PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

โรคกล่องเสียงอักเสบเกิดจากการอักเสบของกล่องเสียง ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยเชื่อมหลอดลมไปที่ด้านหลังของลำคอ อาการของโรคกล่องเสียงอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แม้ว่าอาการของโรคกล่องเสียงอักเสบมักจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวนัก บทความนี้จะสอนวิธีบรรเทาอาการต่างๆ ที่จะทำให้คุณหายจากการติดเชื้อได้เร็วยิ่งขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เข้าใจโรคกล่องเสียงอักเสบ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคกล่องเสียงอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ และมักจะหายไปเองในผู้ใหญ่
    • แต่โรคกล่องเสียงอักเสบในเด็กอาจทำให้เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่โรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบหายใจ
    • ในบางกรณีการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อราก็ทำให้เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบได้
    • นอกจากนี้การได้รับสารเคมีระคายเคืองก็ทำให้เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบได้เช่นกัน
  2. เพื่อให้คุณหายจากโรคกล่องเสียงอักเสบได้อย่างรวดเร็ว คุณต้องสังเกตอาการให้ได้โดยเร็วที่สุด คนที่เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบมักจะมีอาการต่อไปนี้: [1] [2]
    • เสียงแหบ
    • คอบวม เจ็บ หรือคัน
    • ไอแห้ง
    • กลืนลำบาก
  3. ปัจจัยเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะทำให้เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบ ได้แก่: [3] [4]
    • การติดเชื้อทางเดินหายใจตอนบน เช่น ไข้หวัดและโรคที่ทำให้กล่องเสียงเกิดการอักเสบ
    • การใช้เส้นเสียงมากเกินไป โรคกล่องเสียงอักเสบเป็นเรื่องปกติสำหรับคนที่มีอาชีพที่ต้องพูด ตะโกน หรือร้องเพลงบ่อยๆ
    • อาการแพ้ที่ทำให้คออักเสบ
    • โรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจไประคายเคืองเส้นเสียง
    • การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อรักษาโรคหืดอาจทำให้คอระคายเคืองและอักเสบได้
    • การสูบบุหรี่ ที่ทำให้เส้นเสียงระคายเคืองและอักเสบ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาโรคกล่องเสียงอักเสบด้วยยา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับประทานยาบรรเทาปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน หรือพาราเซตามอล. ยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและรักษาอาการไข้ [5]
    • ยาบรรเทาปวดเหล่านี้มักอยู่ในรูปของยาเม็ดหรือยาน้ำ
    • รับประทานตามจำนวนที่แพทย์สั่งหรือตามวิธีใช้บนขวด
    • คุณสามารถถามเภสัชกรเพื่อให้ได้ยาที่ดีที่สุดสำหรับอาการของคุณ หรือถามคำถามเกี่ยวกับวิธีการรับประทานยา
  2. ยาลดน้ำมูกจะทำให้คอแห้งและอาจทำให้โรคกล่องเสียงอักเสบยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ ถ้าคุณอยากจะหายเร็วๆ ให้เลี่ยงยาเหล่านี้ [6]
  3. ในกรณีที่โรคกล่องเสียงอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะที่มักจะบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว [7]
    • อย่ารับประทานยาปฏิชีวนะที่คุณมีติดบ้านโดยไม่ปรึกษาแพทย์
    • โรคกล่องเสียงอักเสบส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะบรรเทาอาการได้
    • แพทย์อาจฉีดยาปฏิชีวนะให้คุณเพื่อเร่งกระบวนการให้คุณหายเร็วขึ้น
  4. ถ้าคุณเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบอย่างรุนแรง แต่ต้องการให้เสียงกลับมาเป็นปกติให้เร็วที่สุดเพราะว่าคุณต้องนำเสนอผลงาน กล่าวสุนทรพจน์ หรือร้องเพลง คุณสามารถถามแพทย์ได้ว่าคุณสามารถใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ไหม ยาเหล่านี้ช่วยบรรเทาการอักเสบที่เกิดจากโรคกล่องเสียงอักเสบได้อย่างรวดเร็ว [8]
    • ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มักจะสั่งในกรณีร้ายแรงหรือในสถานการณ์เร่งด่วนเท่านั้น
  5. ระบุและรักษาสาเหตุเบื้องหลังของโรคกล่องเสียงอักเสบ. เพื่อรักษาโรคกล่องเสียงอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ คุณต้องระบุสาเหตุเบื้องหลังของโรคกล่องเสียงอักเสบ และรับประทานยาที่รักษาอาการนั้น
    • ยารักษาอาการกรดไหลย้อนที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอาจบรรเทาอาการกล่องเสียงอักเสบที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อนได้
    • ถ้าอาการกล่องเสียงอักเสบของคุณดูท่าจะเกี่ยวกับอาการแพ้ ให้รับประทานยาแก้แพ้
    • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าโรคกล่องเสียงอักเสบของคุณเกิดจากอะไร คุณควรร่วมมือกับผู้ประกอบอาชีพด้านการแพทย์ที่สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและสามารถแนะนำวิธีการรักษาอาการของคุณได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาโรคกล่องเสียงอักเสบด้วยตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณอยากจะหายเร็วๆ คุณต้องพักเส้นเสียงให้ได้มากที่สุด การพูดอาจทำให้กล้ามเนื้อตึง ซึ่งจะเพิ่มการอักเสบมากขึ้นไปอีก [9]
    • อย่ากระซิบ การกระซิบทำให้กล่องเสียงตึงเป็นสองเท่า ซึ่งตรงข้ามกับที่เราเชื่อกันทั่วไป
    • พูดเบาๆ หรือเขียนสิ่งที่คุณต้องการจะพูด
  2. เพื่อให้โรคกล่องเสียงอักเสบหายเร็วขึ้น คุณต้องอย่าให้ร่างกายขาดน้ำและทำให้คอชุ่มชื้นอยู่เสมอเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง ดื่มน้ำมากๆ และลองอมยาอมหรือหมากฝรั่ง [10]
    • เมื่อเจ็บคอมากเป็นพิเศษ การดื่มน้ำอุ่นๆ ช่วยบรรเทาอาการได้ ลองดื่มน้ำอุ่นพอประมาณ ซุป หรือชาอุ่นๆ ผสมน้ำผึ้ง
    • หลีกเลี่ยงกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเพิ่มความแห้งและการระคายเคือง
    • การอมยาอมและหมากฝรั่งช่วยเพิ่มการผลิตน้ำลาย ซึ่งช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่คอ
  3. วิธีกลั้วคอก็คือ อมน้ำอุ่นพอประมาณไว้ในปาก เงยหน้าไปข้างหลังแล้วใช้กล้ามเนื้อในลำคอทำเสียง “อาาาา” วิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการของคุณได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้การกลั้วคอมีประสิทธิภาพมากที่สุดหรือเพื่อให้คุณหายจากโรคกล่องเสียงอักเสบได้อย่างรวดเร็ว ให้กลั้วคอวันละหลายๆ ครั้ง ครั้งละหลายๆ นาที [11] [12]
    • ลองกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือครึ่งช้อนชาเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำลาย ช่วยเสริมการรักษา และบรรเทาอาการได้เร็วขึ้น
    • นอกจากนี้คุณก็สามารถกลั้วคอโดยการนำแอสไพริน 1 เม็ดละลายในน้ำอุ่นพอประมาณ 1 แก้วเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ด้วย แต่คุณต้องอย่ากลืนแอสไพรินเข้าไป และไม่ควรใช้ส่วนผสมนี้กับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีเพื่อไม่ให้เกิดการสำลัก
    • บางคนแนะนำให้กลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก เพราะน้ำยาบ้วนปากมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียในปาก
    • วิธีการรักษาด้วยตนเองอีกวิธีหนึ่งที่คนใช้กันก็คือ ผสมน้ำกับน้ำส้มสายชูอย่างละครึ่ง ซึ่งเชื่อว่าสามารถฆ่าแบคทีเรียและเชื้อราที่อาจเป็นสาเหตุของโรคกล่องเสียงอักเสบได้
  4. การสูบบุหรี่ทำให้กล่องเสียงเกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น เพราะจะไประคายเคืองและทำให้คอแห้ง [13]
    • คนที่เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบควรเลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
  5. สูดไอน้ำหรือใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ. อากาศชื้นช่วยหล่อลื่นทางเดินหายใจและลดการอักเสบ เพราะฉะนั้นลองสูดไอน้ำหรือใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศเพื่อบรรเทาอาการกล่องเสียงอักเสบ [14] [15]
    • เปิดน้ำร้อนจากฝักบัวเพื่อให้เกิดไอน้ำเยอะๆ และสูดไอน้ำเป็นเวลา 15 – 20 นาที
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถสูดไอน้ำจากชามน้ำร้อนได้ด้วย โดยนำผ้าขนหนูมาวางไว้บนศีรษะเพื่อไม่ให้ไอน้ำสลายตัวเร็วนัก
  6. มีการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บคอและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล่องเสียงมาเป็นเวลานาน แต่สมุนไพรก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันทำปฏิกิริยากับอาหารเสริมหรือยาตัวอื่น แม้ว่าการปรึกษากับผู้ที่ประกอบอาชีพด้านการแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะตัดสินได้ว่า การใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการกล่องเสียงอักเสบนั้นปลอดภัยจริงหรือไม่ แต่ก็เชื่อกันว่าสมุนไพรต่อไปนี้สามารถบรรเทาอาการกล่องเสียงอักเสบได้ [16]
    • ยูคาลิปตัสช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่คอ ใช้ใบสดดื่มเป็นชาหรือใช้กลั้วคอก็ได้ แต่อย่าดื่มน้ำมันยูคาลิปตัสเพราะเป็นพิษ
    • เป็ปเปอร์มินต์มีฤทธิ์เช่นเดียวกับยูคาลิปตัสและช่วยรักษาไข้หวัดธรรมดาและอาการเจ็บคอ อย่าใช้เป็ปเปอร์มินต์หรือการบูรกับทารกและอย่ารับประทานน้ำมันเป็ปเปอร์มินต์
    • ชะเอมก็ใช้รักษาอาการเจ็บคอด้วยเช่นกัน แต่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานชะเอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณรับประทานยาอย่างแอสไพรินหรือวาร์ฟาริน ชะเอมอาจมีผลต่อผู้ที่ตั้งครรภ์ เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
    • เชื่อกันว่าสลิปเปอร์รี่เอล์มนั้นช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่คอได้ เนื่องจากมียางที่ช่วยเคลือบลำคอ แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าสมุนไพรชนิดนี้สามารถใช้รักษาอาการเจ็บคอได้ยังมีจำกัด ในการทดลองใช้สมุนไพรชนิดนี้รักษาอาการเจ็บคอ ให้คุณผสมผงสกัดจากสลิปเปอร์รี่เอล์ม 1 ช้อนชากับน้ำอุ่น 1 แก้วและจิบช้าๆ พยายามอมส่วนผสมไว้ในปากให้นานที่สุดก่อนกลืน สลิปเปอร์รี่เอล์มอาจมีผลต่อการดูดซึมยาของร่างกาย เพราะฉะนั้นให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพและงดรับประทานยาอื่นร่วมกับว่าสลิปเปอร์รี่เอล์ม คุณไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้หากคุณตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รู้ว่าเมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วอาการกล่องเสียงอักเสบยังอยู่ ให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุด [17]
    • แพทย์สามารถระบุได้ว่า คุณเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบอย่างรุนแรง หรือมีความผิดปกติอย่างอื่น
  2. ถ้าคุณมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ ให้พบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ให้เร็วที่สุด : [18]
    • เจ็บมากขึ้น
    • เป็นไข้ไม่หาย
    • หายใจลำบาก
    • กลืนลำบาก
    • ไอเป็นเลือด
    • ควบคุมน้ำลายลำบาก
  3. สังเกตความเปลี่ยนแปลงกะทันหันในเด็กที่เป็นโรคกล่องเสียงอักเสบอย่างใกล้ชิด. ถ้าคุณสงสัยว่าลูกจะเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบและมีอาการดังต่อไปนี้ อย่าลังเลที่จะพบแพทย์ เพราะเด็กอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบ [19]
    • น้ำลายไหลมากขึ้น
    • กลืนหรือหายใจลำบาก
    • มีไข้เกิน 39.4°C
    • พูดไม่ชัด (เหมือนอมอะไรไว้ในปาก)
    • เสียงหายใจแหลมขณะหายใจเข้า
  4. สังเกตว่าตัวเองเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบบ่อยแค่ไหน. ถ้าคุณเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบบ่อยๆ คุณควรพบแพทย์เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับอาการของคุณ เพื่อที่แพทย์จะได้ระบุสาเหตุที่ซ่อนอยู่และแนะนำวิธีการรักษาให้ได้ โรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ : [20]
    • ไซนัสหรือภูมิแพ้
    • การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา
    • กรดไหลย้อน
    • มะเร็ง
    • สายเสียงเป็นอัมพาตอันเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บ เนื้องอก หรือเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบนานกว่า 2 สัปดาห์ ให้พบแพทย์เพื่อที่แพทย์จะได้หาวิธีรักษา และเพื่อให้แน่ใจว่าอาการของคุณไม่ได้เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ
  • การกระซิบทำให้เส้นเสียงของคุณตึงกว่าเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,704 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา