ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณอยากรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเวลาถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกของตัวเองหรือเปล่า คุณหวังว่าคนอื่นจะเห็นมุมมองของคุณในสายตาหรือไม่ คุณพยายามแทบตายเพื่อที่จะได้แสดงความคิดเห็นอย่างมั่นใจในวงสนทนาหรือเปล่า การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาเป็นคุณลักษณะที่เมื่อใช้ควบคู่กับทักษะและสติปัญญาแล้ว สามารถช่วยให้คุณโดดเด่นจากคนหมู่มากได้ การเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมาคือการพูดสิ่งที่คุณคิด ซื่อสัตย์ และเปิดเผย จริงใจแต่ก็รู้กาลเทศะ [1] การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเป็นเหมือนหนังสือที่เปิดค้างอยู่และเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดในชีวิตของคุณเสมอไป ไม่ได้แปลว่าจะต้องไม่มีเส้นแบ่งเขตหรือชั้นวรรณะ ไม่ใช่การแสดงความคิดเชิงลบและวิจารณ์ยืดยาวทุกครั้งที่มีโอกาส คุณสมบัติของการเป็นคนพูดตรงไปตรงมานั้นเป็นทักษะเชิงบวกและเป็นทักษะที่พึงปรารถนา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาเสียงของตัวเองให้เจอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้ว่าตัวเองเป็นใคร คุณเชื่ออะไร คุณคิดอะไร รู้สึกอะไร และต้องการอะไรเป็นจุดเริ่มต้นของการรู้จักตัวเอง และการเขียนบันทึกก็เป็นวิธียอดเยี่ยมที่จะได้มาซึ่งความรู้นั้น ฝึกเขียนบันทึก 15 นาทีหรือมากกว่านั้นในแต่ละคืนก่อนนอน การเขียนบันทึกไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้น แต่ยังเป็นเครื่องมืออันชาญฉลาดที่จะช่วยให้คุณได้เพิ่มความมั่นใจในตัวเองด้วย ความมั่นใจในตัวเองเป็นพื้นฐานของการเป็นคนพูดตรงไปตรงมา ลองเริ่มจากการเขียนบันทึกในหัวข้อต่อไปนี้เพื่อเป็นหนทางไปสู่การรู้จักตัวเองมากขึ้น:
    • ของขวัญวันเกิดในอุดมคติของคุณคืออะไรพร้อมบอกเหตุผล
    • สิ่งที่กล้าหาญที่สุดที่คุณเคยทำคืออะไร
    • คุณชื่นชมใครมากที่สุดและเพราะอะไร
    • คุณอยากเป็นที่จดจำในรูปแบบไหน
  2. การจะเป็นคนพูดตรงไปตรงมาได้นั้น คุณต้องเชื่อว่าเสียงของคุณมีคุณค่า [2] คุณต้องเชื่อว่าสิ่งที่คุณจะพูดออกไปนั้นจะทำให้บทสนทนาใดๆ ก็แล้วแต่ดีขึ้น และมันก็อาจจะดีขึ้นจริงๆ ก็ได้! ความคิดเห็นที่แตกต่างคือสิ่งที่ทำให้การสนทนาหรือการโต้แย้งน่าสนใจ
    • ถ้าคุณประสบปัญหาเรื่องความมั่นใจ วิธีง่ายๆ ก็คือเริ่มจากหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่คุณคุ้นเคยมากที่สุดก่อน ยิ่งคุณรู้หัวข้อที่คุณกำลังพูดมากเท่าไหร่ คุณก็จะพูดถึงมันได้อย่างสบายใจมากขึ้นเท่านั้น
    • เช่น ถ้าคุณหลงใหลในศิลปะป้องกันตัว ก็ให้คุยเรื่องศิลปะป้องกันตัว ถ้าคุณชอบที่จะทำให้สวนของคุณสมบูรณ์แบบอยู่เสมอ ก็ให้คุยเรื่องการทำสวน เริ่มจากความสบายใจที่จะพูดถึงสิ่งที่อยู่ใกล้หัวใจของคุณมากที่สุดก่อน
    • การฝึกฝนจากสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญก่อนจะช่วยให้คุณต่อยอดไปยังหัวข้อที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น เช่น การปกครอง ศีลธรรม หรือศาสนา
  3. เอาชนะความขี้อาย . แค่เพราะคุณมั่นใจก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะชอบเสียงของตัวเอง ขั้นตอนต่อไปคือเอาชนะความขี้อายให้ได้ [3] การเอาชนะแนวโน้มธรรมชาติที่มีต่อความเขินอายอาจดูน่ากลัว แต่การทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับสัญชาตญาณตามธรรมชาตินั้นจะช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้เห็นชุดทางเลือกใหม่ๆ และเป็นทางเลือกที่ท้าทายกว่าเดิมด้วย
    • ซิตคอมเรื่อง Seinfeld ในตอนที่ชื่อว่า “The Opposite” นั้น ตัวละครที่ชื่อจอร์จคิดขึ้นมาได้ว่า ทุกการตัดสินใจที่เขาเคยทำมานั้นผิดตลอด เขาก็เลยสรุปว่าถ้าเขาทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสัญชาตญาณตามธรรมชาติของเขา ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่าเดิม จอร์จจึงตัดสินใจทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาทำตามปกติในทุกสถานการณ์ ตอนจบเขาก็เปลี่ยนจากคนตกงานที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่มาเป็นคนที่มีงานทำในองค์กรชาวอเมริกันแยงกี้ในนิวยอร์ก และได้มีที่ยืนของตัวเองสักที
  4. จุดแข็งของเรามักจะเป็นไปตามสิ่งที่เราสนใจ เพราะสิ่งที่เราสนใจเผยให้เห็นถึงความปรารถนาอันแรงกล้า การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณพูดถึงสิ่งที่คุณสนใจและความปรารถนาอันแรงกล้าของคุณ เมื่อคุณหาจุดแข็งของตัวเองเจอแล้ว [4] จงรู้สึกมั่นใจที่จะถ่ายทอดมุมมองหรือแม้กระทั่งเป็นผู้นำในโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องใช้จุดแข็งเหล่านี้ ถามคำถามตัวเองต่อไปนี้เพื่อค้นหาจุดแข็งของตัวเอง :
    • ฉันสนใจอะไร
    • งานอดิเรกของฉันคืออะไร
    • ฉันเก่งวิชาอะไรมากที่สุด
    • งานส่วนไหนที่ฉันทำได้ดีบ้าง
  5. พัฒนาความคิดเห็นของคุณ. คุณคงไม่อยากฟังเหมือนเป็นคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ หรือในไม่ช้าก็จะไม่มีใครฟังคุณ [5] นอกจากนี้ การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาจะยากมากๆ ถ้าคุณไม่มีอะไรจะพูด! ลองนึกว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับข่าวเด่นประเด็นร้อนในวงสังคมของคุณ ท้ายที่สุดแล้วก็มีแต่คุณเท่านั้นที่มีคำตอบ และความคิดเห็นของคุณก็จะไม่มีวันผิดด้วย!
    • ถ้าคุณไม่มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจริงๆ ให้ค้นคว้าเรื่องนี้เล็กน้อยแล้วตัดสินใจว่าคุณคิดอย่างไร
    • รู้ว่าการไม่มีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ถือเป็นความคิดเห็นเช่นเดียวกัน คุณแค่ไม่เห็นว่ามันสำคัญและมีค่ามากพอที่จะโต้แย้ง
    • เช่น คุณอาจจะพบว่าตัวเองไม่ได้อินกับข่าวซุบซิบดาราเพราะว่าคุณแค่ไม่ได้สนใจ คุณก็พูดได้ว่า “ฉันมีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่าในตอนนี้” หรือ “ฉันไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้”
  6. บางคนรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแสดงหรือถ่ายทอดความคิดเห็นเพราะว่าพวกเขาไม่มีความรู้ในสิ่งที่พูดสักเท่าไหร่ คุณสามารถต่อสู้กับความรู้สึกนี้และมีความมั่นใจในความคิดเห็นของตัวเองมากขึ้นได้ถ้าคุณศึกษาข้อเท็จจริงที่มาสนับสนุนความคิดเห็นของคุณ
    • เช่น ถ้าเพื่อนๆ และครอบครัวของคุณพูดเรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุขตลอดเวลา ให้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้สัก 2-3 บทความและตัดสินใจว่าคุณคิดอย่างไร ถ้าคุณสามารถหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนความคิดเห็นของคุณได้ คุณก็จะรู้สึกสบายใจที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
  7. คุณคงไม่อยากเป็นคนที่แสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนอื่นเรื่อยเปื่อยทุกครั้งไป คนที่ดูเหมือนจะพูดตรงไปตรงมาเพียงเพราะอยากเป็นคนตรงไปตรงมา หรือคนที่ภาคภูมิใจเวลาที่ตัวเองสามารถแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีใครโต้แย้งได้ แทนที่จะเป็นคนแบบนี้ ให้รู้ว่าคุณมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในเรื่องอะไรและยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น
    • รอจนกว่าจะถึงเรื่องที่คุณสนใจแล้วค่อยพูด ถ้าคุณแสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งอยู่เรื่อย คุณอาจจะดูเป็นคนก้าวร้าวและน่ารำคาญ ใจความสำคัญก็คือคุณต้องทำให้คนอื่นสังเกตและใส่ใจในสิ่งที่คุณคิด ไม่ใช่ใช้ความคิดเห็นของคุณหักหน้าคนอื่น
  8. วัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาในโลกตะวันออกมักจะบอกว่าเราต้องกล้าแสดงออก ที่ทำงานให้คุณค่ากับคนที่กล้าพูด ทำให้การสนทนาลื่นไหล และสร้างความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม การเป็นคนเงียบขรึมก็ไม่ผิดอะไร บางครั้งการถอยหลังออกมาก็อาจจะเป็นการกระทำที่ถูกกาลเทศะมากที่สุดและเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพต่อการสื่อสารมากที่สุดก็ได้ [6]
    • เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ส่วนใหญ่ การอยู่ตรงกลางนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การเป็นคนพูดตรงไปตรงมา 24 ชั่วโมงไม่ควรเป็นเป้าหมายของคุณ คุณควรตั้งเป้าไปที่การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกว่า ความคิดเห็นของคุณนั้นถูกลดทอนคุณค่าหรือต้องป้องกัน ถ้าไม่ใช่ในกรณีนี้ ให้เงียบขรึมเขาไว้
  9. สิ่งนี้เป็นแค่มารยาทในการโต้แย้งที่ดีทั่วไป ในการที่จะแสดงความคิดเห็น แลดูเป็นคนมีเหตุผล และเป็นคนที่คนอื่นควรรับฟังนั้น คุณไม่ควรดูเป็นคนเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ใจแคบ หรืออวดดี การให้ฝ่ายอื่นๆ ได้แสดงความคิดเห็นของพวกเขาอย่างเต็มที่ช่วยให้คุณดูเป็นคนที่มีเหตุผลและนิ่งมากขึ้น
    • วิธีนี้สำคัญทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากที่คุณพูดสิ่งที่คิดออกไป การพูดว่า "คุณรู้ไหมว่าคุณพูดถูก ฉันไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้มาก่อนเลย" นั้นเป็นสิ่งที่น่าประทับใจ เพราะเป็นการทิ้งระเบิดข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ให้อีกฝ่าย หลายคนอาจจะพล่ามได้ไม่หยุดหย่อน แต่น้อยคนที่จะหยุดและยอมรับว่าตัวเองอาจจะผิด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะสับสนระหว่างการเป็นคนพูดตรงไปตรงมากับการเป็นคนหยาบคายและเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ได้ง่ายๆ [7] ในการเรียนรู้ศิลปะอันงดงามของการเป็นคนพูดตรงไปตรงมานั้น ให้เลือกเพื่อนที่รู้จักคุณและห่วงใยคุณ ฝึกพูดสิ่งที่คุณคิดอย่างซื่อสัตย์และมั่นใจ เพื่อนที่คุณไว้ใจสามารถช่วยให้คุณฝึกการเป็นคนพูดตรงไปตรงมาได้จนกว่ามันจะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยการประเมินการพูดของคุณ
    • การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาจะฟังดูคล้ายๆ อย่างนี้ “ฉันชอบดาราศาสตร์ และฉันก็คิดว่าเราสามารถเรียนรู้อะไรได้อีกมากจากการศึกษาท้องฟ้ายามค่ำคืน”
    • การเป็นคนหยาบคายหรือเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่จะฟังดูคล้ายๆ แบบนี้ “มีแต่พวกโง่งมเท่านั้นที่ไม่ซาบซึ้งกับท้องฟ้ายามค่ำคืน”
  2. คุณอาจจะรู้สึกหวาดกลัวได้ง่ายๆ ถ้าคุณกังวลว่าคนอื่นจะคิดหรือพูดอย่างไรเกี่ยวกับคุณ [8] แต่คุณสามารถปล่อยความรู้สึกนั้นไปได้ การแสดงความเป็นตัวของตัวเองได้เป็นอย่างดีหลังจากที่คุณได้ค้นคว้าและสร้างความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจนจะทำให้คุณรู้สึกมั่นใจในสิ่งที่คุณกำลังพูดมากขึ้น และกังวลเรื่องการตัดสินของคนอื่นน้อยลง
  3. คุณสามารถเป็นคนพูดตรงไปตรงมาโดยที่ยังรู้กาลเทศะและอ่อนไหวกับความรู้สึกของคนอื่นไปด้วยได้ [9] การรู้ว่าเมื่อไหร่ต้องพูดตรงไปตรงมาและการรู้ว่าตัวเองอยากจะพูดอะไรมักจะเป็นเรื่องของกาลเทศะ
    • ถ้าคุณเป็นคนไม่มีศาสนา ในงานศพของสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่งจากไปนั้นอาจจะไม่ใช่ที่ๆ คุณควรแสดงความคิดเห็นว่าคนที่ตายก็แค่ตายไปและไม่ได้ไปไหน การเก็บความคิดเห็นไว้กับตัวเองในบริบทนี้แสดงถึงการรู้กาลเทศะเป็นอย่างยิ่ง
  4. การปล่อยให้การโต้แย้งดีๆ ถูกบดบังด้วยคำพูดที่ไม่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องน่าเสียดาย หลายคนสนใจคำที่ใช้สื่อความคิดมากจนจับใจความไม่ได้ว่าสิ่งที่พูดคืออะไร คุณสามารถเลี่ยงปัญหานี้ได้ด้วยการพยายามพูดจาให้ดีที่สุด [10] ลองนึกว่าคนที่พูดจาดีคนอื่นๆ เช่น ผู้ประกาศข่าว ว่าพวกเขามักจะพูดและเรียบเรียงความคิดอย่างไร จากนั้นให้พยายามเลียนแบบพวกเขา
    • บางครั้งส่วนหนึ่งของการเป็นคนพูดจาดีก็ไม่ใช่แค่การพูดอะไรยืดยาว การพูดสั้นๆ และตรงประเด็นก็มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ตราบใดที่คุณนำเสนอข้อมูลอย่างละเอียด
    • เช่น การพูดว่า "อุตสาหกรรมปลาทูน่านั้นเป็นอุตสาหกรรมที่น่ารังเกียจ ใครก็ตามที่รับประทานปลาทูน่าถือเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ" นั้นไม่เพียงพอ ให้สนับสนุนสิ่งที่คุณพูดด้วยการพูดว่า : "อุตสาหกรรมปลาทูน่านั้นไม่ยั่งยืน ถ้าเรายังไม่หยุดอีก 10 ข้างหน้าปลาทูน่าจะต้องหายไปจากตลาดแน่นอน มนุษย์เราทำลายวงจรชีวิตอย่างสิ้นเชิง"
  5. ควบคู่ไปกับการเลือกสมรภูมิโต้แย้ง คุณควรจะสามารถประเมินได้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องปล่อยให้การโต้แย้งจบลง เมื่อคุณพูดสิ่งที่ต้องพูดออกไปแล้ว ก็ปล่อยให้คำพูดและความคิดของคุณอธิบายตัวมันเอง ไม่จำเป็นต้องไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ!
    • สังเกตสัญญาณจากคนรอบข้างด้วย ถ้ามีใครที่เริ่มรู้สึกไม่พอใจ เดือดดาล หรือกำลังแสดงอารมณ์ที่เป็นลบอื่นๆ ออกมา ให้ถอยมาก่อน คุณสามารถย้อนกลับไปที่ประเด็นเดิมทีหลังได้ถ้าจำเป็น
  6. บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ เมื่อคุณเริ่มเป็นคนพูดตรงไปตรงมาเป็นปกติแล้ว ปฏิกิริยานี้ก็ จะ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ การได้ยินเสียงตัวเองพูดจะไม่ทำให้คุณกังวล การได้เห็นคนอื่นมีปฏิกิริยาต่อความคิดเห็นของคุณจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่เป็นส่วนที่เป็นธรรมชาติของการขัดเกลาทางสังคมของมนุษย์
    • เริ่มจากการตั้งเป้าแสดงความคิดเห็นให้ได้วันละ 1 ครั้ง ค่อยๆ พยายามทุกครั้งที่คุณพบว่าตัวเองกำลังนึกถึงบางสิ่งที่เกี่ยวข้องและไม่ได้พูดออกไป ถ้าคุณพยายามมากเกินไป คุณจะดึงตัวเองกลับมาได้ไม่ยาก และถ้ามีใครถามว่าทำไมคุณถึงเปลี่ยนไป ก็ให้บอกเขาไปตรงๆ เลย! คุณกำลังพยายามเป็นคนพูดตรงไปตรงมาอยู่ แค่นั้นแหละ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พูดตรงไปตรงมาอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นคนพูดตรงไปตรงมาทั้งที่บ้าน และ ที่ทำงาน. การบอกครอบครัวว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับโลกรอบตัวคุณ จริงๆ นั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การเดินเข้าที่ประชุม ยกมือ และยอมรับความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องยากกว่ากันมาก แต่สิ่งที่ยากคือสิ่งที่มีความหมายมากที่สุดจริงๆ และอาจจะหมายถึงการเลื่อนตำแหน่งที่คุณอยากได้มานานก็ได้!
    • ยิ่งคุณทำมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งสบายใจที่จะทำสิ่งนั้นมากขึ้น ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นเริ่มตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป เมื่อมีความคิดแวบเข้ามาในหัวว่าคุณพูดได้ ก็ให้พูด นั่นคือ ทั้งหมด ที่คุณต้องทำ ทำวันละ 1 ครั้งจนกว่าการเป็นคนแสดงความคิดเห็นของทีมจะทำให้คุณรู้สึกกลัวน้อยลง คุณสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นได้จากจุดนี้
  2. การโต้แย้งที่เต็มไปด้วยสติปัญญาและใจที่เปิดกว้างเป็นการสนทนาที่มีชีวิตชีวาและเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แต่การพูดกับใครสักคนที่บังคับให้คุณยอมรับความคิดเห็นของเขาและไม่ยอมหยุดจนกว่าคุณจะยอมเปลี่ยนความเชื่อเพราะขี้เกียจเถียงด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสักนิด [11] อย่าเป็นคนที่ไม่ยอมหยุดจนกว่าทุกคนในห้องจะเห็นด้วยกับคุณ นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการเป็นคนพูดตรงไปตรงมา
  3. บางคนมีปัญหากับการเก็บความคิดเห็นไว้กับตัวและ ไม่ สามารถที่จะไม่ตั้งเป้าโน้มน้าวอีกฝ่ายได้ บ่อยครั้งเป็นเพราะพวกเขาเชื่ออย่างสุดใจและอย่างรวดเร็วว่าพวกเขาถูกต้อง 100% [12] อีกคนฟังดูงี่เง่าจะตาย ทำไมคนอื่นถึงดูไม่ออก ก็เพราะว่าอีกคนเขาเชื่อ ในสิ่งเดียวกันเป๊ะ ยังไงล่ะ
    • เรื่องแปลกก็คือถ้าคุณอ่านบทความนี้ คุณก็คงไม่ใช่คนประเภท "ฉันถูก เธอผิด" แต่คุณอาจจะต้องรับมือกับคนประเภทนี้เมื่อคุณกลายเป็นคนหนึ่งที่ต่อต้านความคิดเห็นของพวกเขา ให้พวกเขารู้ว่ามุมมองข้างเดียวของพวกเขาไม่ได้นำไปสู่การโต้แย้งที่สนุกและเต็มไปด้วยสติปัญญา ไม่มีประโยชน์ที่จะไปโต้แย้งกับคนประเภทนี้ เพราะฉะนั้นอย่าไปเสียเวลาด้วยเลย!
  4. เมื่อคุณเริ่มแสดงความคิดเห็นของตัวเอง คุณจะต้องเจอคนอื่นๆ ที่รู้สึกอยากจะแสดงความคิดเห็นของตัวเองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้คุณยังจะต้องเจอคนที่แสดงความคิดเห็นที่ทำให้คุณต้องคิดว่า " นี่เขาพูดอะไรออกมาเหรอ...ฉันได้ยินผิดไปหรือเปล่า" เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อย่าทำให้ความมีเหตุผลของคุณแปดเปื้อนด้วยการวิจารณ์ว่า"คุณประสาทหรือเปล่า" หรือ "โง่ชะมัด" เพราะมันไม่ได้ทำให้คุณอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเดิม และอีกฝ่ายก็ไม่ได้แย่ลงด้วย แต่มันจะทำให้คุณดูเป็นคนใจร้ายมากกว่า [13]
    • พยายามทำให้การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาของคุณไม่ฟังดูเหมือนเป็นการตัดสินคนอื่นให้ได้มากที่สุดเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้คน ถ้าคุณไม่อยากไปดูหนังเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับเพื่อนๆ ก็ให้บอกไปตามตรง แต่ถ้าสมมุติว่ามีใครพูดว่าเขากำลังพยายามลดน้ำหนัก ก็ให้นึกถึงกาลเทศะเกี่ยวกับเรื่องที่พูดสักเล็กน้อย
  5. เอา Nelson Mandela เป็นแบบอย่าง ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมพยายามฟังสิ่งที่แต่ละคนพูดในระหว่างการสนทนาก่อนที่ผมจะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง บ่อยครั้งที่ความคิดเห็นของผมกลายเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเห็นพ้องต้องกันของสิ่งที่ผมได้ยินในระหว่างการโต้แย้ง" [14]
    • การฟังก่อนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก บางทีประเด็นของคุณอาจจะมีการพูดถึงไปแล้ว หรือไม่แน่ว่าคนอื่นอาจจะมีประเด็นที่ ดีกว่า ก็ได้! วิธีเดียวที่คุณจะแน่ใจได้จริงๆ ว่าการเป็นคนพูดตรงไปตรงมาของคุณนั้นได้เติมเต็มจุดประสงค์ของการพูดแล้วก็คือ การที่คุณฟังก่อนจะอ้าปากพูด วิธีนี้ช่วยให้คุณไม่เสียใจทีหลังด้วย!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพูดอะไรที่แสดงถึงการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ หรือน่ารังเกียจ
  • คุณต้องมีศีลธรรมในความคิดเห็นของตัวเองเสมอ
  • อย่ากลัว ความคิดเห็นของคุณควรค่าแก่บางสิ่งบางอย่าง
  • ถ้าคุณจำเป็นต้องบอกใครคนใดคนหนึ่งว่า คุณคิดว่าบางสิ่งที่เขาทำนั้นผิด ให้บอกเป็นการส่วนตัว
  • ใช้คำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อความที่กระชับมักสร้างผลลัพธ์ได้มากกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า
โฆษณา

คำเตือน

  • การเป็นคนพูดตรงไปตรงมาอาจทำให้คุณมีศัตรูเพิ่มขึ้น แต่ถ้าคุณเป็นคนดีและซื่อสัตย์ คุณก็มักจะมีศัตรูแค่ไม่กี่คน นอกจากนี้คุณยังจะได้รับความเคารพมากขึ้นอีกด้วย
  • เพื่อนบางคนอาจจะชอบคนที่ขี้อายและระมัดระวังมากๆ เท่านั้น เพื่อนที่ดีควรเข้าใจว่าคุณไม่ได้เปลี่ยนไป แต่คุณอาจจะได้เปลี่ยนกลุ่มคนที่คุณคบหาด้วยก็ได้
  • หลีกเลี่ยงถ้อยคำหยาบคายขณะที่คุณกำลังโต้แย้ง เพราะอาจจะทำให้อีกฝ่ายพลาดประเด็นดีๆ ที่คุณกำลังพูดถึงและอาจจะไปบดบังประเด็นที่สร้างผลลัพธ์ที่ดีก็ได้
  • ระมัดระวังเวลาที่คุณโต้แย้งกับคนที่มีอำนาจ เช่น หัวหน้า ครู เป็นต้น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,525 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา