ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราเผชิญหน้ากับคนโกรธมากมายในชีวิตประจำวันของเรา คนเหล่านี้เป็นคนที่อาจจะไม่สามารถควบคุมความรู้สึกและปฏิกิริยาตอบกลับของพวกเขาได้ โชคไม่ดีที่พวกเขาระบายความโกรธใส่คนอื่น เมื่อใครบางคนโกรธก็อาจจะควบคุมอารมณ์ได้ยากตอนที่เขารับมือกับสถานการณ์ บางครั้งความโกรธอาจจะควบคุมไม่ได้ การสื่อสารกับคนโกรธหมายถึงการที่ต้องอยู่ในความสงบและอดทน คุณยังจำเป็นต้องฟังอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้เขาหาทางแก้ปัญหาอีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

การโต้ตอบความโกรธของใครบางคน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคนอื่นโกรธโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณ ก็อาจจะทำให้คุณโกรธได้ง่ายเช่นกัน แต่เมื่อคุณกำลังพยายามสื่อสารกับคนที่กำลังโกรธ คุณควรจะปิดกั้นความโกรธของตัวเองไว้ดีกว่า
  2. อย่าเก็บความโกรธของคนคนนี้มาเป็นอารมณ์ส่วนตัว แต่ให้ก้าวออกมาจากอารมณ์นั้นโดยการเปลี่ยนความรู้สึกของคุณให้เป็นความอยากรู้เกี่ยวกับความโกรธของบุคคลนั้นแทน ลองถามคำถามตัวเอง อย่างเช่น "คนคนนี้โกรธมากเลย ฉันสงสัยว่าอะไรที่ทำให้เขาอารมณ์เสียได้ขนาดนั้น" [1]
  3. อย่าขึ้นเสียงหรือพูดด้วยน้ำเสียงที่แสดงความโกรธ หายใจเข้าลึกๆ สักสองสามครั้งถ้าจำเป็น และพูดด้วยเสียงคงที่และใจเย็นด้วยความดังระดับปกติ
  4. การมีภาษากายที่เปิดเผยและต้อนรับสามารถช่วยบรรเทาความโกรธของอีกคนหนึ่งได้ เขาจะเห็นว่าคุณไม่ใช่ศัตรู ภาษากายในเชิงบวก ได้แก่: [2]
    • สบตาไว้
    • ยืนหรือนั่งโดยเอาแขนไว้ด้านข้างลำตัวของคุณ ไม่กอดอก
    • ยืนเอียงข้างเล็กน้อยแทนที่จะหันหน้าไปทางอีกคนหนึ่งตรงๆ
    • สัมผัสเบาๆ ที่ไหล่ของอีกคนหนึ่งถ้าเขาอนุญาต จำใส่ใจไว้ว่าการสัมผัสนั้นไม่ได้เหมาะสมเสมอไป ถ้าคนที่กำลังโกรธเป็นคนรักหรือเพื่อนสนิทแล้วล่ะก็ การสัมผัสนั้นอาจจะมีความเหมาะสม แต่ถ้าคนที่กำลังโกรธเป็นลูกค้าก็อาจจะไม่เหมาะสม
  5. เมื่อคุณรู้ว่าความโกรธของบุคคลนั้นก่อตัวขึ้น คุณอาจกระตุ้นให้เขาโกรธโดยการยั่วยุเขา ซึ่งนี่อาจจะเป็นไปโดยหรือโดยไม่เจตนา แต่เมื่อใครบางคนโกรธ พยายามอย่าทำสิ่งที่คุณรู้ว่าจะทำให้เขาโกรธมากขึ้นหรือรู้สึกเคารพคุณน้อยลง [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

การแนะนำเทคนิคการสงบอารมณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเสนอคำแนะนำให้ใครบางคนสงบอารมณ์ลงอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับคนที่เห็นได้ชัดว่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้อาจจะเหมาะสมถ้าคนที่โกรธกำลังมองหาความช่วยเหลือในการสงบอารมณ์ นี่ยังช่วยได้เมื่อการสนทนาไม่มีผลหรือบานปลายและการหยุดพักเป็นเหตุผลอันสมควร
  2. การหายใจลึกๆ สามารถมีประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์ได้ ให้คำแนะนำเหล่านี้กับบุคคลนั้น:
    • หายใจเข้าแล้วนับถึงสี่ กลั้นไว้และนับถึงสี่ และหายใจออกนับถึงสี่
    • ให้แน่ใจว่าเขาหายใจด้วยกะบังลมมากกว่าด้วยหน้าอก เมื่อเขาหายใจด้วยกะบังลมท้องของเขาจะขยายออก (เขาควรจะรู้สึกได้ด้วยมือของเขา)
    • ทำแบบนี้หลายครั้งตามที่จำเป็นจนกว่าเขาจะเริ่มรู้สึกสงบลง
  3. บอกอีกคนหนึ่งว่าเขาไม่จำเป็นต้องโต้ตอบทันที การนับสามารถช่วยกำจัดความรู้สึกโกรธได้ครู่หนึ่ง แนะนำอีกคนหนึ่งว่าเขาควรให้เวลาตัวเองเพื่อแยกแยะความรู้สึกโดยการนับถึงสิบ [4]
  4. ช่วยบุคคลนั้นให้คลายอารมณ์โกรธโดยการหันเหความสนใจของเขา คุณอาจจะเล่าเรื่องตลกหรือดูวิดีโอ คุณอาจจะทำให้บุคคลนั้นมั่นใจอีกครั้งว่าคุณกังวลเกี่ยวกับความโกรธของพวกเขา แต่คุณยังอาจจะพูดว่ามันอาจจะเป็นความคิดที่ดีที่จะเบนความสนใจของเขาสักสองสามนาทีเพื่อช่วยให้เขาใจเย็นลง [5]
  5. การพาบุคคลนั้นออกจากสถานการณ์ที่จะช่วยให้เขาสงบลงได้ [6] แนะนำให้ไปเดินเล่น ออกไปข้างนอก หรือไม่อย่างนั้นให้พาตัวเขาเองออกมาจากสถานการณ์นั้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

การฟังอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งสำคัญก็คือการแน่ใจว่าอีกคนหนึ่งรู้สึกเหมือนคุณกำลังเอาจริงเอาจังกับเขา ปล่อยให้บุคคลนั้นพูดและฟังสิ่งที่เขากำลังพูด
    • อย่าขัดจังหวะหรือแก้ไขอีกคนหนึ่งในขณะที่เขากำลังพูด
  2. คุณไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับอีกคนหนึ่ง แต่คุณอาจจะแสดงให้เห็นว่าคุณเข้าใจว่าทำไมเขาอาจจะรู้สึกอย่างที่เขารู้สึก ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะบอกว่า "ถ้าฉันรู้สึกเหมือนว่าฉันไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ฉันก็คงจะรู้สึกไม่พอใจเหมือนกันนะ" [7]
    • การเห็นด้วยกับคนที่กำลังโกรธอาจช่วยบรรเทาความรู้สึกโกรธได้ มันจะช่วยให้คนที่กำลังโกรธรู้สึกเหมือนว่าเขาทำบางอย่างถูกต้อง
  3. ใช้คำถาม "ปลายเปิด" เพื่อไต่ถามข้อมูลเพิ่มเติม คำถามปลายเปิดนั้นจะต้องการมากกว่าคำตอบง่ายๆ อย่างคำว่าใช่หรือไม่ใช่ คำถามประเภทนี้ต้องการข้อมูลมากกว่า ดังนั้นคุณอาจจะได้รู้ต้นตอของปัญหาก็ได้ [8] ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า "เกิดอะไรขึ้นในที่ประชุมเมื่อเช้านี้"
    • ใช้คำว่า "กันแน่" เพื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น "คุณหมายความอย่างไรกันแน่ตอนที่คุณบอกว่าไม่มีใครฟังคุณ"
  4. แสดงให้เห็นว่าคุณต้องการเข้าใจสิ่งที่อีกคนหนึ่งพูดถึง ถอดความสิ่งที่เขาพูดเพื่อให้คุณแน่ใจว่าคุณเข้าใจอย่างถูกต้อง [9]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า "ขอดูว่าฉันเข้าใจถูกต้องหรือเปล่านะ คุณไปประชุมและถูกขอให้นำเสนองานในนาทีสุดท้าย ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเครียด แล้วเจ้านายของคุณก็เช็คโทรศัพท์ของเขาตลอดเวลาซึ่งทำให้คุณรู้สึกเหมือนถูกมองข้าม ฉันเข้าใจถูกไหม"
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

การหาทางแก้ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การป้องกันทางอารมณ์ของบุคคลอาจจะลดลงถ้าเขากำลังรู้สึกเหนื่อยหรือหิว หาเวลาดีๆ เมื่อบุคคลนั้นสงบและสามารถเข้าถึงปัญหาได้โดยไม่ติดอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ [10]
  2. ถ้าคุณทำอะไรผิดหรือถ้าคุณไม่ได้ตั้งใจทำร้ายอีกคนหนึ่ง การขอโทษไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ แต่มันแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นห่วงที่คุณทำร้ายอีกคนหนึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
  3. มุ่งหาทางแก้ปัญหา ถามบุคคลนั้นว่าอยากจะเห็นการแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าคุณตอบสนองความต้องการของบุคคลนั้นไม่ได้หรือถ้าบุคคลนั้นทำตัวไม่มีเหตุผล ให้หาว่าคุณสามารถเจรจาต่อรองอะไรได้บ้าง
  4. การใช้ภาษาแบบนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังร่วมมือกับบุคคลนั้นในการแก้ไขปัญหาแบบเป็นพันธมิตร ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า "ฉันจะช่วยให้เธอไปถึงจุดที่เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างล่ะ" [11]
  5. ถ้าคุณกำลังพยายามจะเริ่มประนีประนอม ให้ยึดอยู่กับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น อย่าเอ่ยถึงการทะเลาะหรือปัญหาที่ผ่านมา อย่าใช้ความบาดหมางเก่าๆ เพื่อได้รับสิ่งที่คุณต้องการจากสถานการณ์ [12]
  6. อาจจะเป็นได้ว่าคุณหาทางแก้ปัญหาไม่ได้จนกว่าบุคคลนั้นจะสงบลงแล้ว ซึ่งนี่อาจจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งและการแก้ปัญหาจะต้องล่าช้าออกไปจนกว่าอีกคนหนึ่งจะสามารถตอบโต้ได้โดยไม่โกรธเกินไป [13]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

การจัดการกับเด็กที่กำลังโกรธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กๆ ต้องการคำแนะนำในแง่ของวิธีจัดการกับความโกรธของตัวเอง มีคนไม่มากนักที่จะรู้ว่าจะสั่งสอนลูกๆ ของพวกเขาเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความโกรธ ดังนั้นเด็กหลายคนจึงถูกทิ้งให้จัดการกับปัญหาด้วยตัวเอง นี่อาจจะนำไปสู่การขาดความยับยั้งชั่งใจ ประวัติของพฤติกรรมความรุนแรง และการทะเลาะเบาะแว้งในความสัมพันธ์ในโรงเรียนและที่บ้านได้ เด็กๆ จะเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมของพวกเขาจากพ่อแม่และผู้ใหญ่คนอื่นที่พวกเขาใช้เวลาอยู่ด้วยนานๆ ดังนั้นเพื่อที่จะสอนลูกๆ ของคุณให้เคารพกันและกัน คุณก็ต้องพยายามให้ดีที่สุดในการสื่อสารกับลูกของคุณอย่างให้ความเคารพ
    • สั่งสอนให้ลูกๆ ของคุณปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเมตตา พวกเขาไม่ควรจะถากถางคนอื่นๆ
    • อย่าตะโกนหรือส่ายนิ้วใส่เขา อย่าทำให้ลูกของคุณอับอาย เรียกพวกเขาด้วยชื่อที่น่ารังเกียจ หรือดูถูกการกระทำของพวกเขาแม้ว่าพวกเขาจะตัดสินใจผิดพลาดไป อย่าทำให้ลูกๆ ของคุณรู้สึกผิด
    • ถ้าลูกๆ ของคุณพูดคุยอย่างไม่ให้ความเคารพ อย่ากล่าวโทษพวกเขาที่ไม่เคารพคุณ เพราะมันจะทำร้ายความรู้สึกของพวกเขา ถ้าลูกๆ ของคุณอายุยังน้อย พวกเขาอาจไม่ได้แม้จะตระหนักว่าพวกเขากำลังปฏิบัติตัวอย่างไม่ให้ความเคารพ ถ้าลูกของคุณเป็นวัยรุ่น ให้เขารู้อย่างแน่วแน่ว่าน้ำเสียงของเขาฟังดูโกรธและถามเขาว่าเกิดอะไรขึ้น อีกนัยหนึ่ง แค่สังเกตโดยไม่ต้องอารมณ์เสีย ใช้น้ำเสียงที่ไม่ใช่การกล่าวหา ให้เขามีโอกาสอธิบาย
  2. ให้แน่ใจว่าใบหน้าของคุณผ่อนคลาย ใช้น้ำเสียงที่ฟังดูไม่โกรธหรือเครียด
  3. ไม่ควรอนุญาตพฤติกรรมอย่างเช่น การขว้างปาข้าวของหรือการต่อยตี ถ้ามันเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ให้คุยกับลูกของคุณหลังจากเหตุการณ์นั้นเพื่อให้เขารู้ว่าเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ชกต่อย บอกลูกของคุณว่าการกระทำนี้เป็นความพลั้งพลาดไป บอกเขาว่าคุณยกโทษให้เขาแต่ถ้าครั้งหน้าเขาทำอีกคุณจะไม่อภัยให้
  4. เด็กมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกโกรธเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็กโตหรือวัยรุ่นอาจจะตอบสนองได้ดีต่อคำพูดอย่างนี้: "แม่/พ่อสังเกตว่าลูกหน้าผากย่น เม้มปาก แล้วก็กอดออก แม่/พ่อคิดว่าลูกดูเหมือนจะโกรธ ไม่เป็นไร ลูกโกรธได้และบางครั้งคนเราก็โกรธได้ นอกจากจะโกรธแล้วลูกอาจจะมีความรู้สึกอื่นด้วยสินะ และนั่นก็ไม่เป็นไรเหมือนกัน"
    • สำหรับเด็กเล็ก คำพูดที่สั้นกว่าและสะท้อนโดยตรงกว่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า การสะท้อนให้เห็นปัญหาสามารถช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะตั้งชื่ออารมณ์ความรู้สึกและเรียนรู้วิธีจัดการกับความรู้สึกอย่างเหมาะสม ลองพูดว่า "หนูโกรธที่หนูไม่ได้กินคุกกี้ก่อนอาหารเย็น" ไม่ต้องกังวลว่ามันอาจจะไม่ใช่อารมณ์ที่ถูกต้อง เพราะพวกเขาจะแก้ให้คุณเอง สิ่งสำคัญก็คือแค่ให้พวกเขาให้ความสนใจอีกครั้งหนึ่งว่าพวกเขากำลังรู้สึกอย่างไร
    • ช่วยให้ลูกของคุณระบุความรู้สึกมากขึ้นถ้าเป็นไปได้ เนื่องจากความโกรธมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกอื่นๆ ที่เฉพาะเจาะจงกับสถานการณ์เกือบจะตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลูกของคุณอาจจะโกรธที่น้องชายเข้ามาในห้องของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต ลูกของคุณอาจจะรู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิ์เล็กน้อยอีกด้วย
  5. อะไรที่ได้ผลกับผู้ใหญ่ก็ได้ผลกับเด็กเช่นกัน ถ้าคุณสังเกตเห็นลูกวัยรุ่นหรือลูกเล็กของคุณหัวเสียมาสักพักแล้ว ให้นั่งลงกับเขาแล้วนับให้เขาออกมาดังๆ หายใจลึกๆ กับเขาสักสองสามครั้ง หายใจเข้านับถึงสี่ กลั้นไว้และนับสี่ และหายใจออกนับสี่
    • ยินดีให้ลูกของคุณระเบิดอารมณ์สักประเดี๋ยวและสงบอารมณ์ลงด้วยตัวเอง เขาจะต้องการทักษะนี้ไปตลอดชีวิตของเขา นอกจากนี้เด็กบางคนชอบสงบอารมณ์ตัวเองมากกว่า
  6. เป็นไปได้ที่จะหันเหความสนใจของเด็กบางคนนานพอที่จะทำให้พวกเขาก้าวผ่านสิ่งที่พวกเขามุ่งความสนใจอยู่ ซึ่งนี่เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กเล็กๆ สิ่งล่อใจเป็นวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกเพื่อสงบอารมณ์ของพวกเขาลง
    • เปลี่ยนทัศนียภาพและพาลูกของคุณออกไปที่โรงรถเพื่อให้เขาช่วยคุณทำเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งงานเล็กๆ อย่างนี้อาจจะช่วยเบนความสนใจของเขาไปจากสิ่งที่ทำให้เขาอารมณ์เสีย จากนั้นคุณอาจจะหารือเกี่ยวกับปัญหานั้นกับเขาทีหลังก็ได้
  7. เมื่อลูกของคุณหารือถึงปัญหาของเขาและสิ่งที่ทำให้เขาโกรธ ก็ให้ฟังเขาอย่างระมัดระวัง ถอดความและสรุปสิ่งที่คุณคิดว่าเขาได้พูด ซึ่งนี่จะแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังสนใจติดตามเรื่องของเขาอยู่
    • สำหรับเด็กๆ แล้ว สิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญคือการสอนพวกเขาถึงความแตกต่างระหว่างความรู้สึกและพฤติกรรม ความโกรธหรือไม่พอใจนั้นไม่เป็นไรเลย แต่เราต้องแสดงออกมาในทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่แสดงความโกรธของพวกเขาออกมาและชกตี เตะ หรือทำลายข้าวของ
    • ถามคำถาม. ลูกของคุณอาจจะยังอารมณ์เสียและพูดเรื่องของเขาวกวนไปมา การถามคำถามจะสามารถช่วยให้ลูกของคุณจัดระเบียบความคิดของเขาได้ด้วย
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอะไรบางอย่างที่โรงเรียนทำให้ลูกของคุณอารมณ์เสีย ให้พยายามสรุปสิ่งที่เขากำลังพูด: "ไหนขอดูว่าแม่/พ่อตามเรื่องของลูกทันไหมนะ บิลลี่ผลักลูกตอนกินข้าวกลางวัน ลูกบอกครู แต่ครูแค่บอกให้เขาหยุด แต่ลูกรู้สึกว่าครูน่าจะลงโทษเขา แม่/พ่อเข้าใจถูกไหมจ๊ะ"
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกของคุณทะเลาะกับเพื่อนๆ ให้รับรู้ว่าลูกของคุณมีสิทธิ์โกรธและอารมณ์เสีย ลูกของคุณอาจจะกำลังรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งอาจจะใช้เวลาสักพักกว่าความรู้สึกเหล่านี้จะคืนสู่สภาพปกติ แต่ให้ทำให้ลูกของคุณมั่นใจว่าความรู้สึกนี้จะจางหายไปในที่สุด
  8. นี่จะเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความโกรธและมุ่งความสนใจไปที่การแก้ไขปัญหา ส่งเสริมให้ลูกของคุณคิดเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาที่ส่งผลดีต่อทุกคน ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในบ้าน
    • คุณสามารถให้คำแนะนำบางอย่างได้ด้วย แต่การให้ลูกของคุณหาวิธีแก้ปัญหาเองก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน ลูกของคุณอาจจะรู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ได้มากขึ้นเมื่อเขากำหนดวิธีการแก้ปัญหา เขายังได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาของตัวเองซึ่งเป็นทักษะที่เขาจะต้องการไปทั้งชีวิต
  9. คุณกำลังสอนทักษะชีวิตที่สำคัญให้ลูกของคุณ ดังนั้นการทำตามขั้นตอนเหล่านี้ในแต่ละครั้งและทุกครั้งจะช่วยให้บทเรียนนี้ซึมซับเข้าไป
  10. ในบางกรณีลูกของคุณอาจจะโกรธเพราะว่าเขาถูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการข่มเหงรังแกหรือเพราะการปฏิบัติอย่างใจร้ายจากเพื่อนๆ ซึ่งลูกของคุณอาจจะมีเหตุผลที่ดีจริงๆ ที่จะโกรธก็ได้
    • ถ้ามีสถานการณ์ที่ลูกของคุณต้องการการปกป้อง เช่น เหตุการณ์การข่มเหงรังแก ให้อธิบายวิธีที่ควรจะใช้จัดการสถานการณ์แบบนี้อย่างแน่วแน่ ไปขอความช่วยเหลือจากผู้อำนวยการโรงเรียนและแจ้งเตือนครูผู้สอนลูกของคุณ ติดต่อสายการบังคับบัญชาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวิธีแก้ปัญหาในเชิงบวก
    • การอดทนในสถานการณ์ที่ยากลำบากจะช่วยแสดงให้ลูกของคุณเห็นว่าการหาทางแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

การรับรองความปลอดภัยของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการอยู่กับคนที่กำลังโกรธเกือบตลอดหรือตลอดเวลาคือเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยทางกายภาพส่วนบุคคลของคุณ [14] ถ้าคุณมีเด็กๆ ในบ้านและพวกเขาประสบกับอันตรายต่อความปลอดภัยทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของพวกเขา หรือพวกเขาเป็นพยานรู้เห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คุณจำเป็นต้องรับรองความปลอดภัยให้ตัวเองและความปลอดภัยของลูกๆ ของคุณด้วย
    • มีแผนเพื่อให้คุณรู้ว่าจะทำอย่างไรถ้าคุณอยู่ในอันตราย
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้มีสถานที่ทางเลือกให้พักอยู่หรืออยู่ในเซฟเฮาส์เพื่อรับรองความปลอดภัยของคุณ
    • ใช้รหัสกับลูกๆ ของคุณที่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ทุกคนอยู่ในอันตราย สอนพวกเขาว่าจะต้องทำอะไรในกรณีที่คุณใช้รหัส (ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาควรจะออกจากบ้านและวิ่งไปบ้านเพื่อนที่ระบุไว้)
  2. บอกให้เพื่อนที่คุณไว้ใจหรือสมาชิกในครอบครัวรู้สถานการณ์ของคุณ. ถ้าทำได้ ให้คุยกับเพื่อน เพื่อนบ้าน หรือสมาชิกในครอบครัวของคุณเกี่ยวกับแผนความปลอดภัย ขอคำแนะนำบทบาทที่เห็นภาพที่คุณอาจจะใช้ได้ถ้าคุณตกอยู่ในอันตราย [15]
  3. ระบุทางออกที่ใกล้ที่สุด ถ้าคุณออกจากบ้านไม่ได้ ให้ระบุบริเวณปลอดภัยของบ้านที่ไม่มีอาวุธหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ทำร้ายคุณได้ [16]
    • จอดรถของคุณโดยหันหน้าออกไปทางถนนและดูแลให้มีน้ำมันเต็มถังอยู่เสมอ
  4. พกโทรศัพท์ติดตัวและบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญต่างๆ ไว้
  5. ถ้าคุณกำลังมีปัญหาในการหลุดพ้นจากสถานการณ์ของคุณ ให้โทรหาสายด่วนความรุนแรงในครอบครัวแห่งชาติ สายด่วนนี้มีพนักงานที่สามารถช่วยให้คุณหาแผนการได้ พวกเขายังสามารถจัดหาที่พักให้คุณไปอาศัยอยู่ได้อีกด้วย
    • หมายเลขสายด่วนความรุนแรงภายในครอบครัว คือ 1-800-799-SAFE (7233) เว็บไซต์ คือ http://www.thehotline.org ส่วนในประเทศไทยคุณสามารถติดต่อสายด่วนศูนย์ประชาบดีที่หมายเลข 1300
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,461 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา