ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไฟ check engine จะไม่ยอมหายไป ถ้าเครื่องยนต์หรือระบบควบคุมไอเสียมีปัญหา แนะนำให้คุณพกโค้ดที่ได้จากการใช้เครื่องสแกนรถ ซึ่งจะรายงานผลออกมาว่าอะไรเป็นสาเหตุ คุณรีเซ็ตไฟสัญญาณนี้ได้หลังแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการรีเซ็ตไฟ check engine ของรถให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ใช้เครื่องสแกนโค้ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เสียบเครื่องสแกนที่ on-board diagnostic connector (OBD-II) ใต้ฐานพวงมาลัย. ไขกุญแจไปที่ "On" และปิดทุกอุปกรณ์ให้หมด
  2. กดปุ่ม "Read" ที่เครื่องสแกน เพื่อดูโค้ดบอก error ของเครื่องยนต์. จดโค้ดเดียวหรือหลายโค้ดตามลำดับที่ขึ้น เดี๋ยวต้องเอาไปใช้อ้างอิงถ้าต้องซ่อมรถ
  3. พอล้างโค้ดแล้วไฟ check engine ก็จะดับไป สแกนเนอร์บางเครื่องสามารถเซฟบันทึกข้อมูลแต่ละช่วงที่เซนเซอร์อ่านตอนโค้ดขึ้นได้ ถ้าไปลบโค้ดแบบนี้ ไฟล์บันทึกข้อมูลที่ว่าก็จะหายไปด้วย
    • สแกนเนอร์บางเครื่องจะมีตัวเลือกออโต้ และปุ่ม "Yes" หรือ "Clear" แทนปุ่ม "Erase"
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ลบโค้ด (ด้วยวิธีดั้งเดิม)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าถอดลำบากให้ใช้ประแจช่วย
  2. บีบแตรค้างไว้ 30 วินาทีเพื่อไล่ประจุไฟฟ้าที่อาจค้างอยู่ใน capacitor.
  3. เท่านี้โค้ดก็จะถูกลบ ไฟ check engine ก็จะดับไป วิธีนี้ใช้กับระบบของรถทุกคันไม่ได้เสมอไป ถ้าถอดแบตแล้วไฟติดกลับมา แสดงว่ายังมีปัญหาอื่นที่รอการแก้ไขซ่อมแซม
    โฆษณา

คำเตือน

  • การลบโค้ดโดยถอดแบตจะทำให้วิทยุและค่าอื่นๆ ในระบบของรถถูกรีเซ็ตไปด้วย เลยไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ เว้นแต่วิธีอื่นไม่ได้ผลจริงๆ
  • ค่าไอเสียของรถจะถูกรีเซ็ตไปด้วย อาจไม่ผ่านการทดสอบถ้าเอารถเข้าไปแบบรีเซ็ตโค้ดแล้ว ให้แก้โดยขับรถให้ได้ระยะทางอย่างน้อย 200 ไมล์หรือ 320 กม. ก่อน แล้วค่อยนำรถไปทดสอบ
  • เอารถเข้าอู่หรือเข้าศูนย์ดีกว่าถ้าเจอโค้ดนี้เรื่อยๆ หรือไม่รู้ว่าเป็นโค้ดบอก error อะไร และต้องแก้ไขยังไง ถ้าเป็นช่างซ่อมรถมืออาชีพจะหาสาเหตุและแก้ไขให้ได้แน่นอน
  • ถ้าเป็นศูนย์ของยี่ห้อรถที่ใช้หรืออู่ใหญ่ๆ ดีๆ จะไม่รีเซ็ตโค้ดให้ถ้ายังซ่อมหรือแก้ไขปัญหาไม่ได้ ถ้าช่างที่ไหนบอกจะทำให้อย่าเชื่อใจ เว้นแต่จะรีเซ็ตโค้ดเพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุเพิ่มเติมเท่านั้น
  • เวลาไฟ check engine ติด เป็นสัญญาณบอกว่ารถมีปัญหาที่ไหนสักแห่ง ถ้าไปรีเซ็ตโดยไม่แก้ไขหรือซ่อมแซม จะเป็นอันตรายได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เครื่องสแกนอัตโนมัติ
  • ประแจ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,493 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา