ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคพิษสุราเรื้อรัง สามารถคืบคลานเข้าหาคุณได้หากไม่ระวังตัว เมื่อชีวิตทางสังคมของคุณ มักต้องยุ่งเกี่ยวกับการไปเที่ยวผับบาร์ หรือมีงานพบปะสังสรรค์ทุกสุดสัปดาห์ มันก็ยากที่จะควบคุมการดื่มได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันและวางแผนอย่างจริงจังในการงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเลิก ทั้งนี้ หากคุณล้ำเส้นจากการดื่มตามปกติ ไปเป็นการเริ่มติดสุราเมื่อไรล่ะก็ มันก็ถึงเวลาที่จะต้องมองหาความช่วยเหลือแล้ว หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนบางอย่างข้างล่างแล้ว คุณอาจสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการควบคุมนิสัยการดื่มของตัวเองได้ ก่อนที่โรคพิษสุราเรื้อรังจะถามหา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การลดปริมาณการดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำบ้านของคุณให้ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. มันจะง่ายขึ้นมากในการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนกลายมาเป็นนิสัยร้ายแรง หากคุณเก็บมันไว้ใกล้ตัว หากตู้เก็บสุราของคุณมักจะแน่นอยู่เสมอ คุณมักจะถูกยั่วยุได้ง่าย หากมีไวน์หรือสุราที่กินเหลือทิ้งไว้ หรือมีเบียร์เป็นแพ็คแช่อยู่ในตู้เย็น ก็ยากที่คุณจะหลีกเลี่ยงการดื่ม ขั้นตอนแรกในการหลีกเลี่ยงโรคพิษสุราเรื้อรัง ก็คือ พยายามเอาสิ่งเหล่านี้ออกไปจากตัวบ้าน นอกเสียจากว่า จะมีงานสังสรรค์หรือเอาไว้เสิร์ฟแขกเท่านั้น หากคุณยังไม่ถึงขนาดจะเลิกดื่ม แต่อยากจะลดปริมาณการดื่มให้พอดีๆ แค่การไม่อยู่ท่ามกลางเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว [1]
    • คุณควรหาเครื่องดื่มที่มีรสชาติที่ถูกใจมาไว้ในครัวของคุณ แทนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เวลาที่คุณอยากจะดื่มอะไรให้ชื่นใจ น้ำชา น้ำแร่ น้ำมะนาว รูทเบียร์หรือน้ำอัดลม ก็ยังดีกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วกัน [2]
    • หากคุณมีงานปาร์ตี้แล้วมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลืออยู่เยอะ พยายามมอบให้เพื่อนฝูงไป หากไม่มีใครต้องการมัน ก็เททิ้งท่อระบายน้ำไป อย่าติดกับดักในการคิดว่า คุณต้องดื่มให้หมดไม่งั้นจะรู้สึกเสียดายของ
  2. การดื่มในเวลาที่คุณกำลังเหงา เบื่อ เครียด ซึมเศร้า หรืออารมณ์ในทางลบต่างๆ สามารถนำไปสู่การจะติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ที่จริงแล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลทำให้ซึมเศร้า ดังนั้น มันจะยิ่งทำให้สถานการณ์ของคุณยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ [3] พยายามดื่มเฉพาะในช่วงงานสังสรรค์บางโอกาสเท่านั้น เวลาที่ทุกคนกำลังมีความสุข คุณก็มีเหตุผลที่จะฉลองให้กับตัวเองเหมือนกัน
    • อย่าติดกับดักการดื่มโดยการหาเรื่องฉลองทุกวัน พยายามให้มั่นใจว่า คุณดื่มเฉพาะโอกาสพิเศษ เช่น เวลาที่คนรอบข้างมีโอกาสพิเศษ หรือเหตุการณ์บางอย่างให้ฉลองจริงๆ เท่านั้น
  3. หากคุณเป็นคนประเภทที่ชอบดื่มทีเดียวหมดแก้ว ก็อาจจะมีแนวโน้มในการดื่มมากเกินไป ในแต่ละเย็น พยายามจิบให้ช้าๆ ลงหน่อย โดยใช้เวลาให้มากขึ้นในการที่จะกินแต่ละแก้วให้หมด คุณอาจจะช่วยเหลือตัวเองในจุดนี้ได้โดยสั่งเครื่องดื่มแบบเพียวๆ เพื่อที่ว่ามิกเซอร์รสชาติหวานๆ จะได้ไม่มากลบรสของแอลกอฮอล์ ซึ่งมักจะทำให้คุณคิดว่าคุณดื่มน้อยหรือไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลย [4] คุณยังควรดื่มน้ำ 1 แก้วหรือน้ำอัดลม 1 แก้ว ทุกครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแต่ละดื่ม [5]
    • การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ร่างกายคุณไม่ขาดน้ำและสดชื่นอยู่เสมอ คุณจะดื่มสุราแบบหมดแก้วน้อยลง หากร่างกายของคุณไม่ได้กระหายน้ำ
    • อย่าไปเข้าร่วมการแข่งขันดื่มเบียร์หรือกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้คุณต้องบริโภคแอลกอฮอล์ส่วนเกินโดยไม่จำเป็น ในคราวเดียว
  4. จุดประสงค์ของผับบาร์ต่างๆ ก็คือ การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น เมื่อคุณไปสถานที่ดังกล่าว คุณก็จะรู้สึกว่าตัวเองต้องสั่งมาดื่ม แสงไฟสลัวๆ กลิ่นของแอลกอฮอล์ ผสมกับกลิ่นน้ำหอมอันเย้ายวนใจของเพศตรงข้าม รวมถึงบรรยากาศโดยรวม มักจะทำให้คุณยากที่จะห้ามใจ แน่นอนว่า บรรยากาศต่างๆ แบบนี้ มุ่งไปเพื่อให้เกิดการดื่มให้มากที่สุด ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงการไปบาร์ หากคุณต้องการเลิกสุราจริงๆ [6]
    • หากคุณจำเป็นต้องไปร่วมงานสังสรรค์ที่จัดขึ้นที่บาร์ เช่น งานสังสรรค์กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน พยายามสั่งน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หากสถานที่นั้นจำหน่ายอาหารด้วย คุณก็ควรสั่งอาหารเพื่อเอาใจตัวเองสักหน่อย แทนการดื่มแอลกอฮอล์
    • หากคุณไปบาร์เมื่อไร พยายามเลือกบาร์ที่มีอะไรให้ทำมากกว่าแค่นั่งดื่ม เช่น มีโต๊ะพูล มีตู้พินบอล หรือมีเครื่องโยนลูกบาสฯ เป็นต้น เพื่อที่ว่าคุณจะไม่ถูกบังคับให้โฟกัสไปที่การดื่มอย่างเดียว มันจะง่ายขึ้นมาก หากคุณมีสิ่งดึงดูดความสนใจอื่นๆ
  5. คนส่วนใหญ่ใช้เวลาส่วนมากในบาร์ ทั้งๆ ที่พวกเขาสามารถทำสิ่งอื่นๆ ที่สร้างสรรค์กว่า คุณควรแนะนำทางเลือกในการทำกิจกรรมอื่นๆ ให้กับกลุ่มเพื่อนของคุณบ้าง ในเวลาสังสรรค์กันครั้งต่อไป อาจจะเป็นการจีบสาว หรือไปเดินเล่น หรือปั่นจักรยาน หรือไปดูหนังฯ ฟังดนตรี ดูละคร ดูงานนิทรรศการศิลปะ หรือกิจกรรมใดก็ตาม โดยเลือกสถานที่ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขาย หรือเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการดื่ม
    • ไม่เพียงจะช่วยให้คุณลดการดื่มได้เท่านั้น มันยังทำให้คุณสุขภาพดี อันเกิดจากการทำกิจกรรมมากขึ้น [7]
  6. หลายคนยังมักจะคะยั้นคะยอให้คุณดื่ม แม้ว่าคุณจะชวนเขาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกบาร์แล้วก็ตาม เช่น พวกเขาอาจเอาถุงสีน้ำตาลห่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอบเอาเข้าไปกินในโรงหนัง หรือนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เย็นๆ ไปด้วยในเวลาทำกิจกรรมการแจ้งร่วมกัน หากคุณจริงจังในการเลิกดื่มจริงๆ พยายามวางแผนที่จะใช้เวลาร่วมกับคนเหล่านี้ให้น้อยลง ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญหน้ากับแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่อยากหากิจกรรมอย่างอื่นทำเพื่อความบันเทิง
    • แน่นอนว่า มันอาจต้องตัดใครบางคนออกจากชีวิตคุณ หากเขาเป็นปัญหาในเรื่องนี้ แต่หากคุณชอบพอกับพวกเขาจริงๆ พยายามรู้จักปฏิเสธอย่างแข็งขันในเวลาที่อยู่กับพวกเขา การที่พวกเขาดื่ม ไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องดื่มด้วย [8] นอกจากนี้ บางครั้งพวกเขายังอาจร่วมเลิกสุราไปกับคุณด้วย
  7. นี่เป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้คุณเลิกดื่มได้ การดื่มทำให้หลายๆ คนมีท่าทางเชื่องช้าและเฉื่อยชา นอกจากนี้ ยังทำให้มีพุงและน้ำหนักเพิ่มด้วย [9] หากคุณตั้งเป้าไว้ว่า จะมีร่างกายที่ฟิต คุณจะเริ่มมีทัศนคติในทางลบต่อแอลกอฮอล์ได้เอง
    • ลองเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอน หรือร่วมทีมกีฬาอย่างใดอย่างหนึ่งในละแวกใกล้บ้านคุณ แล้วคุณจะพบว่า คุณอาจจำเป็นต้องงดแอลกอฮอล์ในคืนก่อนที่จะมีการแข่งขัน
    • นอกจากการออกกำลังกายแล้ว พยายามกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ และดูแลตัวเองในเรื่องทั่วๆ ไป จะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง
  8. หากคุณลดปริมาณการดื่มลงอย่างมีนัยยะสำคัญ คุณอาจจะมีอาการที่เกิดจากการเลิกสุรา ซึ่งเป็นได้ทั้งอาการทางใจและอาการทางกาย ที่คุณอาจจะต้องประสบ การเลิกสุราส่งผลให้มือสั่น เกิดความหงุดหงิด ตัวสั่นและความรู้สึกเมื่อยล้า นอนหลับยากขึ้น สมาธิน้อยลงและฝันร้าย
    • หากคุณเป็นคนดื่มหนัก คุณอาจจะประสบอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เบื่ออาหารและใจสั่น [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วางแผนเลิกสุราอย่างจริงจัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเลิกสุราอาจจะยากสำหรับบางคน มากกว่าบางคน บางคนอาจดื่มได้ทุกวัน โดยไม่เกิดอาการดื้อยาหรือให้โทษ ในขณะที่อีกหลายๆ คน หากดื่มทุกวัน อาจทำให้เกิดอาการดื้อของร่างกายและจำเป็นต้องดื่มในปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การดื่มหนักขึ้น และกลายเป็นพิษสุราเรื้อรังในที่สุด คุณควรที่จะควบคุมการดื่มในแต่ละวันเป็นไปในปริมาณคงที่
    • จากข้อมูลของ USDA การดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ก็คือ ประมาณ 1 แก้วต่อวัน (สำหรับผู้หญิง) และ 2 แก้วต่อวัน (สำหรับผู้ชาย) [11] หากคุณดื่มมากกว่าปริมาณนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาต่อเนื่องกันระยะหนึ่ง จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง [12]
    • อาจจะจำง่ายๆ ว่า ไม่ควรดื่มเกิน 7 แก้วต่อสัปดาห์ (สำหรับผู้หญิง) หรือ 14 แก้วต่อสัปดาห์ (สำหรับผู้ชาย) หากมากกว่านี้ ก็จัดว่าเป็นการดื่มที่มากเกินไปแล้ว พยายามจำกัดให้อยู่ภายใต้ลิมิตนี้ [13]
    • การมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีอาการซึมเศร้า จะทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการติดสุราได้มากขึ้นด้วย [14]
  2. หากคุณตัดสินใจแล้วว่า การดื่มขั้นสูงสุดของคุณควรเป็น 3 แก้วต่อสัปดาห์ ก็เขียนมันลงไปว่า “ฉันจะไม่ดื่มมากกว่า 3 แก้วต่อสัปดาห์” และพยายามทำตามพันธะสัญญาที่ให้กับตัวเองไว้ [15] แปะกระดาษดังกล่าวไว้บนกระจก เอาไว้ในกระเป๋าหรือในที่ๆ เห็นได้ง่ายๆ เพื่อที่จะเป็นการย้ำเตือนความจำของตัวเองทุกวันและมุ่งมั่นในการเลิกสุรา
    • คุณอาจจะเขียนเหตุผลในการเลิกสุราไว้ด้วยก็ได้ เช่น "ฉันต้องการมีสุขภาพดีขึ้น" หรือ "ฉันไม่อยากจะถูกโดดเดี่ยวจากครอบครัวและเพื่อนฝูงอีกแล้ว" [16]
    • แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การเขียนสัญญากับตัวเองไว้บนกระดาษก็ช่วยได้มาก
  3. วิธีที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง ในการเข้าใจว่า คุณดื่มไปเท่าไรแล้ว ก็คือการบันทึกไว้นั่นเอง คุณอาจจะพกกระดาษที่จดบันทึกเอาไว้ติดตัว เพื่อคอยทำการจดบันทึกการดื่มในสัปดาห์นั้นๆ คุณอาจจะจดลงไปในกระดาษ หรือบนบอร์ดกระดานในบ้านของคุณก็ได้ หากคุณดื่มมากขณะที่ออกไปเที่ยวข้างนอก คุณก็อาจจะลงบนเศษกระดาษ หรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือของคุณว่า ดื่มไปมากเท่าไรแล้ว และเอามาอ่านทบทวนทุกครั้งในแต่ละสัปดาห์ แล้วคุณจะประหลาดใจที่ได้เห็นปริมาณจากข้อมูลที่บันทึกไว้ [17]
    • การซื่อสัตย์ต่อตัวเองในการดื่มแต่ละครั้ง จะช่วยให้คุณมีสติกับการดื่มและช่วยให้คุณเลิกสุราได้ง่ายขึ้น
    • หากคุณพบว่า ตัวเองดื่มมากกว่าที่คิดไว้ คุณก็สามารถที่จะหาสมุดบันทึกส่วนตัวมาจดทุกครั้งที่ดื่ม คุณอาจจะเขียนเหตุผลที่ดื่มในแต่ละครั้งไปด้วยก็ได้ รวมถึงอารมณ์ที่คุณประสบก่อนที่จะดื่ม และความรู้สึกของคุณที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น จะช่วยให้คุณมองเห็นรูปแบบของอารมณ์ตัวเอง [18]
    • เขียนรายละเอียดสิ่งกระตุ้น และสถานการณ์ที่ทำให้คุณยากที่จะหลีกเลี่ยงการดื่ม เมื่อถึงช่วงสุดสัปดาห์ คุณจะได้รู้ว่า มีอะไรบ้างที่คุณต้องหลีกเลี่ยง [19]
  4. เป็นบางช่วงเวลา คุณอาจตัดสินใจที่จะเลิกดื่มสักสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ดูก่อน จะช่วยให้ร่างกายคุณได้พัก หรือหนีออกจากจากกิจวัตรประจำวันตามปกติ ทั้งนี้ คุณอาจจะตั้งเป้าไว้ให้น้อยกว่านี้สักหน่อย โดยเลือกที่จะงดสุราให้ได้อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ก็ได้ [20]
    • อย่างเช่น หากคุณมีนิสัยติดการดื่มไวน์ทุกคืน หากให้ตัวเองได้เลิกสักคืนหนึ่งหรือสองคืน จะช่วยปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของคุณและร่างกายของคุณ จนรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ติดการดื่มทุกวัน
    • หากคุณเป็นคนดื่มหนัก คุณอาจจะมีอาการจากการเลิกดื่มด้วย พยายามใส่ใจและสังเกตอาการ ความรู้สึกของตัวเองที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หากคุณมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงในขั้นตอนระหว่างนี้ คุณต้องไปหาหมอให้เร็วที่สุด
  5. ไปตลอดช่วงระยะเวลาของการงดสุรา พยายามจดบันทึกความคืบหน้าทุกสัปดาห์ ลองประเมินดูว่า คุณคิดว่าสามารถควบคุมนิสัยการดื่มได้หรือยัง คุณประสบความสำเร็จในการงดการบริโภคลง ตามที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า หรือคุณสามารถจัดการกับแรงกระตุ้นหรือความอยากของตัวเองได้ไหม [21] หากคุณรู้สึกว่าการดื่มของคุณควบคุมไม่ได้ ต่อให้คุณพยายามอย่างไรในการยับยั้งมันแล้วก็ตาม มันก็อาจจะถึงเวลาที่คุณต้องมองหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นแล้ว
    • หากคุณไม่สามารถลด หรือจำกัดการบริโภคให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำได้ โดยไม่เกิดอาการข้างเคียง หรือไม่สามารถปฏิเสธการดื่มได้ หรือรู้สึกมืดมนหมดหนทาง และมีสัญญาณบางอย่างของโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรมองหาความช่วยเหลือทันที
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การมองหาความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักและยอมรับก่อนว่า คุณต้องการความช่วยเหลือ. คุณจำเป็นต้องมองหาความช่วยเหลือทันที หากคุณประเมินแล้วว่า การดื่มของคุณอยู่นอกเหนือการควบคุม หากคุณประสบปัญหาเฉพาะหน้าใดๆ แสดงว่าคุณกำลังดื่มเกินปริมาณ ซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ง่าย คุณจะถือว่าอยู่ในความเสี่ยงมาก หากคุณไม่สามารถดื่มในแก้วเดียว โดยไม่มีแก้วอื่นๆ ตามมา หรือต้องดื่มจนเมาทุกครั้ง รวมถึงต้องดื่มแม้ขณะขับรถหรือกำลังยุ่งเกี่ยวกับยานยนต์ประเภทใดๆ ก็ตาม แม้ว่าคุณจะรู้อยู่แก่ใจว่าการใช้แอลกอฮอล์ในสถานการณ์เหล่านี้จะผิดกฎหมายและอันตรายมาก
    • หากคุณมีความรู้สึกอยากดื่มทุกเช้า-เย็น มีอาการหงุดหงิดมากขึ้น หรือมีอารมณ์แปรปรวน หรือแอบดื่มในที่ลับ ซุกซ่อนเครื่องดื่ม มีอาการซึมเศร้า หรือมีอาการตัวสั่น คุณควรมองหาความช่วยเหลือโดยด่วน
    • คุณยังควรจะมองหาความช่วยเหลือด้วย หากกิจวัตรประจำวันและหน้าที่ของคุณถูกละเลยอันเป็นผลจากการดื่ม คุณอาจจะละเลยหน้าที่เหล่านั้น เพราะคุณมัวยุ่งกับการดื่ม หรือคุณเกิดอาการแฮงค์ที่ทำให้ไม่สามารถไปทำงานหรือไปเรียนได้ [22]
    • คุณจะถือว่าตกอยู่ในความเสี่ยง หากคุณต้องมีข้อพิพาททางกฎหมายอันเกิดจากการดื่ม เช่น การถูกจับกุมในข้อหาเมาในที่สาธารณะ หรือเกิดการต่อสู้ทะเลาะวิวาทขณะเมา ดื่มและสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น รวมถึงถูกจับเพราะขับขี่ในขณะมึนเมา
    • คุณควรจะเริ่มกังวลได้แล้ว หากคุณเอาแต่ดื่ม แม้กระทั่งหลังจากที่คนรอบข้างคุณแสดงความห่วงใยคุณ เวลาที่นิสัยการดื่มของคุณเป็นปัญหาในระดับหนึ่ง ซึ่งคนอื่นมองเห็นได้ชัดเจน คุณก็ควรเริ่มมองหาความช่วยเหลือได้แล้ว
    • คุณไม่ควรใช้การดื่มเป็นวิธีในการแก้ปัญหา มันเป็นวิธีที่ให้โทษอย่างมากในการที่ใช้แอลกอฮอล์จัดการกับความเครียด ความซึมเศร้า หรือปัญหาอื่นๆ หากคุณมีแนวโน้มในการทำเรื่องดังกล่าว ก็ต้องมองหาความช่วยเหลือ [23]
  2. ซึ่งการอบรมนี้ จะมีขั้นตอนโปรแกรม 12 ขั้นตอน ที่จัดขึ้นและสามารถช่วยคนที่ติดแอลกอฮอล์มาได้มากมายแล้ว [24] แม้ว่า คุณอาจจะรู้สึกว่า ตัวเองยังไม่ถึงขั้นติดสุราร้ายแรง แต่การเข้าโปรแกรมดังกล่าวก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้นิสัยติดสุราของคุณรุนแรงขึ้นได้ เมื่อคุณเข้าร่วมโปรแกรมนี้ คุณจะมีสปอนเซอร์ 1 คน ซึ่งเป็นผู้ที่คุณสามารถโทรหา เพื่อปรึกษาเวลาที่คุณเกิดความอยาก หรือรู้สึกว่า อาการมันอยู่เหนือการควบคุมของตัวเอง [25]
    • คุณยังจะได้เรียนรู้และได้ตระหนักว่า คุณจะดื่มต่อไปโดยไม่เป็นอันตรายไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น มันจึงสำคัญที่คุณจะมีแรงหนุนใจจากใครบางคน เพื่อให้คุณรับมือกับความจริงดังกล่าว และช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอิทธิพลทางด้านลบของมัน ให้ออกไปจากชีวิตคุณ
    • คุณสามารถค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ในข้อมูลเกี่ยวกับ AA ในพื้นที่ของคุณ
    • AAนั้นเป็นองค์กรที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อแบบคริสเตียน ดังนั้น คุณควรเข้าร่วมเมื่อคุณรู้สึกสบายใจในจุดนี้เท่านั้น พวกเขาใช้ข้อความทางศาสนาในการให้คำแนะนำร่วมด้วย เพื่อให้คุณบำบัดและมีการจัดสรรสปอนเซอร์ รวมถึงกลุ่มหนุนใจ ร่วมกับการสอนดังกล่าวด้วย [26]
  3. ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในอีกหลายประเทศ จะมีโปรแกรมบำบัดที่ชื่อว่า SMART Recovery ซึ่งนำเทคนิคการบำบัดความคิดและพฤติกรรมทางจิตวิทยามาใช้ เพื่อค้นหาปัจจัยทางอารมณ์และสิ่งแวดล้อม อันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมาติดสุรา และหาทางรับมือปมปัญหาเหล่านั้นให้กับคุณใหม่ อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมองว่า โรคพิษสุราเรื้อรังเป็นเชื้อร้ายแต่อย่างใด
    • มันเป็นโปรแกรมที่เน้นไปที่การเลิกดื่มแบบเด็ดขาด หากใครยังมีความลังเลอยู่ พวกเขาก็ยินดีให้คำปรึกษาเช่นกัน มันเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเรียนรู้ทฤษฎีอะไรมากมาย แต่มีแรงจูงใจอยากเลิกดื่ม เพราะเน้นไปที่การดึงศักยภาพในตนเองมาใช้ และเต็มใจในการมีส่วนร่วมเองมากกว่า ไม่เหมือน AA ที่เน้นไปที่การช่วยเหลือจากคนในกลุ่ม [27]
    • หากคุณเป็นคนไทยในสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่มีโปรแกรม SMART Recovery ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอินเตอร์เน็ท อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย คุณอาจมองหาหรือเข้าร่วมบำบัดกับทาง Hope Rehab Center ซึ่งมีโปรแกรมที่เน้นการเลิกเหล้าแบบเด็ดขาด ทั้งระยะสั้นและยาว และดำเนินงานภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเช่นกัน คุณสามารถค้นหาจากคำชื่อองค์กรดังกล่าวทางอินเตอร์เน็ต และโทรติดต่อเพื่อปรึกษาและพูดคุยกับพวกเขาในเบื้องต้น [28]
  4. หากคุณเป็นคนไทยในต่างแดน ซึ่งไม่สนใจการเข้าร่วมโปรแกรมบำบัดอย่าง AA หรือองค์กรใดๆ ที่มักนำความเชื่อทางศาสนามาเกี่ยวข้อง ก็อาจเข้าร่วมโปรแกรมของ Secular Organizations for Sobriety (SOS) ซึ่งเน้นไปที่การฝึกให้คุณรับผิดชอบต่อนิสัยการดื่มของตนเอง โดยพวกเขาจะทำทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่า คุณสามารถเลิกดื่มได้เด็ดขาดและไม่กลับไปดื่มอีก เหมือนกับ AA และ SMART Recovery นั่นเอง
    • คุณอาจจะลองใช้บริการศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413 ซึ่งเป็นบริการในประเทศและเป็นของคนไทยเราเองแท้ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่การให้คุณมีความเข้าใจในผลดี-ผลเสียของการดื่ม จนกระทั่ง คุณสามารถเลิกดื่มได้จากความเข้าใจที่ถูกต้อง [29]
    • ส่วนทางเลือกเพิ่มเติมเกี่ยวกลุ่มในการช่วยเหลือบำบัด ที่อาจเหมาะสมกับคุณ คือ โปรแกรมบำบัดของสายด่วนชาวพุทธ หรือ Buddhist online ซึ่งมีการนำพระธรรมคำสอนมาร่วมด้วย ซึ่งมีเครือข่ายหนุนใจอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่นกัน แต่ไม่เสียค่าใช้จ่าย เปิดรับเพียงเงินบริจาคเท่านั้น [30]
  5. การได้รับการดูแลอย่างส่วนตัวจากนักบำบัด ก็ถือเป็นวิธีที่ดีหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการติดการดื่มสุรา เพราะที่จริงแล้วนิสัยดังกล่าว อาจจะมีผลมาจากเบื้องลึกทางใจบางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการขุดคุ้ยขึ้นมา ก่อนที่คุณจะสามารถยับยั้งใจในการดื่มได้ ซึ่งนิสัยการดื่มของคุณอาจเกิดจากความเจ็บปวดหรือเรื่องเลวร้ายในวัยเด็กเกิดจากความเครียดแบบสุดขั้ว เกิดจากอาการป่วยทางจิตต่างๆ เหล่านี้ การบำบัดก็จะสามารถระบุปัญหาออกมาได้ และออกแบบแผนการบำบัดแบบตัวต่อตัว เพื่อที่ช่วยให้คุณฟื้นฟูตัวเองได้
    • นักบำบัดยังสามารถช่วยได้ ในกรณีที่คุณกังวลเกี่ยวกับการถูกกดดันจากเพื่อนฝูง หรือจากสังคมในการดื่ม และไม่รู้ว่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ได้อย่างไร รวมถึงหากคุณมีความรู้สึกผิด เมื่อกลับไปยุ่งเกี่ยวกับการดื่มอีก เขาหรือเธอ (นักบำบัด) จะทำให้คุณหายจากอาการรู้สึกผิด และทำให้คุณมีจิตใจเข้มแข็งมากขึ้น ในเส้นทางของการเลิกดื่มนี้ [31]
  6. มองหาความช่วยเหลือจากคนที่คุณรักและเพื่อนฝูง. การเลิกดื่มสุรา จะยากมากขึ้น หากคุณทำมันเพียงลำพัง พยายามบอกปัญหาของคุณให้คนรักหรือเพื่อนฝูงทราบว่า คุณกำลังมองหาความช่วยเหลือในการเลิกดื่ม จงขอความสนับสนุนและกำลังใจจากพวกเขา ระหว่างที่เดินบนเส้นทางนี้ ด้วยการขอร้องพวกเขาว่า อย่าชวนคุณไปผับ บาร์ หรือเสนอเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้คุณ นี่ถือเป็นการทำให้คุณรู้จักรับผิดชอบต่อทางเลือกของตัวเองและซื่อสัตย์ เพราะว่าคุณจะมีคนอื่นๆ คอยช่วยสอดส่องพฤติกรรมของคุณอยู่ด้วย [32]
    • ลองถามคนรอบข้างดูว่า จะมีกิจกรรมใดที่คุณสามารถทำร่วมกับพวกเขาได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องดื่มหรือไม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้นในแต่ละวัน เพราะไม่เพียงแต่มันจะช่วยไม่ให้คุณไม่ขาดน้ำเท่านั้น แต่มันจะทำให้คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยลงด้วย เพราะคุณจะไม่รู้สึกกระหายน้ำ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ความยับยั้งชั่งใจน้อยลง ดังนั้น จงระวังไว้ว่าคุณอาจจะไปทำในสิ่งที่ปกติแล้วคุณไม่ทำเวลาที่คุณเกิดอาการเมา
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นยาพิษหรือสิ่งให้โทษต่อร่างกาย และการดื่มมันไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย คุณสามารถจะหลีกเลี่ยงมันโดยสมบูรณ์เลยก็ได้ หรือหาเครื่องดื่มทางเลือกที่ไม่มีแอลกอฮอล์ก็ได้ตามท้องตลาดทั่วไป แต่ระวังให้ดีว่า เครื่องดื่มพวกนี้ บางยี่ห้ออาจจะแฝงแอลกอฮอล์ไว้เล็กน้อยด้วย
โฆษณา
  1. https://www.drinkaware.co.uk/make-a-change/how-to-cut-down/how-to-stop-drinking-alcohol
  2. http://www.fns.usda.gov/sites/default/files/Chapter3.pdf
  3. http://www.mayoclinic.com/health/alcoholism/DS00340/DSECTION=risk-factors
  4. http://www.fns.usda.gov/sites/default/files/Chapter3.pdf
  5. http://www.mayoclinic.com/health/alcoholism/DS00340/DSECTION=risk-factors
  6. http://rethinkingdrinking.niaaa.nih.gov/strategies/tipstotry.asp
  7. http://www.collegedrinkingprevention.gov/otheralcoholinformation/cutdownondrinking.aspx
  8. http://rethinkingdrinking.niaaa.nih.gov/strategies/tipstotry.asp
  9. http://www.collegedrinkingprevention.gov/otheralcoholinformation/cutdownondrinking.aspx
  10. http://rethinkingdrinking.niaaa.nih.gov/strategies/tipstotry.asp
  11. http://www.drinksmarter.org/cutting-back
  12. http://rethinkingdrinking.niaaa.nih.gov/strategies/tipstotry.asp
  13. http://www.helpguide.org/mental/alcohol_abuse_alcoholism_signs_effects_treatment.htm
  14. http://www.helpguide.org/mental/alcohol_abuse_alcoholism_signs_effects_treatment.htm
  15. http://www.aa.org/
  16. http://www.recovery.org/topics/preventing-alcohol-relapse-for-you-and-your-loved-ones/
  17. http://www.aa.org/
  18. http://www.rehabs.com/pro-talk-articles/if-not-aa-then-what-alternatives-to-12-step-groups/
  19. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2623
  20. http://www.1413.in.th/
  21. http://www.buddhisthotline.com/index.php?page=frmanswerpublish&qus_id=562
  22. http://www.recovery.org/topics/preventing-alcohol-relapse-for-you-and-your-loved-ones/
  23. https://www.drinkaware.co.uk/make-a-change/how-to-cut-down/how-to-stop-drinking-alcohol

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,809 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา