ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากมีตุ่มสีแดงหรือสีเหลืองเกิดขึ้นบนลิ้น คุณอาจกำลังมีอาการ Transient lingual papillitis (อาการตุ่มรับรสของลิ้นบวมขึ้น) [1] ที่สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยไปจนถึงอาการเจ็บอย่างรุนแรงได้ [2] อาการ Transient lingual papillitis มักพบได้บ่อยในเด็กและหญิงสาววัยรุ่น และแม้จะมีการวิจัยไม่มากนักที่ศึกษาเกี่ยวกับอาการนี้อย่างละเอียด แต่จากการวิจัยบางส่วนพบว่าอาการ Transient lingual papillitis อาจมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหารได้เช่นกัน [3] รวมถึงยังมีโรคอื่นๆ อีกมากมายที่มีส่วนทำให้เกิดตุ่มขึ้นบนลิ้นได้ ดังนั้นคุณจึงควรไปพบแพทย์ทันทีหากอาการยังไม่หายดีหลังผ่านไปแล้ว 1-2 วัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาด้วยวิธีที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำเกลือมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและมีส่วนช่วยในการบรรเทาตุ่มที่เกิดขึ้นบนลิ้นรวมถึงลดการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น [4]
    • คุณสามารถทำน้ำเกลือได้โดยละลายเกลือ ½ ช้อนชาในน้ำอุ่น 8 ออนซ์
    • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือนาน 30 วินาทีแล้วจึงบ้วนทิ้ง
    • พยายามกลั้วปากด้วยน้ำเกลือทุกครั้งหลังทานอาหารเพื่อขจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันหรือบนลิ้น [5]
    • กลั้วปากซ้ำ 3-4 ครั้งต่อวันจนกระทั่งตุ่มบนลิ้นหายดี
    • ห้ามใช้น้ำเกลือสำหรับล้างคอนแทคเลนส์ในการกลั้วปากเด็ดขาด
  2. ผลการวิจัยบางส่วนพบว่าการดื่มน้ำเย็นสามารถบรรเทาความเจ็บปวดและลดการอักเสบที่เกิดจากตุ่มบนลิ้นได้ พยายามดื่มเครื่องดื่มเย็นเมื่อรู้สึกกระหายน้ำในระหว่างวันหรือจะเลือกดื่มเมื่อรู้สึกไม่สบายที่ลิ้นก็ได้เช่นกัน [6]
    • เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ พยายามดื่มน้ำอย่างน้อย 9 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิงและ 13 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย และสำหรับผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายมากหรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อาจจำเป็นต้องดื่มน้ำมากถึง 16 แก้วต่อวัน [7]
  3. การเลียน้ำแข็งทั้งแบบก้อนหรือแบบบดและไอศกรีมแท่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ตุ่มบนลิ้นมีอาการดีขึ้น [8] โดยความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บและลดการอักเสบที่เกิดขึ้น [9]
    • น้ำแข็งที่ละลายยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและลดความเสี่ยงของอาการลิ้นแห้งที่อาจมีส่วนทำให้อาการไม่สบายที่ลิ้นแย่ลง
    • คุณยังสามารถวางก้อนน้ำแข็งตรงบริเวณที่เกิดตุ่มพองบนลิ้นได้เช่นกันเพื่อให้ความเย็นสัมผัสถูกลิ้นของคุณอย่างเต็มที่
    • คุณสามารถเลียก้อนน้ำแข็งได้บ่อยครั้งตามต้องการ
  4. แพทย์บางส่วนแนะนำให้เลือกทานอาหารที่มีฤทธิ์ในการลดการแสบร้อนอย่างโยเกิร์ตเพื่อช่วยให้อาการเจ็บและไม่สบายที่ลิ้นบรรเทาลง [10]
    • พยายามทานอาหารที่เย็นเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ในการลดการแสบร้อน
    • ผลิตภัณฑ์นมประเภทต่างๆ อย่างโยเกิร์ต ไอศกรีม และนมสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บบนลิ้นของคุณ [11] รวมถึงอาหารอื่นๆ อย่างพุดดิ้งหรือไอศกรีมแท่งเช่นเดียวกัน
  5. หลีกเลี่ยงอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มอาการไม่สบายที่ลิ้น. อาหารและผลิตภัณฑ์บางประเภทอาจส่งผลให้อาการเจ็บและบวมที่เกิดจากตุ่มบนลิ้นแย่ลงได้ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ ที่ทำให้อาการเจ็บบนลิ้นแย่ลงอย่างอาหารรสเผ็ดหรืออาหารที่เป็นกรดรวมถึงงดใช้ยาสูบ
    • อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ น้ำส้ม น้ำอัดลม และกาแฟ สามารถส่งผลให้คุณรู้สึกเจ็บที่ลิ้นมากยิ่งขึ้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการทานพริกไทย พริกป่น อบเชย และใบสะระแหน่ด้วยเช่นกัน
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบแบบเคี้ยวที่เป็นสาเหตุทำให้อาการไม่สบายที่ลิ้นแย่ลง
    • หากคุณสงสัยว่าตุ่มบนลิ้นของคุณเกิดจากการแพ้อาหาร ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่คุณคาดว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดตุ่มบนลิ้นและสังเกตดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่
  6. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวันเช้าเย็นและหลังมื้ออาหารรวมถึงหมั่นตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำเพื่อรักษาสุขภาพของฟัน ลิ้น และเหงือกให้ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้ความสะอาดของช่องปากยังสามารถป้องกันการเกิดตุ่มบนลิ้นได้อีกด้วย
    • หมั่นแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เนื่องจากเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันเป็นแหล่งสำคัญของเชื้อโรคซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่หากไม่มีแปรงสีฟัน คุณสามารถเคี้ยวหมากฝรั่งแทนได้เช่นกัน [12]
    • ไปพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปีเพื่อทำความสะอาดฟันและตรวจสุขภาพช่องปาก
  7. พยายามไม่ยุ่งกับตุ่มบนลิ้นมากนัก.โดยส่วนใหญ่แล้วตุ่มบนลิ้นจะหายดีเองโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีใดๆ [13] ซึ่งตุ่มบนลิ้นมักหายดีภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันเท่านั้น [14]
    • ควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการเจ็บหรือไม่สบายที่ลิ้นหรือตุ่มบนลิ้นดูไม่มีท่าทีที่จะบรรเทาลง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาอมหรือสเปรย์แก้เจ็บคอที่ประกอบด้วยตัวยาระงับอาการเจ็บปวดมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บที่เกิดจากตุ่มบนลิ้นได้ คุณสามารถหาซื้อยาอมหรือสเปรย์แก้เจ็บคอได้ตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป
    • ใช้ยาอมหรือสเปรย์แก้เจ็บคอทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือใช้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือที่ระบุไว้บนฉลาก [15]
    • อมยาอมทิ้งไว้ให้ละลายจนหมดและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหรือกลืนลงไปทั้งเม็ด เพราะการทำเช่นนี้อาจทำให้ลำคอของคุณมีอาการชาและกลืนอาหารได้ยากยิ่งขึ้น
  2. กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยเบนไซดามีนและคลอร์เฮกซิดีน น้ำยาบ้วนปากประเภทนี้จะช่วยรักษาอาการติดเชื้อรวมถึงมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บและบวมได้เป็นอย่างดี [16]
    • เบนไซดามีนมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการเจ็บ [17]
    • คลอร์เฮกซิดีนมีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
    • กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก 15 มิลลิลิตรนาน 15-20 วินาทีแล้วจึงบ้วนออก [18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ปรึกษาแพทย์และใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากวิธีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้านไม่ทำให้ตุ่มบนลิ้นของคุณบรรเทาลง คุณควรหาเวลาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด แพทย์ของคุณจะตรวจดูอาการที่เกิดขึ้นและกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะกับอาการของคุณ
    • ตุ่มบนลิ้นอาจมีสาเหตุเกิดจากอาการแพ้หรือการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา เชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย [19]
    • หากตุ่มบนลิ้นยังไม่หายดีหลังผ่านไปแล้ว 2-3 วันหรือมีอาการเกิดขึ้นซ้ำๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาหรือวินิจฉัยหาโรคประจำตัวของคุณ เช่น การแพ้อาหาร [20]
    • ไปพบแพทย์ทันทีหากตุ่มบนลิ้นมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือแพร่กระจายไปทั่ว [21]
    • หากตุ่มบนลิ้นมีอาการเจ็บหรืออักเสบเป็นพิเศษ หรือกระทั่งเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆ อย่างการทานอาหาร ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที [22]
    • ตุ่มบนลิ้นยังอาจเป็นอาการข้างเคียงของโรคอื่นๆ นอกเหนือจากการแพ้อาหาร ได้แก่ แผลร้อนใน หูดในช่องปาก ซิฟิลิส ไข้อีดำอีแดง หรือลิ้นอักเสบที่เกิดจากการสูบบุหรี่หรือการติดเชื้อ [23]
  2. แพทย์ของคุณจะทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดตุ่มที่ลิ้น ซึ่งแม้ว่าในบางครั้งการตรวจอาจไม่สามารถยืนยันสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดตุ่มที่ลิ้น แต่ก็ช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถกำหนดวิธีรักษาที่เหมาะกับอาการของคุณได้
  3. แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาหรือแนะนำยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ที่มีคุณสมบัติช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บที่เกิดจากตุ่มบนลิ้น และเนื่องจากตุ่มบนลิ้นโดยส่วนใหญ่จะหายดีได้เอง แพทย์จึงมักสั่งจ่ายเพียงยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อเท่านั้นหากมีอาการข้างเคียงใดๆ เกิดขึ้น [25]
    • หากตุ่มที่ลิ้นทำให้คุณรู้สึกเจ็บและก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงอย่างอาการปวดร้อนในช่องปากและลิ้น แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยาอะมิทริปไทลีนและยาอะมิซัลไพรด์ให้กับคุณ [26]
    • แม้ว่าจะมีผลการวิจัยเพียงเล็กน้อยที่ยืนยันว่ายาแก้ปวดสามารถช่วยบรรเทาตุ่มที่ลิ้นได้ [27] แต่แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ด้วยเช่นกัน ยาแก้ปวดที่เป็นที่นิยมได้แก่ยาอะซีตามิโนเฟน ยาไอบูโพรเฟน และยาแอสไพริน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 76,175 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา