ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเป็นคนเงียบขรึมนั้นสามารถมองได้หลายด้าน หลายคนมักจะมองว่าคนที่มีบุคลิกเงียบขรึมนั้น ต้องเป็นเพราะว่าคนๆ นั้นขี้อายมากๆ หรือไม่ก็อาจเป็นคนไม่สนโลกไปเลยก็ได้ แม้ว่าในความจริงอาจจะไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป ซึ่งการเป็นคนที่มีบุคลิกเงียบขรึมมากกว่าเดิม ก็ไม่ได้มีผลทำให้สังคมของคุณเปลี่ยนไปสักเท่าไร ถ้าหากคุณฝีกฝนและมีความเข้าใจสักหน่อย คุณก็จะสามารถเป็นคนที่เงียบและขรึมโดยที่เพื่อนๆ ของคุณยังไม่ตีตัวออกห่างไปไหน และคุณก็ยังสามารถเป็นตัวของตัวเองได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เป็นคนเงียบขรึม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งที่ผู้คนมักจะเข้าใจผิดกันก็คือ คนที่ดูเงียบขรึมนั้นไม่มีเพื่อน ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่แบบนั้นเลย คนที่มีบุคลิกเงียบขรึมบางคน จะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ที่จะสร้างมิตรภาพที่แข็งแกร่งกับคนอื่น ด้วยการโฟกัสอยู่กับการทำความรู้จักในสิ่งที่คนอื่นเป็น มากกว่าจะไปพูดคุยในเรื่องที่ไม่มีสาระสำคัญ หรือพูดเกี่ยวกับเรื่องของตัวเองให้คนอื่นฟัง [1]
    • คุณไม่จำเป็นต้องหาเพื่อนที่เป็นคนเงียบขรึมเหมือนคุณก็ได้ แต่คุณควรจะมั่นใจว่าคนที่อยู่ใกล้ตัวคุณเหล่านั้น เป็นคนที่เข้าใจลักษณะนิสัยเงียบๆ ของคุณ
    • หาคนที่เข้าใจและยอมรับในตัวคุณ หากคุณไม่รู้ว่าใครในสังคมรอบข้างของคุณ เป็นคนที่มีความเข้าใจและยอมรับต่อสิ่งต่างๆ ลองพูดคุยกับผู้คนเหล่านั้นแล้วค่อยๆ เรียนรู้ไปว่าตัวตนของพวกเขาเป็นยังไง
  2. คนที่มีบุคลิกเงียบขรึมบางคนพบว่า บุคลิกส่วนตัวแบบนี้ทำให้พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้สึกของตัวเองได้ [2] การรับรู้และเข้าใจว่าคุณรู้สึกยังไงต่อคนอื่น ความคิด หรือประเด็นต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในการปลูกฝังความตระหนักในตัวคุณเอง ซึ่งนี่จะช่วยทำให้คุณใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้ง่ายกว่าเดิม
    • สละช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งมาไตร่ตรองแต่ละวันของคุณ หากคุณกำลังพยายามทำให้ตัวเองเป็นคนที่เงียบขรึมมากกว่าเดิม คุณควรจะเจียดเวลาบางส่วนมานั่งคิดไตร่ตรองตัวคุณและวันของคุณ [3]
    • ลองคิดออกมาว่า ประสบการณ์ไหนในชีวิตของคุณ ที่เป็นสิ่งที่มีความหมายและเป็นแสงสว่างสำหรับคุณ และหาเหตุผลว่าทำไมประสบการณ์เหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงตัวคุณ และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร [4]
    • เวลาที่คุณคุยกับคนอื่นที่สนิทกับคุณ ให้ถามพวกเขาว่าคิดยังไงกับพฤติกรรมและความคิดต่างๆ ของคุณ ทำให้พวกเขารู้ว่าคุณต้องการจะเป็นคนที่มีความตระหนักในตัวเอง รวมถึงตระหนักในวิธีที่คุณคิดและทำให้มากกว่านี้ ซึ่งมุมมองจากคนนอก จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะมันจะช่วยทำคุณได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น [5]
  3. คนที่มีบุคลิกเงียบๆ หลายคน มักจะอุทิศเวลาและพลังงานส่วนใหญ่ของพวกเขาไปกับสิ่งที่พวกเขาหลงใหล [6] แม้ว่าจริงๆ อาจจะไม่ใช่แบบนั้นทุกคน แต่นี่ก็คือลักษณะทั่วไปของคนประเภทนี้ และถ้าคุณมีลักษณะส่วนตัวแบบนี้ นี่อาจจะทำให้คุณเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคงขึ้น และรู้สึกดีที่ตัวเองเป็นคนที่มีบุคลิกเงียบขรึมมากกว่าเดิม
    • ลองนึกย้อนกลับไปในตอนที่คุณยังเป็นเด็กอยู่ แล้วลองดูว่ากิจกรรมอะไรที่คุณชอบทำมากที่สุดในช่วงเวลานั้น หากคุณชอบวาดรูป/ระบายสีด้วยนิ้วมือ นั่นแสดงว่าบางทีคุณอาจจะสนใจศิลปะก็ได้ หรือถ้าหากคุณรักการเขียนและการอ่าน ก็ลองลงเรียนคอร์สเรียนการเขียนดู เพราะสิ่งที่เคยมีคุณค่าที่สุดสำหรับคุณในช่วงวัยเด็ก อาจจะยังเป็นสิ่งที่คุณหลงใหลอยู่ลึกๆ ในใจก็เป็นได้ [7]
    • หากคุณยังคิดไม่ออกว่าตอนนั้นคุณชอบทำอะไร ให้คุณลองคิดถึงสิ่งที่คุณทำอยู่ในปัจจุบัน แล้วดูว่ามีสิ่งไหนที่สามารถจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นของคุณได้ และอะไรที่ทำให้ชีวิตแต่ละวันของคุณไม่น่าเบื่อ [8]
  4. เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคม. หากคุณเป็นคนที่มีบุคลิกเงียบขรึม โอกาสที่คุณจะรู้สึกหวาดกลัวและอึดอัดกับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมก็จะมีมากขึ้น สำหรับบางคน แค่การออกไปซื้อของข้างนอกก็อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้เครียดได้ เพราะว่าการออกไปซื้อของนั้น ต้องมีการสื่อสารกับคนแปลกหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว แต่ก็ยังโชคดีอยู่ เพราะยังมีหลายหนทางที่คุณสามารถใช้เพื่อช่วยให้ตัวเองใช้ชีวิตอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมได้ ซึ่งนี่จะช่วยลดความเครียดและความอึดอัดต่อสถานการณ์ต่างๆ ของคุณ และวิธีการต่างๆ ก็มีดังนี้
    • ใส่หูฟังในขณะที่คุณกำลังเดิน ใช้ขนส่งสาธารณะ หรือกำลังมองหาของที่อยากได้ในร้านค้า [9]
    • หลีกเลี่ยงคนที่ดูเหมือนจะอารมณ์เสียหรือฉุนเฉียว [10]
    • หลีกเลี่ยงหรือไม่ต้องไปสนใจคำพูดเล็กๆ น้อยๆ ของคนแปลกหน้า [11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

พูดคุยกับคนอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเป็นคนเงียบๆ คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดเวลาที่ต้องคุยเป็นการส่วนตัวกับอีกฝ่ายกลางห้างสรรพสินค้าหรือโรงอาหารโรงเรียน ซึ่งคนที่มีบุคลิกแบบนี้หลายคนจะรู้สึกว่า มันง่ายและผ่อนคลายกว่ามากที่จะพูดคุยกันในที่เงียบๆ และมีบรรยากาศผ่อนคลายมากกว่านี้ หากเป็นไปได้ คุณอาจจะต้องหาที่เงียบๆ และสบายให้เจอก่อนที่จะเริ่มพูดคุยกับอีกฝ่าย [12]
    • สถานที่ๆ มีเสียงดังและวุ่นวาย มักจะไม่เอื้อให้บทสนทนาเกิดจากความคิดไตร่ตรองของผู้พูดสักเท่าไร เพราะเสียงรบกวนพวกนั้นจะทำให้ทั้งคู่พูดเสียงดังและตรงจนเกินไป ซึ่งนี่อาจจะทำให้คนอื่นตกใจได้ [13]
    • สำหรับบางคน สถานที่ๆ อึดอัดและร้อน ก็สามารถทำลายความคิดของผู้พูดได้เช่นเดียวกัน [14]
    • ลองนึกดูว่าที่ไหนเป็นที่ๆ คุณอยู่แล้วรู้สึกสบายที่สุด แล้วพยายามพูดคุยในสถานที่ๆ มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับสถานที่นั้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  2. คนที่มีบุคลิกเงียบขรึมมักจะเป็นผู้ฟังที่ดี [15] เพราะว่าคนลักษณะนี้มักจะคิดและประเมินข้อมูลก่อนที่จะพูดออกมา [16] นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม คนทั่วไปมักจะเลือกคุยกับคนที่มีลักษณะเงียบขรึม เมื่อพวกเขาต้องการใครสักคนมาช่วยแก้ปัญหาหรือให้คำแนะนำแก่พวกเขา [17]
    • ฟังอย่างตั้งใจในทุกสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมา [18]
    • ดูว่าควรจะพูดตอบตอนไหนและจะพูดอะไรบ้าง และทำคำตอบของคุณให้กระชับและไม่ยืดเยื้อ [19]
    • คิดก่อนที่คุณจะพูดตอบอีกฝ่ายทุกครั้ง [20]
    • หากคุณต้องการเวลาเพื่อเรียบเรียงความคิดของคุณก่อนที่จะตอบ ให้คุณลองใช้คำพูดเช่น “อืม...ฉันมีความเห็นบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้นะ แต่ฉันขอเวลาทบทวนความคิดตัวเองสักแป๊บหนึ่ง” [21]
  3. การถามคำถามต่างๆ จะเป็นวิธีที่ช่วยให้คนที่เงียบขรึมได้ทำความรู้จักกับคนอื่น ซึ่งการถามคำถามต่างๆ จะทำให้คุณพูดคุยกับอีกฝ่าย โดยที่ไม่รู้สึกกดดันที่จะพูดคุยแบบไม่รู้จบในเรื่องที่ไม่มีสาระสำคัญอะไร ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นสิ่งที่คนเงียบขรึมทั่วไปไม่ค่อยชอบเท่าไร [22]
    • คำถามที่ดีที่สุดคือ คำถามปลายเปิด อย่าใช้คำถามที่ต้องการคำตอบแบบ ใช่/ไม่ใช่ แต่ให้ฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดอย่างตั้งใจแทน แล้วถามอีกฝ่ายด้วยคำถามแบบซักไซ้ ที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจในเรื่องที่พูด และแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะรู้จักอีกฝ่ายให้มากขึ้นกว่าเดิม [23]
    • แทนที่จะถามคำถามที่ต้องการคำตอบแบบ ใช่/ไม่ใช่ อย่าง “คุณชอบเติบโตขึ้นมาในกรุงเทพหรือเปล่า?” ให้คุณถามคำถามปลายเปิดที่ก่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน เช่น “การใช้ชีวิตเติบโตขึ้นมาในกรุงเทพมันเป็นอย่างไร? คุณชอบอะไรมาก/น้อยที่สุดในตอนที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น?
  4. จำไว้ว่าการเป็นคนเงียบขรึมไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เพราะจริงๆ แล้ว ในบางประเทศ บุคลิกเงียบขรึมแบบนี้ เป็นบุคลิกที่คนส่วนใหญ่ปรารถนาเสียด้วยซ้ำ [24] และเมื่อคุณพูดน้อย และฟังให้มากขึ้น คุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการพูดดูถูกคนอื่นผ่านการสื่อสารที่ผิดพลาดโดยที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจได้ [25] นอกจากนี้ เมื่อคุณพบกับคนที่คุณรู้สึกสนุกที่จะคุยด้วยแล้ว มันจะยิ่งทำให้การปฏิสัมพันธ์ของคุณมีเป้าหมายมากขึ้นกว่าเดิม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เป็นตัวของตัวเองเสมอ
  • หาพื้นที่สบาย (comfort zone) ของตัวเองให้เจอ โดยคุณอาจจะต้องหาจุดสมดุลของการเป็นคนเงียบขรึมด้วยการพบปะกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากงานที่โรงเรียนหรือที่ทำงานของคุณ ต้องทำให้คุณต้องติดต่อพบปะกับคนแปลกหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้คุณหาวิธีการจัดการบทสนทนาที่จะไม่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัด และยังสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อยู่


โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201403/nine-signs-you-re-really-introvert
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201403/nine-signs-you-re-really-introvert
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201108/quiet-is-not-four-letter-word
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/wired-success/201205/why-it-s-time-quiet-introverted-leaders
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201108/quiet-is-not-four-letter-word
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/how-do-life/201405/how-become-better-listener
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/how-do-life/201405/how-become-better-listener
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/how-do-life/201405/how-become-better-listener
  12. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/communication-success/201410/confident-communication-skills-introverts
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201108/quiet-is-not-four-letter-word
  16. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201403/nine-signs-you-re-really-introvert

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,569 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา