ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางเหตุการณ์ในชีวิตก็ทำคุณปั่นป่วนรุนแรงในจิตใจ เช่น เศร้า โกรธ ริษยา สิ้นหวัง กระทั่งเจ็บปวด ใช่ว่าเราจะกักเก็บความรู้สึกพวกนี้ไว้ภายในได้เสมอไป (และไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเสมอบ่อยๆ) เพราะบางครั้งจะแก้ปัญหาและพัฒนาตัวเองได้ต้องยอมรับความจริงซะก่อน [1] แต่บางทีอารมณ์พวกนั้นอาจรุนแรงจนก้าวก่ายภาระหน้าที่ เลยจำเป็นต้องเก็บกดความรู้สึกไว้ชั่วคราว อย่างน้อยก็ให้ผ่านวันนั้นไปก่อน ถ้าจำเป็นต้องทำแบบนั้นจริงๆ ละก็ ให้เริ่มจัดการจากภายนอก ตามด้วยสำรวจอารมณ์ภายใน ข่มใจด้วยร่างกาย และสุดท้ายคือคลายความวิตกกังวลที่ผุดขึ้นมา

เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี ไม่ควรเก็บกดอารมณ์และความรู้สึกไว้ตลอด ควรใช้เทคนิคในบทความนี้เฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็นจริงๆ อย่างที่แนะนำในส่วนสุดท้าย "เมื่อไหร่ที่ควรเก็บความรู้สึก?" จะดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

จัดการจากภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าการเก็บกดความรู้สึกแย่ๆ นั้นไม่ดีต่อจิตใจ ทำให้รับมือกับความเครียดไม่ค่อยได้ แถมตัดสินใจไม่แม่นยำแปลว่าถ้าใครเก็บกดนานๆ เข้า จะทำให้รับความผิดหวังไม่ค่อยได้ แถมความจำไม่ค่อยดี เพราะงั้นขอให้เลือกเก็บกดเฉพาะตอนที่จำเป็นจริงๆ เช่นตอนมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่ต้องผ่านไป หรือมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ
    • อีกทางเลือกที่ดีกว่าการเก็บกด คือการมองมุมใหม่ เน้นอารมณ์อื่นที่สร้างสรรค์กว่า เช่น คุณอาจจะอยากข่มความอายจากเรื่องที่เกิดในที่ทำงาน แต่ทำไมไม่ลองมองว่าเรื่องมันเล็กน้อยเหลือเกิน คนอื่นเขามองว่าน่ารักน่าเอ็นดู วิธีแบบนี้เรียกว่า cognitive reappraisal คือเปลี่ยนความคิดให้รู้สึกผิดน้อยลง ถึงจะไม่ใช่การเก็บกดซะทีเดียว แต่ก็ได้ผลไม่แพ้กัน [2]
    • แต่ใครที่เก็บกดระยะยาวจนด้านชา อาจเป็นสัญญาณบอกโรคทางจิตได้ เช่น post-traumatic stress disorder (PTSD) หรือภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ [3] และโรคซึมเศร้า (clinical depression) เป็นต้น [4] ถ้าคุณเหม่อลอย ด้านชา และสิ้นหวังบ่อยๆ ควรพบแพทย์หรือนักบำบัดด่วน
  2. หลีกหนีจากคน บรรยากาศ และสถานที่ที่ทำให้รู้สึกไม่ดี. เราจะกักเก็บความรู้สึกได้ง่ายกว่า ถ้าบรรยากาศรอบตัวเปลี่ยนไป แต่ระวังอย่าให้มีอะไรมากระตุ้นให้คุณรู้สึกตอบสนองรุนแรงแต่แรกแล้วกัน [5] ถ้าคุณรู้ตัวว่าบางคน บางที่ หรือบางกิจกรรมมักทำคุณเสียอาการ ก็อยู่ให้ห่างไว้จะดีที่สุด
  3. บางทีก็มีเหตุให้ต้องพบปะพูดคุยกับคนที่ไม่ชอบหรือมีพฤติกรรมที่คุณเกลียดเป็นธรรมดา ถ้าหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำคุณเจ็บปวดไม่ได้จริงๆ ก็ต้องหาวิธีควบคุม อย่ามองตัวเองเป็นเหยื่อไร้ทางสู้ ให้เรียกความมั่นใจให้มากที่สุด เตือนตัวเองว่าคุณมีทางออกเสมอ จะได้รอดไปจากสถานการณ์บีบคั้นอารมณ์นั้นแบบครบ 32 [6] วิธีที่แนะนำก็เช่น
    • ถ้ารู้ตัวว่าเครียดแทบบ้าตอนอ่านหนังสือก่อนสอบแค่คืนเดียว ให้เปลี่ยนมาอ่าน 2 คืนก่อนหน้าแทน คืนก่อนสอบจะได้ผ่อนคลาย
    • ถ้าเกลียดงานปาร์ตี้ต่างๆ เพราะคนเต็มไปหมด ให้ไปกับเพื่อนสนิทสัก 1 - 2 คน จะได้มีคนให้ปักหลักด้วย คุยกันแค่กลุ่มของตัวเอง
  4. ถ้าอารมณ์ปั่นป่วนเป็นปัญหาต่อกิจกรรมที่ทำ ให้หยุดมือทันที แล้วหาอย่างอื่นทำแทน ลองเลือกกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิและจิตใจมากๆ [7] เบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองแล้วเดี๋ยวก็จัดการอารมณ์ได้ทีหลัง ตอนที่ สงบใจ และมีเหตุผลกว่านี้ ตอนนี้ลืมๆ ไปก่อน ให้เน้นเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนอารมณ์ เช่น
    • เล่นเกม
    • ดูหนัง
    • ทำงานอดิเรกที่ชอบ
    • ไปคอนเสิร์ตหรือดูโชว์สนุกๆ ตลกๆ
    • ออกกำลังกาย
  5. พวกเทคโนโลยีหรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ถ้าใช้ตลอดเวลาก็ทำเอา "อิน" จนอารมณ์ปั่นป่วนได้ หรือบางคนก็ทำงานหน้าจอทั้งวันจนเครียดทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว บางทีก็พูดไม่ออกบอกไม่ถูก แบบนี้ต้องทำใจให้สงบ หาความสุขในโลกแห่งความเป็นจริง ห่างจอสักพักนั่นแหละดี [8] อารมณ์จะราบรื่นขึ้นเยอะ ถ้ารู้จักจำกัดเวลาการท่องเน็ต [9] โดย
    • เช็คอีเมลเฉพาะที่ทำงาน อย่ามาเช็คต่อที่บ้าน
    • ตอนกลางคืนให้ปิดมือถือ
    • ปิดเสียงหรือปิดการแจ้งเตือนของโซเชียลมีเดียต่างๆ
    • ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย (ชั่วคราวหรือถาวร)
    • เสาร์อาทิตย์งดใช้อินเทอร์เน็ต
  6. จากทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Facial Feedback Hypothesis แค่เปลี่ยนสีหน้า อารมณ์ก็มักเปลี่ยนตาม พูดง่ายๆ คือถ้าแกล้งทำเป็นรู้สึกบางอย่าง เราจะเริ่มรู้สึกแบบนั้นขึ้นมาจริงๆ [10] เพราะงั้นถ้าอยากปกปิดความรู้สึกที่แท้จริง ก็ลองทำหน้าเรียบเฉยซะ ตอนแรกอาจจะยาก โดยเฉพาะตอนกำลังเครียด แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวก็เนียนเอง คุณทำหน้าทำตัวเฉยได้โดย
    • ทำหน้าเรียบเฉย ไม่แสดงท่าที
    • ปิดปากธรรมดา ไม่ยิ้มแต่ก็ไม่บึ้ง
    • พูดเรียบๆ เบาๆ
    • พูดแบบกระชับจับใจความ
    • สบตานิ่งๆ ไม่เผยความในใจ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

สำรวจอารมณ์ภายใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกตัวเองว่าความรู้สึกแย่ๆ เราก็แค่คิดไปเอง. ไม่ใช่เรื่องจริงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าคุณไม่ยอม ใครก็มาทำคุณเจ็บปวดไม่ได้ ที่เจ็บปวดก็เพราะเราคิดของเราเอง [11] แปลว่าคุณลอยตัวเหนือความรู้สึกแย่ๆ เหล่านั้นได้ ทั้งความกลัว ความวิตกกังวล และความโกรธ เวลารู้สึกตัวว่าความรู้สึกพวกนี้เริ่มจะผุดขึ้นมา ให้ท่องไว้ว่า "เราก็แค่คิดไปเอง" นี่เป็นส่วนสำคัญของการฝึกจิตใจให้มีสติรู้ตัว
  2. นอกจากสร้างเกราะป้องกันตัวจากความเจ็บปวดเฉพาะหน้าแล้ว คุณยังฝึกการมีสติรู้ตัวไว้เตรียมรับมือกับความเจ็บปวดที่ยังมาไม่ถึงได้ด้วย ให้ลองจินตนาการถึงเรื่องที่อาจทำคุณเครียด เช่น สอบไล่ ทะเลาะกับแฟน หรืองานโหดหิน จากนั้นพยายามนิ่งเฉยสงบใจ ฝึกเอาชนะความรู้สึกแย่ๆ เดี๋ยวคุณก็ชินกับอารมณ์แรงกล้าพวกนี้เอง และจะสงบใจได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ [12]
  3. ในแต่ละวัน ให้คุณหมั่น "สำรวจจิตใจ" เป็นระยะ เพื่อเช็คสภาพอารมณ์ในแต่ละช่วงของวัน ถึงตอนนั้นจะไม่เศร้าหรือโมโห แต่ถ้ารู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกยังไง และทำไมถึงเป็นแบบนั้น ก็ช่วยให้คุณเข้าใจอารมณ์ชั่ววูบที่ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดี [13] สุดท้ายแล้วการมีสติรู้ตัวจะทำให้คุณควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ของตัวเองได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เวลาคุณ "สำรวจจิตใจ" ให้ถามตัวเองว่า
    • ตอนนี้เรารู้สึกยังไง? มีความรู้สึกเดียวอย่างแรงกล้า หรือมีหลายความรู้สึกผสมปนเปกัน? ถ้าตั้งชื่อให้อารมณ์หรือความรู้สึกต่างๆ จะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น [14]
    • ทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้? เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน (เช่น ความกลัวของเรา) หรือปัจจัยภายนอก (เช่น มีคนตะคอกใส่เรา)?
    • ชอบไหมที่ตัวเองรู้สึกแบบนี้? เช่น รู้สึกว่าชีวิตดี๊ดี อยากรู้สึกแบบนี้ไปนานๆ หรือเครียด กังวล ไม่อยากรู้สึกแบบนี้อีกแล้ว
    • จะทำยังไง คราวหน้าถึงจะควบคุมความรู้สึกแบบนี้ได้? ลองถามตัวเองว่าให้กำลังใจตัวเองด้วยความรู้สึกดีๆ ไปพร้อมๆ กับลดหรือขจัดความรู้สึกแย่ๆ ได้ไหม จะทำยังไงให้เราคือคนกุมชีวิตและจิตใจของตัวเอง ไม่เอนเอียงไปตามสิ่งเร้าต่างๆ?
  4. บางเรื่องก็ยากจะเก็บอาการ จนเผลอแสดงอารมณ์ที่ไม่ต้องการออกมา เช่น ร้องไห้ที่ทำงาน หรือเครียดสติแตกที่โรงเรียน ขอให้ปลอบตัวเองว่าทุกคนก็เคยเจอเรื่องแบบนี้ ครั้งนี้พลาดไป คราวหน้าเอาใหม่แล้วกัน [15] วิธีหัดให้อภัยตัวเองก็เช่น
    • มองไปข้างหน้า อย่าใส่ใจอะไรที่ผิดพลาดไปแล้ว ถามตัวเองว่าได้บทเรียนอะไรบ้างจากความผิดพลาดครั้งนี้ คราวหน้าคิดจะทำยังไง ให้กำลังใจตัวเองหน่อย ว่าวันนี้อย่างน้อยเราก็ยังอยู่ดี [16]
    • คนเราจะเข้มแข็งได้ต้องเคยผิดพลาดผิดหวัง แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ฝึกฝนไปเรื่อยๆ มองว่าเรื่องที่เกิดเป็นก้าวหนึ่งของการเดินทาง สักวันต้องควบคุมอารมณ์ได้ดีแน่นอน [17]
    • มองมุมใหม่ บอกเลยว่าไม่มีใครแคร์ความรู้สึกของคุณเท่าตัวคุณเอง ถ้าคุณมีหลุด ฟิวส์ขาดไปบ้าง นานๆ ไปเพื่อนที่โรงเรียน/ที่ทำงาน เพื่อนสนิท และครอบครัวก็ลืมไปหมด พลาดแล้วใช่ว่าโลกจะแตก มันเป็นแค่กรวดเล็กๆ ในทางชีวิตของคุณเท่านั้น [18]
  5. ถ้ามีอะไรมากระทบใจ ให้นิ่งไว้ ไม่ต้องคิดอะไรสัก 2 - 3 นาที หายใจเข้าลึกๆ แล้วนับ 1 - 10 พอผ่านช่วงพีคพร้อมตอบโต้ไปแล้ว คุณจะรับมือกับสถานการณ์ได้นิ่งและมีเหตุผลขึ้น แทนที่จะตอบโต้ด้วยอารมณ์อย่างเดียว [19]
  6. อีกหนึ่งวิธีดีๆ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้อารมณ์เป็นใหญ่ในชีวิต ก็คือระบายมันออกมา...ในกระดาษ หรือก็คือเขียนไดอารี่นั่นเอง แบบนี้ไม่นานก็ลืมว่าเคยเหวี่ยงวีน ก้าวต่อไปได้อย่างง่ายดาย [20] เขาวิจัยกันมาแล้ว ว่าคนที่บันทึกอารมณ์แปรปรวนของตัวเองลงไดอารี่ จะรู้สึกว่าตัวเองควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น [21] พยายามเขียนไดอารี่ให้ได้เวลาเดิมทุกวัน หรือตอนที่รู้สึกเกินจะทน
    • คิดว่าคนอื่นที่เขารับมือกับอารมณ์ตัวเองได้ตามปกติ เขาจะทำแบบที่คุณทำหรือเปล่า คุณตีโพยตีพายไปเองไหม [22]
    • ถามตัวเองว่าเคยรู้สึกแบบนี้มาก่อนไหม จะได้เห็นรูปแบบอารมณ์ที่เกิดขึ้น
    • ถ้ามีอะไรทำคุณไม่พอใจ ให้บอกตัวเองว่าเดี๋ยวไว้ระบายลงไดอารี่ทีหลัง จะได้ไม่เผลอตอบโต้แบบดราม่าไปในตอนนั้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ข่มใจด้วยร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ จะได้สงบใจได้เวลาเกิดเหตุ ช่วยให้คุณรับมือกับเหตุการณ์กระทบใจต่างๆ ได้ดีขึ้น [23] ให้คุณหายใจเข้าทางจมูก 5 วินาที ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหายใจออกทางปาก 5 วินาที ทำซ้ำเท่าไหร่ก็ได้ จนกว่าจะกลับมาสงบใจได้ [24]
  2. การออกกำลังกายช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของคุณจากอาการปวดใจได้ดี แถมทำให้นิ่งและมีเหตุผลขึ้น ลองหากีฬา ท่าออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในแบบที่คุณชอบ พอรู้สึกเก็บกดจนทนไม่ไหวเมื่อไหร่ ให้คว้ารองเท้ากีฬามาใส่แล้วไปออกกำลังกายให้หัวใจเต้นแรง เดี๋ยวก็ลืมหมดว่าเมื่อกี๊คับแค้นใจเรื่องอะไร [25] กิจกรรมที่แนะนำก็เช่น
    • วิ่งหรือจ็อกกิ้ง
    • ปั่นจักรยาน
    • ว่ายน้ำ
    • กีฬาแบบเล่นเป็นทีม เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล
    • ศิลปะการป้องกันตัว
    • มวยไทย
    • เต้น
  3. เหล้ายาล่อใจเสมอสำหรับคนที่อยากลืมความรู้สึกแย่ๆ ของตัวเอง แต่บอกเลยว่าใช้แล้วจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ จนระเบิดอารมณ์ง่ายและเลวร้ายกว่าเดิม ขนาดแค่คาเฟอีนก็ทำคุณแสดงอาการเครียดได้แล้ว [26] ถ้างดเหล้า ยา และคาเฟอีน ก็จะช่วยให้สงบใจ ไม่ตีโพยตีพายได้ในระดับหนึ่ง
    • แต่ถ้าเป็นยารักษาโรคทางจิตที่คุณหมอเป็นผู้สั่ง ก็ให้กินต่อไปตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  4. พอนอนน้อยก็หงุดหงิด สงบใจหรือควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้เป็นธรรมดา ขอให้ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง แต่ถ้านอนไม่ค่อยหลับให้
    • หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าที่ปล่อยจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างน้อยสามชั่วโมงก่อนนอน [27]
    • ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้เย็นสบาย อากาศถ่ายเท
    • ใช้ที่นอนนุ่มๆ หรือแล้วแต่ชอบ และเหมาะกับสรีระของคุณ
    • ใช้เครื่องสร้างเสียง white noise กลบเสียงรบกวนในบรรยากาศ
    • งดคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารมื้อหนักๆ โดยเฉพาะตอนกลางคืน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

คลายวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีพอเครียดๆ หรือซึมเศร้าก็พาลทำเอาไม่อยากคุยกับใคร แต่พยายามรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนอื่นไว้ดีกว่า เพื่อรักษาสมดุลทางอารมณ์ [28] คุยกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัวบ้าง โดยเฉพาะตอนคับข้องใจ อย่างน้อยก็มีคนรับฟังให้อารมณ์บรรเทาเบาบางลง อาจจะไม่ใช่วิธีซ่อนอารมณ์อย่างที่คุณตามหา แต่บอกเลยว่าสบายใจเร็วกว่าเยอะเลย
  2. บางทีพอกังวลหรือเครียดจัดๆ ตอนมีเหตุการณ์ที่เหลือบ่ากว่าแรง แทนที่จะเก็บกดไว้ ให้ลองตัดสินใจทำอะไรไปสักอย่างเพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ อย่าคิดแต่จะปลีกตัว เพราะจะทำให้เครียดมากและนานกว่าเดิม [29]
    • เช่น ถ้าเครียดจัดเรื่องกำลังจะสอบ อย่าทำเป็นลืมหรือหนีความจริง เปลี่ยนมากระตุ้นตัวเองให้อ่านหนังสือ 20 นาทีต่อวันดีกว่า แบบนี้หายเครียดแน่นอน
  3. บอกตัวเองว่าเดี๋ยวเรื่องที่ทำคุณเครียดก็จะผ่านไป. จุดนี้ถือว่าสำคัญมาก ต้องให้ตัวเองมีความหวัง เพราะเรื่องแย่ๆ จะไม่อยู่ตลอดไป ไม่ว่าจะงานเลี้ยงที่ไม่อยากไป ข้อสอบที่ไม่อยากทำ หรือโปรเจ็คต์ที่เกลียดก็ตาม ให้กำลังใจตัวเองเข้าไว้ว่าแข็งใจหน่อยเดี๋ยวมันก็จบ อย่ารู้สึกแย่เหมือนชีวิตมีแต่เรื่องนี้ [30]
  4. บางทีเราจะรับมือกับความเครียดได้ดีกว่า ถ้าปล่อยให้ตัวเองได้พักฟื้นครู่สั้นๆ ถ้าเริ่มรู้สึกคล้ายจะระเบิดอารมณ์ ลองหาเวลาสัก 20 - 30 นาทีออกไปเดินเล่น คุยกับเพื่อน หรือฟังเพลงตามใจชอบบ้าง พอสงบใจพร้อมลุยเมื่อไหร่ ค่อยกลับไปจัดการเรื่องเครียดๆ [31]
    • จะผ่อนคลายได้มากกว่า ถ้าทำกิจกรรมกันเป็นกลุ่ม (เช่น ดื่มกาแฟกับเพื่อนสนิท) หรือกิจกรรมที่ได้เปลี่ยนบรรยากาศ (เช่น ออกไปเดินกินลมชมวิว) พวกนี้ช่วยให้คุณสงบใจและฟื้นตัวได้ดีกว่าบางกิจกรรมที่ต้องทำในบ้านคนเดียว เช่น การดูทีวี [32]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

เมื่อไหร่ที่ควรเก็บความรู้สึก?

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอารมณ์เป็นใหญ่ อาจสร้างปัญหาในสถานการณ์ที่ต้องแข่งขันสูงหรือเรื่องที่ต้องใช้ความคิด สติ และความรับผิดชอบ เช่น ถ้าคุณต้องพูดต่อหน้าประชุมชนหรือนำเสนอแผนงาน ความกลัวขึ้นสมองจะทำให้หัวตื้อ แสดงความสามารถออกมาได้ไม่เต็มที่ ถ้ารู้จักข่มความกลัว จะทำงานหรือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า
  2. จริงอยู่ว่าเวลาตัดสินใจใช้แต่เหตุผลก็ไม่ดี แต่อย่าให้อารมณ์เป็นใหญ่จนพิจารณาตัวเลือกได้ไม่ถ้วนถี่ เช่น คุณใจสลายเพราะแฟนบอกเลิก เลยอยากหนีไปอยู่จังหวัดหรือประเทศอื่น จะได้ไม่ต้องเห็นหน้ากันอีก ถ้าคุณลองมองทะลุความเศร้าไปแล้วชั่งใจดู จะรู้ว่ามีอะไรดีกว่าการทิ้งทุกอย่างแล้วหนีปัญหาไป
  3. ถ้าควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ก็เก็บความรู้สึกก่อน. เพราะเป็นเหมือนกลไกการป้องกันตัว เช่น ตอนถูกเพื่อนแกล้ง หรือเจอพี่/น้องที่ไม่ลงรอยกัน ถ้าเจอสถานการณ์ที่ยากจะเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะปกป้องตัวเองโดยงดแสดงสีหน้าหรืออารมณ์ที่แท้จริงชั่วคราว อย่างน้อยก็เพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ว่าไปก่อน
  4. คนเรามีอารมณ์ความรู้สึกเพราะเหตุผลและประโยชน์บางอย่าง ถือเป็นหนทางให้เราได้เผชิญโลกและเอาตัวรอดได้โดยไม่เสียสติไปซะก่อน ถ้าคุณเก็บกดอารมณ์ที่แท้จริงไว้เป็นประจำ ก็เท่ากับไม่ยอมรับความรู้สึกแท้จริงที่จิตใจต้องการ ทั้งความกลัว ความเศร้า ความสิ้นหวังและอื่นๆ ที่ทำคุณรู้สึกแย่ จริงๆ แล้วก็สำคัญพอๆ กับความสุขและตื่นเต้นเร้าใจ ถ้าไม่ปล่อยตัวเองเศร้าบ้าง แล้วจะมีความสุขให้เต็มที่ได้ยังไง แทนที่จะเก็บกดมันไว้ ลองปล่อยมันตามธรรมชาติบ้าง ให้เป็นบทเรียนชีวิตไง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางทีเพื่อนๆ หรือครอบครัวนั่นแหละที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย สงบใจได้ แต่บางเวลาอยู่กับคนเยอะๆ แล้วยิ่งสับสนชวนดราม่า ยังไงลองหาแนวทางที่ใช่ และอย่าลืมดูแลตัวเองตลอดเวลา
  • ยิ่งเก็บกดก็ยิ่งเครียดกว่าเดิม ลองหาวิธีระบายหรือคลายเครียดแบบสร้างสรรค์ดู ถ้าตอนนี้ยังแสดงอารมณ์ที่แท้จริงไม่ได้ รอพ้นสถานการณ์ที่ว่าแล้วค่อยหาทางจัดการอารมณ์ก็ยังไม่สาย
  • อย่าเก็บกดไปหมด แค่ทำตัวทำหน้านิ่งๆ สงบใจไว้ชั่วคราวก็พอ พยายามรับมือกับสถานการณ์บีบเค้นด้วยท่าทีสงบนิ่ง อย่าถึงกับเก็บกดทุกอย่างไว้กับตัว
โฆษณา

คำเตือน

  • บางทีความเฉยชา ไม่รู้สึกรู้สา ก็เป็นสัญญาณบอกโรคทางจิตที่ร้ายแรงกว่า ถ้าหลังๆ รู้ตัวว่าไม่มีความสุข ประหลาดใจ หรือพอใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป [33]
โฆษณา
  1. https://my.vanderbilt.edu/developmentalpsychologyblog/2014/05/facial-expressions-and-emotions/
  2. http://blogs.exeter.ac.uk/stoicismtoday/2014/09/08/does-stoicism-work-stoicism-positive-psychology-by-tim-lebon/
  3. http://blogs.exeter.ac.uk/stoicismtoday/2014/09/08/does-stoicism-work-stoicism-positive-psychology-by-tim-lebon/
  4. http://blogs.exeter.ac.uk/stoicismtoday/2014/09/08/does-stoicism-work-stoicism-positive-psychology-by-tim-lebon/
  5. https://hbr.org/2013/11/emotional-agility
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201506/7-characteristics-emotionally-strong-people
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201506/7-characteristics-emotionally-strong-people
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201506/7-characteristics-emotionally-strong-people
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/the-squeaky-wheel/201506/7-characteristics-emotionally-strong-people
  10. http://www.huffingtonpost.com/dr-carmen-harra/controlling-your-emotions_b_3654326.html
  11. http://www.huffingtonpost.com/dr-carmen-harra/controlling-your-emotions_b_3654326.html
  12. http://consumer.healthday.com/encyclopedia/depression-12/depression-news-176/depression-recovery-keeping-a-mood-journal-645064.html
  13. http://consumer.healthday.com/encyclopedia/depression-12/depression-news-176/depression-recovery-keeping-a-mood-journal-645064.html
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201502/5-ways-get-your-unwanted-emotions-under-control
  15. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  16. http://www.huffingtonpost.com/dr-carmen-harra/controlling-your-emotions_b_3654326.html
  17. http://www.forbes.com/sites/travisbradberry/2014/02/06/how-successful-people-stay-calm/
  18. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/blue-light-has-a-dark-side
  19. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  20. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  21. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  22. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  23. http://kidshealth.org/teen/your_mind/emotions/anxiety_tips.html
  24. http://consumer.healthday.com/encyclopedia/depression-12/depression-news-176/depression-recovery-keeping-a-mood-journal-645064.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,495 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา