ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease - CHD) รู้จักกันในอีกชื่อว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) [1] เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก [2] มันยังถูกอ้างถึงในชื่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (coronary artery disease - CAD) เพราะหลอดเลือดแดงที่อุดตันเป็นรากเหง้าของปัญหา เมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดอุดตัน มันจะลดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนและลดความสามารถที่จะได้รับออกซิเจนกับสารอาหารอื่นๆ เข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย [3] หลายๆ คนอาจคุ้นเคยกับอาการปวดหน้าอก (อาการปวดเค้นหัวใจ) แต่โรคหัวใจอาจแสดงอาการออกมาได้หลายแบบ โดยการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดและอาการข้างเคียงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน คุณสามารถจัดการหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ขึ้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

สังเกตอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการปวดหน้าอกเป็นสัญญาณเริ่มแรกว่าคุณอาจเริ่มเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน อาการปวดหน้าอกสามารถบอกให้ชัดขึ้นว่าเป็นอาการปวดแปลกๆ แบบอธิบายไม่ได้ในบริเวณทรวงอก บางคนบอกว่ามันเหมือนรู้สึกอึดอัด แน่น หน่วง กดดัน ร้อนผ่าว ปวด ชา บีบรัด หรือมีอะไรเต็มแน่นหน้าอก อาการปวดอาจร้าวไปถึงลำคอ กราม หลัง ไหล่ซ้าย และแขนซ้าย เนื่องจากบริเวณเหล่านี้ใช้เส้นประสาทร่วมกัน อาการปวดหน้าอกจึงมักลามมายังบริเวณเหล่านี้ด้วย คุณอาจรู้สึกปวดหน้าอกระหว่างทำกิจกรรม ทานอาหารมื้อใหญ่ ตอนกำลังเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเมื่อคุณกำลังอยู่ในสภาพอารมณ์ฟูมฟายอย่างหนัก [4] [5]
    • ถ้า CAD เป็นสาเหตุของอาการปวดหน้าอกของคุณ อาการปวดนั้นคงเป็นผลมาจากการมีเลือดไหลเวียนสู่หัวใจน้อยเกินไป นี่มักจะเกิดตอนที่มีความต้องการเลือดไหลเวียนสูงที่สุด ดังนั้นจึงเกิดการเชื่อมโยงระหว่างอาการปวดเค้นหน้าอกกับการทำกิจกรรมทางร่างกายในระยะแรกเริ่มนี้ [6]
    • อาการปวดหน้าอกมักแสดงพร้อมอาการอย่างอื่น เช่น หายใจถี่หรือหายใจลำบาก วิงเวียนหรือใจสั่น อ่อนเพลีย เหงื่อออก (โดยเฉพาะเหงื่อเย็น) ท้องไส้ปั่นป่วน และอาเจียน [7]
  2. อาการปวดหน้าอกผิดปกติหมายถึงอาการเช่น อึดอัดท้อง หายใจไม่ออก อ่อนเพลีย วิงเวียน ชาไปทั้งตัว คลื่นไส้ ปวดฟัน อาหารไม่ย่อย ไร้เรี่ยวแรง กระวนกระวาย และเหงื่อออก ซึ่งอาจแสดงออกมาโดยไม่มีอาการปวดหน้าอกทั่วไป สตรีและผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสจะเกิดอาการปวดหน้าอกผิดปกตินี้สูงกว่า [8]
    • อาการปวดหน้าอกผิดปกติยังมีอัตราการเกิดขึ้นที่เพิ่มขึ้นแบบ “ไม่คงที่” ซึ่งหมายถึงมันอาจเกิดขึ้นปุบปับในระหว่างพักแทนที่จะเป็นตอนออกแรงก็ได้และยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจวายได้ด้วย [9]
  3. การหายใจไม่ออกมักเกิดขึ้นในระยะสุดท้ายของโรคนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันนั้นจะลดความสามารถของหัวใจที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการคั่งในหลอดเลือด เมื่อมันเกิดขึ้นที่ปอด คุณจะรู้สึกหายใจไม่ออก [10]
    • ไปหาหมอถ้าคุณรู้สึกเหมือนหายใจไม่ทันในระหว่างการออกกำลังง่ายๆ เช่น การเดิน ทำสวน หรือทำงานบ้าน
  4. การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติมักเรียกว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) [11] ถ้าจะอธิบายก็คงเป็นแบบรู้สึกเหมือนกับว่าหัวใจเต้นข้ามจังหวะไปหรือเต้นเร็วขึ้น คุณยังอาจรู้สึกถึงชีพจรไม่คงที่ ถ้ารู้สึกถึงความผิดปกตินี้ควบคู่ไปกับอาการเจ็บหน้าอก ให้รีบไปโรงพยาบาล [12]
    • ในกรณีของ CAD โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราการไหลเวียนโลหิตที่ลดลงนั้นไปรบกวนสัญญาณการกระตุ้นไฟฟ้าไปยังหัวใจ [13]
    • รูปแบบของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกี่ยวเนื่องกับ CHD ที่รุนแรงที่สุดคือการที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest - SCA) ซึ่งไม่เพียงแค่ผิดปกติเท่านั้น แต่หัวใจมันจะหยุดเต้นไปเลย มันจะทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีถ้าหัวใจไม่ได้กลับมาเริ่มเต้นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านทางเครื่องกระตุ้นหัวใจ [14]
  5. พึงตระหนักว่า CHD สามารถนำไปสู่การเกิดหัวใจวายได้. อาการแทรกซ้อนที่แย่ที่สุดจาก CHD ก็คือหัวใจวาย คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันระยะหลังจะเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายได้สูงกว่า อาการเจ็บหน้าอกจะยิ่งรุนแรงขึ้น คุณจะรู้สึกหายใจลำบาก อาจรู้สึกคลื่นไส้และกระสับกระส่าย และมีเหงื่อเย็นออกท่วมตัว คุณควรโทรเรียกรถฉุกเฉิน ในทันที ถ้าคุณคิดว่าคุณหรือคนที่รักเกิดหัวใจวาย [15]
    • หัวใจวายบางครั้งอาจเป็นสัญญาณแรกว่าคุณเป็น CHD ถึงแม้คุณจะไม่เคยมีอาการอย่างอื่นของโรคหัวใจก็ตาม ไปหาหมอเมื่อเกิดเจ็บหน้าอกหรือหายใจไม่ออกทุกรูปแบบ เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่าง CHD ได้
    • บางคราวหัวใจวายก็อาจปรากฏด้วยอาการที่ผิดจากปกติ เช่น รู้สึกกระสับกระส่าย กลัวว่าจะมีเรื่องอะไรแย่ๆ เกิดขึ้น หรือรู้สึกหน่วงๆ ที่หน้าอก [16] อาการอะไรก็ตามที่แตกต่างจากปกติที่เกิดขึ้นฉับพลันจำเป็นต้องให้หมอมาวินิจฉัยดูทันที
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รู้ปัจจัยเสี่ยง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เส้นเลือดที่มีความเสียหายหรือตีบอุดตันอาจเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้น คนที่อายุสูงกว่า 55 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าการใช้ชีวิตแบบไม่สนเรื่องสุขภาพ อย่างอาหารการกินหรือออกกำลังไม่เพียงพอ เมื่อบวกกับอายุที่มากขึ้น สามารถเพิ่มโอกาสการเกิดโรคได้เช่นกัน [17]
  2. พูดแบบกว้างๆ ผู้ชายจะมีโอกาสเป็น CHD มากกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม ตัวผู้หญิงเองก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังจากถึงช่วงหมดประจำเดือน [18]
    • ผู้หญิงมักจะมีอาการ CHD แบบผิดจากปกติและมีความรุนแรงน้อยกว่า ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกเจ็บจี๊ด หน้าอกร้อนผ่าว และอาจปวดต้นคอ กราม ลำคอ ท้อง หรือหลัง ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่พบอาการผิดปกติเหล่านี้หรือเกิดเจ็บหน้าอกกับไหล่ หรือรู้สึกหายใจไม่ออก ให้ไปหาหมอเพราะมันอาจเป็นสัญญาณเตือนของ CHD [19]
  3. ถ้าญาติที่ใกล้ชิดมีประวัติการเป็นโรคหัวใจ คุณก็มีความเสี่ยงจะเป็น CAD เพิ่มขึ้น ถ้าพ่อหรือพี่ชายถูกตรวจพบตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 55 หรือแม่กับพี่สาวถูกตรวจพบก่อนอายุ 65 ปี แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงสูง [20]
  4. การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุเบื้องต้นของกรณีการเกิด CHD ส่วนใหญ่ บุหรี่นั้นมีสารนิโคตินกับคาร์บอน มอนน็อกไซด์ สารทั้งคู่ล้วนทำให้หัวใจกับปอดต้องทำงานหนักขึ้น สารเคมีอื่นๆ ในบุหรี่ก็สามารถทำลายหลอดเลือดหัวใจ จากการศึกษาพบว่าเมื่อคุณสูบบุหรี่ คุณเพิ่มโอกาสที่จะเป็น CHD ขึ้น 25% [21]
  5. ความดันโลหิตสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็งและบางลงได้ มันจะทำให้หลอดเลือดตีบลงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการส่งเลือดไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็น CHD มากขึ้น [23]
  6. คนที่เป็นเบาหวานจะมีเลือดที่ข้นกว่าและหนืดกว่า ซึ่งจะทำให้สูบฉีดไปทั่วร่างได้ยากกว่า หมายถึงหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น คนที่เป็นเบาหวานยังมีผนังหลอดเลือดแดงในหัวใจที่หนากว่า หมายถึงเส้นทางการสูบฉีดเลือดจะถูกบล็อคได้ง่ายกว่า [25]
  7. ค่าคอเลสเตอรอลสูงส่งผลให้เกิดการสะสมของคราบตามผนังหลอดเลือดหัวใจ [26] คอเลสเตอรอลที่สูงหมายถึงจะมีไขมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดมากกว่า [27] ทำให้หัวใจเอื่อยเฉื่อยและง่ายต่อการเป็นโรค
  8. โรคอ้วน (มีค่าดัชนีมวลกาย 30 ขึ้นไป [29] ) จะยิ่งทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แย่ลงอีก เนื่องจากความอ้วนเกี่ยวข้องกับการมีความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และการเป็นเบาหวาน [30]
  9. ความเครียดสามารถทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพราะอาการกังวลกับความตื่นเต้นเขม็งเกลียวทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและหนักขึ้น คนที่เครียดเป็นประจำจะยิ่งเสี่ยงเกิดโรคหัวใจมากกว่า ความเครียดนั้นเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดอุดตันและยังเป็นตัวทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย [31] [32]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณพบอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงหรือคิดว่าจะเกิดหัวใจวาย ควรโทรเรียกรถฉุกเฉินไปโรงพยาบาลทันที ถ้าอาการไม่หนักหนามาก ก็ให้ไปหาหมอทันทีที่ทำได้ ทั้งสองกรณีนั้นหมอจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นต่อการตรวจ CHD ได้อย่างถูกต้อง
    • อธิบายอาการให้หมอฟังอย่างละเอียด เช่นอะไรที่ดูเหมือนทำให้เกิด หรืออะไรที่ทำให้แย่ลง และมันเกิดนานแค่ไหน
  2. ในกรณีที่ไม่คอขาดบาดตายนัก หมออาจสั่งให้คุณเข้าทดสอบความเครียดเพื่อช่วยในการตรวจ CHD ซึ่งจะตรวจสัดหัวใจในระหว่างที่คุณออกกำลังกาย (มักให้วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า) เพื่อดูสัญญาณของการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ
  3. จะมีการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG หรือ ECG) อย่างต่อเนื่อง บุคลากรของโรงพยาบาลจะมองหาความเปลี่ยนแปลงที่มีความเชื่อมโยงกับการขาดเลือดเฉพาะที่ (หัวใจไม่ได้รับเลือดเพียงพอ) [36]
  4. ถ้าคุณเข้าตรวจวัดในโรงพยาบาล ก็มีสิทธิจะได้รับการตรวจเช็คระดับของเอนไซม์หัวใจที่เรียกว่า โทรโปนิน (troponin) ซึ่งหัวใจจะหลั่งออกมาตอนเกิดความเสียหาย ควรคาดหมายว่าจะได้รับการทดสอบระดับนี้ต่างกันสามครั้งภายในช่วงเวลาแปดชั่วโมง
  5. เอ็กซเรย์สามารถแสดงสัญญาณของภาวะหัวใจโตหรือของเหลวคั่งในปอดที่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวในระหว่างที่คุณถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในบางกรณี หมออาจสั่งให้มีการเอ็กซเรย์เพิ่มจากแค่การวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  6. เมื่อผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแน่แล้ว คุณอาจลงเอยต้องคุยกับแพทย์โรคหัวใจเพื่อทำการสวนหลอดเลือดหัวใจ นั่นหมายถึงหมอจะแยงท่อที่มีสีเข้าไปในเส้นเลือดแดง (เส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ตรงขาหนีบและไล่ยาวไปตามขา) [37] . กระบวนการนี้จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญได้เห็นภาพหลอดเลือดหัวใจที่ถูกบันทึกด้วยรังสี (ภาพการไหลเวียนเลือดในเส้นเลือดแดง) [38]
  7. ถ้าหมอรู้สึกว่ากรณีเฉพาะของคุณไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัด คุณอาจได้รับยาเพื่อช่วยจัดการกับ CAD การควบคุมคอเลสเตอรอลอย่างจริงจังได้แสดงให้เห็นว่าช่วยลดการตีบตันของเส้นเลือด หมอจะหายาคุมคอเลสเตอรอลที่เหมาะสมแก่คุณ [39]
    • ถ้าคุณมีความดันโลหิตสูงพ่วงด้วย หมอจะสั่งจ่ายยาอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ ขึ้นอยู่กับประวัติการรักษาของคุณ [40]
  8. ปรึกษาเรื่องการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ. สำหรับหลอดเลือดที่ตีบแต่ยังไม่ถึงกับอุดตันนั้น หมอจะปรึกษาทางเลือกให้ทำบอลลูน กระบวนการนี้จะให้หมอสอดท่อบางๆ ที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลายนั้นเข้าไปในหลอดเลือดเส้นที่มีปัญหา โดยการขยายบอลลูนขนาดเล็กตรงจุดที่ตีบ บอลลูนจะดันคราบไขมันที่เกาะอยู่ตรงผนังหลอดเลือดและถ่างออกจนเลือดไหลเวียนได้สะดวกดังเดิม [41]
    • เลือดที่ไหลเวียนมากขึ้นจะลดอาการเจ็บหน้าอกและลดปริมาณความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจ
    • หมอจะสอดขดลวดหรือท่อลวดเล็กๆ เข้าไปในหลอดเลือดแดงในระหว่างนั้น มันจะช่วยให้หลอดเลือดขยายหลังจากทำการถ่างหลอดเลือดตีบ [42] บางครั้งก็อาจจะทำเฉพาะการสอดขดลวดเข้าหลอดเลือดแดงเหมือนกัน
  9. การใช้หัวกรอเพชรเป็นอีกกระบวนการช่วยขยายหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด มันจะใช้หัวกรอขนาดเล็กเคลือบด้วยเพชรในการขัดคราบไขมันออกไปจากหลอดเลือด [43] ซึ่งจะทำเฉพาะวิธีนี้ หรือจะทำควบคู่ไปกับการใช้สายสวนหลอดเลือดก็ได้ [44]
  10. ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. ถ้าหลอดเลือดหัวใจหลักด้านซ้าย (หรือมีหลอดเลือดรวมกันสองหลอดขึ้นไป) มีการอุดตันอย่างรุนแรง หมอจะปรึกษาการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหรือการทำบายพาสกับคุณ กระบวนการนี้จะทำการต่อหลอดเลือดที่ยังแข็งแรงจากตรงขา แขน หน้าอกหรือหน้าท้องมาทำเป็นทางเบี่ยงช่วงที่อุดตันในหัวใจ [46]
    • นี่เป็นการผ่าตัดที่ซีเรียสซึ่งต้องใช้เวลาพักฟื้นในแผนกผู้ป่วยหนักถึงสองวันและต้องพักในโรงพยาบาลนานนับสัปดาห์
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณสูบ นี่คือสิ่งแรกสุดที่คุณจะทำได้เพื่อป้องกันการเป็น CAD หรือ CHD การสูบบุหรี่เพิ่มความตึงเครียดให้หัวใจ เพิ่มความดันโลหิต และนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับหัวใจ [47] คนที่สูบบุหรี่วันละซองจะเสี่ยงเกิดหัวใจวายมากกว่าคนที่ไม่สูบถึงสองเท่า [48]
    • จากจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจทั้งหมดในสหรัฐนั้น ราว 20% มาจากการสูบบุหรี่ [49]
  2. ถ้าสามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านวันละครั้งได้จะดีมาก ปรึกษาหมอว่ามีเครื่องมืออะไรที่อยากแนะนำคุณไหม เครื่องมือตรวจวัดความดันโลหิตเองส่วนใหญ่จะให้คุณสอดข้อมือเข้ากับตัวอุปกรณ์ แล้วยกข้อมือขึ้นในระดับหัวใจ จากนั้นมันจะอ่านค่าความดันโลหิต
    • ถามหมอว่าค่าความดันโลหิตปกติของคุณคือเท่าไหร่ คุณจะได้มีค่ามาตรฐานมาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ในแต่ละวัน
  3. เพราะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเป็นประเด็นทางด้านหัวใจ คุณจึงควรออกกำลังแบบคาร์ดิโอซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับหัวใจ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอได้แก่ การวิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือการออกกำลังใดก็ตามที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ คุณควรลองออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
    • ถามหมอก่อนเริ่มออกกำลังกายเพื่อให้แน่ใจว่ามันเหมาะกับสุขภาพและระดับความฟิตในเวลานั้น เขาอาจแนะนำตัวเลือกที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณได้
  4. อาหารที่ดีต่อสุขภาพควรมีอาหารที่ดีต่อสุขภาพของหัวใจและยังรักษาน้ำหนักตัวกับระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในความพอดี อาหารที่สมดุลควรประกอบด้วย [50]
    • ผักผลไม้ในปริมาณสูงซึ่งมีวิตามินกับแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวันอย่างสมดุล
    • โปรตีนไร้ไขมันอย่างเช่นเนื้อปลาและเนื้อไก่ไม่เอาหนัง
    • ผลิตภัณฑ์ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังวีท ข้าวกล้อง และควินัว
    • ผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย เช่น โยเกิร์ต
    • เกลือต่ำกว่า 3 กรัมต่อวันเพื่อลดโอกาสการเกิดความดันโลหิตสูง
  5. โดยเฉพาะปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง โอเมก้า-3 นั้นลดความเสี่ยงของการเกิดอักเสบในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ลดโอกาสการเกิดอักเสบในหลอดเลือดที่จะนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจไปด้วย ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้แก่ [51]
    • แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล เทราต์ และเฮอร์ริ่ง
  6. ถ้าคุณเป็นห่วงในสุขภาพของหัวใจ ควรหนีให้ห่างจากอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง พวกมันจะเพิ่มไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ "ไขมันเลว" เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล และเกิดหลอดเลือดอุดตันนำไปสู่โรคหัวใจ [52]
    • ไขมันอิ่มตัวจะพบในเนื้อแดง ไอศกรีม เนย เนยแข็ง ครีมเปรี้ยว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันหมู อาหารที่ทอดน้ำมันจนท่วมก็มีไขมันอิ่มตัวสูงเช่นกัน
    • ไขมันทรานส์มักพบได้ในอาหารจำพวกของทอดกับอาหารแปรรูป เนยขาวที่ทำจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นอีกตัวที่จะพบไขมันทรานส์สูง [53]
    • กินไขมันจากเนื้อปลาและมะกอก ไขมันเหล่านี้อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายกับโรคหัวใจ
    • คุณยังควรเลี่ยงการกินไข่เกินกว่าวันละฟอง โดยเฉพาะถ้าคุณควบคุมระดับคอเลสเตอรอลได้ลำบาก ถึงแม้ไข่โดยทั่วไปจะดีต่อสุขภาพ การกินเยอะเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะหัวใจล้มเหลวหรือเป็นโรคหัวใจได้ [54] เวลาจะกินไข่ อย่ากินมันพร้อมไขมันอย่างเนยแข็งหรือเนย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ตั้งเป้าหมายให้ตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีน้ำหนักตัวเหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และกินอาหารที่ถูกต้องเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิด CHD
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกเจ็บหัวใจ เจ็บหน้าอก หรืออาการที่คล้ายคลึงกัน จำเป็นต้องไปหาหมอทันที การตรวจจับการเกิด CHD ตั้งแต่ต้นหมายถึงการเห็นผลที่ดีขึ้นในอนาคต
  • โปรดสังเกตว่ามีหลายๆ คนอาจไม่เคยมีอาการใดๆ ของ CAD หรือ CHD เลย หากคุณมีปัจจัยเสี่ยงตามที่กล่าวในบทความนี้สองประการขึ้นไป ให้ไปหาหมอเพื่อประเมินสุขภาพของหัวใจคุณและลดความเสี่ยงของเป็นโรคหัวใจ
  • ถึงบทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ CAD กับ CHD มันก็ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการรักษา ถ้าคุณตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือรู้สึกว่าอาจมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้หาหมอเพื่อตรวจสุขภาพหัวใจกับการรักษาที่ถูกต้องถ้าเป็นไปได้
โฆษณา
  1. http://my.clevelandclinic.org/heart/disorders/cad/understandingcad.aspx
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/complications/con-20032038
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/definition/con-20032038
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/complications/con-20032038
  5. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/scda
  6. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/cad/
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  10. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/hdw/signs
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/definition/con-20032038
  13. http://health.clevelandclinic.org/2014/09/e-cigarettes-tobacco-free-but-your-heart-may-still-be-at-risk/
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/low-blood-pressure/basics/causes/con-20032298
  16. http://my.clevelandclinic.org/heart/disorders/cad/understandingcad.aspx ?
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/basics/definition/con-20020865
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  20. http://www.nhlbi.nih.gov/health/educational/lose_wt/BMI/bmicalc.htm
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronary-artery-disease/basics/risk-factors/con-20032038
  23. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/StressManagement/HowDoesStressAffectYou/Stress-and-Heart-Health_UCM_437370_Article.jsp
  24. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/StressManagement/FightStressWithHealthyHabits/Fight-Stress-with-Healthy-Habits_UCM_307992_Article.jsp
  25. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/StressManagement/FightStressWithHealthyHabits/Fight-Stress-with-Healthy-Habits_UCM_307992_Article.jsp
  26. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2892349/
  27. http://my.clevelandclinic.org/services/heart/disorders/coronary-artery-disease/understandingcad ?
  28. http://www.healthline.com/human-body-maps/femoral-artery
  29. http://www.webmd.com/heart-disease/angiogram
  30. Nissen, SE, Nichols, SJ, Ballentyne, CJ, Effect Of Very High Intensity Statin Therapy on Regression of Coronary Artherosclerosis:The ASTEROID Trial, JAMA , 2006 April 5 295 13 15556-65
  31. Clive Rosendorf Md PhD, Christopher, Cannon MD, Joel Gore MD Treatment of Hypertension in Prevention and Management of Ischemic Heart Disease, Circulation 2007, 115 2761-2786
  32. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/angioplasty.html
  33. http://www.healthline.com/human-body-maps/femoral-artery
  34. http://www.minneapolis.va.gov/patients/education/edu_pdfs/surgery/AfterYourAngioplasty.pdf
  35. http://herzzentrum.immanuel.de/en/services-offered/therapy-options/surgery-for-coronary-heart-disease/rotablation-for-coronary-artery-stenosis/
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3796693/
  37. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/coronary-bypass-surgery/basics/definition/prc-20023680
  38. http://www.webmd.com/heart-disease/guide/smoking-heart-disease#1
  39. http://www.webmd.com/heart-disease/guide/smoking-heart-disease#1
  40. http://www.webmd.com/heart-disease/guide/smoking-heart-disease#1
  41. http://www.healthaliciousness.com/articles/foods-high-in-dietary-fiber.php
  42. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/omega-3/art-20045614
  43. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/hd/prevent
  44. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/trans-fat/art-20046114
  45. http://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/eggs/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,410 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา