มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับใคร ในช่วงระยะเวลานานๆ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรับรู้ถึงข้อบกพร่องของผู้อื่น หรือบ่อยครั้งก็ของตัวเองด้วย เขาหรือเธอมักจะมองความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นแบบสุดขั้วไป 2 ข้าง คือ อีกฝ่ายหนึ่งอาจจะดูสมบูรณ์แบบ หรือไม่ก็ดูเลวร้ายไปเลย พวกเขามักจะจบความสัมพันธ์ฉันแฟนหรือมิตรสหายลงอย่างรวดเร็ว [63] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง จะยกย่องคนที่พวกเขามีความสัมพันธ์ด้วยอย่างเกินจริง หรือยกย่องจน “เอาขึ้นหิ้ง” อย่างไรก็ตาม หากอีกฝ่ายหนึ่งแสดงข้อบกพร่อง หรือทำความผิดพลาดใดๆ ออกมา แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ตาม ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ก็มักจะลดทอนคุณค่าของคนนั้นลงโดยทันที [64] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักจะไม่ยอมรับความรับผิดชอบ สำหรับปัญหาในความสัมพันธ์ของตัวเอง เขาหรือเธออาจพูดในทำนองว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมใส่ใจให้มากเพียงพอ หรือไม่ได้ทำอะไรเพื่อความสัมพันธ์นั้นเลย ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจจะมองว่า ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มีอารมณ์ที่ฉาบฉวยและมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแบบตื้นเขิน [65] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ลองทบทวนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ส่วนตัวของคนๆ นั้น. ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักจะมีภาพลักษณ์เกี่ยวกับตัวเองแบบไม่คงที่ หากเป็นคนธรรมดาทั่วไป จะค่อนข้างมีอัตลักษณ์ที่มั่นคง แน่ใจในตัวเอง และมั่นใจในมุมมองที่ผู้อื่นมีต่อตนเอง โดยไม่รู้สึกผันผวนมากนัก ต่างกับผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ซึ่งจะแปรปรวนไปตามสถานการณ์และคนใกล้ชิด [66] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะมองตัวเองตามที่ผู้อื่นมองพวกเขา ตัวอย่างเช่น หากคนรักไปตามนัดสาย ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งจะมองว่า นี่คือสัญญาณบอกเหตุว่า พวกเขาเป็นคนไม่ดี หรือไม่คู่ควรกับการเป็นที่รัก
- ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ยังอาจจะมีเป้าหมายที่หละหลวม และค่านิยมที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างสุดขั้ว [67] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย พวกเขาอาจจะดูมีเมตตาในขณะหนึ่ง แต่แล้วก็กลายเป็นคนโหดร้ายในนาทีต่อไปได้ ทั้งที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์อยู่กับคนเดียวกัน [68] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะประสบภาวะอารมณ์ที่เข้มข้นรุนแรง ในการดูถูกตัวเอง หรือรู้สึกไร้ค่า แม้ว่าผู้อื่นอาจจะยืนยันว่า ความเป็นจริงมันตรงกันข้ามก็ตาม [69] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะมีความดึงดูดทางเพศที่ขึ้นๆ ลงๆ มีรายงานว่า พวกเขามักจะมีการสับเปลี่ยนรสนิยมทางเพศของตนมากกว่าหนึ่ง ครั้ง [70] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ PubMed Central ไปที่แหล่งข้อมูล
- ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักมีแนวคิดเกี่ยวกับตนเองต่างจากขนบธรรมเนียมในสังคมของตน ทั้งนี้ เราควรคำนึงถึงขนบธรรมเนียมในแต่ละวัฒนธรรมด้วย เวลาที่พิจารณาว่า แนวคิดใด “ปกติ” หรือ “คงเส้นคงวา” [71] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
มองหาท่าทีหุนหันในการทำร้ายตนเอง. คนเราย่อมมีความหุนหันไม่มากก็น้อย แต่ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง จะชอบทำพฤติกรรมเสี่ยงๆ เป็นประจำและมันเป็นภัยคุกคามต่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และสุขภาพของพวกเขาอย่างมาก [72] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล พฤติกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากการกระตุ้นของเหตุการณ์และประสบการณ์บางอย่างในชีวิต ตัวอย่างเช่น: [73] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
- เมาแล้วขับรถ หรือขับด้วยความประมาท
- ใช้สารเสพติด
- กินจุหรือกินผิดปกติ
- ใช้จ่ายแบบหุนหัน
- เล่นพนันอย่างไม่รู้ขีดจำกัด
-
พิจารณาดูว่า พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน. การขู่หรือทำร้ายตนเอง และการฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในหมู่ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง [74] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง พฤติกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดจากความกลัวถูกทอดทิ้ง ไม่ว่าจะจริงหรือจินตนาการไปเองก็ตาม [75] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- การทำร้ายตัวเองรวมถึง การกรีดข้อมือ ใช้เทียนจี้ตัวเอง รวมถึงการหยิกและข่วนผิวตัวเอง
- ท่าทีหรือการขู่ฆ่าตัวตาย อาจเป็นในรูปแบบของการคว้ากระปุกยามาขู่ว่า จะกินให้หมดในคราวเดียว
- การขู่หรือพยายามฆ่าตัวตาย อาจเป็นความพยายามหรือแผนการ ซึ่งผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ใช้ในการหว่านล้อมให้ผู้อื่นทำสิ่งที่ตนต้องการ
- ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจรู้ตัวดีว่าตนเองมีพฤติกรรมเสี่ยง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ [76] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ประมาณ 60-70% ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง จะพยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต [77] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Health Service (UK) ไปที่แหล่งข้อมูล
-
สังเกตอารมณ์ของคนๆ นั้น. ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักมีปัญหาจากภาวะ “ความรู้สึกไม่มั่นคง” หรือ ผันผวนรุนแรง ที่เรียกว่า “อารมณ์แปรปรวน” นั่นเอง [78] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล อารมณ์ลักษณะดังกล่าวอาจแกว่งตัวบ่อย และอาจจะรุนแรงเกินกว่าที่จะเรียกว่า การตอบสนองทั่วไป
- ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะดูร่าเริงในนาทีหนึ่ง และอีกสักพักก็อาจจะปล่อยโฮออกมา หรืออาละวาดอย่างบ้าคลั่งได้ [79] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ซึ่งอารมณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง [80] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความท้อแท้ กังวล และความงุ่นงานใจ เป็นเรื่องปกติในผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่คนทั่วไปมองว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เช่น หากนักบำบัดบอกว่า เวลาของการบำบัดในคาบนี้ ใกล้จะหมดแล้ว ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ก็อาจจะแสดงอาการผิดหวังหรือรู้สึกถูกทอดทิ้งอย่างรุนแรง [81] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
พิจารณาว่า เขาหรือเธอเบื่อง่ายไหม. ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง มักแสดงออกมาราวกับว่า พวกเขารู้สึก “ว่างเปล่า” หรือเบื่อโลกเต็มที ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลายก็อาจมีต้นตอจากเรื่องนี้นี่เอง ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติฯ ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะชอบมองหาแรงกระตุ้นหรือเรื่องน่าตื่นเต้นทำอยู่เนืองๆ
- ในบางกรณี มันอาจรวมถึงความรู้สึกที่พวกเขามีต่อผู้อื่นด้วย ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจเบื่อความสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อนหรือคนรัก ได้อย่างรวดเร็ว และมองหาคนใหม่เพื่อความตื่นเต้นให้กับตนเอง [82] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
- ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ยังอาจรู้สึกราวกับว่า พวกเขาไม่มีตัวตน หรือมาจากดาวดวงอื่น [83] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สังเกตอาการขี้โมโห. ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง จะแสดงอารมณ์โกรธบ่อยและรุนแรงกว่าระดับทั่วไปที่สังคมยอมรับกัน เขาหรือเธอมักมีปัญหาในการควบคุมความโกรธ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มักแสดงออกมา เวลาที่พวกเขารูสึกว่าครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ไม่เอาใจใส่พวกเขาเท่าที่ต้องการ [84] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความโกรธอาจถูกแสดงออกมาในรูปแบบของการเสียดสี ประชดประชัน ด่าทอ หรือระเบิดอารมณ์ก็ได้
- ความโกรธยังอาจเป็นโหมดการตอบสนองแบบตายตัวของผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง แม้แต่ในสถานการณ์ที่คนทั่วไปเห็นว่า สามารถที่จะใช้เหตุผลหรือตอบสนองตามปกติได้มากกว่านี้ก็ได้ เช่น ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจจะมัวแต่โกรธเคืองการกระทำบางอย่างของคู่แข่ง แทนที่จะดื่มด่ำกับชัยชนะของตนเอง [85] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ความโกรธดังกล่าวอาจพัฒนาไปสู่ความรุนแรงหรือการลงไม้ลงมือด้วย [86] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Mayo Clinic ไปที่แหล่งข้อมูล
-
สังเกตท่าทีวิตกจริต. ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง อาจมีความคิดวิตกจริตแบบชั่ววูบขึ้นมาได้ ซึ่งมักถูกกระตุ้นโดยความเครียดและไม่ค่อยยืดเยื้อยาวนาน แต่อาจจะเกิดขึ้นบ่อย [87] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อาการวิตกจริตดังกล่าวมักเชื่อมโยงกับเจตนาและพฤติกรรมของผู้อื่น
- ตัวอย่างเช่น หากเขาหรือเธอถูกวินิจฉัยว่ามีอาการป่วย ก็อาจจะวิตกไปเองว่า คุณหมอกำลังสมคบคิดกับใครบางคน จัดฉากเรื่องนี้ขึ้นมาหลอกตน
- ภาวะแตกแยกทางบุคลิกภาพ ก็เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ทั่วไป ในหมู่ผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เขาหรือเธออาจมีบุคลิกภาพแตกแยกถึงขั้นที่รู้สึกว่า สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นภาพมายา
โฆษณา
เคล็ดลับ
- จงพยายามเป็นที่พึ่งพาทางอารมณ์และคอยช่วยเหลือคนที่คุณรักให้มากที่สุด
- หาเวลาดูแลตัวเองบ้าง ไม่ว่าคุณจะดูแลคนที่มีอาการ หรือเป็นผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่งเองก็ตาม
- องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ยังไม่มีการรองรับยาขนานใดที่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง เพราะเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา แต่ทางฝั่งผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตก็ยังสนับสนุนประโยชน์ของยาบางตัว ที่ใช้ในการบรรเทาอาการข้างเคียงได้ เช่น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล หรือความก้าวร้าว [88] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
- จำไว้ว่า การเป็นผู้ที่มีอาการบุคลิกภาพก้ำกึ่ง ไม่ได้เป็น “ความผิด” ของคุณ และไม่ได้ทำให้คุณเป็นคน “ไม่ดี” มันเป็นอาการที่รักษาได้ [89] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ National Institute of Mental Health ไปที่แหล่งข้อมูล
คำเตือน
- จงรับมือกับผู้ที่ขู่ทำร้ายตัวเองหรือขู่ฆ่าตัวตาย ด้วยความจริงจังเสมอ หากคนที่คุณรักแสดงท่าทีว่าจะฆ่าตัวตาย หรือวางแผนทำร้ายตัวเอง คุณควรรีบโทรแจ้ง191 หรือ 1323/ 1667สายด่วนกรมสุขภาพจิต
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.psi.uba.ar/academica/carrerasdegrado/psicologia/sitios_catedras/practicas_profesionales/820_clinica_tr_personalidad_psicosis/material/dsm.pdf
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub7
- ↑ http://psychcentral.com/lib/dialectical-behavior-therapy-in-the-treatment-of-borderline-personality-disorder/0001097
- ↑ Linehan, M. M. (1993). Skills training manual for treating borderline personality disorder. New York; Guilford Press.
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub7
- ↑ http://www.borderlinepersonalitytreatment.com/bpd-symptoms-emotional-regulation.html
- ↑ http://www.helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm
- ↑ http://www.bipolarsjuk.se/pdf/Handbook%20in%20DBT%20Group.pdf
- ↑ http://www.dbtselfhelp.com/html/overview2.html
- ↑ http://www.dbtselfhelp.com/html/positives.html
- ↑ http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1469029208000642
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
- ↑ http://www.bipolarsjuk.se/pdf/Handbook%20in%20DBT%20Group.pdf
- ↑ http://www.webmd.com/balance/express-yourself-13/positive-self-talk
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-living/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
- ↑ http://www.bipolarsjuk.se/pdf/Handbook%20in%20DBT%20Group.pdf
- ↑ http://www.dbtselfhelp.com/html/self-sooth.html
- ↑ http://journal.frontiersin.org/researchtopic/1627
- ↑ http://www.ryot.org/scientists-create-relaxing-song-world/375837
- ↑ http://www.mindfulselfcompassion.org/handouts/SoothingTouch.pdf
- ↑ http://www-psychology.concordia.ca/fac/dugas/downloads/en/Intolerance_of_uncertainty.pdf
- ↑ http://www.psychotherapybrownbag.com/psychotherapy_brown_bag_a/2009/04/dialectical-behavior-therapy-skills-part-4-distress-tolerance.html
- ↑ http://www.adaa.org/understanding-anxiety/related-illnesses/other-related-conditions/stress/physical-activity-reduces-st
- ↑ http://www.mayoclinic.org/healthy-living/stress-management/in-depth/exercise-and-stress/art-20044469
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub9
- ↑ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20479481
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub9
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub9
- ↑ Hoffman, P., Fruzzetti, A., & Buteau, E. (2007). Understanding and engaging families: an education, skills and support program for relatives impacted by borderline personality disorder. Journal Of Mental Health, 16(1), 69-82.
- ↑ http://www.bpddemystified.com/resources/for-loved-ones/
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/topics/borderline-personality-disorder/index.shtml
- ↑ http://www.anythingtostopthepain.com/20-rules-for-understanding-bpd/
- ↑ https://bpdcentral.com/help-for-families/beyond-blame-system/step-1/
- ↑ http://www.borderlinepersonalitydisorder.com/family-connections/family-guidelines/
- ↑ http://www.bpdresourcecenter.org/resources/for-families/
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2013/11/15/living-with-loving-someone-with-borderline-personality-disorder/
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub2
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub8
- ↑ http://www.helpguide.org/articles/personality-disorders/helping-someone-with-borderline-personality-disorder.htm
- ↑ http://www.helpguide.org/articles/personality-disorders/helping-someone-with-borderline-personality-disorder.htm
- ↑ http://psychcentral.com/blog/archives/2013/11/15/living-with-loving-someone-with-borderline-personality-disorder/
- ↑ http://www.borderlinepersonalitytreatment.com/bpd-symptoms-emotional-regulation.html
- ↑ http://www.borderlinepersonalitydisorder.com/family-connections/family-guidelines/
- ↑ http://www.helpguide.org/articles/personality-disorders/helping-someone-with-borderline-personality-disorder.htm
- ↑ http://www.bpddemystified.com/resources/for-loved-ones/
- ↑ http://www.borderlinepersonalitytreatment.com/bpd-friend-boundaries.html
- ↑ http://www.borderlinepersonalitytreatment.com/bpd-friend-boundaries.html
- ↑ http://www.borderlinepersonalitytreatment.com/bpd-symptoms-emotional-regulation.html
- ↑ http://www.bpddemystified.com/resources/for-loved-ones/
- ↑ https://www.nami.org/Learn-More/Mental-Health-Conditions/Borderline-Personality-Disorder/Support
- ↑ http://www.borderlinepersonalitydisorder.com/family-connections/
- ↑ https://www.nami.org/Find-Support/NAMI-Programs/NAMI-Family-to-Family
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub8
- ↑ http://www.borderlinepersonalitydisorder.com/family-connections/
- ↑ http://www.helpguide.org/articles/personality-disorders/helping-someone-with-borderline-personality-disorder.htm
- ↑ http://www.adaa.org/understanding-anxiety/related-illnesses/other-related-conditions/stress/physical-activity-reduces-st
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
- ↑ http://healthysleep.med.harvard.edu/
- ↑ http://www.treatingbpd.ca/BPD-Diagnosis-Clinical-Presentation.php
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ < http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.psi.uba.ar/academica/carrerasdegrado/psicologia/sitios_catedras/practicas_profesionales/820_clinica_tr_personalidad_psicosis/material/dsm.pdf
- ↑ http://www.huffingtonpost.com/carol-w-berman-md/9-tips-on-how-to-recogniz_b_5224432.html
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3203737/
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub2
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://www.nhs.uk/Conditions/borderline-personality-disorder/Pages/introduction.aspx
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://www.huffingtonpost.com/carol-w-berman-md/9-tips-on-how-to-recogniz_b_5224432.html
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://www.huffingtonpost.com/carol-w-berman-md/9-tips-on-how-to-recogniz_b_5224432.html
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.huffingtonpost.com/carol-w-berman-md/9-tips-on-how-to-recogniz_b_5224432.html
- ↑ http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/borderline-personality-disorder/basics/symptoms/con-20023204
- ↑ http://psychcentral.com/disorders/borderline-personality-disorder-symptoms/
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub7
- ↑ http://www.nimh.nih.gov/health/publications/borderline-personality-disorder/index.shtml#pub8