ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาจะยกเครื่องห้องน้ำหรือห้องครัวใหม่ ส่วนที่ยากที่สุดก็คือการสกัดยาแนวจากกระเบื้องที่ปูไว้อยู่ก่อนแล้วนี่แหละ ยาแนวเกิดจากน้ำ ซีเมนต์และทรายซึ่งจะจับตัวแข็งเมื่อผ่านไปนานวันจนกระทั่งก่อตัวเป็นวัตถุที่เหมือนหิน ความแข็งของยาแนวทำให้การปูกระเบื้องแทบจะเป็นไปไม่ได้เพราะมันทำให้เลื่อนกระเบื้องไม่ได้ การรู้วิธีเซาะยาแนวจะช่วยคุณประหยัดเงินได้มากแทนที่จะต้องไปจ้างผู้รับเหมา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมสภาพก่อนสกัดออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาอุปกรณ์ที่จำเป็น.มีอุปกรณ์ที่ต้องใช้จำนวนหนึ่งในการสกัดยาแนว ส่วนจะเลือกแบบไหนก็ขึ้นกับว่าพร้อมจะจ่ายแค่ไหนและต้องสกัดยาแนวแบบไหนมากเท่าไร อีกทั้งเรื่องจะสกัดมันบ่อยขนาดไหนด้วย [1]
    • คุณสามารถใช้อุปกรณ์แบบใช้ไฟฟ้ากำลังสูง มันมีเครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องสกัดยาแนวซึ่งจะช่วยให้เสร็จงานอย่างไวและไม่ต้องเหนื่อยนัก มันจะมีประโยชน์ถ้าคุณมียาแนวกินบริเวณกว้างหรือต้องสกัดออกบ่อยๆ
    • คุณสามารถใช้อุปกรณ์ที่ใช้แรงมือได้เช่นกัน ถ้าคุณมีเหตุผลที่ทำให้ใช้อุปกรณ์กำลังสูงไม่ได้และมียาแนวจำนวนไม่น้อย ก็พึ่งอุปกรณ์สกัดยาแนวธรรมดาได้ มันจะดูเหมือนเกรียงเล็กๆ
    • ถ้ายาแนวมีไม่มากหรือเป็นแบบยาแนวยาง ก็อาจใช้ใบมีดโกนธรรมดา อย่างเช่นมีดคัตเตอร์หรือมีดอเนกประสงค์
  2. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    หากคุณคิดจะเก็บกระเบื้องไว้และจะเอาเฉพาะยาแนวออกไป ให้เอาเทปกาวมาปิดตามขอบของกระเบื้องแต่ละแผ่นก่อน
    • หาอะไรมาคลุมข้าวของเครื่องใช้ที่คุณตั้งใจจะเก็บไว้ เวลาสกัดยาแนวนั้น เศษยาแนวที่กระเด็นของมันสามารถทำความเสียหายได้ หาผ้านวมหรือผ้าผืนโตๆ มาคลุมข้าวของเครื่องใช้ ให้แน่ใจว่าคลุมสนิท
    • หากจำเป็น ใช้เทปกาวปิดขอบผ้าที่คลุมให้แน่ใจว่ามันปิดเศษที่จะทิ้งได้สนิท
  3. นั่นหมายถึงสวมแว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่น และถุงมือกันบาด [2] สำหรับเพิ่มความสะดวกสบาย ลองสวมสนับเข่าก็ดี เพราะต้องใช้เวลานานกว่าจะสกัดมันหมด ให้แน่ใจว่าสวมกางเกงกับรองเท้าบู้ทด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำการสกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    เซาะตรงกลางของยาแนวแต่ละเส้นโดยใช้เลื่อยยาแนว ควรเลือกชนิดที่มีใบมีดคาร์ไบด์ ทำแบบนี้ในทุกเส้นยาแนวที่คุณอยากสกัดออก [3]
  2. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    สกัดยาแนวออกจากร่องกระเบื้องด้วยที่ขูดยาแนว โดยอาศัยร่องที่เซาะไว้เป็นจุดเริ่ม สอดปลายสามเหลี่ยมของที่ขูดยาแนวลงไปในร่องที่เซาะไว้ด้วยเลื่อยยาแนว กดลงไปแรงๆ แล้วลากมันไปตามเส้นยาแนวให้ได้ความยาวเท่ากับกระเบื้องหนึ่งแผ่น แต่ระวังไม่ให้ไปขูดโดนแผ่นกระเบื้อง ยกที่ขูดยาแนวขึ้นแล้วกลับมาขูดตรงจุดเริ่มต้นซ้ำจนกระทั่งสกัดยาแนวบริเวณนั้นออกหมด
    • ถ้าไม่มีที่ขูดยาแนว ใช้เหล็กสกัด (สิ่ว) กับค้อนหรือใบมีด วางสิ่วห่างจากขอบกระเบื้องแล้วใช้ค้อนเซาะมันลงไปจนกระทั่งยาแนวหลุดออกมาจากพื้นกับขอบกระเบื้อง
  3. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    ทำความสะอาดขอบกระเบื้องแต่ละแผ่นโดยการขูดเศษยาแนวที่เหลือออก ถือสิ่วให้ขนานกับพื้นและให้ขอบสิ่วด้านที่คมแตะกับขอบกระเบื้อง ใช้ค้อนเคาะปลายสิ่วเบาๆ จนกระทั่งยาแนวหลุด แล้วใช้ไม้กวาดหรือเครื่องดูดฝุ่นกวาดหรือดูดเศษยาแนวทั้งหลายออกจากร่องกระเบื้อง [4]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำความสะอาดหลังสกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    แกะเทปกาวออกและทำความสะอาดเส้นยาแนว.ลอกเทปกาวออกจากขอบกระเบื้อง แล้วล้างเส้นยาแนวด้วยน้ำผสมสบู่ คุณอาจต้องใช้ฝอยขัดคราบยาแนวที่เหลือออกจากขอบกระเบื้องบ้าง ค่อยๆ ขัดจนเศษยาแนวหลุดออกหมด [5]
  2. Watermark wikiHow to สกัดยาแนว
    เช็ดกระเบื้องทันทีถ้าคุณคิดจะเก็บมันไว้ใช้ต่อ โดยขัดมันบ้างสักสองสามที เศษยาแนวนั้นจับตัวแข็งบนกระเบื้องได้เร็ว ทำให้ยากจะเอาออกได้โดยไม่ทำให้กระเบื้องเสียหาย ให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำในอัตราส่วนอย่างละครึ่งเติมในขวดฉีด แล้วฉีดลงบนกระเบื้องทิ้งไว้สักพักก่อนเช็ดออกด้วยผ้าสะอาด
    • ถ้าเศษยาแนวจับตัวแข็งบนกระเบื้องแล้ว คุณสามารถลองกำจัดมันออกโดยใช้น้ำส้มสายชู เกรียงหรือกรดซัลฟามิกเจือจาง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณตั้งใจจะเก็บกระเบื้องไว้ การขอความช่วยเหลือจากคนที่รู้วิธีสกัดยาแนวอาจเป็นความคิดที่ดี เพราะมันเสี่ยงสูงที่กระเบื้องจะเสียหายถ้าเกิดคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้เลื่อยยาแนวหรือที่สกัดยาแนว
โฆษณา

คำเตือน

  • สวมแว่นนิรภัยเสมอเวลาจะสกัดยาแนว เศษยาแนวหรือเศษกระเบื้องอาจกระเด็นใส่ตาด้วยความเร็วสูงจนตาบอดได้
  • ใบมีดคาร์ไบด์นั้นคมกริบ สวมถุงมือกันบาดดีกว่าไปเสี่ยงนิ้วขาดถ้าเกิดพลาดขึ้นมา
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ผ้าคลุม
  • แว่นตานิรภัย
  • หน้ากากกันฝุ่น
  • ถุงมือกันบาด
  • เลื่อยยาแนวที่มีใบมีดคาร์ไบด์
  • ที่สกัดยาแนว
  • สิ่วกับค้อน
  • ไม้กวาด
  • เครื่องดูดฝุ่น
  • สบู่
  • ฝอย
  • ขวดฉีด
  • น้ำส้มสายชู

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,016 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา