ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Lipedema หรือ painful fat syndrome ก็คือภาวะบวมน้ำเหลืองนั่นเอง เป็นอาการผิดปกติที่ทำให้ไขมันสะสมบริเวณช่วงล่างของร่างกาย มักเกิดเฉพาะกับผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็มีแต่หาได้ยากมาก [1] คนที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง ไม่ว่าใช้วิธีไหนก็จะลดน้ำหนักหรือกระชับสัดส่วนท่อนล่างไม่ได้ ทั้งๆ ที่เบิร์นไขมันท่อนบนไปแล้ว นอกจากขายังช้ำง่าย กดแล้วเจ็บด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วินิจฉัยโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทางเดียวที่จะรู้แน่ว่าคุณมีภาวะบวมน้ำเหลือง คือต้องไปหาหมอ ถ้าคุณหมอทั่วไปไม่เชี่ยวชาญด้านนี้พอ ก็จะโอนเคสไปให้คุณหมอเฉพาะทาง ที่จะเป็นคนตรวจวินิจฉัยอาการของคุณเอง ว่าตกลงเป็นภาวะบวมน้ำเหลืองหรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากไขมัน
    • อาการของภาวะนี้มักน่าอายในความรู้สึกของใครหลายคน เลยทำให้ไม่กล้าปรึกษาคุณหมอ ขอให้ท่องไว้ว่าคุณหมอจะไม่ตัดสินคุณ ให้นึกถึงความปลอดภัยของตัวเองเป็นสำคัญ เพราะภาวะบวมน้ำเหลืองยิ่งรู้แต่เนิ่นๆ ก็ยิ่งรักษาง่าย
  2. ซึ่งก็เหมือนกับโรคหรืออาการอื่นๆ ที่ขั้นแรกๆ จะรักษาง่ายกว่าขั้นท้ายๆ โดยภาวะบวมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ขั้นด้วยกัน [2]
    • ขั้นที่ 1 ผิวของคุณจะยังเรียบเนียน มีบวมขึ้นบ้างระหว่างวัน แต่ถ้าพักผ่อนเพียงพอก็จะหายไปเอง ถ้าอยู่ในขั้นนี้ ร่างกายจะตอบสนองกับการรักษาได้ดีกว่าขั้นอื่นๆ
    • ขั้นที่ 2 ผิวจะเริ่มบุ๋มและมีก้อน/เนื้องอกไขมัน (lipomas) ในขั้นนี้อาจมีผื่นผิวหนังอักเสบ (eczema) หรือโรคติดเชื้ออย่าง "ไฟลามทุ่ง" (erysipelas) ร่วมด้วย ระหว่างวันจะยังตัวบวม แต่ที่เปลี่ยนไปคือไม่หายง่ายๆ หรือหายไม่สนิท ทั้งๆ ที่พักผ่อนและยกขาสูงแล้ว ถ้ารักษาตั้งแต่มีอาการในขั้นนี้ ร่างกายก็ยังตอบสนองดีเช่นกัน
    • ขั้นที่ 3 เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissues) จะแข็งขึ้น และอาการบวมจะไม่หายไป แม้จะยกขาสูงหรือพักผ่อนมากแค่ไหน นอกจากนี้ผิวหนังจะเริ่มหย่อนคล้อย อาการขั้นนี้ยังพอรักษาทัน แต่อาจไม่ค่อยตอบสนองกับวิธีการต่างๆ
    • ขั้นที่ 4 อาการที่พบในขั้นที่ 3 จะทวีความรุนแรงขึ้น ถึงขั้นนี้ คุณหมอจะเรียกว่า lipo-lymphedema (ภาวะบวมน้ำเหลืองและไขมัน) อาการขั้นนี้จะเหมือนขั้นที่ 3 คือรักษาแล้วร่างกายไม่ค่อยตอบสนองกับวิธีการของคุณหมอเท่าไหร่
  3. วิธีตรวจวินิจฉัยภาวะบวมน้ำเหลืองได้ดีที่สุด คือสังเกตบริเวณที่มีอาการด้วยตาเปล่า รวมถึงสัมผัสเพื่อตรวจหาตุ่มหรือก้อนไขมันที่เป็นอาการเด่นของภาวะนี้ และจะสอบถามคุณเรื่องความเจ็บปวด ให้อธิบายว่าบวมมากขึ้นหรือน้อยลงหรือเปล่า และเป็นเมื่อไหร่ [3]
    • ณ ตอนนี้การตรวจเลือดยังบอกไม่ได้ ว่าคุณมีภาวะบวมน้ำเหลืองหรือเปล่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รู้จักอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพราะเป็นอาการที่ชัดเจนและพบบ่อยที่สุดของภาวะบวมน้ำเหลือง ปกติจะบวมทั้ง 2 ขา และอาจลามไปถึงก้นกับสะโพกด้วย ท่อนล่างของคุณอาจจะบวมขึ้นช้าๆ หรืออีกทีคือเห็นว่าท่อนล่างกับท่อนบนต่างกันชัดเจน [4]
    • เช่น บางคนที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง ร่างกายจากช่วงเอวขึ้นไปจะผอมมาก แต่จะบวมจนผิดส่วนที่ท่อนล่าง ตั้งแต่เอวลงมา
  2. มักบวมเฉพาะที่ขา อย่างมากก็ไปสุดที่ข้อเท้า ทำให้ขาบวมตันเหมือนท่อนเสา [5]
    • อาการบวมจะเปลี่ยนลักษณะไปได้เรื่อยๆ บางทีก็ไม่ได้บวมทั้งขา หรืออีกทีคือบวมตั้งแต่เหนือข้อเท้าขึ้นมาจนถึงสะโพกเลย แต่บางคนก็แค่มีก้อนไขมันเล็กๆ บวมขึ้นมาเหนือข้อเท้า 2 ข้าง
  3. ส่วนใหญ่อาการบวมจะเกิดเฉพาะร่างกายท่อนล่าง แต่บางทีก็ไปบวมที่ต้นแขนได้ด้วย เพราะไขมันที่แขนก็เหมือนที่ขา เลยอาจสะสมจนเกิดอาการบวมทั้ง 2 แขน [6]
    • ต้นแขนอาจบวมตันเหมือนท่อนเสาจนมาสุดที่ข้อศอกหรือข้อมือ
  4. คนที่มีภาวะบวมน้ำเหลืองมักพบว่าผิวบริเวณที่มีอาการจะเย็นๆ เวลาแตะ แถมยังหยุ่นๆ เหมือนก้อนแป้งด้วย [7]
    • นอกจากนี้แตะแล้วอาจเจ็บปวดร่วมด้วย แถมช้ำง่ายเป็นพิเศษ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

อะไรคือสาเหตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีแค่ข้อสงสัยเท่านั้น ในทางการแพทย์ก็ยังฟันธงไม่ได้ว่าภาวะบวมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร เลยทำให้โชคร้ายตกมาอยู่ที่เรา เพราะไม่มีแนวทางดูแลป้องกันเป็นพิเศษ แถมพอเป็นขึ้นมาก็รักษายากอีกต่างหาก
    • พยายามบอกเล่าเก้าสิบทุกอาการให้คุณหมอฟัง รวมถึงประวัติสุขภาพทั้งของตัวเองและคนในครอบครัว คุณหมอจะได้ตรวจวินิจฉัยและหาทางรักษาได้ถูก [8]
  2. ผู้ป่วยหลายเคสก็เกิดจากพันธุกรรม เพราะสืบย้อนไปเจอว่ามีคนในครอบครัวหรือญาติเคยเป็น [9]
  3. คุณหมอหลายท่านเชื่อว่าภาวะบวมน้ำเหลืองอาจเกี่ยวพันกับระดับฮอร์โมน เพราะผู้ป่วยแทบทั้งหมดเป็นผู้หญิง และมักเกิดอาการช่วงฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น วัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์ หรือหมดประจำเดือน [11]
    • ถึงจะหาสาเหตุได้ยาก และถึงรู้ก็ยากจะป้องกัน แต่อย่างน้อยถ้าพอรู้ คุณหมอก็นำไปพิจารณาหาวิธีรักษาที่ตรงจุดมากขึ้นได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีภาวะบวมน้ำเหลือง บางทีก็มีอาการเส้นเลือดขอด ปวดเข่า และโรคอ้วนร่วมด้วย [12] ลองปรึกษาคุณหมอดู ว่าพอทำอะไรเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงพวกนี้ได้บ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • ภาวะบวมน้ำเหลืองนั้นคนละอย่างกับโรคอ้วน ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอและอยู่ระหว่างการรักษาแล้ว ก็พยายามทำใจให้สบาย ท่องไว้ว่าคุณไม่ได้ทำอะไรผิด อย่ารู้สึกไม่ดีกับรูปร่างของตัวเอง [13]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,045 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา