ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการคลื่นไส้คือความรู้สึกไม่ดีในช่องท้องที่นำไปสู่การอาเจียน ซึ่งมีสาเหตุได้จากหลายอย่าง เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด การเมาเรือ และการแพ้ท้อง การคลื่นไส้อาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงก็ได้ เช่น อาหารเป็นพิษ หรือไข้หวัดใหญ่ลงท้อง ดังนั้นหากอาการคลื่นไส้ไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงควรไปพบแพทย์ หากการคลื่นไส้มีสาเหตุมาจากอาการป่วยที่ไม่ร้ายแรง หรือมาจากความวิตกกังวลและความเครียด นี่คือวิธีที่สามารถลองทำได้เพื่อให้หายจากการคลื่นไส้ในทันที

สิ่งที่คุณควรรู้

  • หายจากอาการคลื่นไส้โดยไวด้วยการนอนในที่เงียบๆโดยยกหัวขึ้น สูดหายใจลึกๆ
  • ลองสวมสร้อยข้อมือกดจุดเพื่อลดอาการคลื่นไส้ ลองยืดเหยียดหรือโยคะเช่นท่าน้ำตก
  • จิบน้ำหรือน้ำซุปใสเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ ทานอาหารอย่างกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล หรือขนมปัง
ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ลงมือทำทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการคลื่นไส้นั้นถูกกระตุ้นหรือทำให้แย่ลงได้ด้วยการเคลื่อนไหวไปมา ลองพักด้วยการนั่งในที่เงียบๆ หรือนั่งบนเตียงหรือพรมในห้อง หากยังรู้สึกคลื่นไส้ ค่อยๆ เอนตัวลงนอนราบแต่ยกหัวขึ้นด้วยอะไรก็ได้ แต่แนะนำให้เป็นหมอน (ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายกว่าและสบายกว่า) [1]
    • หากสามารถผ่อนคลายเพียงพอ การงีบก็สามารถทำให้หายคลื่นไส้ได้ เราจะรู้สึกดีขึ้นตอนที่ตื่น
    • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ ที่ไม่รัดช่วงเอวหรือท้อง [2]
  2. การหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปจะช่วยล้างปอด ลดความวิตกกังวล และช่วยให้ท้องรู้สึกดีขึ้น [3]
    • นั่งในที่เงียบๆ และหลับตาลง พยายามคิดถึงเรื่องอื่นนอกจากอาการคลื่นไส้ของเรา (เพื่อให้เลิกคิดถึงความรู้สึกคลื่นไส้)
    • การปวดหัวสามารถเกิดจากการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์นานเกินไป จึงควรพยายามพักโดยไม่ดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือ [4] ะเราคงไม่ต้องการเพิ่มอาการปวดหัวเข้ากับอาการคลื่นไส้อีกจริงไหม
    • หายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูกและกลั้นเอาไว้ก่อน จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกจากทางปากช้าๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
  3. อาการคลื่นไส้อาจมีสาเหตุจากไข้ แต่ถึงจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ตาม อุณหภูมิร่างกายอาจจะสูงขึ้นจากปกติเป็นผลจากการคลื่นไส้ อุณหภูมิที่เย็นจะช่วยให้อุณหภูมิร่างกายคงที่ [5]
    • ใช้ผ้าขนหนูสะอาดจุ่มน้ำเย็น ประคบรองใต้คอหากนอนหงายอยู่ หากกำลังนั่ง ให้พาดรอบคอ
  4. ดูหนัง โทรหาเพื่อน หรือทำกิจกรรมเบาๆ อย่างอื่นที่จะป้องกันไม่ให้เราคิดถึงแต่อาการคลื่นไส้ [6]
    • อาการคลื่นไส้บางอย่างอาจถูกกระตุ้นหรือแย่ลงได้ด้วยความวิตกกังวล การเลิกคิดเรื่องที่กังวลอื่นๆ จะช่วยให้หายจากอาการคลื่นไส้ได้
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิสูง ยกตัวอย่างเช่น การอ่านหรือการเขียนที่ต้องใช้สายตาโฟกัสบนเนื้อหาเป็นเวลานาน อาจทำให้ปวดตาได้ ในเวลาปกติการปวดตานี้อาจจะไม่มีผลอะไร แต่เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ อาการปวดหรือตึงใดๆ ก็อาจทำให้อาการแย่ลง
    • เลื่อนกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายหนักๆ ออกไปก่อน ในขณะที่การขยับเบาๆ จะช่วยอาการคลื่นไส้ แต่กิจกรรมทางกายจะทำให้เกิดแรงกดกับท้องซึ่งจะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง
  5. ต่อมรับกลิ่นของเรานั้นติดต่อกับระบบย่อยอาหาร ดังนั้นกลิ่นฉุนๆ สามารถส่งผลให้กระเพาะของเราขยักขย้อนและทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง (หลีกเลี่ยงพวกกลิ่นสีอย่างเด็ดขาด) [7]
    • อย่าทำอาหาร สูบบุหรี่ หรือใช้น้ำหอม ที่จริงแล้วหากเป็นไปได้ ควรหนีจากบริเวณที่มีคนกำลังทำอาหาร สูบบุหรี่ หรือใส่น้ำหอมฉุนๆ ไปเลย
    • ในทางตรงข้าม ลองใช้กลิ่นมาบำบัดอาการคลื่นไส้ กลิ่นสบายจมูกอย่างคาโมไมล์ ขิง ส้ม เลม่อน หรือเปปเปอร์มินต์ [8]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ใช้การกดจุดและการยืดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้โค้งเป็นรูปตัวซี (C) แล้วกดลงแน่นๆ บนร่องระหว่างเส้นเลือดใหญ่สองเส้นบนข้อมือด้านในที่เป็นบริเวณล่างฝ่ามือ (จุดกด P6) กดทิ้งไว้ 30 วินาทีถึง 1 นาที แล้วจึงปล่อยนิ้วจากข้อมือ ควรรู้สึกว่าอาการคลื่นไส้ดีขึ้นหรือหายไปหรือยัง [9]
    • การกดจุดคือศาสตร์โบราณของจีนที่จะใช้แรงกดลงบนพื้นที่บนร่างกาย โดยใช้นิ้วมือ การกดจุดเหมือนกับการฝังเข็มคือรักษาโดยไปเปลี่ยนแปลงสัญญาณความเจ็บปวดที่เส้นประสาทส่งไปยังสมอง [10]
  2. หากต้องการให้มือว่าง ก็สามารถกดจุดได้ด้วยการใช้สร้อยข้อมือสำหรับกดจุดหรือสำหรับแก้เมา สร้อยนี้จะมีปุ่มที่กดลงบนจุดบนข้อมือเราอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นในระหว่างวัน [11]
  3. การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ จะช่วยให้ความปวดที่หลังและคอดีขึ้นและช่วยให้หายจากอาการคลื่นไส้ [12]
    • ในการคลายกล้ามเนื้อหลังด้านบน ทำท่าขัดสมาธิหน้าคว่ำ นั่งขัดสมาธิบนพื้นและเอนตัวไปข้างหน้า หยุดเอนตัวไปข้างหน้าเมื่อตัวเราทำมุม 45 องศากับขา วางแขนบนเก้าอี้ข้างหน้าเรา หากมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ก็สามารถเอนตัวไปข้างหน้าจนหน้าผากแตะพื้นและแขนยืดไปข้างหน้าได้
    • ในการคลายกล้ามเนื้อคอ นั่งบนเก้าอี้ ผ่อนคลายไหล่และวางมือบนต้นขา เอียงคอไปหาไหล่ค้างไว้ 15 ถึง 30 วินาที ให้ไหล่อีกค้างลู่ลง หายใจเข้าลึกๆ และตั้งหัวขึ้นเหมือนเดิม ทำซ้ำ 2 ถึง 4 ครั้งต่อข้าง
    • ท่าโยคะอีกท่าที่ดีต่ออาการคลื่นไส้อีกท่าคือ ท่าขาพิงบนผนัง นอนลงบนเสื่อโยคะหรือพรมติดกับผนัง ให้ก้นกบและก้นชิดกับผนังและยืดขาขึ้นพิงผนัง ทำท่านี้ค้างไว้อย่างน้อย 5 นาที หรือ หายใจ 40 – 50 ครั้ง ท่านี้จะช่วยลดความรู้สึกคลื่นไส้และลดความตึงเครียดของร่างกาย
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อท้องไส้รู้สึกไม่ดีเนื้อจากากรคลื่นไส้ ต้องกินอาหารทีละน้อยๆ และจิบเครื่องดื่มทีละนิดอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะทำงานหนัก [13]
    • เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องกินและดื่มถึงแม้ว่าจะรู้สึกคลื่นไส้ก็ตาม ความหิวและการขาดน้ำจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้หรือทำให้อาการแย่ลงอีก
  2. ถึงแม้ว่าการกินจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ ท้องว่างๆ จะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ท้องรู้สึกแย่ลง ลองกินอาหารที่ย่อยง่าย [14]
    • ตัวอย่างอาหารที่ย่อยง่ายได้แก่ ขนมปังกรอบ ขนมปังปิ้ง มันฝรั่ง ก๋วยเตี๋ยว ข้าว และ โจ๊ก (โภชนาการแบบ BRAT) [15] หรือลองแครกเกอร์ มันฝรั่ง บะหมี่ และมัฟฟิน หากการคลื่นไส้ไม่รุนแรง ก็สามารถลองไก่หรือปลาอบหรือต้มก็ได้
    • ตัวอย่างอาหารที่เพิ่มน้ำในร่างกายได้ดีเช่น ไอติม น้ำซุปใส และวุ้น
    • หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม หรือเผ็ด เช่น ไส้กรอก อาหารขยะ อาหารทอด และมันฝรั่งทอดเป็นศัตรูของเราเวลาที่รู้สึกคลื่นไส้ อาหารเหล่านี้หนักเกินไปสำหรับกระเพาะของเราเวลาที่มันอ่อนแอ
  3. ความแตกต่างของอุณหภูมิสามารถทำให้รู้สึกมวนท้อง ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการระหว่างมีอาการคลื่นไส้ [16]
    • ในข้อแนะนำทั่วไป อาหารเย็นๆ จะอ่อนโยนต่อกระเพาะมากกว่าและพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพแก้คลื่นไส้ได้ดีกว่าอาหารร้อนๆ อาหารที่ร้อนนั้นอาจมีกลิ่นฉุนซึ่งทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง [17]
  4. น้ำในร่างกายสำคัญมากในระหว่างมีอาการคลื่นไส้ การดื่มน้ำเปล่าและน้ำผลไม้เป็นปริมาณน้อยๆ ระหว่างวันจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้ [18]
    • น้ำเปล่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด แต่น้ำผลไม้อย่างน้ำแอปเปิ้ลก็ได้ผลเหมือนกัน น้ำโซดา โดยเฉพาะน้ำขิงโซดาที่หายซ่าแล้วจะช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้
    • หากอาเจียนไปแล้ว ให้ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีกลูโคส เกลือ และโพแทสเซียม เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่เสียไป
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์
  5. การทำแบบนี้จะทำให้ระบบย่อยอาการทำงานช้าลงและนำไปสู่การปวดท้อง นอกเหนือไปจากอาการคลื่นไส้อีก รออย่างน้อยครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงก่อนจะนอนหลังจากมื้ออาหาร เพื่อให้กระเพาะได้มีเวลาย่อยอาหารก่อน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

รักษาแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชาขิง ขิงสด และขิงเชื่อม ทั้งหมดนี้สามารถใช้เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ รากขิงนั้นกระตุ้นให้หลั่งน้ำย่อยหลายชนิดรวมถึงเอ็นไซม์ที่ช่วยลดกรดในกระเพาะ กรดฟีนอลในขิงสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง ซึ่งจะลดภาระของกระเพาะอาหารในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ลำไส้กำจัดของเสียได้เร็วขึ้น [20]
    • ทำชาขิงได้ด้วยรากขิงยาวประมาณ 2 นิ้ว ล้างรากขิงและปวกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบี้ให้แหลกต้มน้ำ 2 – 3 ถ้วยด้วยไฟปานกลาง แล้วจึงใส่ขิงลงไปแล้วทิ้งให้เดือดสัก 3 – 5 นาที ยกออกจากเตาและกรองชาหากไม่ต้องการให้มีเศษเล็กๆ อยู่ในน้ำชา แล้วจึงเทลงในถ้วยและเติมน้ำผึ้งลงไปหากชอบ จิบช้าๆ
    • ลองจิงเจอร์เอล ลูกกวาดขิง หรืออาหารเครื่องดื่มที่ทำจากขิง [21]
  2. ชาเปปเปอร์มินต์หรือลูกอมเปปเปอร์มินต์มีผลช่วยอาการคลื่นไส้คล้ายกับขิง [22] ลองหยดน้ำมันเปปเปอร์มินต์ชนิดไม่เป็นอันตรายต่ออาหารสัก 2-3 หยดลงในน้ำ 20 มิลลิลิตร [23]
    • กลิ่นของเป๊ปเปอร์มิ้นท์ยังสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ หยดน้ำมันเป๊ปเปอร์มิ้นท์ที่ปลอดภัยกับอาหารบนข้อมือด้านในของเราหรือบนหมากฝรั่ง
  3. มะนาวแช่เย็นหรือแช่แข็งจะได้ผลดีที่สุด กลิ่นและรสชาติของซิตรัสสามารถช่วยลดการคลื่นไส้ได้ [24]
    • หั่นครึ่งมะนาวและวางไว้ใกล้ๆ พอได้กลิ่นโดยที่ไม่ฉุนเกินไป
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

ใช้ยารักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากสามารถออกไปร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาเก็ตได้ ให้ซื้อยาสำหรับแก้อาการคลื่นไส้
    • ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Bismuth subsalicylate) เป็นยาที่หาได้ตามร้านขายยาทั่วไปซึ่งใช้ในการรักษาอาการของระบบย่อยอาหารรวมถึงการคลื่นไส้ด้วย ควรหายได้อย่างรวดเร็วหลังจากกินยา [25]
    • ยาน้ำแก้คลื่นไส้นั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ยาแบบนี้มักมีส่วนผสมของ dextrose fructose และ phosphoric acid
  2. เช่น ยาแก้ปวดหลายชนิดสามารถกระตุ้นหรือทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง [26]
    • วิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่จะดูว่ายานั้นทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลงหรือไม่คือการตรวจดูผลข้างเคียงของมัน หาก “คลื่นไส้” ถูกระบุไว้ในผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แปลว่ายานั้นอาจเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ของเรา
  3. พบแพทย์ทันทีหากอาเจียนสามครั้งหรือมากกว่าในหนึ่งวัน. อีกทั้งควรพบแพทย์หากไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้ หรือรู้สึกคลื่นไส้นานเกิน 48 ชั่วโมง [27]
    • ควรพบแพทย์เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดท้อง หรือไม่สามารถปัสสาวะเป็นเวลา 8 ชั่วโมงหรือมากกว่า
    • หากมีเลือดปนในอาเจียน มีสีแดงสดหรือน้ำตาลเข้มปรากฏอยู่ และหากรู้สึกปวดหัวมาก หรือปวดคอ หรือปวดท้องมาก ควรรีบพบแพทย์
  4. พาลูกไปพบแพทย์หากมีอาการอาเจียนเกินสองสามชั่วโมง หรือมีไข้. และควรพาไปพบแพทบ์หากลูกไม่ได้ปัสสาวะเกิน 4 – 6 ชั่วโมง มีอาการขาดน้ำ และท้องเสีย [28]
  5. มียาหลากหลายชนิดที่มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ภายใน 30 ถึง 60 นาที [29] ยาแก้อาการคลื่นไส้ทั่วไปได้แก่: [30]
    • โปรเมทาซีน (Promethazine)
    • คลอโปรมาซีน (Chlorpromazine)
    • โปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine)
    • ไทรเมโธ เบนซาไมด์ (Trimetho-benzamide)
    • เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide)
    • สโคโปลามีน (scopolamine)
    • ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
    โฆษณา
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002117.htm
  2. https://medlineplus.gov/ency/article/002117.htm
  3. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17944760/
  4. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000122.htm
  5. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000122.htm
  6. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  7. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically/sickness/treatment/other-ways-of-controlling-sickness
  8. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  9. https://www.albertahealthservices.ca/assets/info/cca/if-cca-managing-your-nausea-vomiting.pdf
  10. https://health.clevelandclinic.org/morning-sickness-10-tips-to-tame-your-turbulent-tummy-day-or-night/
  11. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/ginger-benefits
  12. https://health.clevelandclinic.org/the-best-foods-to-eat-when-youre-sick/
  13. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/coping/physically/sickness/treatment/other-ways-of-controlling-sickness
  14. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7605047/
  15. https://health.clevelandclinic.org/morning-sickness-10-tips-to-tame-your-turbulent-tummy-day-or-night/
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a607040.html
  17. https://myhealth.alberta.ca/Health/Pages/conditions.aspx?hwid=sig56596
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  19. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/8106-nausea--vomiting
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000122.htm
  21. https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2004/0301/p1169.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 399,694 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา