ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หมายถึงไขมันประเภทหนึ่งที่พบในเลือด [1] ปกติแล้ว แพทย์มักจะวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณพร้อมๆ กันกับการวัดระดับคอเลสเตอรอล ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงคือการมีไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 200 mg/dL แต่อย่างไรก็ตามหากมีไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 mg/dL แพทย์ก็จะถือว่าสูงแล้ว [2] ถ้าแพทย์ได้พูดกับคุณเกี่ยวกับการมีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงหรือมีไตรกลีเซอไรด์เพิ่มมากขึ้น คุณก็ควรที่จะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และอาหารการกินเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์อย่างธรรมชาติ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนการทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทานคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวมากเกินไปก็จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่จะต้องบอกว่าคุณจะต้องงดการทานของหวานหากต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ [3] ของหวานนั้นได้แก่ น้ำอัดลมที่มีน้ำตาล ลูกกวาด คุกกี้ และอาหารแปรรูปอื่นๆ ที่มีน้ำตาลมากเกินไป [4]
  2. โดยปกติแล้วคุณควรที่จะทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงเพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ [5] อย่างไรก็ตาม คุณก็ไม่ควรงดคาร์โบไฮเดรตไปทั้งหมดเพราะมันอาจจะทำให้มีปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ [6] ดังนั้น คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านกระบวนการขัดสีและเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทน [7]
    • คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีนั้นรวมถึงอาหารที่ทำจากแป้งขัดขาวหรือซีโมลินา (Semolina) เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว และพาสต้าหลายชนิด [8]
    • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ควรเลือกทานได้แก่พาสต้าโฮลวีท ขนมปังโฮลวีท ควินัว ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น [9]
  3. ขั้นตอนนี้ค่อนข้างคล้ายกับขั้นตอนที่แล้ว เพราะคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนั้นก็เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เช่นเดียวกัน นอกเหนือจากอาหารโฮลเกรนแล้ว ถั่ว ผลไม้ ผัก และเมล็ดพืช ก็เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ยอดเยี่ยม [10] คุณอาจจะลองแทนการทานขนมที่มีน้ำตาลมากด้วยการทานเมล็ดฟักทอง ราสเบอร์รี่ หรือแอปเปิ้ล ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นแหล่งของไฟเบอร์ที่ดี [11] [12]
    • คุณควรตั้งเป้าที่จะทานไฟเบอร์ปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน คนส่วนใหญ่จะทานไฟเบอร์แค่ประมาณ 10 หรือ 12 กรัมต่อวันเท่านั้น [13]
    • การทานไฟเบอร์เพิ่มจะมีผลต่อการย่อยอาหารและทำให้มีการขับถ่ายอย่างเป็นประจำ คุณอาจจะเพิ่มการทานไฟเบอร์อย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไม่สบายท้อง ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อที่จะทำให้ของเสียอ่อนนุ่มลง [14]
  4. คุณสามารถหลีกเลี่ยงการทานไขมันทรานส์โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มี “น้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน” อยู่ในรายชื่อส่วนผสม [15] หากเป็นไขมันอิ่มตัว ก็ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ทอดน้ำมัน น้ำสลัด และซอสที่มีเนย เนยขาว มันหมู เยอะ [16]
    • อาหารที่มักจะมีไขมันทรานส์เยอะได้แก่เนื้อสัตว์แปรรูป (เช่น ฮอทดอก และ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำให้สุกแล้ว) และขนมที่มีไขมันสูง [17]
  5. เมื่อคุณทำอาหารทานเองที่บ้าน คุณควรใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันวอลนัท น้ำมันคาโนล่า ในการทำอาหาร ซึ่งนี่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการใช้เนย มาการีน หรือ น้ำมันหมู [18]
    • แม้ว่านี่จะดูเป็นเป็นวิธีพื้นฐานง่ายๆ แต่มันเป็นวิธีสำคัญในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ แม้แต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ หากใช้น้ำมันที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์
  6. คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับไขมันที่ “ดี” ที่พบในปลา ซึ่งนี่ก็หมายถึงกรดไขมันโอเมก้า 3 นั่นเอง และมันก็จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณด้วย [19] นอกเหนือจากปลาแล้ว คุณสามารถพบกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเมล็ดแฟลกซ์ ถั่วเมล็ดแห้ง และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ผักใบเขียว เช่น ผักโขมและคะน้า [20]
    • สมาคมหัวใจของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำว่าคุณควรทานปลา 2 หน่วยบริโภคต่ออาทิตย์ ปลาที่ดีต่อสุขภาพเช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราต์ และปลาแมคเคอเรล [21]
    • เมื่อคุณต้องทานเนื้อแดงจริงๆ ให้เลือกเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้าแทนเพราะมันมีไขมันโอเมก้า 3 และ 6 มากกว่า [22]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การสูบบุหรี่จะทำให้มีปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนมากมายและมันก็ยังเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ของคุณด้วย [23] วิธีหนึ่งเดียวที่ดีที่สุดก็เลิกสูบบุหรี่เพื่อเป็นการทำให้ปัญหาสุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย
    • การเลิกสูบบุหรี่แบบหักดิบมักจะไม่ค่อยได้ผล ให้ลองเลิกสูบบุหรี่แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้หลายๆ วิธี เช่น ใช้หมากฝรั่งนิโคตินและอุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่อื่นๆ คุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ได้ในบทความอื่น
  2. การเผาผลาญแคลอรี่จะช่วยเผาผลาญไตรกลีเซอไรด์ส่วนเกินในร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ [24] นอกจากนี้ การที่ร่างกายเฉื่อยชาไม่กระฉับกระเฉง (และมักจะควบคู่กับการมีน้ำหนักเกิน) เป็นสองสิ่งที่จะเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ [25] ถ้าคุณน้ำหนักเกิน ก็ควรลดน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัมเพื่อช่วยลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ [26]
  3. บางคนนั้นมีปฏิกิริยาไวต่อแอลกอฮอล์ซึ่งอาจจะทำให้เพิ่มระดับของไตรกลีเซอไรด์ [29] สำหรับบุคคลกลุ่มนี้ แม้แต่แอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ ก็สามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ดังนั้นควรที่จะลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงเพื่อดูว่ามันมีผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์หรือไม่ [30]
    • ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ประเภทไหนก็ให้ผลแบบเดียวกัน คุณควรลดการบริโภคเบียร์ ไวน์ และสุรา [31]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทานอาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณอยากได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ไม่อยากทานปลาจริงๆ คุณอาจจะเพียงแค่ทานอาหารเสริมน้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อาหารเสริมเหล่านี้จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในผู้ใหญ่ได้ [32] EPA และ DHA เป็นน้ำมันปลาที่คุณสามารถเพิ่มปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้ ให้รับประทานตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
  2. ถ้าคุณมีปัญหาในการทานไฟเบอร์ให้พอดีในการทานอาหารในแต่ละวัน คุณก็อาจจะเพิ่มการทานอาหารเสริมไซเลียม ไซเลียมเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้และมีในหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด และ แบบผงซึ่งคุณสามารถเอาไปละลายในน้ำได้ (เช่น Metamucil) งานวิจัยแสดงผลว่าอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างไซเลียมก็จะทำให้ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ [33]
  3. อาหารเสริมโปรตีนถั่วเหลืองนั้นมักจะมาในรูปแบบผงที่คุณสามารถผสมในน้ำผลไม้หรือสมูทตี้ งานวิจัยหลายชิ้นได้เผยว่าอาหารเสริมโปรตีนถั่วเหลืองนั้นสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์รวมถึงมีผลดีในต่อระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมของคุณ [34] ให้ใช้ตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
  4. วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ [36] อย่างไรก็ตาม คุณควรจะปรึกษากับแพทย์และควบคุมการใช้อาหารเสริมไนอาซินเพราะว่าผลข้างเคียงจากการใช้ในปริมาณมากนั้นได้แก่ [37]
    • ผิวหนังแดง
    • ปวดท้อง
    • ปวดหัว
    • มึนงง
    • สายตาพร่าเลือน
    • มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อตับ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองหาดัชนีน้ำตาล (glycemic index) และใช้มันมาวางแผนการทานอาหารของคุณ ดัชนีน้ำตาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตในหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารทั้งอาหารสดและอาหารแปรรูป นี่จะช่วยคุณจำกัดการทานคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับพลังงานเพียงพอ แต่ไม่มากเกินไปที่จะทำให้เกิดการดูดซึมไขมันไปในเส้นเลือด
  • อย่าลืมที่จะถามแพทย์ให้ตรวจวัดระดับไตรกลีเซอไรด์พร้อมกับระดับคอเลสเตอรอลอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อปี นี่จะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้ระดับไตรกลีเซอไรด์พุ่งสูงขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพ


โฆษณา
  1. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  2. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  3. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/high-fiber-foods/art-20050948
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22709768
  5. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  6. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  7. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  8. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  9. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  10. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  11. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  12. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  13. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2846864/
  14. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/triglycerides.html
  15. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  16. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/triglycerides.html
  17. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  18. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/PhysicalActivity/FitnessBasics/American-Heart-Association-Recommendations-for-Physical-Activity-in-Adults_UCM_307976_Article.jsp
  19. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/PhysicalActivity/FitnessBasics/American-Heart-Association-Recommendations-for-Physical-Activity-in-Adults_UCM_307976_Article.jsp
  20. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  21. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  22. https://www.umassmed.edu/uploadedfiles/LoweringTriglycerides.pdf
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24707021
  24. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/psyllium
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0023614/
  26. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/whey-protein/evidence/hrb-20060532
  27. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-b3-niacin
  28. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/vitamin-b3-niacin

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,480 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา