ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

วงจรประจำเดือนคือการเปลี่ยนแปลงที่ร่างกายของคุณต้องเป็นไปเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ที่อาจเป็นไปได้ในทุกเดือน ทุกๆ 21 ถึง 35 วัน รังไข่จะปล่อยไข่และฮอร์โมนของคุณจะเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ถ้าหากไม่มีตัวอสุจิเข้ามาผสมกับไข่ ผนังมดลูกจะขับมันออกมาทางช่องคลอด กระบวนการนี้ซึ่งมักจะกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 7 วันก็คือช่วงมีประจำเดือนของคุณนั่นเอง [1] ระหว่างช่วงมีประจำเดือนนี้ คุณอาจเจอปัญหาท้องป่องหรือปวดท้องได้ มันมีหลายวิธีที่จะช่วยคลายปวดและช่วยคุณให้รู้สึกสบายตัวเท่าที่จะเป็นไปได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ใช้ยารักษาอาการปวดประจำเดือน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักในอาการปวดช่องท้องระหว่างมีประจำเดือน. อาการปวดช่องท้องระหว่างมีประจำเดือน หรือภาวะปวดระดู (dysmenorrheal) เป็นการปวดตุบๆ ตรงช่องท้องส่วนล่าง [2] มันเป็นผลมาจากการบีบตัวอย่างรุนแรงของมดลูก [3] ผู้หญิงหลายคนจะมีอาการปวดก่อนและระหว่างมีประจำเดือน [4] อาการปวดประจำเดือนได้แก่: [5]
    • ปวดตุบๆ อย่างรุนแรงในช่องท้องส่วนล่าง
    • มีอาการปวดท้องต่อเนื่อง
    • อาการปวดแผ่ร้าวไปถึงหลังส่วนล่างกับต้นขา
    • คลื่นไส้
    • อุจจาระเล็ด
    • ปวดศีรษะ
    • วิงเวียน
  2. เริ่มทานยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีประจำเดือนหรือเมื่อคุณรู้สึกมีอาการปวดช่องท้อง ทานยาต่อเนื่องตามที่ระบุไว้บนฉลากกำกับยา (หรือตามที่แพทย์สั่ง) เป็นเวลา 2 ถึง 3 วัน คุณอาจหยุดทานยาถ้าอาการปวดทุเลาลง ยาแก้ปวดมีให้เลือกมากมายด้วยกัน:
    • ยาแก้ปวดที่วางขายทั่วไปอย่างไอบูโปรเฟน (Advil, Motrin IB, เป็นต้น) หรือนาพร็อกเซ็น โซเดียม (Aleve) จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ [6]
    • ยาแก้ปวดประจำเดือน Midol มีส่วนผสมของยาแก้ปวดอะซีตามิโนเฟน บวกด้วยสารกระตุ้นคาเฟอีนกับยาแก้แพ้ไพรีลามีน มาลีเอท Midol จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือน อาการปวดศีรษะ และอาการท้องป่อง [7]
  3. หากใช้ยาแก้ปวดแล้วอาการปวดก็ยังไม่ได้ลดลงเลย ให้ปรึกษาแพทย์ถึงยาฮอร์โมนคุมกำเนิด ยาเหล่านี้จะมีฮอร์โมนที่ป้องกันการตกไข่และลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือน คุณยังสามารถรับฮอร์โมนในรูปแบบอื่นเช่น โดยการฉีดเข้าไป ให้ทางแขน แปะที่ผิว ใส่ห่วงอนามัย หรือเป็นอุปกรณ์สอดเข้าไปในมดลูก วิธีการทั้งหมดนี้ช่วยลดอาการปวดลงได้ ให้ปรึกษาแพทย์ดูว่าอย่างไหนเหมาะกับคุณ [8]
  4. ถ้ายาแก้ปวดทั่วไปเอาไม่อยู่ ลองปรึกษาแพทย์ถึงยาแก้อักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์รุนแรงและต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (NSAIDs) [9] ถ้าอาการปวดประจำเดือนของคุณรุนแรงสุดๆ ปรึกษาแพทย์เรื่องใช้กรดทราเน็กซามิก (tranexamic acid) หรือชื่อทางการค้าว่า Lysteda ยาตัวนี้ใช้เพื่อลดอาการเลือดออกผิดปกติและอาการปวดรุนแรง คุณจะใช้มันเฉพาะแค่ช่วงมีประจำเดือน [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยวิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความร้อนได้ผลในการบรรเทาอาการปวดได้ไม่แพ้การใช้ยาเลย [11] ความร้อนจะช่วยคลายการบีบตัวของกล้ามเนื้อ [12] คุณสามารถประคบความร้อนที่ท้องโดยตรงหรือแช่น้ำร้อนทั้งตัวก็ได้ กุญแจสำคัญอยู่ที่ให้ท้องกับบริเวณลำตัวได้รับความร้อน ให้ลองพิจารณาวิธีการดังต่อไปนี้:
    • แช่ตัวในอ่างน้ำร้อน เติมดีเกลือฝรั่งสองถึงสี่ถ้วยลงไปในน้ำด้วย มันจะช่วยลดอาการปวด [13]
    • วางถุงร้อนไว้บนหน้าท้อง
    • ใช้ขวดน้ำร้อน แต่ต้องแน่ใจก่อนว่าได้หาอะไรมาคลุมขวดก่อนวางบนผิวหนังโดยตรง
    • หาซื้อแผ่นประคบร้อนสำหรับหน้าท้อง มีบริษัทอย่าง ThermaCare ที่ขายแผ่นประคบร้อนที่ยึดติดกับหน้าท้องเป็นพิเศษ คุณสามารถใส่ผลิตภัณฑ์นี้ใต้เสื้อผ้าไปโรงเรียนหรือไปทำงานได้อย่างสบายตัวนานถึงแปดชั่วโมง [14]
    • เติมข้าวหรือถั่วลงในถุงเท้าสะอาดจนเต็ม คุณอาจเติมน้ำมันหอมระเหยอย่างกลิ่นลาเวนเดอร์หรือเปปเปอร์มินต์สักสองสามหยด เย็บหรือปิดปากถุงเท้าให้สนิท นำถุงเท้าเข้าเตาไมโครเวฟอุ่นสัก 30 วินาทีแล้วใช้เป็นถุงประคบร้อน
  2. วิตามินอี, วิตามินบี-1 (ไทอามีน), วิตามินบี-6, และแมกนีเซียม ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้อย่างดี [15] ตรวจดูว่าอาหารที่คุณซื้อมีวิตามินอะไรอยู่บ้าง ให้อ่านฉลากกำกับ ถ้าคุณได้รับวิตามินเหล่านี้ไม่เพียงพอ ควรซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเช่นแซลมอน นอกจากนี้ยังควรคิดเรื่องการทานอาหารเสริม แต่ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้อาหารเสริมใดๆ
    • วิตามินอี: ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDA) สำหรับผู้หญิงคือ 15 มก. (22.4 IU) [16]
    • วิตามินบี-1: ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDA) สำหรับผู้หญิงคือ 1 มก. (14-18 ปี) หรือ 1.1 มก. (19 ปีขึ้นไป) [17]
    • วิตามินบี-6: ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDA) สำหรับผู้หญิงคือ 1.2 มก. (14-18 ปี) หรือ 1.3 มก. (19-50 ปี) [18]
    • แมกนีเซียม: ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (RDA) สำหรับผู้หญิงคือ 360 มก. (14-18 ปี), 310มก. (19-30 ปี), หรือ 320 มก. (31-50 ปี) [19]
  3. คุณสามารถรับกรดไขมันที่ดีต่อหัวใจนี้ได้ผ่านทางอาหารเสริม หรือทานอาหารที่มีไขมันตัวนี้สูง แหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ดีได้แก่ ปลา ผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดแฟล็กซ์ และน้ำมันพืชอย่างน้ำมันคาโนล่า [20]
  4. สถาบันสุขภาพแห่งชาติแนะนำการฝังเข็มสำหรับรักษาอาการปวดประจำเดือน แพทย์ฝังเข็มจะรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนโดยการประเมินตามการมีและการขาดพลังงานชี่ในเส้นลมปราณของแต่ละคน สำหรับอาการปวดประจำเดือนนั้นส่วนใหญ่แพทย์มักจะพบการขาดพลังงานชี่ในเส้นลมปราณที่ตับกับม้าม พวกเขาจะรักษาด้วยการใช้เข็มและมักแนะนำให้ควบคุมอาหารหรือทานยาสมุนไพรควบคู่ไปด้วย [21]
    • การกดจุด หรือการใช้แรงดันไปตรงจุดฝังเข็มนั้น ก็ใช้ได้ผลดีกับการรักษาอาการปวดประจำเดือน [22]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำให้ตัวคุณเองรู้สึกสบาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กุญแจสำหรับการรู้สึกสบายตัวระหว่างมีประจำเดือนก็คือทำให้บริเวณท้องไม่เกิดการรัด ให้สวมกางเกง กระโปรง หรือชุดที่ไม่รัดจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใส่ถุงน่องแบบเต็มตัวที่จะกดรัดบริเวณหน้าท้อง ถ้าได้ชุดยาวแบบปล่อยเต็มตัวจะถือว่าเยี่ยมเลย
  2. ให้แน่ใจว่ามีผ้าอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่จำเป็นติดตัวเวลาออกไปไหนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ที่ประจำเดือนมา จะดีมากถ้าพกกางเกงในสำรองติดตัวไว้ด้วย อย่าลืมยาแก้ปวดด้วยล่ะ คุณจะรู้สึกสบายใจขึ้นถ้ารู้ว่าสามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินได้อย่างไร้ปัญหา
    • ถ้าคุณมีประจำเดือนมามาก ให้เข้าห้องน้ำบ่อยๆ เพื่อตรวจดูว่ามันไหลซึมออกมาไหมหรือต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยใหม่หรือยัง
  3. ถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย มันไม่เป็นไรเลยถ้าจะให้รางวัลกับตัวเองด้วยของว่างที่ดีต่อสุขภาพแบบที่คุณชอบ เลือกอาหารที่อยู่ในสภาพธรรมชาติของมันอย่างกล้วยสดแทนที่จะเป็นพุดดิ้งกล้วย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากเกินอย่างเฟรนช์ฟรายด์ อาหารแบบนี้จะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลง [23]
    • นมถั่วเหลืองช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ [24]
    • ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น ถั่ว อัลมอนด์ ผักโขม และคะน้า
    • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ มะเขือเทศ สควอช และพริกหยวก [25]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

มีสุขภาพแข็งแรงและคล่องแคล่ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการมีกิจกรรมทางร่างกายช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ [26] ออกไปเดินเร็ว วิ่งเบาๆ หรือว่ายน้ำจะช่วยลดอาการปวด ไม่จำเป็นที่จะต้องออกกำลังกายอย่างหนักในระหว่างมีประจำเดือนแต่อย่างใด การออกกำลังกายจะทำให้คุณรู้สึกแข็งแรงขึ้นและรู้สึกมีความสุขขึ้น
  2. สารเหล่านี้ทำให้อาการแย่ลง [27] แอลกอฮอล์จะทำให้คุณขาดน้ำ และไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ห้ามทานแอลกอฮอล์พร้อมกับยาแก้ปวด
  3. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 9 แก้ว (2.2 ลิตร) ต่อวัน [28] ร่างกายคุณสูญเสียของเหลวกับเลือดไประหว่างมีประจำเดือน โดยการดื่มน้ำให้เพียงพอ ร่างกายจะรู้สึกอ่อนแรงน้อยลงและคุณจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่ากว่าเดิม เครื่องดื่มเกลือแร่อย่างเครื่องดื่มชูกำลังหรือน้ำมะพร้าวสามารถช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ [29] น้ำมะพร้าวมีโพแทสเซียมมากกว่ากล้วยและเป็นน้ำจากธรรมชาติที่ช่วยแก้กระหายได้ดียิ่ง [30]
  4. ความเครียดทางจิตยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการปวด [31] ลองไปเล่นโยคะเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสงบ การยืดเหยียดยังช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนด้วย [32]
  5. ตระหนักว่าประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ. ผู้หญิงเกือบทุกคนล้วนแต่ต้องมีประจำเดือนกันในชีวิต มันเป็นกระบวนการทางธรรมชาติและเป็นเรื่องปกติ อย่าอายในการมีประจำเดือน คุณสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติในช่วงนี้ได้ ถ้ารู้สึกอึดอัดกับการมีประจำเดือน ให้ระบายกับเพื่อนหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณกังวลว่าประจำเดือนจะซึมไหล ลองใช้กางเกงในสำหรับช่วงมีประจำเดือนยี่ห้อ Adira Period Panty ดู มันเหมาะกับวันมามากเพราะจะช่วยป้องกันการไหลซึมมาเลอะกางเกง ยิ่งกว่านั้น มันยังระบายอากาศได้ดี จึงทั้งปลอดภัยและช่วยให้รู้สึกสบายตัวยิ่งกว่าเดิม
  • ถ้าต้องการ คุณก็ลองทำชุดอุปกรณ์ช่วงประจำเดือนเพื่อจัดเก็บสิ่งของที่เผื่อต้องใช้ยามฉุกเฉิน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์
  • ถ้าความผิดปกติอย่างโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่หรือเนื้องอกมดลูกทำให้อาการปวดประจำเดือนนั้นแย่ลง การผ่าตัดสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ในกรณีรุนแรงสำหรับหญิงที่โตแล้วและได้ผ่านการรักษาแบบอื่นมาหมดแล้ว อาจต้องพิจารณาเรื่องการตัดมดลูก แต่คุณจะต้องมีลูกแล้วหรือไม่ก็ไม่คิดจะมีลูกถึงค่อยเลือกทางเลือกนี้ ส่วนใหญ่แพทย์จึงไม่แนะนำให้สาวรุ่นแต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เป็นดีที่สุด [33]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ผ้าอนามัยแบบสอด
  • แผ่นอนามัย
  • ถ้วยอนามัย (เป็นตัวเลือก)
  • อุปกรณ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • ยาแก้ปวด (เป็นตัวเลือก)
  1. http://www.aafp.org/afp/2011/1015/p883.html
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  3. http://www.medicaldaily.com/menstrual-cramps-6-home-remedies-247558
  4. http://crossfitttown.com/2014/11/epsom-salt-baths-muscle-recovery-beyond/
  5. http://www.medicaldaily.com/menstrual-cramps-6-home-remedies-247558
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  7. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminE-HealthProfessional/
  8. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Thiamin-HealthProfessional/#h2
  9. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminB6-HealthProfessional/
  10. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Magnesium-HealthProfessional/
  11. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Omega3FattyAcidsandHealth-HealthProfessional/
  12. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/menstrual-pain
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/menstrual-pain
  14. http://www.pcrm.org/health/health-topics/using-foods-against-menstrual-pain
  15. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/menstrual-pain
  16. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/menstrual-pain
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  19. http://www.mayoclinic.org/water/ART-20044256?p=1
  20. http://www.everydayhealth.com/specialists/woman/etingin/qa/weak-during-menstruation/index.aspx
  21. http://huffinesinstitute.org/resources/articles/articletype/articleview/articleid/446/natures-gatorade-effectiveness-of-coconut-water-on-electrolyte-and-carbohydrate-replacement
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025447
  23. http://www.active.com/fitness/articles/4-yoga-poses-to-ease-menstrual-cramps
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/basics/treatment/con-20025447

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,264 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา