PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

อาการคัดจมูก มักเกิดขึ้นจากโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้ หรือในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคปอดด้วย อาการคัดจมูกเป็นสาเหตุทำให้รูจมูกเกิดการอักเสบ หลอดลมตีบ หรือมีน้ำมูกแห้งๆ กีดขวางทางเดินหายใจ ในบางครั้ง อาการคัดจมูกอาจเป็นผลข้างเคียงเมื่อคุณมีไข้หรือปวดศีรษะ ซึ่งอาการจะหายไปเองหลังจากผ่านไปได้สัปดาห์หนึ่ง นอกจากนี้ อาจมีน้ำมูกเกิดขึ้นพร้อมกับคัดจมูกด้วย [1] ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ทั้งการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน การเปลี่ยนพฤติกรรม และการทานสมุนไพรหรืออาหารเสริม เพื่อลดอาการคัดจมูกได้โดยธรรมชาติ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อากาศที่แห้งจะทำให้โพรงจมูกอักเสบ ส่งผลให้ระบายน้ำมูกออกมาได้ยากขึ้น ซึ่งทำให้อาการคัดจมูกหายช้าลง การเปิดเครื่องทำความชื้นในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่นจะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อป้องกันการเสียน้ำ ช่วยให้โพรงจมูกโล่งขึ้น และรู้สึกสบายที่ลำคอ ปรับความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยอากาศภายในบ้านควรมีความชื้นอยู่ในระดับ 30-50 %
    • หากความชื้นสูงเกินไป อาจเพิ่มการเจริญเติบโตของเชื้อราและไรฝุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ นอกจากนี้ เชื้อรายังส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นและทำให้ผิวเปลี่ยนสีอีกด้วย แต่หากความชื้นต่ำเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ตาแห้ง รวมถึงการระคายเคืองบริเวณลำคอและโพรงจมูก วิธีที่ง่ายที่สุดในการวัดระดับความชื้นคือการใช้เครื่องควบคุมความชื้น ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เครื่องมือ
    • เครื่องทำความชื้นทั้งแบบเคลื่อนย้ายและแบบติดตั้งนั้นต้องสะอาด ไม่เช่นนั้น เครื่องทำความชื้นอาจกลายเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย และแพร่กระจายไปทั่วทั้งบ้าน หากคุณมีอาการใดๆ ที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องทำความชื้น ให้หยุดใช้และปรึกษาแพทย์ [2]
  2. ไอน้ำจะช่วยลดอาการน้ำมูกไหล และยังสามารถชะล้างสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นหรือละอองเกสรดอกไม้ที่อยู่ในโพรงจมูก ในการรักษาด้วยไอน้ำอย่างรวดเร็วนั้น ให้ต้มน้ำกลั่นในหม้อจนใกล้เดือด เมื่อเริ่มมีไอน้ำลอยขึ้นมาเพิ่มมากขึ้น ให้ยกหม้อออกจากเตา จากนั้นวางผ้าขนหนูไว้บนศีรษะ แล้วจึงโน้มตัวไปข้างหน้าอยู่เหนือหม้อ หลับตาลงและหายใจเข้าออกลึกๆ ประมาณ 5-10 นาที
  3. การนำผ้าขนหนูอุ่นๆ ประคบไว้ที่หน้าผากหรือคอสามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบและความแออัดในรูจมูกได้ โดยความร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนมากขึ้น และลำเลียงออกซิเจนและสารอาหาร เพื่อลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ปวด ในการใช้วิธีนี้ ให้แช่ผ้าขนหนูสะอาดผืนเล็กๆ ในน้ำอุ่นประมาณ 3-5 นาที แล้วบีบน้ำออก นำไปประคบลงบนหน้าผากหรือคอประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงนำผ้าไปชุบน้ำและประคบซ้ำอีกครั้ง ไม่ควรประคบร้อนนานเกิน 20 นาที หรือมากกว่า 4 รอบ หากแพทย์ของคุณไม่ได้แนะนำ
    • คุณยังสามารถใช้ขวดน้ำร้อนหรือแผ่นเจลในการประคบร้อนได้เช่นกัน ซึ่งความร้อนที่ประคบนั้นไม่ควรสูงเกิน 40-45 องศาเซลเซียส เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ส่วนผู้ที่มีปัญหาผิวแพ้ง่ายไม่ควรประคบร้อนที่อุณหภูมิสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส
    • หลีกเลี่ยงการประคบร้อนหากมีอาการบวมหรือมีไข้ โดยให้เปลี่ยนไปใช้วิธีประคบเย็นแทน
    • ไม่ควรประคบร้อนตรงบริเวณที่มีบาดแผลหรือแผลเย็บ ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตและเป็นโรคเบาหวานควรใช้ความระมัดระวังในการประคบร้อน [4]
  4. สเปรย์น้ำเกลือจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้รูจมูก และช่วยขจัดขี้มูกและน้ำมูกออกไป เมื่อเริ่มใช้สเปรย์ครั้งแรก คุณอาจต้องกดหัวพ่น 2-3 ครั้งเพื่อไล่อากาศจนกว่าน้ำเกลือจะพ่นออกมา ในการใช้สเปรย์แบบฝาปั๊มให้ใช้กระดาษทิชชูค่อยๆ สั่งน้ำมูกให้เรียบร้อย เปิดฝาออกและเขย่าขวดเบาๆ ก้มหัวมาด้านหน้าเล็กน้อยและหายใจออกช้าๆ แล้วนำหัวพ่นใส่เข้ารูจมูกโดยใช้นิ้วโป้งรองอยู่ด้านล่างขวด และนิ้วชี้และนิ้วกลางวางไว้อยู่ด้านบน ใช้นิ้วของอีกมือหนึ่งปิดรูจมูกอีกด้านไว้ จากนั้นกดหัวพ่นพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ทำซ้ำอีกข้างหนึ่ง
    • การใช้สเปรย์แบบฝาปั๊มที่ถูกวิธี น้ำเกลือที่พ่นออกมาไม่ควรหยดออกมาจากจมูกหรือไหลลงลำคอ พยายามอย่าจามหรือสั่งน้ำมูกหลังจากที่เพิ่งใช้สเปรย์เสร็จ และพยายามเล็งให้ตรง กะตำแหน่งให้หัวพ่นของขวดสเปรย์ไปทางด้านหลังของศีรษะ เพราะถ้าหากคุณพ่นสเปรย์ไม่ตรง ก็จะทำให้สิ้นเปลืองยาโดยเปล่าประโยชน์ และอาจทำให้รู้สึกระคายเคืองบริเวณจมูกมากขึ้น
    • หากคุณใช้สเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูกแบบกระป๋อง ควรล้างทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ในการใช้สเปรย์แบบกระป๋อง ให้ใช้กระดาษทิชชูค่อยๆ สั่งน้ำมูกให้เรียบร้อย ตรวจดูให้แน่ใจว่าหัวสเปรย์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และเขย่ากระป๋องเบาๆ หลายๆ ครั้งก่อนใช้ การใช้สเปรย์ประเภทนี้ ให้ทำตามวิธีเดียวกับการใช้สเปรย์ประเภทอื่นๆ แต่ให้ตั้งศีรษะให้ตรงแทน
    • สเปรย์พ่นจมูกบางประเภทอาจทำให้รู้สึกเจ็บเล็กน้อยหรือก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรมองหาสเปรย์ที่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ 0-3 % เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการระคายเคือง หากคุณมีผิวที่แพ้ง่าย ควรเลือกใช้สเปรย์น้ำเกลือที่มีโซเดียมคลอไรด์เพียง 0.9 % หรือที่เรียกว่านอร์มัลซาไลน์
    • สเปรย์น้ำเกลือส่วนใหญ่นั้นสามารถใช้บ่อยครั้งได้อย่างปลอดภัย แต่หากมีเลือดกำเดาไหล ให้หยุดใช้สัก 2-3 วัน และถ้ายังมีเลือดออกหรือการระคายเคืองอยู่ต่อเนื่อง ให้ปรึกษาแพทย์โดยทันที [5] [6]
  5. กาล้างจมูกนั้นออกแบบมาสำหรับพ่นขจัดน้ำมูกออกจากโพรงจมูก เพื่อลดอาการคัดจมูก และบรรเทาไข้หวัดได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง สำหรับการล้างจมูกนั้น จะใช้น้ำเกลือเทเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง และให้น้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูกอีกข้างหนึ่ง เริ่มจากการทำน้ำเกลือโดยผสมเกลือโคเชอร์หรือเกลือหมักดอง ¼ ช้อนชา, ผงฟู ¼ ช้อนชา, และน้ำกลั่นอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส 8 ออนซ์
  6. การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยเพิ่มความชุ่มชิ้นให้กับโพรงจมูก ช่วยระบายน้ำมูกและป้องกันเสมหะไหลลงคอ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้อีกด้วย ให้เติมเกลือทะเล ½ ช้อนชาลงไปในน้ำกลั่นหรือน้ำปราศจากเชื้อที่อุ่น และคนเรื่อยๆ จนกระทั่งเกลือละลาย กลั้วคอด้วยน้ำเกลือประมาณ 1-2 นาที แล้วจึงบ้วนทิ้ง
  7. ออยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาแบบอายุรเวทประเภทหนึ่ง โดยการอมน้ำมันไว้ในปากและกลั้ว เพื่อกำจัดเชื้อโรคและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อช่องปาก ซึ่งน้ำมันพืชจะประกอบไปด้วยไขมันที่จะช่วยดูดซับสารชีวพิษ และถูกขจัดออกมาพร้อมกับน้ำลายที่บ้วนออกมา [12] เตรียมน้ำมันเต็มช้อน แล้วอมและกลั้วไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาทีเพื่อให้เห็นผล จากนั้นจึงบ้วนออกมาและใช้น้ำอุ่นล้างปากให้สะอาด
    • หากเป็นไปได้ ให้อมและกลั้วน้ำมันในปากประมาณ 15-20 นาที เพราะยิ่งทำนานเท่าไรก็จะยิ่งเห็นผลดีมากขึ้น และควรทำในขณะที่ท้องว่าง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำมันจะสามารถดูดซับและขจัดแบคทีเรียได้มากที่สุด
    • หาซื้อน้ำมันออร์แกนิคสกัดเย็น อาจเลือกใช้น้ำมันงาหรือน้ำมันมะกอกก็ได้ แต่โดยมากมักเลือกใช้น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีรสชาติดีและประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติและวิตามิน เช่น วิตามินอี กรดไขมันสายกลางในน้ำมันมะพร้าวจะรวมตัวกับไวรัสและแบคทีเรีย และฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเหล่านี้ แบคทีเรียที่มักพบในช่องปากคือ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มสร้างกรด เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากแบคทีเรียชนิดนี้จะไปทำลายเคลือบฟัน โดยในการวิจัยพบว่าน้ำมันชนิดเดียวที่สามารถกำจัด Streptococcus mutans ได้คือน้ำมันมะพร้าวนั่นเอง [13]
    • น้ำมันยังเป็นสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ ช่วยป้องกันการเสียน้ำในลำคอและช่องปาก [14]
  8. การสั่งน้ำมูกในขณะที่คุณเป็นหวัดจะช่วยให้โพรงจมูกของคุณโล่ง แต่ควรระวังอย่าสั่งน้ำมูกแรงเกินไป เนื่องจากแรงดันจากการสั่งน้ำมูกแรงเกินไปนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อหู ทำให้เกิดอาการปวดหูได้ ดังนั้นจึงควรสั่งน้ำมูกเบาๆ และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สั่งน้ำมูกโดยนำนิ้วกดที่รูจมูกข้างหนึ่ง และใช้กระดาษทิชชูค่อยๆ สั่งน้ำมูกออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่ง ทำซ้ำอีกข้างหนึ่ง
    • ล้างมือก่อนทุกครั้งที่สั่งน้ำมูก เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการติดเชื้อจากแบคทีเรียและไวรัส [15]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

เปลี่ยนพฤติกรรม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อลดอาการคัดจมูก อาจเพิ่มการอาบน้ำอุ่นช่วงสั้นๆ ในกิจวัตรประจำวันของคุณ การอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่นอย่างน้อย 5-10 นาทีสามารถลดอาการคัดจมูกได้ โดยการกระตุ้นการระบายของน้ำมูกและบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ น้ำที่ใช้อาบนั้นควรมีอุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส และควรดูให้แน่ใจว่าน้ำไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีไข้อยู่ นอกจากนี้ การแช่ในน้ำอุ่นยังมีประโยชน์ต่อเด็กเล็กและเด็กทารกในการบรรเทาอาการคัดจมูกอีกด้วย
    • จำกัดเวลาในการอาบน้ำประมาณ 5-10 นาที ผู้ที่มีผิวบอบบางควรอาบน้ำอุ่นเพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวแห้ง
    • การรักษาร่างกายให้สะอาดเป็นอีกวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย [16]
  2. หากกำลังต้องการเครื่องทำความชื้นจากธรรมชาติ คุณอาจลองปลูกต้นไม้ในอาคารดู ต้นไม้นั้นจะช่วยควบคุมความชื้นภายในอาคาร เนื่องจากกระบวนการที่เรียกว่าการคายน้ำ ที่น้ำเปลี่ยนเป็นไอและระเหยออกไปจากดอกไม้ ใบไม้ และลำต้น การปลูกต้นไม้ในอาคารยังช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและสารพิษอื่นๆ เช่น เบนซีน ฟอร์มาดีไฮด์ และไทรคลอโรเอทิลีน ได้อีกด้วย
    • ต้นไม้ที่เหมาะกับการปลูกในอาคาร ได้แก่ ว่านหางจระเข้ ปาล์มไผ่ ไทรย้อยใบแหลม ว่านเขียวหมื่นปี และพืชประเภทฟิโลเดนดรอนและดราซีนา [17]
  3. การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการซ่อมแซมและสร้างเซลล์น้อยลง เนื่องจากหลอดเลือดที่คอยนำเลือดไปสู่กล้ามเนื้อขาและแขน และไปสู่สมองตีบลง การที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอนั้นก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหายใจและหัวใจมากมาย ทำให้หายใจลำบาก รวมถึงเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน นอกจากนี้ การสูบบุหรี่จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณจมูกเกิดการระคายเคือง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้งและอาการไอเรื้อรัง หรือที่เรียกกันว่า smoker’s cough หากคุณกำลังประสบปัญหากับอาการคัดจมูกอยู่ การสูบบุหรี่นั้นอาจทำให้อาการดีขึ้นช้าลงและรุนแรงขึ้นได้
    • พยายามหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองหรือควันที่เป็นอันตรายชนิดอื่นๆ ที่จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและรู้สึกอึดอัด ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการลดและเลิกบุหรี่ดู [18] [19]
    • หากมีอาการไอหรืออาการคัดจมูกมากในเวลากลางคืน ให้นอนตะแคงด้านที่รู้สึกอึดอัดน้อยที่สุด เพื่อให้หายใจได้สะดวกและทำให้น้ำมูกระบายได้ดี [20]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ทานอาหารที่มีประโยชน์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าอาหารบางชนิดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบ แต่ก็มีอาหารอีกหลายชนิดที่สามารถลดการอักเสบ ทำให้หายใจสะดวกมากขึ้นและอาการหายเร็วยิ่งขึ้น อาหารเมดิเตอร์เรเนียนหลายชนิดสามารถช่วยลดการอักเสบได้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ เชอร์รี่ ส้ม อัลมอนด์ วอลนัท ผักปวยเล้ง ผักเคล ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน โฮลเกรน ข้าวกล้อง คีนัว ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต เมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนลา
  2. การทานซุปอุ่นๆ สามารถต่อต้านการอักเสบ กระตุ้นให้เหงื่อออก และทำให้น้ำมูกระบายได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้โพรงจมูกโล่ง และหายใจสะดวกมากขึ้น วิธีที่จะทำให้ได้รับประโยชน์จากการทานซุปมากที่สุดโดยไม่ต้องเพิ่มโซเดียมที่ไม่ดีต่อสุขภาพลงไปในอาหารคือการทำซุปเอง คุณอาจลองทำซุปไก่ที่มีโซเดียมต่ำดู โดยขั้นตอนการทำคือ ให้ใส่น่องไก่ไม่ติดหนังลงไปต้มกับน้ำเปล่าปริมาณ 2-3 ถ้วยในหม้อใบใหญ่ จากนั้นจึงเติมหัวหอมสับ มะเขือเทศ 1 ลูก คึ่นช่าย 2-3 ต้น แครอท 2-3 ลูก หรือผักชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับซุป หรืออาจเพิ่มสมุนไพรต่างๆ เช่น พาร์สลีย์ หรือใบไธม์ เมื่อต้มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กรองเนื้อไก่และผักออก แล้วรับประทานซุปโดยทันที
    • ควรทานซุปในขณะที่ยังอุ่นอยู่เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด และควรทานซุปวันละ 1-3 ครั้งจนอาการดีขึ้นหรือหายเป็นปกติ
    • หากใช้หม้อตุ๋น ให้ปิดฝาและตุ๋นด้วยไฟอ่อนปานกลางประมาณ 6-8 ชั่วโมง หรือไฟแรงประมาณ 4 ชั่วโมง หรือหากใช้เตาไฟหรือเตาแก๊ส ให้ต้มจนเดือด แล้วจึงเคี่ยวด้วยไฟอ่อนประมาณ 1 ชั่วโมง
    • หากต้องการทำซุปผักแทน ให้เตรียมผักหลายๆ ชนิด เช่น หัวหอม พาร์สนิป แครอท คึ่นช่าย ต้นหอม เห็ด และมะเขือเทศ นำลงไปผัดในน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันคาโนลาจนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จากนั้นเติมน้ำเปล่า 2-3 ถ้วยลงไป ต้มไปเรื่อยๆ จนเกือบเดือด แล้วจึงลดไฟลงเป็นไฟอ่อนปานกลาง และเคี่ยวไปเรื่อยๆ ประมาณ 90 นาที
    • อาจเติมถั่วเลนทิลหรือข้าวกล้องเพื่อเพิ่มรสสัมผัสให้กับซุป หากคุณชอบทานอาหารรสเผ็ด ให้เติมพริกคาเยนหั่น 1-2 ชิ้น หรือพริกคาเยนป่น 1-2 ช้อนชาลงไปในซุป
    • อย่าทิ้งเนื้อไก่และผักที่กรองออกมาแล้ว โดยเนื้อไก่และผักเหล่านี้สามารถนำไปทานได้ [22] [23]
  3. สับปะรดอุดมไปด้วยเอนไซม์ที่เรียกว่า บรอมีเลน ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดการบวมและการอักเสบในจมูกและโพรงจมูกที่เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูก ให้ทานสับปะรดอย่างน้อย 2 ชิ้น หรือดื่มน้ำสับปะรดอย่างน้อย 2 แก้ว เพื่อให้ได้รับบรอมีเลนในปริมาณที่เพียงพอ และอย่าทานสับปะรดควบคู่กับมันฝรั่งหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีสารซึ่งอาจทำให้บรอมีเลนออกฤทธิ์ในการรักษาช้าลง
  4. อาหารบางประเภทอาจทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้ช้าลง ระบบภูมิคุ้มกันโรคแย่ลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการอักเสบได้ อาหารเหล่านี้มีส่วนในการเพิ่มการอักเสบในจมูก ซึ่งส่งผลให้อาการคัดจมูกแย่ลง ดังนั้นจึงควรลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น ขนมปังขาว ขนมอบ โดนัท อาหารทอด น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลังที่มีน้ำตาล เนยเทียม เนยขาว มันหมู เนื้อลูกวัว แฮม เนื้อสเต็ก และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก [26]
  5. พริกคาเยนอุดมไปด้วยแคปเซอิซินที่มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส อนุมูลอิสระ และการอักเสบ เพื่อช่วยให้อาการหายเร็วยิ่งขึ้น สรรพคุณเหล่านี้จะช่วยลดอาการคัดจมูก ไอ และไข้ได้ นอกจากนี้ พริกคาเยนยังมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการขับเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นลงเมื่อมีไข้ได้อีกด้วย ให้เติมพริกคาเยนลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับอาหาร และบรรเทาอาการคัดจมูก
    • หากคุณมีอาการแพ้น้ำยาง กล้วย กีวี เกาลัด และอะโวคาโด คุณอาจมีอาการแพ้พริกคาเยนด้วยเช่นกัน
    • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือผู้ที่ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดนั้นไม่ควรทานแคปซิอิซิน และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล็กหรือเด็กทารกทานพริกคาเยนหรือพริกชนิดอื่นๆ เนื่องจากพริกคาเยนอาจส่งผลให้เกิดการคลื่นไส้และการระคายเคืองในลำคอต่อเด็กได้
  6. วิตามินซี หรือกรดแอสคอร์บิก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่สำคัญ ที่จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ผู้ที่ได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ จะทำให้ไข้หวัดหายเร็วขึ้น และลดความรุนแรงของอาการคัดจมูกได้ ควรทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีควบคู่กับอาหารที่ทานในแต่ละวัน วิตามินซีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ พริกหยวกแดง พริกหยวกเขียว ส้ม ส้มโอ เกรปฟรุต มะนาว เลมอน ผักปวยเล้ง บรอกโคลี กะหล่ำดาว สตรอว์เบอร์รี ราสเบอร์รี มะเขือเทศ มะม่วง มะละกอ และแคนตาลูป
    • คุณอาจได้รับวิตามินซีจากการทานอาหารเสริมได้เช่นกัน โดยปริมาณที่แนะนำคือ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง และเนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินซีมากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่จึงอาจต้องทานเพิ่มวันละ 35 มิลลิกรัม
  7. เมื่อไรก็ตามที่คุณมีอาการหวัด ให้รับประทานน้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง โดยอาจทานพร้อมมื้ออาหารหรือไม่ก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต และมีความปลอดภัยในการรับประทาน และแม้ว่ากรดไขมันส่วนกลางจะทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย [27]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

รักษาด้วยสมุนไพร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระเทียมเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน เช่น วิตามินบี 6 วิตามินซี และแมงกานีส นอกจากนี้ กระเทียมยังมีสรรพคุณในการต้านเชื้อไวรัสและการอักเสบ ที่จะช่วยลดอาการคัดจมูกโดยการลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในโพรงจมูก นักวิจัยเชื่อว่า สรรพคุณทางยาเหล่านี้เกิดจากเอนไซม์ที่มีชื่อว่า อัลลิอิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบในกระเทียม ที่สามารถช่วยต้านเชื้อไวรัสได้ วิธีการทานกระเทียมที่ดีที่สุดคือการทานเป็นกลีบแบบสดๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอัลลิอิน โดยกลีบกระเทียม 1 กลีบจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม เพื่อให้ทานกระเทียมได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณสามารถบดกระเทียมให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันมะกอกปริมาณ 1 ช้อน
    • คุณยังสามารถเติมกระเทียมสดที่สับแล้วลงไปในอาหารเพื่อเพิ่มความเผ็ด หรือนำไปผัดให้เป็นสีน้ำตาลโดยใช้ไฟอ่อน เพื่อไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารไป
    • อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมในรูปแบบต่างๆ เช่น เครื่องปรุงรสกระเทียม กระเทียมผง การ์ลิคซอลท์ หรือใช้สารสกัดกระเทียมแก่ ที่มีทั้งในรูปแบบน้ำและแคปซูล โดยรับประทานเป็นอาหารเสริมในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ หรือกระเทียมอบแห้งที่มีให้เลือกทั้งแบบเม็ดและแคปซูล
    • การทานกระเทียมมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้กลิ่นปากเหม็นและความดันโลหิตต่ำได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานเพียงวันละ 2-4 กลีบ และไม่ควรทานกระเทียมก่อนการผ่าตัดหรือหากมีภาวะเลือดออกผิดปกติ หากคุณพบผลข้างเคียงใดๆ เช่น ท้องอืด เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ เช่น หืด ผื่นคัน และรอยโรค ให้หยุดทานกระเทียมและพบแพทย์ทันที [28]
  2. เอลเดอร์เบอร์รีมีสรรพคุณในการต่อต้านการอักเสบและไวรัส มักใช้ในการรักษาโรคระบบหายใจ อาการเจ็บคอ ไอ และไข้ และยังใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันด้วย อาจดื่มชาสมุนไพร โดยแช่ดอกเอลเดอร์แห้ง 3-5 กรัมในน้ำร้อน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที หรือเลือกทานเป็นสารสกัดเอลเดอร์เบอร์รี ที่มีทั้งในรูปแบบน้ำเชื่อม ยาอม หรืออาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารเสริมหรือร้านขายยาทั่วไป
    • ไม่แนะนำให้ทานเอลเดอร์เบอร์รีติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะฉะนั้น จึงควรทานเอลเดอร์เบอร์รีทุกๆ 2-3 วัน ไม่ว่าจะเป็นชาหรืออาหารเสริมก็ตาม เอลเดอร์เบอร์รียังสามารถใช้เป็นยาเจือจางเลือด ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจึงไม่ควรรับประทาน
    • อย่าทานเอลเดอร์เบอร์รีที่ยังไม่สุกหรือยังไม่ผ่านการปรุงสุก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทานเอลเดอร์เบอร์รี เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตนเอง และผู้ที่กำลังทานยารักษาโรคเบาหวาน ยาระบาย ยาเคมีบำบัด หรือยากดภูมิคุ้มกัน
  3. เปปเปอร์มินท์มีส่วนประกอบของเมนทอล ที่มีฤทธิ์เป็นยาลดอาการคัดจมูก สามารถลดน้ำมูกและขจัดเสมหะ และยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและไอแห้งๆ ได้อีกด้วย เปปเปอร์มินท์มีทั้งในรูปแบบยาอม สารสกัดที่มีในอาหารเสริม ชาสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย และเป็นแบบสมุนไพรสด คุณสามารถนำใบเปปเปอร์มินท์สดๆ มาตกแต่งหรือเพิ่มรสชาติในอาหาร หรือจะลองชงชาเปปเปอร์มินท์ดื่มวันละ 3 ครั้ง โดยแช่ถุงชาใบเปปเปอร์มินท์ในน้ำร้อนแล้วทิ้งไว้สักครู่
    • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรรับประทานเปปเปอร์มินท์หรือเมนทอล
    • น้ำมันเปปเปอร์มินท์มักใช้ในอโรมาเธอราพีหรือการนวด ห้ามทานน้ำมันเปปเปอร์มินท์โดยเด็ดขาด
  4. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ในยูคาลิปตัสที่มีชื่อว่า cineole มีฤทธิ์เป็นยาขับเสมหะ สามารถรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ลดอาการคัดจมูก และบรรเทาอาการไอได้ คุณสามารถหาซื้อยูคาลิปตัสได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งในรูปแบบยาอม ยาแก้ไอ และเวเพอร์บาธ หรืออาจใช้ยาขี้ผึ้งเฉพาะที่ที่มีส่วนผสมของยูคาลิปตัส โดยทาบริเวณจมูกและหน้าอกเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ขจัดเสมหะ และช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูกไหลลงคอ
    • ลองดื่มชายูคาลิปตัสวันละ 3 ครั้ง โดยแช่ใบยูคาลิปตัสแห้ง 2-4 กรัมในน้ำร้อนประมาณ 10-15 นาที
    • คุณสามารถกลั้วปากด้วยยูคาลิปตัสได้เช่นกัน โดยแช่ใบยูคาลิปตัสแห้งในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาที แล้วนำไปกลั้วปากหลังมื้ออาหารวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อลดกลิ่นปาก กระตุ้นการระบายน้ำมูก และบรรเทาอาการเจ็บคอ
    • ห้ามทานน้ำมันยูคาลิปตัส เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และผู้ที่เป็นโรคหอบหืด มีอาการชัก เป็นโรคตับหรือโรคไต หรือมีความดันโลหิตต่ำ ไม่ควรใช้ยูคาลิปตัสหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  5. บลูเวอร์เวนมีฤทธิ์เป็นยาขับเสมหะ สามารถขจัดเสมหะและน้ำมูกในช่วงอกและลำคอ ซึ่งจะช่วยในการบรรเทาอาการคัดจมูก บลูเวอร์เวนมีทั้งในรูปแบบอาหารเสริม ชา และน้ำเชื่อม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หากเลือกรับประทานเป็นอาหารเสริม แนะนำให้ทานอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1 แคปซูลพร้อมมื้ออาหารและน้ำเปล่า
    • ในการชงชา ให้แช่บลูเวอร์เวน ½ ช้อนชาในน้ำร้อนประมาณ 3-5 นาที จากนั้นจึงกรองออกแล้วดื่ม ควรดื่มวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาก่อนนอน
    • ไม่ควรทานบลูเวอร์เวนหากคุณกำลังทานยาขับปัสสาวะหรือคาเฟอีน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการขาดน้ำได้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานบลูเวอร์เวนหากคุณกำลังตั้งครรภ์ มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร หรือกำลังใช้ยาชนิดอื่นอยู่ [29]
  6. สะระแหน่ประกอบด้วยสารต้านไวรัสและสารต้านการอักเสบที่มีชื่อว่า แทนนิน มีสรรพคุณในการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและอาการปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ สะระแหน่มีทั้งในรูปแบบอาหารเสริม ยาทาเฉพาะที่แบบครีม ทิงเจอร์ และชาสมุนไพร ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หากเลือกรับประทานเป็นอาหารเสริม แนะนำให้ทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากสะระแหน่ 300-500 มิลลิกรัม อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง หรือถ้าอยากชงชา ให้แช่สะระแหน่แห้ง ¼ ช้อนชาในน้ำอุ่นประมาณ 3-5 นาที จากนั้นจึงกรองออกและดื่มทันทีโดยไม่ต้องเติมสารให้ความหวานใดๆ
    • ควรเจือจางน้ำมันหอมระเหยสะระแหน่กับน้ำมันตัวพา เช่น น้ำมันโจโจบา ก่อนนำไปทาบนผิวหนัง ในการเจือจางน้ำมันนั้น ให้หยดน้ำมันหอมระเหย 5 หยดลงไปในน้ำมันตัวพา ½ ออนซ์ หากใช้ไม่หมด ควรเก็บส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ไว้ในขวดหยดสารสีชาที่ปิดฝาอย่างแน่นหนา นวดน้ำมันบริเวณหน้าผาก หลังคอ หรือข้อมือประมาณ 3-5 นาที และไม่ควรใช้น้ำมันหอมระเหยกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก
    • ยาทาสะระแหน่เฉพาะที่แบบครีมนั้นปลอดภัยสำหรับเด็ก แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือกุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการใช้กับเด็กเล็กหรือเด็กทารกให้ดีก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

เข้ารับการรักษาทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ควรไปพบแพทย์หากอาการคัดจมูกของคุณไม่ทุเลาลง ตามปกติแล้ว อาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหลจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์ หรือาจเร็วขึ้นหากคุณมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี แต่หากคุณมีอาการคัดจมูกหรือไข้นานกว่า 2 สัปดาห์ ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีไข้สูงถึง 38-40 องศา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีไข้ติดต่อกันมากกว่า 3 วัน ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
    • หากมีน้ำมูกสีเขียวและมีอาการไซนัสอักเสบหรือไอกรนเกิดขึ้นร่วมด้วย อาจเป็นเพราะคุณติดแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
    • และควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการนานกว่า 10 วัน เป็นโรคหืดหรือโรคถุงลมโป่งพอง กำลังรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือมีเลือดปนออกมากับน้ำมูกหรือมีน้ำมูกใสไหลอย่างต่อเนื่องเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ [30]
  2. ในบางครั้ง การรักษาด้วยวิธีทางธรรมชาติอาจไม่ได้ผลกับบางคน คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคภูมิแพ้หรือยาชนิดอื่นที่แรงกว่าหากอาการคัดจมูกของคุณไม่ทุเลาลงหรือมีอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าเกิดขึ้นร่วมด้วย ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้คุณ หรือแนะนำยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์เพื่อรักษาอาการคัดจมูกร่วมกับการรักษาแบบธรรมชาติ
    • หากมีอาการน้ำมูกไหลเรื้อรังหรือมีน้ำมูกใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการจามและคัน หรือน้ำตาไหลเกิดขึ้นร่วมด้วย อาการป่วยของคุณอาจเกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์
    • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด และถามแพทย์เกี่ยวกับอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหากรับประทานร่วมกับยาชนิดอื่น สมุนไพร อาหารเสริม หรืออาหาร [31]
  3. อาการไอและเจ็บคอที่มักเกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกนั้นอาจเป็นอาการของโรคไซนัสอักเสบหรือปอดบวมได้เช่นกัน และยังมีอีกหลายอาการที่ต้องคอยระวังเพื่อไม่ให้อาการหนักขึ้นหรือเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นมาได้ สังเกตดูอาการปวดตึงบริเวณหน้าผาก ขมับ แก้ม จมูก ขากรรไกร ฟัน ด้านหลังดวงตา หรือศีรษะด้านบน หรือในบางครั้ง คุณอาจมีอาการกดเจ็บหรือบวมบนใบหน้าที่มักเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตาหรือแก้ม หายใจลำบาก หายใจเสียงดัง มีอาการแน่นที่หน้าอก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บปวด คัดจมูก สูญเสียการรับกลิ่น น้ำมูกมีสีเขียวออกเหลือง และรู้สึกว่ามีของเหลวไหลลงคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืนหรือเวลาที่นอนลง
    • ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันทีหากคุณมีไข้สูงหรือมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง
    • โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับไซนัสอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ ลิ่มเลือด ฝี เยื่อหุ้มในสมองอักเสบ เปลือกตาอักเสบ และกระดูกอักเสบ
    • หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจเป็นโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง โรคไซนัสอักเสบ หรือโรคหลอดลมอักเสบ คุณอาจต้องได้รับการตรวจทางรังสี ได้แก่ เอกซเรย์ ซีทีสแกน หรือเอ็มอาร์ไอ [32]
    • หากคุณมีไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรง หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคใดๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที อาการที่เป็นสัญญาณเตือนให้ไปพบแพทย์หรือได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน คือ อาการไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว ไข้สูงมากถึงหรือเกิน 40 องศา มีอาการอักเสบของหูหรือไซนัส มีน้ำมูก มีผื่นคันบนผิวหนัง และหายใจลำบากที่เกิดจากโรคหืดหรือโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  4. หากอาการของคุณไม่หายดีหลังผ่านไปแล้ว 8 สัปดาห์ หรือรบกวนการทำกิจกรรมระหว่างวัน แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก หรือที่เรียกว่าโสต ศอ นาสิก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหู คอ จมูก จะทำการตรวจหู จมูก และลำคอ เพื่อหาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และหากคุณเป็นโรคไซนัสอักเสบ แพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจในโพรงจมูกโดยใช้กล้องไฟเบอร์ออพติก เพื่อตรวจหาติ่งเนื้อหรือปัญหาอื่นๆ หรืออาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดไซนัสโดยใช้กล้อง
    • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ [33]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่องทุกปีช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจได้
  • การล้างมือบ่อยครั้งจะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างฤดูหนาว และพกเจลล้างมือติดตัวไว้เพื่อความสะดวกในขณะที่คุณกำลังยุ่งหรือออกเดินทาง
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16242593
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  3. http://naturalsociety.com/oil-pulling-benefits-what-is-oil-pulling-anyway/
  4. http://www.thehealthyhomeeconomist.com/best-oil-for-oil-pulling-therapy/
  5. http://echo.snu.edu/oil-pulling-what-the-heck-is-it/
  6. http://indianapublicmedia.org/amomentofscience/how-to-blow-your-nose/
  7. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  8. http://www.extension.umn.edu/garden/yard-garden/houseplants/houseplants-help-clean-indoor-air/
  9. http://news.yale.edu/2008/07/24/study-shows-why-cigarette-smoke-makes-flu-other-viral-infections-worse
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002032.htm
  11. http://healthysleep.med.harvard.edu/healthy/matters/consequences/sleep-and-disease-risk
  12. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  13. http://www.extension.iastate.edu/foodsavings/recipes/chicken-broth
  14. http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/vegetable-stock/
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/895.html
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3287010
  17. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  18. http://fussybody.com/coconut-oil-for-flu/
  19. http://www.cochrane.org/CD006206/ARI_garlic-for-the-common-cold
  20. Chillemi, M., Chillemi S., (2013) The Complete Herbal Guide: A Natural Approach to Healing the Body
  21. http://www.mayoclinic.org/symptoms/nasal-congestion/basics/when-to-see-doctor/sym-20050644
  22. http://www.mayoclinic.org/symptoms/nasal-congestion/basics/when-to-see-doctor/sym-20050644
  23. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/brnchi/signs
  24. https://www.entnet.org/content/what-otolaryngologist

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,575 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา