ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Appendicitis ก็คือไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่ถ้าเกิดในคนท้องแล้วต้องผ่าตัด "ลูกเดียว" [1] โอกาสเกิดมีประมาณ 1/1000 คน โดยมักเกิดในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 - 2 แต่บางกรณีก็เกิดในไตรมาสที่ 3 ได้เหมือนกัน ถ้าคุณท้องอยู่แล้วสงสัยว่าตัวเองเป็นไส้ติ่งอักเสบ ให้รีบไปหาหมอโดยด่วนเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อาการไส้ติ่งอักเสบเป็นยังไง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มารู้จักอาการเบื้องต้นของไส้ติ่งอักเสบกันดีกว่า [2] ถ้ามีอาการต่อไปนี้ล่ะใช่แน่
    • ปวดท้อง โดยมักเริ่มปวดจากตรงกลาง ใกล้ๆ สะดือ แล้วค่อยๆ ย้ายไปทางขวาภายใน 2-3 ชั่วโมง (นี่แหละสัญญาณเตือนภัยว่าสงสัยคุณเป็นไส้ติ่งอักเสบแน่เลย)
    • คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน (หนักกว่าอาการแพ้ท้องทั่วไป)
    • มีไข้
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร [3]
  2. สัญญาณที่บอกอาการไส้ติ่งอักเสบได้ชัดเจนและแน่นอนที่สุด ก็คืออาการปวดที่เริ่มจากตรงกลางท้องและรอบๆ สะดือ ตอนแรกไม่มากนัก แต่พอผ่านไป 2 - 3 ชั่วโมง จะย้ายไปปวดที่ท้องด้านขวาแทน และปวดมากจนทนไม่ไหว [4]
    • อาการปวดท้องแบบเป็นไส้ติ่งอักเสบ "แหงๆ" จะปวดแถวช่องท้องด้านขวา ระหว่างสะดือค่อนลงไปทางกระดูกสะโพก (จุดนี้เรียกว่า McBurney's Point) [5]
    • ถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบแล้วคุณพยายามนอนตะแคงขวา จะยิ่งปวดไปกันใหญ่ จริงๆ แล้วตอนยืนหรือเดินก็อาจจะปวดด้วย
    • ผู้หญิงบางคนปวดเวลายืน เพราะเอ็นยึดมดลูก (round ligament) นั้นตึงเกินไป (มักเกิดช่วงตั้งครรภ์) แต่ถ้าปวดแบบนั้นแป๊บเดียวก็ต้องหายแล้ว ถ้าเป็นอาการปวดท้องเพราะไส้ติ่งอักเสบ คุณจะปวดอยู่อย่างนั้น รู้แบบนี้คุณจะได้แยกระหว่าง 2 อาการได้
  3. ถ้าคุณตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 คุณอาจปวดท้องสูงขึ้นไปเหนือสะดือ. ผู้หญิงที่ท้อง 28 อาทิตย์ขึ้นไป มักรู้สึกเจ็บที่ช่องท้องด้านขวา ใต้ซี่โครงซี่สุดท้ายพอดีเป๊ะ นั่นเพราะเด็กในท้องกับถุงน้ำคร่ำขยายใหญ่ขึ้น จนไปเบียดไส้ติ่งยังไงล่ะ แทนที่จะอยู่ที่เดิม คือระหว่างสะดือกับสะโพกด้านขวา (ตรง McBurney's Point น่ะ) ไส้ติ่งจะขยับสูงขึ้นไปในช่องท้องด้านบน จนถูกกดทับอยู่ใต้ซี่โครงด้านขวาพอดิบพอดี [6]
  4. ถ้าปวดท้องแล้วตามมาด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน นั่นแหละอันตราย. อย่างที่รู้ๆ กัน คนท้องก็ต้องมีแพ้ท้องอาเจียนเป็นธรรมดา แต่ถ้าเป็นไส้ติ่งอักเสบ จะเริ่มจากปวดท้องก่อน แล้วค่อยตามมาด้วยอาเจียน (หรือคลื่นไส้แล้วค่อยอาเจียน โดยจะรุนแรงกว่าอาเจียนธรรมดาก่อนหน้า) [7]
    • ยิ่งถ้าคุณใกล้คลอดแล้ว (คือเลยช่วงแพ้ท้องไปแล้ว) แต่ยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ก็มีแนวโน้มมากเลยว่าคุณจะเป็นโรคอื่น อย่างไส้ติ่งอักเสบ [8]
  5. คนที่เป็นไส้ติ่งอักเสบมักจะมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย แค่ไข้อย่างเดียวไม่ได้แปลว่าคุณจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ต้องมีทั้งไข้ ปวดท้อง และอาเจียนร่วมด้วยถึงจะน่าเป็นห่วง ถ้าอยู่ๆ คุณก็มีทั้ง 3 อาการที่ว่า ถึงเวลาต้องไปหาหมอโดยด่วนแล้วล่ะ [9]
  6. สังเกตด้วยว่าคุณหน้าซีด เหงื่อออก หรือไม่ค่อยอยากกินอะไรหรือเปล่า. หน้าซีดและเหงื่อออกมักเป็นผลจากอาการคลื่นไส้และมีไข้ ที่เกิดตอนไส้ติ่งเกิดอักเสบขึ้นมา นอกจากนี้ก็คือเบื่ออาหาร ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนเป็นไส้ติ่งอักเสบ ไม่ว่าจะท้องหรือไม่ท้องก็เถอะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เตรียมตัวไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราเข้าใจ ว่าในสถานการณ์คอขาดบาดตายแบบนี้คุณก็ต้องเครียดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าทำใจให้สบาย เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปหาหมอ คุณก็จะมีชัยไปกว่าครึ่ง ส่วนใหญ่ขั้นตอนการตรวจมักเป็นไปประมาณนี้
    • ตรงไปหาหมอแผนกฉุกเฉินเลยจะดีที่สุด ไส้ติ่งอักเสบนั้นร้ายแรง คุณควรได้รับการรักษาในทันที เพราะฉะนั้นให้รีบแจ้งทันทีที่ถึงโรงพยาบาล จะได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที
  2. ถึงจะเจ็บแค่ไหนก็ต้องทน เพราะถ้าคุณเป็นคนท้องละก็ อาการเจ็บปวดของคุณจะเป็นอย่างเดียวที่ทำให้หมอตรวจเจอได้ว่าคุณเป็นไส้ติ่ง ถ้าไปกินยากลบเกลื่อนอาการปวดละก็ระวังจะอันตรายในภายหลัง
  3. อย่าดื่มน้ำ กินอาหาร หรือกินยาระบายก่อนไปหาหมอ. คนที่ไปหาหมอแผนกฉุกเฉินมักเป็นคนที่กลัวจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ เพราะฉะนั้นคุณรอตรวจไม่นานหรอก
    • ที่เราบอกให้คุณห้ามกินอาหารหรือดื่มน้ำ ก็เพราะเวลาตรวจร่างกายบางขั้นตอน คุณควรจะท้องว่าง แถมจะเป็นผลดีต่อระบบทางเดินอาหารของคุณ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดไส้ติ่งแตกขึ้นมา ในกรณีที่คุณเป็นไส้ติ่งอักเสบจริงๆ น่ะ
  4. คุณหมอจะตรวจโดยจับๆ กดๆ ที่ท้องของคุณดู ว่าคุณเจ็บตรงไหนบ้าง. คุณหมอสามารถตรวจวินิจฉัยได้หลายวิธีด้วยกัน ว่าอะไรทำให้คุณปวดท้อง ตกลงเป็นไส้ติ่งอักเสบจริงหรือเปล่า วิธีที่ว่าก็รวมถึงการจับๆ กดๆ บริเวณหน้าท้องของคุณเพื่อหาจุดที่เจ็บ รวมถึงการตรวจด้วยวิธี "กดแล้วเจ็บเมื่อปล่อย" (ตรวจว่าเมื่อคุณหมอกดหน้าท้องแล้วคุณรู้สึกเจ็บตอนคุณหมอปล่อยมือหรือเปล่า) [10]
    • คุณหมออาจต้องตรวจซ้ำๆ นานหน่อย แต่บอกเลยว่าจำเป็นต่อการวินิจฉัยโรคของคุณหมอมาก จะได้รู้แน่ชัดไงล่ะ ว่าคุณเป็นอะไรกันแน่
  5. เพื่อตรวจหา "Obturator sign" หรือก็คืออาการเจ็บปวดเวลาหมุนข้อสะโพก คุณหมอจะยกเข่ากับข้อเท้าข้างขวาของคุณดันขึ้นเข้าหาตัว แล้วลองบิดสะโพกกับเข่าของคุณ โดยหมุนขาของคุณเข้าและออกจากตัว ระหว่างนี้คุณต้องคอยสังเกตดีๆ ว่าคุณเจ็บที่ช่องท้องด้านขวาล่างหรือเปล่า ถ้าเจ็บเมื่อไหร่ให้รีบบอกคุณหมอ เพราะแปลว่าอาจเกิดการระคายเคืองตรงกล้ามเนื้อส่วน obturator ซึ่งเป็นสัญญาณบอกโรคไส้ติ่งอักเสบ [11]
  6. คุณหมอจะบอกให้คุณนอนตะแคง จากนั้นคุณหมอจะเหยียดขาคุณให้ตรง แล้วถามว่าเจ็บหรือเปล่า การตรวจแบบนี้เรียกว่า "Psoas test" ถ้าทำแล้วคุณเจ็บมากขึ้น แสดงว่าเป็นอีกสัญญาณบอกอาการไส้ติ่งอักเสบ [12]
  7. ถึงการตรวจทางทวารหนัก หรือ rectal exam จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตรวจหาไส้ติ่งอักเสบ แต่คุณหมอมักถูกฝึกมาให้รวมการตรวจนี้เข้าไปด้วยเพื่อตัดความน่าจะเป็นของโรคอื่นๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าคุณหมอจะขอตรวจคุณเพิ่มเติมด้วยวิธีนี้ [13]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ตรวจวินิจฉัยร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวของคุณมักเพิ่มสูงขึ้นเวลาเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่พอคุณท้อง การตรวจเลือดกลับบอกอะไรไม่ค่อยได้ นั่นเพราะคนท้องจะมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้แปลว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบเสมอไป [14]
  2. อัลตราซาวด์ถือเป็นการตรวจแบบ "ภาคบังคับ" (ยังไงก็ควรตรวจ) ที่ตรวจหาไส้ติ่งอักเสบในคนท้องได้ชัดเจนที่สุด [15] โดยจะใช้ ultrasound echoes หรือคลื่นเสียงความถี่สูงสร้างภาพขึ้นมาให้คุณหมอเห็น ว่าไส้ติ่งคุณอักเสบหรือเปล่า [16]
    • ปกติคุณหมอมักตรวจ CT scan ให้คนไข้ในแผนกฉุกเฉินที่สันนิษฐานว่าจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่ถ้าเป็นคนท้อง คุณหมอมักเลือกตรวจอัลตราซาวด์มากกว่า เพราะจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง [17]
    • ส่วนใหญ่ถ้าตรวจด้วยอัลตราซาวด์ก็จะรู้ทันทีว่าคุณเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือเปล่า [18]
  3. คุณหมออาจต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีฉายรังสีอื่นๆ. ถ้าคุณท้อง 35 อาทิตย์ขึ้นไป จะตรวจแบบฉายรังสีได้ยากขึ้น เพราะลูกในท้องของคุณจะโตขึ้นจนเห็นไส้ติ่งได้ลำบาก [19]
    • ในกรณีนี้คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจ CT scan หรือ MRI จะได้เห็นภาพไส้ติ่งชัดขึ้น ว่าตกลงอักเสบหรือเปล่า [20]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยู่ๆ คุณก็มีไข้หรือเจ็บตรงไหนโดยไม่รู้สาเหตุตอนที่ท้องอยู่ ให้รีบไปตรวจโดยด่วน หรืออย่างน้อยก็ลองไปปรึกษาคุณหมอดูสักหน่อย แผนกสูตินรีเวชส่วนใหญ่จะมีหมอหรือผดุงครรภ์ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว คุณสามารถติดต่อสอบถามได้เลย
  • คอยสังเกตอาการเรื่อยๆ เพราะสัญญาณบอกไส้ติ่งอักเสบมักเป็นอาการปวดท้องที่เริ่มจากแถวๆ สะดือ แล้วขยับขยายไปยังท้องด้านขวา [21]
  • ใจเย็นๆ ให้แฟนหรือสามีของคุณช่วยพาไปหาหมอ เขาจะได้คอยพูดคุยดึงความสนใจของคุณไปจากอาการเจ็บปวดจนกว่าจะถึงคิวตรวจ
โฆษณา

คำเตือน

  • คนท้องอาจจะตรวจหาไส้ติ่งอักเสบยากอยู่สักหน่อย เพราะจะเจ็บคนละจุดกับคนที่เป็นไส้ติ่งอักเสบทั่วไป
  • ถ้าคุณท้องเข้าไตรมาสที่ 3 แล้วเกิดไส้ติ่งแตกขึ้นมา คุณอาจต้องเตรียมใจถูกผ่าคลอด จะได้ปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าเข้าช่วงนี้ เด็กก็จะโตพอทำคลอด ลืมตาดูโลกได้แล้ว
  • ถ้าคุณเจ็บแปลบแบบไม่หายสักที ให้รีบไปตรวจที่แผนกฉุกเฉิน เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนจะดีที่สุด
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10535336
  2. http://emedicine.medscape.com/article/773895-clinical#b1
  3. http://www.uptodate.com/contents/acute-appendicitis-in-pregnancy
  4. http://emedicine.medscape.com/article/773895-clinical#b1
  5. Kumar, P., & Clark, M. (2009). Kumar & Clark's Clinical Medicine 7th Edition. Philadelphia: Elsevier Limited.
  6. http://emedicine.medscape.com/article/773895-clinical#b1
  7. D.C. Dutta’s Textbook of Obstetrics, 7th edition. Jaypee publishers. India
  8. http://emedicine.medscape.com/article/773895-clinical#b1
  9. Sabaratnam Arulkumaran , Essentials of Obstetrics, 2nd edition. Jaypee publishers. India

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,734 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา