ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความเห็นอกเห็นใจนั้นเกี่ยวข้องกับการที่เราพยายามทำความเข้าใจปัญหาของใครสักคนในมุมมองที่แตกต่างไปจากมุมมองเดิมของตัวเอง แม้ว่ามันจะเป็นบางสิ่งที่คุณรู้สึกว่าทำได้ยาก แต่คุณก็สามารถสนับสนุนหรือให้กำลังใจเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรักได้ด้วยการเรียนรู้ที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจในตัวพวกเขา โดยเรียนรู้จากวิธีการต่อไปนี้ และอย่าลืมที่จะเก็บความสงสัยต่างๆ หรือปฏิกิริยาในทางลบของตัวเองเอาไว้ด้วย ไม่แน่นะ คุณอาจจะพบว่าตัวเองเริ่มมีความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงขึ้นมาในตัวมากกว่าที่คิดเอาไว้ก็ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

แสดงความเห็นอกเห็นใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดโอกาสให้คนอื่นได้พูดระบายอารมณ์ของพวกเขาออกมา. ให้คุณเสนอตัวที่จะรับฟังอีกฝ่ายว่าเขากำลังรู้สึกยังไงอยู่ หรือกำลังพยายามจัดการกับปัญหาต่างๆ ของพวกเขายังไง จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องเตรียมวิธีแก้ปัญหาอะไรให้พวกเขาเลย เพราะบางครั้งความเข้าอกเข้าใจเพียงอย่างเดียวก็เป็นสิ่งที่ช่วยพวกเขาได้มากอยู่แล้ว
  2. แม้ว่าคุณจะกำลังฟังอีกฝ่ายพูดอยู่ คุณก็สามารถแสดงให้อีกฝ่ายเห็นได้ว่าคุณให้ความใส่ใจและเข้าใจในตัวพวกเขาด้วยภาษากายของคุณเอง โดยให้คุณสบตาและพยักหน้าเป็นครั้งคราวเพื่อแสดงว่าคุณเข้าใจ และวางลำตัวให้หันหน้าไปทางอีกฝ่ายแทนที่จะหันเข้าหาแค่ด้านข้างอย่างเดียว [1] [2]
    • อย่าพยายามทำสิ่งอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมารบกวนบทสนทนาระหว่างคุณทั้งคู่ ปิดโทรศัพท์มือถือด้วยถ้าทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักกลางคันของบทสนทนา [3]
    • วางท่าให้ดูเปิดกว้าง ด้วยการไม่นั่งกอดอกหรือนั่งไขว่ห้าง หากมือทั้งสองข้างของคุณอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ให้คุณทำมือของตัวเองให้ผ่อนคลายและหันไปด้านข้างเล็กน้อย [4] นี่จะช่วยสื่อให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณกำลังฟังในสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังพูดอยู่
    • ให้คุณเอนตัวเข้าหาอีกฝ่ายเล็กน้อย เพราะการเอนตัวเขาหาอีกฝ่ายอาจจะทำให้เขารู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยกับคุณมากขึ้น [5]
    • ให้พยักหน้าเมื่ออีกฝ่ายกำลังพูด เพราะการพยักหน้าและการใช้ท่าทางอื่นๆ ที่แสดงถึงการให้กำลังใจนั้น จะช่วยทำให้อีกฝ่ายรู้สึกมีความมั่นใจที่จะพูดมากขึ้น [6]
    • ให้คุณจำลองภาษากายของอีกฝ่าย นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องไปเลียนแบบทุกสิ่งที่อีกฝ่ายทำ แต่การวางท่าตัวเองให้คล้ายๆ กับอีกฝ่าย (ตัวอย่างเช่น หันหน้าเข้าหาอีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายหันหน้ามาหาคุณ และวางขาทั้งสองข้างให้ชี้ไปในทางเดียวกันกับอีกฝ่าย) จะช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการสนับสนุนหรือการให้กำลังใจ เพราะภาษากายของคุณเอง [7]
  3. มีหลายกรณี ที่อีกฝ่ายต้องการแค่ให้เราฟังพวกเขาพูดระบายความรู้สึกและความคิดต่างๆ ของพวกเขาออกมา ซึ่งสิ่งนี้คือการสนับสนุนให้กำลังใจอีกฝ่าย แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่ามันไม่สิ่งที่ดูช่วยอะไรได้มากมายสำหรับคุณ [8] ซึ่งมีบ่อยครั้ง ถ้าหากเราไปเสนอข้อแนะนำให้อีกฝ่ายก่อนที่เขาจะขอมา นั่นเสี่ยงที่จะทำให้อีกฝ่ายคิดว่าคุณกำลังเอาประสบการณ์ที่เขาเจอ มาคิดในมุมมองของตัวคุณเอง [9]
    • “ฟังโดยที่ไม่ต้องเสนอคำแนะนำใดๆ ” ตามที่นักเขียนชื่อ ไมเคิล รูนี่ ได้บอกไว้ในหนังสือของเขา ซึ่งนี่จะทำให้คุณสามารถเปิดโอกาสให้คนอื่นได้มีพื้นที่อิสระในการระบายและจัดการกับความรู้สึกต่างๆ ของตัวเอง และพวกเขาก็จะไม่รู้สึกกดดันเวลาที่รับคำแนะนำมาจากคุณ หรือไม่รู้สึกว่าคุณกำลังเข้ามา “ควบคุม” ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    • หากสงสัยอะไร ให้คุณพูดและถามไปว่า “ฉันอยากจะสนับสนุนเธอถ้าเธอต้องการ แต่ฉันอยากรู้ว่าเธอต้องการให้ฉันช่วยแก้ปัญหาหรือแค่ต้องการพื้นที่ให้ตัวเองได้ระบายความรู้สึกออกมาเฉยๆ หรือเปล่า? แต่ว่ายังไงฉันก็จะอยู่เคียงข้างเธออยู่แล้วล่ะ” [10]
    • หากคุณมีประสบการณ์ที่คล้ายๆ กับอีกฝ่าย คุณอาจจะช่วยเขาด้วยคำแนะนำว่าควรจะทำตัวยังไงหรือควรจะใช้วิธีการจัดการรับมือแบบไหน โดยให้คุณกำหนดขอบเขตคำแนะนำของตัวเองที่มาจากประสบการณ์ของตัวเองเท่านั้น ไม่ใช่ไปออกคำสั่งให้คนอื่นทำตามที่คุณบอก ตัวอย่างเช่น ให้คุณพูดว่า “ฉันเสียใจนะที่เธอขาหัก ฉันจำได้เลยว่าความรู้สึกตอนที่ตัวเองข้อเท้าหักเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มันแย่ขนาดไหน แล้วมันพอจะช่วยได้ไหม ถ้าฉันจะแชร์วิธีที่ฉันใช้รับมือกับมัน?
    • ดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เผลอไปสั่งให้อีกฝ่ายทำบางสิ่งบางอย่างในแบบที่คุณต้องการ หากคุณมีคำแนะนำและคนๆ นั้นสนใจที่จะฟังคำแนะนำจากคุณ ให้คุณลองใช้กับถามแบบซักไซ้ดู อย่างเช่น “เธอได้พิจารณาถึง________หรือเปล่า?” หรือ “เธอคิดว่ามันน่าจะช่วยได้ไหมถ้าหากเธอ___________?” ซึ่งคำถามประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้ตัดสินใจด้วยตัวเองและเป็นการพูดที่ดูไม่เหมือนกับการสั่งอย่างเช่นคำพูดที่ว่า “ถ้าฉันเป็นเธอนะ ฉันจะ_________” [11]
  4. การสัมผัสทางกายสามารถเป็นสิ่งที่ช่วยปลอบโยนอีกฝ่ายได้ แต่จะเป็นได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นไปในทางที่เหมาะสมกับบริบทความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับอีกฝ่าย หากคุณคุ้นเคยกับการกอดให้กำลังใจกับคนที่ต้องการความเข้าอกเข้าใจ ให้คุณทำแบบนั้นไป แต่ถ้าหากคุณทั้งสองคนรู้สึกอึกอัดที่จะทำแบบนั้น ให้คุณจับแขนหรือไหล่ของอีกฝ่ายก็พอ [12]
    • ให้ตระหนักไว้ว่าคนบางคนอาจจะมีความเปราะบางทางอารมณ์มากๆ หรือรู้สึกอึดอัดที่จะกอดกับใครสักคนในเวลานั้น แม้ว่าการกอดจะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นปกติของคุณอยู่แล้วก็ตาม สังเกตภาษากายของอีกฝ่ายเอาไว้และลองพิจารณาดูว่าเขาอยากจะกอดใครสักคนหรือเปล่า โดยคุณอาจจะถามไปว่า “ถ้ากอดกัน มันน่าจะช่วยทำให้เธอรู้สึกดีขึ้นได้หรือเปล่า?”
  5. เสนอความช่วยเหลือในเรื่องงานประจำวันของอีกฝ่าย. คนบางคนที่กำลังฝ่าฟันช่วงเวลาที่ยากลำบากในชีวิตมีแนวโน้มที่จะประทับใจในความช่วยเหลือในงานประจำวันของพวกเขา และแม้ว่าจริงๆ จะดูเหมือนว่าพวกเขาสามารถรับมือกับงานพวกนี้ได้ดีแล้วก็ตาม สิ่งที่คุณแสดงออกต่อพวกเขา แสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมที่จะช่วยพวกเขา ดังนั้น ให้คุณลองเสนอที่จะทำอาหารหรือซื้ออาหารไปฝากพวกเขาดู หรือไม่ก็ลองถามว่าอยากจะให้คุณช่วยไปรับลูกๆ ของพวกเขามาจากโรงเรียน รดน้ำต้นไม้ในสวน หรือช่วยพวกเขาในทางใดทางหนึ่งหรือเปล่า [13]
    • บอกวันและเวลาให้แน่นอนว่าคุณจะไปช่วยตอนไหน ดีกว่าที่จะไปถามว่าอีกฝ่ายว่างตอนไหน ซึ่งนี่จะทำให้อีกฝ่ายไม่ต้องตัดสินใจหรือต้องคิดอะไรมากมายในช่วงเวลาที่เคร่งเครียดแบบนั้น
    • ให้คุณถามอีกฝ่ายก่อนที่จะเอาอาหารไปฝาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางวัฒนธรรมหรือหลังจากงานพิธีศพ คนๆ นั้นอาจจะรู้สึกเอียนกับแกงกะทิและขนมจีนมามากแล้ว ซึ่งอาหารแบบอื่นๆ อาจจะช่วยได้มากกว่า.
  6. หากคุณทั้งคู่นับถือศาสนาเดียวกันหรือมีมุมมองความเชื่อทางจิตวิญญาณที่คล้ายกัน ให้คุณใช้ประเด็นนี้เพื่อเชื่อมโยงตัวคุณกับอีกฝ่าย และเสนอที่จะสวดมนตร์เพื่อพวกเขาหรือไม่ก็เข้าร่วมพิธีทางศาสนากับอีกฝ่ายก็ได้
    • อย่าอ้างถึงมุมมองทางศาสนาของตัวเองขึ้นมาในขณะที่กำลังแสดงความเห็นอกเห็นใจต่ออีกฝ่ายอยู่ หากคนๆ นั้นไม่ได้มีมุมมองความเชื่อแบบเดียวกันกับคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั่วไปบางข้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงการอ้างว่าคุณรู้หรือเข้าใจในสิ่งที่คนบางคนกำลังเผชิญอยู่. แม้ว่าคุณจะเคยผ่านประสบการณ์ที่คล้ายๆ กันมาแล้ว ให้คุณตระหนักไว้ว่าทุกคนย่อมมีวิธีในการรับมือในแบบที่แตกต่างกันอยู่แล้ว คุณอาจจะเล่าไปว่าคุณรู้สึกยังไงในตอนที่เจอเรื่องแบบนั้นหรือแนะนำไอเดียที่อาจจะช่วยอีกฝ่ายไปก็ได้ แต่ให้เข้าใจไว้ด้วยว่าคนอื่นก็อาจจะกำลังเผชิญกับความยากลำบากที่ต่างจากคุณ [14]
    • ให้คุณลองพูดแบบนี้แทน “ฉันจินตนาการได้เลยว่าช่วงเวลาแบบนี้มันยากเย็นสำหรับเธอมากแค่ไหน เพราะฉันก็รู้ว่าตัวเองเศร้ามากแค่ไหนเมื่อตอนที่หมาของฉันตายไป”
    • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าไปอ้างว่าปัญหาของคุณนั้นหนักหนากว่าของอีกฝ่าย (แม้ว่าคุณจะรู้สึกแบบนั้นก็ตาม) คุณอยู่ที่นี่ ข้างๆ อีกฝ่ายก็เพื่อที่จะสนับสนุนหรือให้กำลังใจอีกฝ่ายก็แค่นั้น
  2. ให้คุณรับรู้ไว้ว่าปัญหาของคนอื่นนั้นเป็นเรื่องจริง ดังนั้น ให้คุณโฟกัสไปที่การฟังปัญหาของพวกเขาและสนับสนุนหรือให้กำลังใจพวกเขาให้รับมือกับปัญหาพวกนั้น และอย่าไปบอกพวกเขาว่าปัญหาเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่สมควรจะต้องเอามาใส่ใจ [15]
    • พยายามอย่าเผลอไปลดค่าประสบการณ์ความรู้สึกของเพื่อนคุณโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น หากคุณพยายามที่จะปลอบเพื่อนที่เพิ่งจะเสียสัตว์เลี้ยงไปด้วยการพูดว่า “ฉันเสียใจนะที่หมาของเธอตายไป แต่มันก็อาจจะแย่กว่านี้ก็ได้ ถ้าเธอสุญเสียคนในครอบครัวไปสักคนหนึ่ง” การพูดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าคุณกำลังลดค่าความเศร้าที่อีกฝ่ายมีต่อสัตว์เลี้ยงของเขา แม้ว่าคุณจะไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น ซึ่งนี่อาจจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกฝืนใจที่จะแชร์ความรู้สึกของตัวเองกับคุณ หรืออาจจะรู้สึกละอายใจกับความรู้สึกที่ตัวเองมี [16]
    • อีกหนึ่งตัวอย่างของการลดด่าความรู้สึกก็คือการมีเจตนาดีของคุณเอง ตัวอย่างเช่น คุณพูดกับเพื่อนคุณว่า “อย่าไปรู้สึกแบบนั้นสิ” หากเพื่อนของคุณกำลังต่อสู้กับปัญหาเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกหลังจากที่เพิ่งหายป่วยมา และมาบอกกับคุณว่าเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่น่าดึงดูด ซึ่งมันไม่ช่วยอะไรเลยหากคุณตอบว่า “อย่าคิดแบบนั้นสิ! ฉันว่าเธอยังดูดีอยู่นะ” คำพูดแบบนี้จะเป็นการสื่อว่าอีกฝ่ายนั้น “ผิด” หรือ “แย่” ที่ไปรู้สึกแบบนั้น ซึ่งคุณสามารถทำความรู้สึกเหล่านั้นให้ดูมีเหตุผลได้โดยที่ไม่ต้องเห็นด้วยกับไอเดียที่อยู่เบื้องหลังความคิดพวกนั้นเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น “ฉันได้ยินเธอพูดว่าตัวเองเป็นคนไม่น่าดึงดูด และฉันก็เสียใจที่สิ่งนั้นมันทำให้เธอรู้สึกเจ็บปวด มันต้องเป็นความรู้สึกที่แย่มากแน่ๆ เลย แต่ถ้าหากคำพูดของฉันมันช่วยได้ ฉันก็อยากจะบอกเธอว่า ฉันก็ยังคิดว่าเธอดูน่าดึงดูดอยู่นะ [17]
    • ในทำนองเดียวกัน อย่าพูดว่า “อย่างน้อยมันก็ไม่ได้แย่อย่างที่มันควรจะเป็น” [18] เพราะนี่อาจจะตีความหมายได้สองแบบ มันอาจจะสื่อว่าคุณไม่สนใจปัญหาของอีกฝ่าย และเป็นสิ่งที่เตือนอีกฝ่ายว่าในชีวิตของเขาได้มีปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมาอีกอย่างแล้ว
  3. หลีกเลี่ยงการแสดงความเชื่อส่วนตัวที่คนอื่นไม่ได้เชื่อเหมือนกับคุณ. พวกเขาอาจจะรู้สึกอึดอัดด้วยคำพูดพวกนั้น หรือไม่ก็อาจจะหัวเสียคำกับพูดแบบนั้น เพราะคำพูดเหล่านั้นมักจะฟังดูเหมือนว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่พวกเขามีหรือเป็นคำพูดสำเร็จรูปอยู่แล้ว ดังนั้น มันจะดีมากถ้าคุณให้ความสนใจไปที่คนที่คุณกำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วยและสิ่งที่คุณสามารถทำให้พวกเขาได้ [19]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเป็นคนเคร่งศาสนาที่เชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย แต่อีกคนหนึ่งไม่ได้เชื่อเหมือนกับคุณ มันอาจจะเป็นธรรมชาติของคุณที่จะพูดบางอย่างเช่น “อย่างน้อยคนที่เธอรักก็ไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเดิมแล้วนะ” ซึ่งบางทีคำพูดแบบนี้อาจจะไม่ได้ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจขึ้นเท่าไร
  4. หลีกเลี่ยงการกดดันให้คนอื่นใช้วิธีแก้ไขปัญหาของคุณ. มันเป็นเรื่องเหมาะสมที่เราจะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่ตัวเองคิดว่าอาจจะช่วยใครบางคนได้ แต่ก็อย่าไปกดดันคนๆ นั้นด้วยการพูดถึงแต่ทางออกที่คุณใช้ ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ รอบ คุณอาจจะมองว่ามันเป็นทางออกที่ชัดเจนและง่ายที่สุด แต่อย่าลืมว่าคนอื่นๆ อาจจะไม่ได้คิดแบบเดียวกับคุณก็ได้
    • เมื่อใดก็ตามที่คุณพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากพูดออกมาแล้ว ให้คุณปล่อยมันผ่านไป เพราะไม่งั้นคุณก็อาจจะดึงประเด็นนั้นขึ้นมาพูดอีกหากมีข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา ตัวอย่างเช่น “ฉันรู้ว่าเธอไม่ต้องการจะกินยาแก้ปวด แต่ฉันได้ยินมาว่ามียาที่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยกว่านี้ เธออยากรู้ไหมว่ายาตัวนั้นชื่ออะไร เผื่อว่าจะได้ลองเอาไปค้นข้อมูลดู?" หากอีกฝ่ายตอบปฏิเสธมา ก็ให้คุณเลิกพูดประเด็นนั้นไป
  5. คุณอาจจะคิดว่าปัญหาของอีกฝ่ายนั้นดูเล็กน้อย หรือไม่รุนแรงเหมือนกับปัญหาของคุณเอง คุณอาจจะรู้สึกอิจฉาคนบางคนที่ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาที่ดูไม่หนักหนาอะไร แต่นี่ก็ไม่ใช่เวลาที่ควรจะเอาปัญหาของตัวคุณเองขึ้นมาเทียบกับปัญหาของอีกฝ่าย และบางทีคุณก็ไม่อาจจะมีโอกาสให้ทำแบบนั้นด้วย ซึ่งมันจะดีกว่ามาก ถ้าคุณบอกลาอีกฝ่ายและเดินออกมาอย่างสุภาพ ดีกว่าที่จะไปแสดงความรำคาญใจออกมา
  6. คนบางคนคิดว่า “การจงใจที่จะไม่แคร์อีกฝ่ายเพื่อให้พวกเขาเริ่มแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” คือเทคนิคบำบัดที่มีประสิทธิภาพ แต่จริงๆ แล้ว นี่เป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับการแสดงความเห็นอกเห็นใจ หากใครสักคนเสียใจหรือเศร้ามาเป็นเวลานานแล้ว คนๆ นั้นอาจจะมีภาวะซึมเศร้าก็เป็นได้ ซึ่งในกรณีนี้ เขาก็ควรจะไปพบแพทย์หรือนักบำบัด เพราะการบีบให้อีกฝ่ายเป็นคน “เข้มแข็งขึ้น” หรือ “เดินหน้าต่อไป” อาจจะไม่ได้ช่วยสักเท่าไร [20]
  7. นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ดูตรงไปตรงมา แต่ในระหว่างช่วงเวลาที่เคร่งเครียด มันง่ายมากที่คุณจะสูญเสียการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังเถียงหรือดูถูกอีกฝ่าย หรือกำลังวิจารณ์พฤติกรรมของอีกฝ่ายอยู่ ให้คุณเดินออกมาและขอโทษอีกฝ่ายเมื่อคุณใจเย็นลงแล้ว
    • อย่าแม้แต่จะพูดดูถูกแบบติดตลกใครบางคนที่ต้องการความเข้าอกเข้าใจ เพราะคนๆ นั้นอาจจะรู้สึกหมดกำลังใจและเจ็บปวดได้ง่ายๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้คำพูดที่เป็นประโยชน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้คำพูดด้านล่างนี้เพื่ออธิบายว่าทำไมคุณถึงเข้าหาคนที่ต้องการความเข้าใจเมื่อคุณได้ยินมาว่าคนๆ นั้นกำลังมีปัญหาอยู่ ซึ่งถ้าหากคนๆ นั้นเริ่มพูดคุยกับคุณ ให้คุณตอบสนองด้วยการรับรู้ถึงความรู้สึกของฝ่ายนั้นด้วย
    • “ฉันเสียใจที่ได้ยินแบบนั้น”
    • “ฉันได้ยินมาว่าเธอกำลังฝ่าฟันออกมาจากช่วงเวลาที่ยากลำบากอยู่”
    • “นั่นฟังดูน่าเจ็บปวดจัง”
  2. บางคนตอบโต้ความเครียดหรือความทุกข์ด้วยการทำตัวให้ยุ่งกว่าเดิม เพราะเขาจะได้ไม่ต้องใช้เวลาคิดถึงสภาวะทางอารมณ์ของตัวเอง ดังนั้น ให้คุณสบตาและใช้คำพูดที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังถามไถ่เกี่ยวกับความรู้สึกของเขาอยู่ ไม่ใช่ถามเกี่ยวชีวิตประจำวันของเขา ซึ่งตัวอย่างคำถามก็มีดังต่อไปนี้
    • “เธอรู้สึกยังไงอยู่?”
    • “เธอจะรับมือกับทุกอย่างยังไง?”
  3. ทำให้ชัดเจนว่าคุณอยู่ข้างเขา และพูดถึงเพื่อนๆ และครอบครัวที่อาจจะสนับสนุนคนๆ นั้นด้วย รวมถึงเตือนให้อีกฝ่ายรู้ว่ายังมีคนอื่นๆ ที่เขายังสามารถพึ่งได้อยู่ ด้วยคำพูดต่อไปนี้
    • “เธอคือคนที่อยู่ในความคิดของฉัน”
    • “ฉันจะอยู่ข้างเธอเสมอหากเธอต้องการฉัน”
    • “ฉันจะติดต่อกลับมาอีกทีในอาทิตย์นี้แหล่ะ เพราะฉันจะช่วยเรื่อง_______”
    • หลีกเลี่ยงการพูดแบบเดิมๆ เช่น “บอกฉันมาได้เลยนะ ถ้ามีอะไรที่ฉันช่วยได้” ซึ่งนี่จะทำให้อีกฝ่ายคิดว่าคุณต้องทำอะไรบางอย่างให้พวกเขาได้ ซึ่งตัวพวกเขาเองอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำสิ่งนั้นในช่วงเวลาแบบนี้ได้
  4. บอกให้อีกฝ่ายรู้ว่าอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่มีเหตุผล. คนบางคนมีปัญหาในการแสดงอารมณ์ หรือไม่ก็รู้สึกว่าพวกเขากำลังมีอารมณ์ความรู้สึกในรูปแบบที่ “ผิด” ดังนั้น ให้คุณใช้คำพูดต่อไปนี้เพื่อบอกให้พวกเขารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่โอเคอยู่แล้ว
    • “มันไม่ได้ผิดอะไรนะ ถ้าเธออยากจะร้องไห้ออกมา”
    • “ฉันยอมรับได้ทุกอย่างที่เธออยากจะทำในตอนนี้”
    • “มันเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกผิด” (หรือโกรธ หรืออารมณ์แบบไหนก็แล้วแต่ที่อีกฝ่ายเพิ่งจะระบายออกมา)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณไม่ได้เป็นคนที่มีทักษะในการแสดงออกทางอารมณ์หรือความเห็นอกเห็นใจสักเท่าไร ก็ขอแค่ให้คุณพยายามแสดงให้คนที่คุณรักเห็นว่าคุณกำลังพยายามช่วยเหลือพวกเขาอย่างสุดความสามารถอยู่
  • ความเอาใจใส่นั้นแตกต่างจากความเห็นอกเห็นใจ เมื่อคุณแสดงความเห็นอกเห็นใจ แสดงว่าคุณกำลังแคร์และเป็นห่วงเรื่องความทุกข์ใจของพวกเขา แต่ก็ไม่จำเป็นที่คุณจะต้องทำให้ตัวเองรู้สึกแบบนั้นตามไปด้วย แต่เมื่อคุณพยายามเอาใจใส่พวกเขา นั่นแสดงว่าคุณกำลังจินตนาการว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับพวกเขา ซึ่งหมายความว่าคุณพยายามที่จะ “พาตัวเองเข้าไปยืนอยู่ในจุดเดียวกับพวกเขา” แล้วก็พยายามจินตนาการว่ามันจะเป็นยังไงเมื่อตัวเองได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของอีกฝ่าย เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจว่าพวกเขากำลังรู้สึกยังไง [21] จำไว้ว่า ไม่มีความรู้สึกของใครที่ “ดีไปกว่า” ความรู้สึกของใครทั้งนั้น และมันจะช่วยได้มากหากคุณรู้ความแตกต่างของความรู้สึกพวกนั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,575 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา