ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

“เรากำลังทำอะไรกับชีวิตตัวเองอยู่? เราต้องการอะไรกันแน่? เรากำลังจะเดินไปทางไหน?” นี่มักจะเป็นคำถามเดิมๆ ที่คนส่วนใหญ่ชอบถามกับตัวเอง ซึ่งปกติแล้วการคิดแบบมองไปข้างหน้าแบบนี้ ถือเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างและเขียนเป้าหมายต่างๆ บางคนอาจจะหยุดอยู่ที่คำตอบแบบกว้างๆ และคุลมเครือ ในขณะที่บางคนใช้คำถามแบบเดียวกันเพื่อสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ขึ้นมา ซึ่งการเขียนเป้าหมายออกมาให้มีความชัดเจน จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของความสำเร็จให้มีมากยิ่งขึ้น และการบรรลุเป้าหมายก็มักจะมาพร้อมกับความสุขและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเราเอง [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

กำหนดเป้าหมายของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรหรืออยากจะทำอะไรให้สำเร็จ นั่นอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณเริ่มลงมือทำในสิ่งนั้น แต่ถ้าหากคุณไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนพอ นั่นอาจจะทำให้คุณหลงอยู่กับการทำเป้าหมายที่มีความคลุมเครือหรือเป้าหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณเสียเวลาหรือพลังงานของตัวเอง และอาจจะเป็นแรงผลักดันให้คุณลงมือทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จได้อีกด้วย
    • ตัวอย่างเช่น พนักงานบางคนอาจจะไม่รู้สึกอยากจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพราะคำสิ่งที่ได้มันดูคลุมเครือ ไม่มีหลักการ หรือแนวทางอะไรให้เลย กลับกันพนักงานบางคนมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น เมื่อพวกเขาได้รับมอบหมายงานที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและมีการให้ฟีดแบคตอบกลับมา [2]
    • ตัวอย่างของเป้าหมายที่ดูคลุมเครือและกว้างเกินไปก็อย่างเช่น “ฉันอยากมีความสุข” “ฉันอยากประสบความสำเร็จ” และ “ฉันอยากจะเป็นคนดี”
  2. มีความชัดเจนเมื่อกำลังจะกำหนดเงื่อนไขให้เป้าหมาย. การทำความเข้าใจว่าตัวเองกำลังพยายามจะทำอะไรให้สำเร็จอยู่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น ให้คุณกำหนดความชัดเจนให้กับเป้าหมายที่ยังดูกว้างและคลุมเครืออยู่ [3] ตัวอย่างเช่น หากคุณบอกว่าคุณอยากจะประสบความสำเร็จ คุณก็ต้องกำหนดให้แน่นอนว่าความสำเร็จในความหมายของคุณมันคืออะไร สำหรับบางคนอาจจะหมายถึงการหาเงินได้เยอะๆ แต่สำหรับบางคนอาจจะหมายถึงการเลี้ยงดูลูกๆ ให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีความมั่นใจ
    • การกำหนดขอบเขตและเป้าหมายให้ชัดเจน จะช่วยทำให้คุณเริ่มมองตัวเองเป็นคนที่มีคุณสมบัติตามที่ตัวเองกำหนดไว้อยู่ [4] ตัวอย่างเช่น หากคุณมองว่าความสำเร็จในความหมายของคุณ คือการประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน คุณก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะพาตัวเองไปฝึกอบรมวิชาชีพและจากนั้นก็เริ่มต้นอาชีพที่ตัวเองเลือกไว้
  3. ลองคิดดูว่าคุณต้องการสิ่งเหล่านี้จริงๆ หรือไม่. เป็นเรื่องปกติที่คุณจะรู้สึกว่าตัวเองอยากจะได้บางสิ่งบางอย่างโดยที่ไม่ได้ถามตัวเองเลยว่าทำไมคุณถึงต้องการสิ่งนั้น แต่ว่าในบางครั้ง คุณอาจจะรู้สึกว่าเป้าหมายเหล่านั้นไม่ได้ตรงกับความฝันหรือความต้องปรารถนาจริงๆ ของชีวิตคุณเลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็อย่างเช่น อิทธิพลจากมุมมองและแนวคิดทางสังคม เด็กหลายคนอาจจะบอกว่าพวกเขาต้องการจะเป็นหมอหรือเป็นนักดับเพลิงเมื่อพวกเขาโตขึ้น โดยที่ไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วสิ่งนั้นอะไร หรือมาค้นพบทีหลังว่าเป้าหมายเหล่านั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว [5] [6]
    • ถามตัวเองดูว่าเป้าหมายของตัวเองนั้นได้รับอิทธิพลมาจากคนรอบตัวหรือเปล่า อย่างเช่น ความคาดหวังจากพ่อแม่หรือคนสำคัญคนอื่นๆ หรือแรงกดดันทางสังคมจากเพื่อนๆ หรือสื่อต่างๆ
    • เป้าหมายที่คุณตั้งขึ้นควรจะเป็นบางสิ่งบางอย่างที่คุณต้องการทำให้ตัวคุณเอง ไม่ใช่ทำให้คนอื่น
  4. คุณกำลังพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายหรือทำอะไรบางอย่างเพื่อลบคำสบประมาทของใครบางคนอยู่หรือเปล่า? เมื่อเหตุผลของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป คุณก็ต้องถามตัวเองด้วยว่าเป้าหมายที่คุณมีมันเหมาะกับตัวคุณจริงๆ หรือเปล่า ถ้าหากว่าไม่ใช่ นั่นอาจจะทำให้ตัวคุณเองรู้สึกขาดอะไรบางอย่างไปและหมดไฟไปซะก่อน [7]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการจะเป็นหมอ ลองถามตัวเองดูว่า เป็นเพราะว่าคุณอยากจะช่วยเหลือผู้คนหรือเพราะว่าอาชีพนี้ได้เงินเยอะกันแน่? หากแรงผลักดันของคุณไม่ใช่สิ่งที่ตัวคุณเป็น นั่นอาจจะทำให้โอกาสในการบรรลุเป้าหมายและการรู้สึกถึงการเติมเต็มความต้องการของตัวเองนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก
  5. มันง่ายที่เราจะรู้สึกกระตือรือร้นเวลาเรานึกถึงเป้าหมายต่างๆ ที่เราตั้งไว้ แต่บางที บางสิ่งบางอย่างก็อยู่เหนือการควบคุม และก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสำหรับคุณได้ ซึ่งจริงๆ มันก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ด้วย ดังนั้น เป้าหมายของคุณควรจะสมเหตุสมผลและมีความเป็นไปได้ [8] [9]
    • ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะต้องการเป็นนักบาสเกตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล แต่ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น อายุและความสูงอาจจะเป็นข้อจำกัดและอยู่เหนือการควบคุมของคนๆ หนึ่ง ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่แรกแล้วว่าเป็นไปได้ยากแบบนี้ อาจจะทำให้เกิดความผิดหวังและหมดแรงจูงใจไปซะก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เขียนเป้าหมายของคุณออกมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เวลาสัก 15 นาทีเพื่อจดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และความฝันต่างๆ ของตัวเองลงกระดาษอย่างง่ายๆ ก่อน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเขียนเป้าหมายพวกนั้นให้ชัดเจนหรือว่าต้องเขียนสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ แค่ดูให้แน่ใจว่าเป้าหมายและความฝันเหล่านี้สอดคล้องกับตัวตนและคุณค่าในตัวคุณจริงๆ หากคุณเขียนไม่ออก ให้ลองฝึกเขียนแบบ free-writing หรือการเขียนแบบอิสระดู โดยคุณอาจจะเขียนบรรยายสิ่งต่างๆ ที่อยู่ด้านล่างนี้ [10]
    • อนาคตในอุดมคติของคุณ
    • คุณลักษณะต่างๆ ที่คุณชื่นชมในตัวคนอื่น
    • สิ่งต่างๆ ที่คุณน่าจะทำใด้ดีกว่านี้
    • สิ่งต่างๆ ที่คุณต้องการจะเรียนรู้ให้มากขึ้นไปอีก
    • อุปนิสัยต่างๆ ที่คุณต้องการจะปรับปรุงให้ดีขึ้น
  2. แบ่งเป้าหมายต่างๆ ให้เป็นขั้นเป็นตอนที่แน่นอน. เมื่อคุณค้นพบความใฝ่ฝันและอุดมการณ์ในอนาคตของคุณแล้ว ให้คุณเลือกเป้าหมายที่ชัดเจนมาสักสองสามเป้าหมายเพื่อช่วยให้คุณเข้าถึงเป้าหมายเหล่านั้นได้ พยายามมีความชัดเจนเวลาที่จะอธิบายลักษณะของเป้าหมายเหล่านี้ หากเป้าหมายของคุณยิ่งใหญ่หรือเป็นเป้าหมายระยะยาว ให้คุณแบ่งเป้าหมายเหล่านั้นออกเป็นเป้าหมายหรือขั้นตอนย่อยๆ แล้วลองมองขั้นตอนและเป้าหมายย่อยๆ นี้ให้เป็นหนทางที่จะนำพาคุณไปยังความใฝ่ฝันและอุดมการณ์ต่างๆ ในอนาคตดู [11] [12]
    • ตัวอย่างเช่น การบอกว่า “ฉันอยากจะเป็นนักวิ่งที่ดีให้ทันในวันเกิดปีที่ 50 ของฉัน” นั้นมีความคุลมเครือและอาจจะเป็นเป้าหมายในระยะยาวมากกว่า (ขึ้นอยู่กับอายุในปัจจุบันของคุณ) ซึ่งเป้าหมายที่ดีกว่านี้ก็อาจจะเป็น “ฉันต้องการฝึกฝนเพื่อวิ่งฮาล์ฟ มาราธอน ฉันวางแผนไว้ว่าจะวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนให้ได้ภายใน 1 ปี และวิ่งฟูล มาราธอนให้ได้ภายใน 5 ปีถัดจากนั้น”
  3. จัดลำดับเป้าหมายต่างๆ โดยเรียงลำดับตามผลกระทบของแต่ละเป้าหมาย. มองไปที่เป้าหมายต่างๆ ของตัวเองและตัดสินใจดูว่าเป้าหมายไหนสำคัญและเป็นที่ต้องการสำหรับคุณมากที่สุด ลองคิดดูว่าเป้าหมายแต่ละอันเป็นไปได้มากแค่ไหนและต้องใช้เวลานานเท่าไร และการที่ลงมือทำและบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นน่าจะมีผลกระทบอะไรกับชีวิตคุณได้บ้าง นอกจากนี้คุณควรถามตัวเองด้วยว่า ทำไมคุณถึงให้ค่ากับเป้าหมายบางเป้าหมายมากกว่าอันอื่นๆ และอย่าลืมดูให้แน่ใจด้วยว่าเป้าหมายต่างๆ ในลิสต์ที่คุณเขียนไว้ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง [13] [14]
    • การจัดลำดับให้เป้าหมายที่ตัวเองมีตามผลกระทบที่ได้จากเป้าหมายนั้น จะเป็นแรงกระตุ้นให้คุณลงมือทำตามเป้าหมายเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณเห็นภาพของการบรรลุเป้าหมายนั้นและผลประโยชน์ที่คุณอาจจะได้รับอีกด้วย
  4. คอยติดตามความคืบหน้าของตัวเองเอาไว้ ด้วยการกำหนดเกณฑ์และเดดไลน์ย่อยๆ ให้กับเป้าหมายและขั้นตอนต่างๆ ถ้าคุณทำเป้าหมายต่างๆ ได้ตามเกณฑ์และเวลาที่กำหนดไว้ นั่นจะทำให้คุณรู้สึกถึงความสำเร็จของตัวเอง ช่วยเพิ่มแรงผลักดัน และให้ฟีดแบคที่ทำให้คุณรู้ว่าอะไรที่ได้ผลและอะไรที่ไม่ได้ผล
    • ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือการวิ่งฮาร์ฟ มาราธอนให้ได้ใน 1 ปี ให้คุณกำหนดเดดไลน์การฝึกฝนให้ตัวเองถึง 6 เดือนข้างหน้า และเมื่อคุณไปถึงเป้าหมายของตัวเองแล้ว ให้คุณบอกตัวเองให้ไปฝึกวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนอีก 6 เดือนถัดจากนั้น หากคุณรู้สึกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ คุณอาจจะปรับเปลี่ยนเกณฑ์ที่ตั้งไว้ใหม่อีกรอบก็ได้
    • พยายามใช้ปฏิทินให้เป็นสัญญาณเตือนที่มองเห็นได้ชัดเจน เพื่อที่จะคอยเตือนให้ตัวเองมุ่งมั่นกับเป้าหมายและเวลาที่ตัวเองได้กำหนดไว้ คุณรู้ไหมว่าการกากบาทเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เราทำสำเร็จในปฏิทินนั้น เป็นสิ่งที่สร้างความอิ่มเอมใจให้กับตัวเราได้อย่างมากเลยนะ
  5. ในการวางเป้าหมาย. มองไปที่แต่ละเป้าหมายของคุณและเขียนลงไปว่าเป้าหมายเหล่านั้นมีความชัดเจน (S =Specific) สามารถวัดผลได้ (M = Measurable) สามารถทำได้จริง (A = Attainable) อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (R = Relevant/realistic) และมีกำหนดเวลาที่แน่นอน (T = Time-bound) อย่างไร [15] ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีเป้าหมายที่ดูคลุมเครืออย่าง “ฉันอยากจะเป็นคนที่มีสุขภาพดีกว่านี้” ให้คุณทำเป้าหมายนี้ให้มีความชัดเจนกว่าเดิมด้วยการใช้หลัก S.M.A.R.T. [16]
    • มีความชัดเจน: “ฉันอยากจะให้สุขภาพของตัวเองดีขึ้นด้วยการลดน้ำหนักอีกสักหน่อย”
    • สามารถวัดผลได้: “ฉันอยากจะให้สุขภาพของตัวเองดีขึ้นด้วยการลดน้ำหนักสัก 9 กิโลกรัม”
    • สามารถทำได้จริง: คุณอาจจะไม่สามารถลดน้ำหนัก 45 กิโลกรัมได้ ดังนั้น 9 กิโลกรัมจึงเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้จริงมากกว่า
    • อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง: คุณอาจจะคอยเตือนตัวเองว่าการลดน้ำหนัก 9 กิโลกรัมนั้น จะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณมีพลังงานและความสุขมากขึ้น และจำไว้เสมอว่าคุณไม่ได้กำลังทำสิ่งนี้เพื่อใครคนอื่นอยู่
    • กำหนดเวลาที่แน่นอน: “ฉันอยากจะให้สุขภาพของตัวเองดีขึ้นด้วยการลดน้ำหนัก 9 กิโลกรัมให้ได้ภายในปีหน้า ด้วยการลดให้ได้เฉลี่ยประมาณ 0.73 กิโลกรัมต่อเดือน”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีการพิสูจน์แล้วว่าการเขียนเป้าหมายออกมาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยนักจิตวิทยาคลินิกที่ชื่อว่า ดร. เกล แมตทิวส์ จากมหาวิทยาลัยโดมินิกัน ได้ทำการทดสอบอาสาสมัครจำนวน 149 คน และผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนที่เขียนเป้าหมายของตัวเองออกมามักจะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่ได้เขียนเป้าหมายของพวกเขาอย่างเห็นได้ชัด [17]


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. McGregor, I., & Little, B. R., 1998
  2. Locke, E. A. (1968). Toward a Theory of Task Motivation and Incentives. Journal of Organizational Behavior and Human Performance, 3, 157-189.
  3. Fischhoff, B., Slovic, P., & Lichtenstein, S. (1988). Knowing what you want: Measuring labile values. Decision Making: Descriptive, Normative and Prescriptive Interactions, Cambridge University Press, Cambridge, 398-421. (Chapter 18)
  4. Fischhoff, B., Slovic, P., & Lichtenstein, S. (1988). Knowing what you want: Measuring labile values. Decision Making: Descriptive, Normative and Prescriptive Interactions, Cambridge University Press, Cambridge, 398-421. (Chapter 18)
  5. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  6. Perrone, K. M., Civiletto, C. L., Webb, L. K., & Fitch, J. C. (2004). Perceived barriers to and supports of the attainment of career and family goals among academically talented individuals. International Journal of Stress Management, 11, 114–131.
  7. Schunk, D. H. (1990). Goal setting and self-efficacy during self-regulated learning. Educational Psychologist, 25, 71– 86.
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/coaching-and-parenting-young-athletes/201311/keys-effective-goal-setting
  9. http://www.appliedsportpsych.org/resource-center/resources-for-athletes/principles-of-effective-goal-setting/
  1. Marisano, Hirsh, Perterson, Pihl, and Shore (2010) from Peterson and Mar, 2004.
  2. Austin, J. T., & Vancouver, J. B. (1996). Goal constructs in psychology: Structure, process, and content. Psychological Bulletin, 120, 338 –375.
  3. Locke, E. A., & Latham, G. P. (2006). New directions in goal-setting theory. Current Directions in Psychological Science, 15, 265–268.
  4. Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84, 191–215.
  5. Schunk, D. H. (1991). Self-efficacy and academic motivation. Educational Psychologist, 26, 207–231.
  6. http://www.hr.virginia.edu/uploads/documents/media/Writing_SMART_Goals.pdf
  7. Lawlor, B. & Hornyak, M. (2012). SMART Goals: How the Application of Smart Goals can Contribute to Achievement of Student Learning Outcomes. Journal of Development of Business Simulation and Experimental Learning, 39, 259-267. https://journals.tdl.org/absel/index.php/absel/article/viewFile/90/86
  8. http://www.dominican.edu/academics/ahss/undergraduate-programs-1/psych/faculty/fulltime/gail-matthews

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,855 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา