ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การทิ้งชีวิตแบบเดิมไปอาจเป็นอะไรที่ยากลำบาก เพราะเราใช้ชีวิตแบบเดิมจนคุ้นเคย เมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนแปลงชีวิต ก็ย่อมรู้สึกกลัวเป็นธรรมดา [1] แต่เมื่อการมีชีวิตแบบเดิมเป็นอะไรที่น่าเจ็บปวดสำหรับเรา ถึงตอนนั้นเราก็คงไม่กลัวที่จะเปลี่ยนแปลงและพยายามเริ่มต้นชีวิตใหม่ ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่ถ้ามีความมุ่งมั่นตั้งใจและพยายามอย่างถึงที่สุด เราก็สามารถเปลี่ยนแปลงตัวตนและชีวิตของเราได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาหนทางไปสู่อนาคตที่ดีกว่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดสิว่าอยากทำอะไรให้สำเร็จ และความสำเร็จนั้นทำให้อนาคตของเราดีกว่าในปัจจุบันและอดีต เขียนเป้าหมายให้สั้นและชัดเจน เราจะสามารถทำตามเป้าหมายนั้นได้ เป้าหมายของเราต้องเป็นไปตามความจริง ชัดเจน สามารถวัดความก้าวหน้าได้ มีกำหนดเวลา และทำให้สำเร็จได้
    • ลองคิดถึงอะไรที่เราไม่ต้องการในชีวิตด้วย
    • เริ่มทำตามเป้าหมายเดียวให้เป็นจริงก่อน
    • แตกเป้าหมายใหญ่เป็นเป้าหมายย่อย หรือขั้นตอนที่เราสามารถทำได้ เราจะได้บรรลุเป้าหมายไปทีละเล็กทีละน้อย
  2. ลองคิดว่ามีใครบ้างที่สามารถเป็นแรงผลักดันและช่วยเราให้บรรลุเป้าหมายได้ ถ้าเราต้องไปอยู่ที่ใหม่และไม่มีเพื่อนเลยสักคน ให้พยายามติดต่อเพื่อนเก่าบ้างและพยายามหาเพื่อนใหม่ให้ได้ด้วย ติดต่อครอบครัวซึ่งคอยรักและห่วงใยเราเสมอ เอาใจใส่ความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัวและเพื่อน ด้วยการเป็นคนซื่อสัตย์ จริงใจ และมีความเห็นอกเห็นใจ การเอาใจใส่ต่อความสัมพันธ์นี้จะแสดงให้ครอบครัวและเพื่อนรู้ว่าเราอยากกลับตัวกลับใจเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมจริงๆ
    • แรงสนับสนุนอาจได้จากผู้ทรงความรู้ เช่น ครูบาอาจารย์ ลองขอคำแนะนำจากพวกท่านและทำตามคำแนะนำนั้นดู หากคิดว่าครูบาอาจารย์สามารถช่วยแก้ปัญหาที่มีได้ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์กับครูบาอาจารย์อาจช่วยเราได้ในอนาคต เมื่อเราต้องการให้ใครสักคนพูดสนับสนุนเราให้ได้เข้าทำงานหรือเรียนต่อ แรงสนับสนุนจากผู้ทรงความรู้อาจช่วยให้เรามีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้
  3. อยู่ห่างจากเพื่อนที่พาชีวิตของเราตกต่ำ ถ้าคนพวกนั้นไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น แต่ยังดึงเราให้กลับไปมีนิสัยที่ไม่ดี ทำพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือทำอะไรที่ไม่ดีเหมือนเดิม [2] เพื่อนแบบนี้อาจดูถูกและล้อเราที่พยายามเลิกพฤติกรรมเก่าที่ไม่ดีอีกด้วย อย่าไปสนใจพวกนั้นและตั้งใจเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นก็พอ
    • ควรมีคนพูดคุยและสนับสนุนให้เราเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นด้วย
  4. การตั้งเป้าหมายต้องคำนึงถึงชีวิตประจำวันด้วย ตอนเริ่มวันใหม่ในแต่ละวัน ให้นึกถึงตารางชีวิตของวันนั้น สิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ และสิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือทำ พอจบวันให้ไตร่ตรองสิว่าวันนั้นเป็นอย่างไรบ้างและเป้าหมายเราก้าวหน้าไปมากแค่ไหนแล้ว ถ้าไม่ได้ก้าวหน้าไปมากอย่างที่หวัง ก็ไม่เป็นไร สิ่งที่สำคัญคือเราต้องพยายามทำต่อไปเรื่อยๆ
    • อดีตที่ไม่ดีอาจยังคงอยู่ ไม่ว่าจะพยายามทิ้งชีวิตแบบเดิม หรืออยู่ให้ห่างจากสถานการณ์อันเลวร้ายซึ่งคนอื่นเป็นผู้ก่อ (เช่น ความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ข่มเหง ) ชีวิตก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงในชั่วข้ามคืน การเปลี่ยนแปลงนิสัยและพฤติกรรมให้ดีขึ้นรวมทั้งการรับมือกับสถานการณ์อันเคร่งเครียดได้เป็นอย่างดีนั้นต้องใช้เวลา ถึงจะสามารถทำได้สำเร็จ [3]
  5. เราเป็นคนควบคุมความคิด อารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรม และชีวิตของตนเอง [4] จงลงมือทำตามเป้าหมายและพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น เลือกสิ่งที่ตนเองจะทำอย่างรอบคอบ ทุกเช้าให้มองกระจกและพูดออกมาด้วยความมั่นใจว่า “สิ่งที่ฉันเลือกในวันนี้เป็นผลดีต่ออนาคต” ’ [5]
    • ไม่สำคัญว่าใครต้องรับผิดต่อเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตของเรา เราต้องทำปัจจุบันและอนาคตให้ดี พึงระลึกไว้ว่าเราควบคุมได้แค่ตนเองและการกระทำของตนเองเท่านั้น รวมทั้งพึงระลึกไว้ว่าการกระทำของเรามีผลกระทบต่อบุคคลอื่นและอนาคตด้วย [6]
    • การเอาแต่นั่งโทษคนอื่นที่ทำให้ชีวิตเราตกต่ำนั้นง่าย แต่อย่าใช้ความผิดของผู้อื่นมาเป็นข้ออ้างไม่ยอมทำให้ชีวิตของตนเองดีขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ยอมรับและให้อภัยให้ตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักบำบัดจะรับฟังความคิด ความกังวลใจ และปัญหาของเราอย่างตั้งใจและไม่ตัดสินใดๆ แล้วช่วยเรากำหนดเป้าหมายและดำเนินตามเป้าหมายได้มากขึ้น [7] นักบำบัดมีทักษะและวิธีการที่ช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นและทำให้เรามองสิ่งต่างๆ ในแง่มุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
    • ถึงไม่ใช่ผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต ก็สามารถเข้าพบนักบำบัดได้ การพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาและนักบำบัดนั้นมีประโยชน์ต่อทุกคน [8] แต่ถ้าไม่สบายใจที่จะเข้าพบนักบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษา เพราะกลัวถูกคนอื่นล้อ ก็ให้ระบายปัญหากับคนที่เราเชื่อใจ คนที่เรารู้ว่าเข้ารับการบำบัดอยู่ หรือค้นคว้าเรื่องการบำบัดเพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ตเพื่อจะได้เข้าใจขั้นตอนการบำบัดมากขึ้น
  2. พยายามอย่ากลับไปทำตัวไม่ดีแบบเก่า การปรับปรุงตนเองนั้นอาจยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรากำลังพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น แต่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม เช่น ไปโรงเรียนหรือทำงานที่เดิมทุกวัน เราอาจต้องเผชิญกับผลของสิ่งที่เราเลือกในอดีตก่อนที่เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้
    • เราจะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นเสมอและแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเปลี่ยนไปแล้ว แต่สิ่งที่จะบอกคนอื่นได้ดีที่สุดคือการกระทำของเราเอง
    • ยอมรับการลงโทษจากผู้ใหญ่ (เช่น ครูใหญ่ หรือหัวหน้า) และพยายามปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น เพราะการพยายามปรับปรุงตนเองเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรารับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
  3. เราอาจกำลังมีปัญหากับคนอื่นจนทำให้ตนเองต้องลำบากและทุกข์ใจมาถึงตอนนี้ เราอาจทะเลาะกับพี่ชายอย่างรุนแรงและเขาไม่ยอมพูดคุยด้วยอีกแล้ว การพยายามสานความสัมพันธ์จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นและทำให้จิตใจของเราสงบลงได้ [9] ถ้าเราเป็นคนผิดที่ทำให้คนอื่นเดือดเนื้อร้อนใจ จงยอมรับความผิดนั้นเสีย
    • ขอโทษและบอกว่าจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ขอโทษคนที่เรารักกับเรื่องที่เกิดขึ้น อธิบายว่าเรารู้ตัวว่าทำให้เขาเจ็บปวด และรู้สึกผิด จากนั้นสัญญากับคนคนนั้นว่าเราจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น นี่เป็นตัวอย่างคำขอโทษ
      • ฉันขอโทษเรื่อง...
      • ฉันเป็นฝ่ายผิดเพราะ...
      • ต่อไปฉันจะ...
      • ให้อภัยฉันได้ไหม [10]
    • คนที่เรารักอาจไม่ให้อภัยเราในทันที ฉะนั้นพยายามต่อไป
  4. เราอาจอยากแสดงความรับผิดชอบ เพราะรู้สึกผิดที่ตนเองเป็นตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องแย่ๆ ขึ้นมา (หรือคิดว่าตนเองมีส่วนทำให้เกิดเรื่องแย่ๆ นั้น) [11] ลองพูดคุยเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกผิดกับเพื่อนที่ไว้ใจ อธิบายความรู้สึกของตนเองและเหตุผลที่ทำให้รู้สึกผิด
    • เมื่อพูดคุยกับเพื่อน เราอาจได้รับมุมมองที่แตกต่างออกไป แต่ถ้าไม่อยากพูดคุยกับใคร ให้พยายามเขียนสิ่งที่คิดออกมา จากนั้นเขียนตอบสิ่งที่ตนเองคิดในแบบที่เราจะตอบให้คนที่เรารักฟัง ซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา
    • การทำอะไรผิดพลาดไปไม่ได้ทำให้เราด้อยค่าลงหรือทำให้เราเป็นคนไม่ดี [12] คนเราต่างทำผิดพลาดกันได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันตนเองไม่ให้กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะมาถึงจุดที่ตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่ เราอาจพบเจอปัญหาภายในครอบครัวมาตลอดและตัดสินใจว่าอยากทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในกรณีไหน ให้พยายามหาปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหา
    • นึกถึงคำพูดและการกระทำของผู้อื่น พฤติกรรมต่างๆ (ของตนเองและคนอื่น) น้ำเสียง และรูปแบบความคิดของเรา
    • เขียนรายการความคิดที่ไม่ดีซึ่งเรามักจะคิดกับตนเองอยู่บ่อยๆ หาหลักฐานมาสนับสนุนและหักล้างความคิดนี้ ดูข้อเท็จจริงมากกว่าความเห็น ถามตนเองสิว่าทำไมถึงคิดแบบนี้
  2. การวางแผนป้องกันไว้ก่อนจะทำให้เราไม่กลับไปทำพฤติกรรมเดิมอีก เมื่อไรก็ตามที่สังเกตเห็นความรู้สึกที่กระตุ้นให้เราอยากกลับไปทำพฤติกรรมเดิมที่ไม่ดี ให้วางแผนป้องกันไว้และทำตามแผนนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าสังเกตเห็นว่าเวลารู้สึกเศร้า เรามักจะชอบดื่มแอลกอฮอล์ ก็ให้วางแผนคลายความเศร้าลงให้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เรากลับไปดื่มแอลกอฮอล์อีก
    • พูดคุยกับเพื่อนและขอความช่วยเหลือจากเขา เมื่อเรารู้สึกเศร้า ลองโทรหาเพื่อนและขอให้เขามาหาเรา อาจชวนกันเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอื่นๆ เราอาจแม้แต่พยายามพูดคุยถึงเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าก็ได้ เพื่อนของเราอาจให้คำแนะนำดีๆ ที่ช่วยคลายความรู้สึกเศร้าลงไปได้
    • พยายามวางแผนไว้มากกว่าหนึ่งแผน เพราะอาจมีสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถใช้แผนแรกได้
  3. ถ้าเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาต่างๆ ก็ให้พยายามหาทางแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำอีก แต่ถ้าคนอื่นเป็นต้นเหตุของปัญหาในชีวิตเรา เราก็อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้ยาก ตัวอย่างเช่น สมมติเราอาศัยอยู่กับพ่อแม่ และพ่อแม่ทะเลาะกันจนทำให้ชีวิตในบ้านไร้ความสุข เราอาจขอให้พ่อแม่พูดคุยกันและผสานความเข้าใจกันเพื่อจะได้ไม่ทะเลาะกันอีก
    • เรารู้จักคนที่เรารักดีที่สุด จึงรู้ว่าบางครั้งการขอให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนให้ดีขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เราต้องคิดหาวิธีช่วยพวกเขาด้วย อาจปรึกษาผู้อื่นเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด หรือค้นคว้าหาบทความทางจิตวิทยาที่คิดว่าน่าจะช่วยให้แนวทางในการแก้ปัญหาได้มาอ่าน
  4. เราอาจไม่สามารถหยุดทำพฤติกรรมเก่าได้เลยทันที แต่เราสามารถสร้างพฤติกรรมใหม่เพื่อเอามาแทนที่พฤติกรรมเก่าได้ [13] ตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นว่าตนเองมีนิสัยชอบสูบบุหรี่ในห้องหลังจากกลับมาถึงบ้านแล้ว ให้สร้างกิจวัตรใหม่ที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายแทน วางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้าและขอให้เพื่อนช่วยเหลือถ้าเราต้องการ พอกลับมาถึงบ้าน ให้เปลี่ยนเสื้อผ้า กินของว่างรองท้อง แล้วออกไปเข้าห้องสมุดประชาชนเพื่อทบทวนบทเรียนทันที
    • การทำกิจวัตรใหม่จนเป็นนิสัยอาจยากลำบากในตอนแรก ให้เริ่มทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไปเรื่อยๆ จนเป็นนิสัย ตัวอย่างเช่น เราต้องการรักษาสุขภาพอนามัยของปากและฟันให้ดี เราต้องพยายามตั้งใจแปรงฟันก่อนเข้านอนและหลังจากตื่นนอนตอนเช้า ตั้งเตือนไว้ที่มือถือทุกวัน หรือขอให้พ่อแม่ช่วยเตือนให้เราแปรงฟัน สุดท้ายพอเริ่มทำจนเป็นนิสัยแล้ว เราก็ไม่อาจฝืนตนเองให้กลับไปทำพฤติกรรมเดิมได้อีก
  5. เมื่อตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง ให้นึกถึงเป้าหมายในชีวิตประจำวันและในระยะยาวเข้าไว้ ระลึกไว้ว่าการตัดสินใจจะมีผลต่อปัจจุบันและอนาคตของเรา นึกถึงการเลือกทางเดินที่ผิดพลาดในอดีต ใช้เป็นบทเรียนและเลือกทางที่ดีกว่า
    • บางครั้งเราอาจตัดสินใจเลือกวิธีที่เคยใช้แล้วได้ผลในอดีต แต่ตอนนี้ใช้ไม่ได้ผลอีกแล้ว เราอาจเคยใช้วิธีเล่นวีดีโอเกมเพื่อทำให้จิตใจกลับมากระปรี้กระเปร่า แต่ตอนนี้การเล่นวีดีโอเกมกลับไม่ได้ให้ผลแบบนั้น นี่เป็นเรื่องปกติ เพราะเราอาจโตเกินกว่าที่จะใช้วิธีเดิมแบบนี้ [14] ฉะนั้นอย่าฝืนตนเองทำอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเรา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เห็นใจตนเองและอดทน ถ้าเราเอาแต่ต่อว่าตนเองที่ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ตามที่ต้องการได้สำเร็จ เราก็จะไม่ค่อยมีความภาคภูมิใจในตนเองและแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงชีวิตก็จะลดน้อยลง [15]
  • อาจลองเข้ารับการบำบัดเป็นกลุ่ม ถ้าไม่อยากเข้ารับการบำบัดคนเดียว
  • การเลิกนิสัยเก่าและสร้างนิสัยใหม่นั้นต้องใช้เวลา เพราะนิสัยต่างๆ นั้นฝังอยู่ในวิถีประสาทของสมองและเป็นพฤติกรรมที่เราทำจนเคยชิน แต่อย่ายอมแพ้ ถ้าต้องการเลิกนิสัยเก่าและสร้างนิสัยใหม่ให้สำเร็จ [16]
  • ระลึกไว้ว่าเราสามารถทำได้แค่เพียงควบคุมปัจจุบันเพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตที่กำลังจะมาถึง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ ทำได้แค่นึกถึงเท่านั้น [17] ฉะนั้นพยายามเรียนรู้บทเรียนจากอดีตและอย่าปล่อยให้ตนเองทำผิดพลาดซ้ำอีก
  • ผลจากการกระทำในอดีตของเราอย่างหนึ่งอาจทำให้เราต้องเผชิญหน้ากับผู้คนที่เราไม่ต้องการเป็นเพื่อนกับพวกเขาอีกแล้ว ถ้าเป็นไปได้ ให้สุภาพแต่รักษาระยะห่างกับคนพวกนี้ไว้ ถ้าคนพวกนี้พยายามสร้างความวุ่นวายด้วยการเยาะเย้ยและยั่วโมโหเรา อย่าไปสนใจหรือไม่ก็ขอให้พวกนั้นหยุดทำแบบนั้นเสียที
โฆษณา

คำเตือน

  • เราอย่าอดทนให้ใครมาใช้กำลังทำร้ายเรา ถ้าคนที่เรารักหรือผู้ใหญ่ (เช่น ครู) ทำร้ายเรา ให้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เราสามารถหาข้อมูลหน่วยงานต่อต้านความรุนแรงได้ที่ รายชื่อหน่วยงานต่อต้านความรุนแรง


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,621 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา