ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เช่นเดียวกับหลายๆ เรื่องในชีวิต บุคลิกภาพของคุณซับซ้อนและมักจะมีระดับความเข้มข้นมากน้อยแตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีหลักฐานที่บอกว่าสมองของคุณมีระดับของการเก็บตัวหรือการเปิดเผยที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่เกิด [1] แต่ทุกคนก็ล้วนมีทั้งลักษณะของคนเก็บตัวและคนเปิดเผยในคนๆ เดียวกัน คนส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนี้ [2] คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองเก็บตัวมากกว่าหรือเปิดเผยมากกว่าแล้วแต่ว่าวันนั้นหรือประสบการณ์ที่เพิ่งเจอไม่นานมานี้เป็นอย่างไร [3] ซึ่งเรียกว่าคุณเป็นคนมี “ความสนใจต่อโลกภายในและโลกภายนอกพอๆ กัน” [4] บางครั้งคนเก็บตัวก็ถูกทำให้รู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติเกี่ยวกับตัวเอง [5] การเป็นคนเก็บตัวนั้นเป็นธรรมชาติของใครหลายคน และก็ไม่มีอะไรผิดปกติในเรื่องนี้ด้วย แม้ว่าคุณอาจจะไม่มีทาง 'เปลี่ยนจากคนเก็บตัวเป็นคนเปิดเผย' ได้จริงๆ คุณก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อยอมรับส่วนที่เปิดเผยของคุณและพัฒนาส่วนนี้ให้มากขึ้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เข้าใจการเป็นคนเก็บตัวกับการเป็นคนเปิดเผย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนเก็บตัวมักจะเงียบขรึมกว่าคนเปิดเผย พวกเขามักจะชอบใช้เวลากับคนอื่น แต่จะชอบอยู่กับเพื่อนสนิทคนสองคนมากกว่ากลุ่มคนแปลกหน้า (ซึ่งไม่เหมือนกับการเป็นคนขี้อาย) ข้อแตกต่างบางประการระหว่างคนเปิดเผยกับคนเก็บตัวมักจะเกิดขึ้นเพราะว่าสมองของคนเก็บตัวนั้นประมวลผลข้อมูลต่างจากคนเปิดเผย [6] [7] แม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดต่างๆ มากมาย แต่คนเก็บตัวไม่ได้ “เกลียดผู้คน” และไม่ได้ขี้อายเสมอไป คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะทั่วไปของคนเก็บตัว : [8]
    • แสวงหาความสันโดษ [9] โดยทั่วไปคนเก็บตัวใช้ชีวิตคนเดียวได้อย่างเป็นปกติสุข ในหลายๆ สถานการณ์พวกเขาจะชอบอยู่คนเดียวมากกว่าอย่างน้อยก็เกือบตลอดเวลา ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะว่าพวกเขากลัวคนแต่อย่างใด เพียงแต่พวกเขาไม่ได้มีความต้องการที่จะถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนมากนัก [10]
    • ชอบการกระตุ้นน้อยกว่า ข้อนี้มักจะหมายถึงการกระตุ้นทางสังคม แต่ก็ยังรวมถึงการกระตุ้นทางกายภาพด้วย เช่น จริงๆ แล้วคนเก็บตัวจะผลิตน้ำลายเพื่อตอบสนองต่อการรับรสสิ่งที่เป็นกรดมากกว่าคนเปิดเผย! เสียงน่ารำคาญ ผู้คน และแสงจ้า (เช่น ผับทั่วๆ ไป) โดยปกติไม่ใช่สิ่งที่คนเก็บตัวจะชอบมากนัก [11]
    • ชอบอยู่กับคนไม่กี่คนหรือชอบบทสนทนาเงียบๆ มากกว่า [12] คนเก็บตัวอาจจะชอบเข้าสังคม เพียงแต่ปกติแล้วพวกเขามักจะรู้สึกเหนื่อยหลังจากมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่แม้จะสนุกก็ตาม คนเก็บตัวต้อง “ชาร์จพลัง” กับตัวเอง [13]
    • ชอบทำงานคนเดียว คนเก็บตัวมักจะไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่ม พวกเขาจะชอบทำงานคนเดียวมากกว่าหรือร่วมงานกับคนแค่ 1 หรือ 2 คน [14]
    • ชอบกิจวัตรและวางแผน คนที่เป็นคนเก็บตัวมากๆ จะไม่ตอบสนองต่อความแปลกใหม่แบบเดียวกับคนเปิดเผย คนเก็บตัวอาจจะต้องการกิจวัตรและการคาดเดาได้ พวกเขาอาจจะใช้เวลามากมายไปกับการวางแผนหรือคิดทบทวนก่อนลงมือทำ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม [15] [16]
  2. คนเปิดเผยมักจะชอบอยู่ท่ามกลางผู้คน พวกเขามักจะกระตือรือร้น และโดยทั่วไปมักจะมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในชีวิต [17] ความเข้าใจผิดทั่วไปคือคนเปิดเผยจะทนกับการอยู่คนเดียวไม่ได้ ซึ่งไม่จริงเลย พวกเขาแค่มีประสบการณ์การอยู่คนเดียวในแบบที่แตกต่างออกไป [18] คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะโดยทั่วไปของคนเปิดเผย :
    • แสวงหาการเข้าสังคม คนเปิดเผยมักจะมีความสุขที่สุดเวลาอยู่ท่ามกลางผู้คน พวกเขา “ชาร์จพลัง” ด้วยการเข้าสังคมและอาจจะรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหดหู่เวลาที่เขาไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม [19]
    • ชอบการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส [20] คนเปิดเผยมักจะมีวิธีการรับโดปามีนในแบบที่ต่างออกไป ทำให้พวกเขาตื่นเต้นหรือพอใจเวลาที่ได้เจอประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เร้าใจ [21]
    • ชอบเป็นจุดสนใจ คนเปิดเผยไม่ได้ไร้สาระไปกว่าคนอื่น เพียงแต่พวกเขามักจะไม่ได้สนใจเวลาที่คนให้ความสนใจพวกเขา
    • รู้สึกสบายใจกับการทำงานเป็นกลุ่ม คนเปิดเผยอาจไม่ได้ชอบทำงานเป็นกลุ่มเสมอไป แต่โดยทั่วไปพวกเขาจะสบายใจกับการทำงานเป็นกลุ่ม และการทำงานกลุ่มก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาอึดอัดใจ [22]
    • ชอบการผจญภัย ความเสี่ยง และความแปลกใหม่ [23] คนเปิดเผยมักจะชอบและแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาอาจจะเบื่อง่าย และอาจจะตัดสินใจเข้าหากิจกรรมหรือประสบการณ์ต่างๆ เร็วเกินไป [24]
  3. รู้ว่าองค์ประกอบของการเป็นคนเปิดเผยเป็นองค์ประกอบทางชีววิทยา. งานวิจัยพบว่า การเป็นคนเปิดเผยเชื่อมโยงกับบริเวณสองส่วนในสมอง ได้แก่ อะมิกดาลาซึ่งมีหน้าที่ประมวลผลอารมณ์ และ nucleus accumbens ที่เป็น “ศูนย์กลางรางวัล” ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยโดปามีน [25] วิธีที่คุณตอบสนองต่อความเสี่ยงและสิ่งเร้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นคนเปิดเผยนั้นอย่างน้อยที่สุดก็ขึ้นอยู่กับสมองของคุณในบางส่วน
    • หลายงานวิจัยเชื่อมโยงการทำงานของโดปามีนกับการเป็นคนเปิดเผย ซึ่งดูเหมือนว่าสมองของคนที่เป็นคนเปิดเผยนั้นมักจะตอบสนองต่อ “รางวัล” ในสมองมากกว่าและตอบสนองอย่างรุนแรงกว่าเมื่อความเสี่ยงหรือการผจญภัยให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ [26] [27]
    • คนเปิดเผยมักจะแสวงหาความแปลกใหม่และความหลากหลายเพราะการทำงานของโดปามีน งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่มียีนส์ตัวที่เพิ่มโดปามีนมีโอกาสที่จะเป็นคนเปิดเผยมากกว่าคนนี้ไม่มียีนส์นี้ [28]
  4. แบบทดสอบของ Myers-Briggs Personality Inventory ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบทดสอบที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้วัดระดับความเป็นคนเก็บตัว/ความเป็นคนเปิดเผยนั้นจะต้องได้รับการจัดสอบจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น [29] อย่างไรก็ตามมีแบบทดสอบหลายเวอร์ชั่นที่สามารถทำได้ฟรีทางออนไลน์ ซึ่งแม้จะไม่ครอบคลุมหรือถูกต้องตามหลักการมากเท่าของ MBTI แต่ก็บอกให้คุณรู้ได้ว่าคุณอยู่ในช่วงไหนระหว่างขั้วความเป็นคนเก็บตัวกับความเป็นคนเปิดเผย
    • 16Personalities มีแบบทดสอบแบ่งประเภทบุคคลของ MBTI ที่สั้นและมีประโยชน์ที่คุณสามารถทำได้ฟรี นอกจากจะบอกแล้วว่าคุณเป็นคน “ประเภท” ไหนแล้ว แบบทดสอบนี้ยังช่วยให้คุณเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเด่นของคุณด้วย [30]
  5. หนึ่งในความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับคนเก็บตัวคือพวกเขาเป็นคนขี้อายมากๆ และความเชื่อผิดๆ ในทางกลับกันก็คือคนเปิดเผยเป็นพวกชอบปาร์ตี้ ซึ่งทั้งสองประโยคนี้ไม่จริงเสมอไป ความขี้อายเกิดจาก ความกลัว หรือความกังวลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนการเป็นคนเก็บตัวเกิดจาก ความต้องการ ที่จะเข้าสังคมในระดับต่ำมาตั้งแต่เกิด คนเก็บตัวอาจจะไม่ค่อยเป็นฝ่ายเริ่มการเข้าสังคมเท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปพวกเขาก็ไม่ค่อยเลี่ยงการเข้าสังคมด้วยเช่นกัน [31]
    • งานวิจัยพบว่าการเป็นคนเก็บตัวกับการเป็นคนขี้อายนั้นแทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เช่น การเป็นคนขี้อายไม่ได้หมายความว่าคุณไม่อยากอยู่กับคนอื่นๆ และการไม่อยาก (หรือไม่ต้องการ) อยู่กับคนอื่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนขี้อาย แม้แต่คนเปิดเผยก็ยังขี้อายได้! [32]
    • ความขี้อายจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกว่ามันทำให้คุณวิตกกังวลหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำในสิ่งที่คุณ อยาก ทำ [33] กลุ่มสนับสนุนและการฝึกการยอมรับตนเองอาจช่วยให้คุณเอาชนะความขี้อายที่เป็นปัญหานี้ได้ [34]
    • Wellesley College มีแบบทดสอบวัดระดับความขี้อายที่ใช้ในการทำวิจัยฟรี (เป็นภาษาอังกฤษ) ที่นี่ แบบทดสอบนี้จะคำนวณความขี้อายจากชุดคำถามเช่น : [35]
      • คุณรู้สึกเครียดเวลาอยู่ท่ามกลางคนอื่นหรือไม่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่คุณไม่ได้รู้จักเป็นอย่างดี)
      • คุณ อยาก คบกับคนอื่นๆ หรือไม่
      • คุณรู้สึกกลัวการอับอายหรือไม่รู้จะพูดอะไรหรือไม่
      • คุณรู้สึกอึดอัดใจยิ่งกว่าเดิมเวลาอยู่กับกลุ่มคนที่เป็นเพศตรงข้ามหรือไม่
    • จากสเกลของ Wellesley หากคุณได้คะแนนเกิน 49 คะแนนหมายถึงคุณขี้อายมาก 34-49 คะแนนหมายความว่าคุณขี้อายประมาณนึง และต่ำว่า 34 หมายความคุณไม่ได้ขี้อายนัก [36] คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้ประเมินได้ว่าคุณรู้สึกว่าคุณควรทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ตัวเองขี้อายน้อยกว่านี้หรือเปล่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ออกจากพื้นที่ปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาว่าอะไรคือความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด. นักจิตวิทยากล่าวว่า มันมีพื้นที่แห่ง “ความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด” (หรือที่รู้จักกันว่า “ความอึดอัดใจที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ”) ที่อยู่ถัดจากพื้นที่ปลอดภัยแค่ นิดเดียว ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังเรื่องความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ จริงๆ แล้วการปรากฏของความกังวลในระดับที่จำกัดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคุณ [37]
    • เช่น หลายคนทำงานได้ดีมากในช่วงเริ่มงานใหม่ เพราะงานใหม่ทำให้พวกเขาไม่สบายใจประมาณหนึ่ง พวกเขาจึงเอาใจใส่และอุทิศตัวให้กับงานมากเป็นพิเศษเพื่อพิสูจน์ตัวเองและพิสูจน์ให้เจ้านายเห็นว่าพวกเขาทำงานได้
    • การหาความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอาจเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะต้องอาศัยการตรวจสอบตัวเองเพื่อหาว่า จุดไหนที่ความวิตกกังวลมีมากกว่าประสิทธิภาพในการทำงาน
    • ตัวอย่างการก้าวเกินเขตความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็เช่น การเริ่มงานใหม่โดยไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือไม่มีคุณสมบัติที่จะทำงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีนี้ความกังวลว่าจะทำงานได้ไม่ดีมีมากกว่าโอกาสที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ [38]
  2. การผลักดันตัวเองให้เดินเลยเขตพื้นที่ปลอดภัยออกมาเล็กน้อยช่วยให้ได้คุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และประสบคววามสำเร็จในสิ่งที่คุณไม่คิดว่าจะทำได้ การสบายใจกับการออกจากเขตพื้นที่ปลอดภัยจะช่วยให้คุณน้อมรับลักษณะของความเป็นคนเปิดเผยมากขึ้น เช่น การสนุกไปกับสิ่งแปลกใหม่ [39] [40]
    • อย่าผลักดันตัวเองจนไกล เกินไป ค่อยๆ ให้เวลากับมัน เพราะการก้าวข้ามพื้นที่ปลอดภัยไกลเกินไปจะสร้างความวิตกกังวลมากขึ้นในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ แล้วสมรรถภาพของคุณก็จะลดลง
    • พยายามเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก่อน เช่น ถ้าปกติอาหารมื้อเย็นของคุณเป็นการกินแกงจืดไข่เจียวคนเดียวเงียบๆ การกระโดดไปกินหัวใจงูเห่าที่ยังเต้นตุ๊บๆ ต่อหน้าคนอื่นก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่ ลองเขยิบจากพื้นที่ปลอดภัยไปอีกแค่นิดเดียว เช่น ไปกินซูชิกับเพื่อนแล้วลองหน้าใหม่ๆ ที่คุณไม่เคยกินมาก่อน
  3. กำหนดเรื่องท้าทายใหม่ๆ ที่คุณจะต้องลองในแต่ละสัปดาห์ (หรือระดับไหนก็ได้ที่ได้ผลกับคุณ) เพื่อที่คุณจะได้ผูกติดอยู่กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หนึ่งในประโยชน์ของการผลักดันตัวเองให้ออกจากพื้นที่ปลอดภัยก็คือ คุณจะเคยชินกับความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เกิดจากการออกจากพื้นที่ปลอดภัยเล็กน้อย การลองสิ่งใหม่ๆ จะสร้างความไม่สบายใจให้คุณน้อยลงเพราะคุณสอนให้สมองยอมรับสิ่งแปลกใหม่มากขึ้น [41]
    • รู้ว่าคุณอาจจะไม่สบายใจกับความท้าทายเหล่านี้โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ประเด็นของการท้าทายตัวเองไม่ใช่เพื่อให้รู้สึกดีกับการลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำโดยทันที แต่ประเด็นอยู่ที่การรับรู้กับตัวเองว่าคุณพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  4. ลักษณะหนึ่งของคนเปิดเผยคือพวกเขาชอบประสบการณ์ใหม่ๆ และการผจญภัย ในขณะที่คนเก็บตัวชอบวางแผนและคิดทุกรายละเอียดก่อนลงมือทำ ผลักดันตัวเองให้ปล่อยวางเวลาและแผนการที่วางไว้อย่างรัดกุมทิ้งไป [42]
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะทิ้งทุกอย่างแล้วไปเที่ยวรัสเซียทันทีแบบไม่ต้องวางแผน (ยกเว้นว่าคุณอยากทำ) เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ คุณต้องเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และทำให้ตัวเองชินกับการทำเรื่องเล็กๆ แบบอัตโนมัติก่อน
    • เช่น โผล่หน้าไปที่คอกทำงานของเพื่อนร่วมงานแล้วถามเขา/เธอว่าวันนี้ไปกินข้าวกลางวันด้วยกันไหม พาคนรักไปกินมื้อเย็นและดูหนังโดยที่ไม่ต้องวางแผนก่อนว่าจะไปไหนหรือดูเรื่องอะไร การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้จะช่วยให้คุณสบายใจกับการทำอะไรแบบอัตโนมัติในสถานการณ์ที่ปลอดภัยและให้ความสุขกับคุณ
  5. เวลาที่คุณรู้ว่าคุณจะต้องไปอยู่ในที่สาธารณะ นำกิจกรรม นำการประชุม หรือรู้ว่าจะต้องไปอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ ให้เตรียมและจัดระเบียบความคิดของตัวเอง วิธีนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดลงได้
  6. ความเข้าใจผิดโดยทั่วไปคือคนเปิดเผยเข้าสังคมกับคนอื่นได้ “ดีกว่า” คนเก็บตัว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่จริงเลย [43] แต่ในตอนแรกคนอื่นอาจจะ เข้าใจว่า การเป็นคนเปิดเผยนั้นดีกว่าเพราะคนเปิดเผยมักจะแสวงหาโอกาสที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น [44] ท้าทายตัวเองให้หาโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในงานสังคมครั้งถัดไป [45]
    • คุยกับใครสักคนที่งานปาร์ตี้ มันอาจจะยากเกินไปหากต้องพยายาม “เข้าไปเจ๊าะแจ๊ะกับคนอื่นๆ” แบบที่คนเปิดเผยมากๆ เขาทำกัน แต่ให้คุณวางแผนที่จะคุยกับใครสักคนหนึ่ง แนะนำตัวเองโดยการพูดว่า “ฉันว่าเราอาจจะไม่เคยเจอกันมาก่อนนะคะ ดิฉัน…ค่ะ” [46]
    • มองหา “พวกไม้ประดับ” คนอื่นๆ พวกเขาอาจจะเป็นคนเก็บตัวเหมือนกัน หรืออาจจะแค่ขี้อายก็ได้ การเข้าไปสวัสดีพวกเขาอาจเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่ดีก็ได้ แต่คุณไม่มีวันรู้จนกว่าคุณจะได้ลอง [47]
    • ยอมรับความเปราะบางของตัวเอง ถ้าคุณไม่สบายใจที่จะเข้าหาคนแปลกหน้า ก็ให้เริ่มจากจุดนั้น! การแซ็วเรื่องความประหม่าของตัวเอง เช่น “ฉันไม่เคยรู้เลยว่าจะต้องเริ่มทำอะไรแบบนี้ยังไง” ช่วยลดความตึงเครียดและทำให้คนอื่นเข้าหาคุณ [48]
    • เตรียม “เรื่องคุย” ไว้ 2-3 เรื่อง โดยทั่วไปคนเก็บตัวชอบวางแผนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นให้เตรียมเรื่องชวนคุยไว้ 2-3 เรื่องสำหรับการไปเจอผู้คนครั้งถัดไป คุณไม่จำเป็นต้องเปิดด้วยมุกเชยเฉิ่มหรือประหลาด ลองถามคำถามปลายเปิดที่ต้องการคำตอบมากกว่าใช่หรือไม่ใช่ เช่น “เล่าให้ดิฉันฟังหน่อยสิค่ะว่าคุณทำอะไร” หรือ “คุณชอบทำอะไรแถวนี้ค่ะ” คนเราชอบพูดเรื่องตัวเองอยู่แล้ว และคำถามปลายเปิดก็เป็นการชักชวนให้เขาเข้าหาคุณด้วย [49]
  7. ถ้าหนึ่งในเป้าหมายของคุณคือการรู้จักเพื่อนใหม่ คุณก็ต้องหาวิธีที่จะทำแบบนั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าคุณจะต้องไปผับบาร์หรือที่อื่นๆ ที่คุณไม่อยากไป ไม่ใช่ว่าคนเปิดเผยทุกคนจะมีสโมสรพิเศษไว้สำหรับสังสรรค์ (ที่จริงแล้ว คนเปิดเผยบางคนเป็นคนขี้อายด้วยซ้ำ!) ค่อยๆ พิจารณาอย่างมีเหตุผลว่าคนประเภทไหนที่คุณอยากเป็นเพื่อนด้วย จากนั้นมองหางานสังคมที่คุณอาจจะได้เจอพวกเขา หรือไม่ก็สร้างการพบปะทางสังคมขึ้นมาเองเลย [50]
    • ชวนเพื่อน 2-3 คนมางานพบปะเล็กๆ ที่บ้านของคุณ แล้วให้เพื่อนแต่ละคนพาเพื่อนมาอีกคนด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีต้องเป็นเพื่อนที่คุณไม่เคยเจอมาก่อน วิธีนี้จะทำให้คุณได้พบปะผู้คนใหม่ๆ ในบรรยากาศที่สบายใจกับคนที่คุณรู้จักอยู่แล้ว
    • เพิ่มระดับความสัมพันธ์ออนไลน์ไปเป็นการพบปะแบบเจอหน้ากันจริงๆ เช่น ถ้าคุณใช้เพจแสดงความคิดเห็น คุณก็อาจจะเน้นคุยกับคนในละแวกเดียวกันแล้วหาโอกาสเจอกันจริงๆ บ้าง แต่คุณต้องไม่ไปพบปะกับคนที่คุณไม่รู้จักโดยสิ้นเชิงด้วยวิธีนี้
    • จำไว้ว่าคนเก็บตัวมักจะลนลานได้ง่าย [51] คุณไม่สามารถเข้าไปทำความรู้จักกับคนอื่นได้หากคุณยังต้องต่อสู้กับสิ่งเร้าต่างๆ ที่กวนใจอยู่มากมาย เลือกสถานที่และสถานการณ์ที่คุณสบายใจ (หรืออึดอัดแค่ นิดหน่อย ) เพราะโอกาสที่คุณจะเข้าสังคมนั้นมีมากกว่าหากคุณรู้สึกสบายใจ
  8. แน่นอนว่าคุณยังคงยอมรับแนวโน้มของการเป็นคนเก็บตัวไว้อยู่ได้ เช่น คลาสโยคะอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ เพราะโยคะอาศัยการจดจ่อไปที่การทำสมาธิจากข้างในและความเงียบ ทำความรู้จักกับคนที่อยู่ข้างคุณ หรือถามคำถามผู้สอน 2-3 คำถาม
    • จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องคุยกับทุกคนในห้องถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการน้อมรับลักษณะของการเป็นคนเปิดเผยขึ้น
  9. วิธีนี้เป็นวิธีการเปลี่ยนกิจกรรมสันโดษมาเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ดี กลุ่มอ่านหนังสือทำให้คุณได้แบ่งปันความคิดเห็นและความคิดของคุณกับกลุ่มคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน คนเก็บตัวมักจะชอบบทสนทนาที่ลึกซึ้งกับกลุ่มคนเล็กๆ และกลุ่มอ่านหนังสือก็ตรงกับความต้องการนี้พอดี [52]
    • กลุ่มอ่านหนังสือมักจะพบปะกันไม่ค่อยบ่อยนัก เช่น สัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ด้วยเหตุนี้กลุ่มอ่านหนังสือจึงเหมาะกับคนเก็บตัว เพราะโดยทั่วไปคนเก็บตัวจะไม่อยากเข้าสังคมบ่อยนัก
    • ถ้าคุณไม่รู้จะไปหากลุ่มอ่านหนังสือที่ไหน ให้เข้าไปที่ Goodreads.com ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนกลุ่มอ่านหนังสือออนไลน์ เป็นที่ที่ผู้คนจะมาพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันเรื่องหนังสือ นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหากลุ่มหนอนหนังสือใน Meetups ใน Bangkok แล้วหากลุ่มอ่านหนังสือที่เข้ากับความสนใจของคุณ
  10. คุณอาจจะประหลาดใจที่รู้ว่านักแสดงชื่อดังหลายคนเป็นคนเก็บตัว Robert De Niro เป็นคนเก็บตัวมากๆ แต่เขาก็เป็นนักแสดงที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา [53] Emma Watson ที่โด่งดังมากจาก “Harry Potter” ก็อธิบายว่าตัวเองเป็นคนเงียบๆ และเก็บตัวเช่นกัน [54] การแสดงจะทำให้คุณได้สวมบท “ตัวตนฉากหน้า” ที่ต่างออกไปและได้สำรวจพฤติกรรมที่คุณอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับตัวเองนักในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย [55]
    • คลาสการแสดงแบบ Improv ยังมีประโยชน์กับคนเก็บตัวอีกด้วย คลาสการแสดงแบบ Improv จะสอนให้คุณคิดแบบไม่คิด พัฒนาความยืดหยุ่น และตอบ “ตกลง” กับข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ๆ หนึ่งในแนวคิดหลักของคลาสการแสดงแบบ Improv ก็คือ การยอมรับอะไรก็แล้วแต่ที่โยนมาใส่คุณและพยายามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้คุณผลักดันตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัยของการเป็นคนเก็บตัวได้อย่างแน่นอน [56]
  11. เข้าร่วมกลุ่มดนตรีอย่างวงประสานเสียง วงดนตรี หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักร้องแนว Barbershop อาจช่วยให้คุณได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ กิจกรรมเหล่านี้อาจดีกับคนเก็บตัว เพราะการเน้นไปที่ดนตรีอาจช่วยลดความกดดันในการเข้าสังคมออกไปได้
    • นักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นคนเก็บตัว Will Rogers ตำนานเพลงคันทรีและ Christina Aguilera นักร้องเพลงป๊อปที่มีชื่อเสียงเป็นแค่ตัวอย่างจากไม่กี่คนเท่านั้น [57]
  12. หลังจากที่คุณผลักดันตัวเองให้น้อมรับสถานการณ์ทางสังคมแล้ว คุณต้องให้เวลาตัวเองได้อยู่เงียบๆ เพื่อฟื้นฟูตัวเองทางจิตใจและทางอารมณ์มาก ในฐานะที่คุณเป็นคนเก็บตัว คุณต้องการ “เวลาพัก” เพื่อให้คุณรู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะเข้าสังคมอีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนเก็บตัวบางครั้งก็ลืมไปว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกเหมือนได้ “ชาร์จพลัง” จากการอยู่คนเดียว อย่าลืมเข้าหาเพื่อนๆ และคนที่คุณรัก แม้ว่าจะแค่เข้าไปพูดว่า “หวัดดี” ก็ตาม การเป็นคนเริ่มเข้าหาคนอื่นก่อนเป็นลักษณะของคนเปิดเผยมากกว่า แต่ถ้าฝึกฝนสักหน่อยก็ไม่ยากจนเกินไป
    • การใช้โซเชียลมีเดียเป็นวิธีที่ดีในการฝึกการเป็นฝ่ายเข้าหาความสัมพันธ์ต่างๆ ก่อน ส่ง Tweet ที่แสดงถึงความสนิทสนมให้เพื่อน โพสต์รูปแมวตลกๆ ในหน้า Facebook ของพี่/น้อง การเข้าหาคนอื่นก่อนแม้จะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ช่วยให้คุณน้อมรับด้านของความเป็นคนเปิดเผยได้มากขึ้น
  2. ถ้าคุณเป็นแฟนกับคนที่เป็นคนเปิดเผยมากกว่าคุณ คุณสามารถขอให้เขาช่วยให้คุณยอมรับลักษณะที่เป็นคนเปิดเผยของตัวเองมากขึ้นได้ แต่คุณก็จะได้ประโยชน์จากการพูดคุยกับเขาว่าคุณชอบและไม่ชอบอะไรในการเข้าสังคมด้วย ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่าคุณจะจัดการกับความต้องการที่แตกต่างกันนี้ได้อย่างไร [58]
    • เช่น คนเปิดเผยอาจจะต้องเข้าสังคมกับคนอื่นบ่อยๆ จริงๆ ถึงจะรู้สึกเติมเต็ม แม้ว่าคุณจะพยายามเปิดใจและเข้าหาคนอื่นมากขึ้น คุณก็อาจจะไม่ได้อยากเข้าสังคมมากเท่าแฟนของคุณ การให้คนรักของคุณออกไปข้างนอกโดยไม่มีคุณบ้างจะช่วยให้คุณได้อยู่บ้านและได้ชาร์จพลัง เพื่อที่คุณจะได้มีความสุขทั้งสองฝ่าย
    • คุณอาจจะขอให้คนรักพาคุณไปงานสังคมต่างๆ ด้วย ถึงคุณจะไม่ได้ตื่นเต้นที่จะไปขนาดนั้น ก็ให้พยายามออกไปบ้าง การมีคนที่คุณรู้จักและไว้ใจไปด้วยจะช่วยให้คุณสบายใจมากขึ้น
  3. เนื่องจากคนเก็บตัวมักจะอยู่แต่ในโลกของตัวเอง พวกเขาจึงอาจลืมที่จะแสดงความรู้สึกของเขาให้คนอื่นได้รับรู้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนอื่นโดยเฉพาะคนเปิดเผยในการที่จะบอกว่าคุณกำลังมีความสุขหรืออยากจะซ่อนตัวเอาเสียมากๆ [59] บอกคนอื่นว่าคุณรู้สึกอย่างไรก่อนที่เขาจะต้องเอ่ยปากถาม
    • เช่น ถ้าคุณอยู่ที่งานปาร์ตี้กับเพื่อน ให้บอกเขาหรือเธอว่า “ฉันสนุกมากเลย!” คุณอาจจะไว้ตัวหรือเงียบขรึมมากกว่าเป็นปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำตัวลึกลับตลอดเวลา
    • เช่นเดียวกัน ถ้าคุณหมดพลังที่งานสังคมก่อนคนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าคุณจะเป็นแบบนั้น ก็ให้บอกไปเลยตรงๆ คุณอาจจะพูดประมาณว่า “ฉันสนุกมากจริงๆ แต่ตอนนี้เริ่มเหนื่อยล่ะ ขอตัวกลับบ้านก่อน ขอบคุณนะ วันนี้สนุกมากเลย!” วิธีนี้จะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีช่วงเวลาดีๆ แต่คุณก็สามารถยืนยันความต้องการที่จะกลับบ้านไปชาร์จพลังได้ด้วยเช่นกัน
  4. การเป็นคนเก็บตัวและการเป็นคนเปิดเผยเป็นเพียงแค่ตัวตนที่แสดงออกแตกต่างกัน ไม่มีฝ่ายไหนเหนือกว่าอีกฝ่าย อย่าดูถูกตัวเองที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ในแบบที่ต่างไปจากเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรัก แต่ก็อย่าตัดสินคนอื่นจากเรื่องการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน [60]
    • แย่หน่อยที่พวกคนเปิดเผยมักจะเหมารวมคนเก็บตัวว่าเป็น “พวกเกลียดคน” หรือ “น่าเบื่อ” และคนเก็บตัวก็มักจะเหมารวมว่าคนเปิดเผยเป็นพวก “ตื้นเขิน” หรือ “เอะอะมะเทิ่ง” พอๆ กัน อย่ารู้สึกว่าตัวเองต้องดูถูก “อีกฝ่าย” เพื่อที่จะได้ซาบซึ้งกับสิ่งที่ตัวเองเป็น เพราะคนแต่ละประเภทก็มีจุดแข็งและความท้าทายแตกต่างกันไป [61]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเป็นคนเก็บตัวไม่เหมือนกับการเป็นคนขี้อาย คนเก็บตัวคือคนที่ชอบทำกิจกรรมสันโดษมากกว่ากิจกรรมทางสังคมจริงๆ ในขณะที่คนขี้อายจะออกห่างจากสถานการณ์ทางสังคมเพราะความกลัวและความวิตกกังวล ถ้าคุณเป็นคนที่อยากคุยและเข้าสังคมกับคนอื่นแต่รู้สึกไม่กล้าทำหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง ปัญหาที่คุณต้องพยายามแก้อาจจะเป็นเรื่องความขี้อายมากกว่า อ่านบทความ วิธีการเลิกเป็นคนขี้อาย เพื่อช่วยคุณแก้ไขปัญหานี้
  • คนเก็บตัวรู้สึกว่าการเข้าสังคมเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย ถ้าคุณเป็นคนเก็บตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าสังคมหากคุณแค่อยากอยู่คนเดียวบ้าง
  • แม้ว่าความขี้อายและความวิตกกังวลเรื่องการเข้าสังคมจะเป็นอาการที่ต้องแก้ไขและเอาชนะ การเป็นคนเก็บตัวเป็นลักษณะบุคลิกภาพพื้นฐานที่มักจะคงที่ตลอดชีวิต การเป็นตัวของตัวเอง รับรู้ถึงคุณค่าและคุณความดีในฐานะปัจเจกบุคคลและในฐานะคนเก็บตัวนั้นดีกว่าเสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • น้อมรับลักษณะของการเป็นคนเปิดเผยเพราะว่า คุณ อยากทำ ไม่ใช่เพราะคนอื่นบอกว่าคุณ “ควร” เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จงรักในสิ่งที่คุณเป็น!
โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  2. http://www.scientificamerican.com/article/the-power-of-introverts/
  3. http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2003/03/caring-for-your-introvert/302696/
  4. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  5. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  6. https://www.psychologytoday.com/articles/199907/the-difference-between-introverts-and-extroverts?collection=101164
  7. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  8. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  9. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/09/11/7-persistent-myths-about-introverts-extroverts/
  10. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  11. https://www.psychologytoday.com/articles/199907/the-difference-between-introverts-and-extroverts?collection=101164
  12. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  13. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  14. http://journal.frontiersin.org/article/10.3389/fnhum.2013.00288/abstract
  15. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  16. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  17. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  18. http://journal.frontiersin.org/article/10.3389/fnhum.2013.00288/abstract
  19. http://link.springer.com/article/10.1007/s11055-007-0058-8#page-1
  20. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/take-the-mbti-instrument/
  21. http://www.16personalities.com/free-personality-test
  22. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/200910/introversion-vs-shyness-the-discussion-continues?collection=101164
  23. Cheek, J. M., & Melchior, L.A. (1990). Shyness, self-esteem, and self-consciousness. In H. Leitenberg (Ed.), Handbook of Social and Evaluation Anxiety (pp. 47-82). New York: Plenum Publishing.
  24. https://www.psychologytoday.com/blog/singletons/200811/shyness-biologically-based-mental-disorder-or-personality-quirk
  25. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201401/how-overcome-anxiety-shyness-real-life-success-stories
  26. http://academics.wellesley.edu/Psychology/Cheek/research.html
  27. http://academics.wellesley.edu/Psychology/Cheek/howshy.html
  28. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201207/can-anxiety-be-good-us
  29. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201207/can-anxiety-be-good-us
  30. http://www.wsj.com/articles/SB10001424052702303836404577474451463041994
  31. http://psychclassics.yorku.ca/Yerkes/Law/
  32. http://www.nytimes.com/2011/02/12/your-money/12shortcuts.html?pagewanted=all&_r=0
  33. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201411/how-introverts-can-be-more-spontaneous
  34. https://www.psychologytoday.com/blog/cutting-edge-leadership/201110/why-extraversion-may-not-matter?collection=101164
  35. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201109/extrovert-envy?collection=101164
  36. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  37. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  38. http://blogs.wsj.com/atwork/2015/04/03/an-introverts-advice-for-getting-ahead-2/
  39. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  40. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  41. https://www.psychologytoday.com/blog/changepower/201103/introverts-extroverts-and-habit-change?collection=101164
  42. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  43. http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2003/03/caring-for-your-introvert/302696/
  44. http://www.forbes.com/sites/deborahljacobs/2012/07/24/how-to-turn-an-introvert-into-an-extrovert-or-vice-versa/
  45. http://www.eonline.com/news/507948/emma-watson-in-wonderland-i-m-genuinely-a-shy-socially-awkward-introverted-person
  46. http://theinneractor.com/42/being-shy-and-an-actor/
  47. https://www.psychologytoday.com/blog/self-promotion-introverts/201310/improv-introverts
  48. http://www.huffingtonpost.com/2013/08/13/famous-introverts_n_3733400.html
  49. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201003/introverts-and-extroverts-in-love?collection=101164
  50. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201109/extrovert-envy?collection=101164
  51. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201102/mistakes-introverts-make
  52. http://www.forbes.com/sites/deborahljacobs/2012/07/24/how-to-turn-an-introvert-into-an-extrovert-or-vice-versa/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,793 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา