ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Ferritin เป็นโปรตีนประเภทหนึ่งในร่างกาย ที่คอยยึดเก็บธาตุเหล็กไว้ในเนื้อเยื่อ ระดับ ferritin ในร่างกายคุณจะลดลงเมื่อเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กหรือขาดสารอาหาร หรือบางทีอาจเป็นเพราะโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง มีบ้างที่พอระดับ ferritin ต่ำแล้วเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ปกติจะเพิ่มระดับกลับมาเป็นปกติได้ง่าย บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเพิ่มระดับ ferritin ในเลือดให้คุณเอง โดยสำรวจปัญหาสุขภาพ, กินอาหารเสริม และปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาสาเหตุทำระดับ Ferritin ต่ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะเริ่มเพิ่มระดับ ferritin เอง ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัวซะก่อน จะได้อ้างอิงจากประวัติการรักษาทั้งของคุณและคนในครอบครัว รวมถึงสอบถามว่ามีอาการที่เป็นสัญญาณว่าระดับ ferritin ต่ำไหม เช่น [1]
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดหัว
    • กระสับกระส่าย
    • ผมร่วง
    • เล็บเปราะ ลอก
    • หายใจติดขัด
  2. ferritin ก็คือธาตุเหล็กที่เนื้อเยื่อดูดซึมเข้าไป ซึ่งก็เป็นที่แรกที่คุณหมอจะเช็ค โดยวัดระดับธาตุเหล็กในเลือด จะได้รู้ว่าคุณได้รับธาตุเหล็กไม่พอ หรือมีอาการที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กในกระแสเลือด [2]
  3. คุณหมอจะวัดระดับ ferritin ด้วย ถ้ามีธาตุเหล็กในเลือดไม่พอ ร่างกายจะไปดึงจากเนื้อเยื่อมาใช้ ทำให้ระดับ ferritin น้อยลง เพราะงั้นคุณหมอเลยต้องทดสอบระดับ ferritin กับธาตุเหล็กคู่กัน [3]
    • ระดับ ferritin ในเลือดที่เหมาะสม จะอยู่ที่ 30 - 40 ng/mL (นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) ถ้าระดับ ferritin ต่ำกว่า 20 ng/mL จะถือว่าขาด ferritin นิดหน่อย [4] แต่ถ้าระดับ ferritin ต่ำกว่า 10 ng/mL จะถือว่าเกิดภาวะ ferritin ไม่เพียงพอ
    • แต่ละแล็บก็มีวิธีการเฉพาะในการทดสอบและรายงานผลการวัด ferritin แต่ละระดับต่างกันไป เพราะงั้นอย่าตีความไปเอง ต้องให้คุณหมออ่านผลและอธิบายให้ฟัง
  4. เป็นการวัดปริมาณธาตุเหล็กสูงสุดที่เลือดสามารถยึดเก็บได้ คุณหมอจะบอกได้เลยว่าตับและอวัยวะอื่นๆ ของคุณทำงานปกติหรือเปล่า ถ้ามีอะไรผิดปกติ ก็แสดงว่าระดับ ferritin หรือธาตุเหล็กที่ต่ำ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่า [5]
  5. พอสอบถามประวัติกับตรวจเลือดแล้ว คุณหมอจะเช็คว่ามีอาการหรือโรคอื่นที่ทำให้ระดับ ferritin ต่ำ หรือทำให้เพิ่มระดับตามปกติไม่ได้ไหม ตัวอย่างอาการที่ส่งผลต่อระดับ ferritin หรือการรักษาก็เช่น
    • โลหิตจาง
    • มะเร็ง
    • โรคไต
    • ไวรัสตับอักเสบ
    • แผลในกระเพาะอาหาร
    • เอนไซม์ผิดปกติ [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กินอาหารเสริม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าขาดธาตุเหล็กนิดหน่อยหรือปานกลาง คุณหมอจะแนะนำให้กินอาหารเสริมธาตุเหล็ก หาซื้อได้ตามร้านขายยาหรือตามเน็ต แต่ต้องกินตามคำแนะนำที่ฉลากหรือคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด ปกติต้องกินอาหารเสริมธาตุเหล็กหลายอาทิตย์ กว่าระดับธาตุเหล็กและ ferritin จะปรับสูงขึ้น
  2. ถ้าขาดธาตุเหล็กขั้นรุนแรง เพิ่งเสียเลือดมากมาหยกๆ หรือมีปัญหาสุขภาพที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกาย คุณหมออาจรักษาด้วยการฉีดยาหรือให้สารละลายทางเส้นเลือด โดยฉีดธาตุเหล็กเข้ากระแสเลือดโดยตรง หรือฉีดวิตามิน B12 เพราะช่วยเรื่องดูดซึมธาตุเหล็ก แต่ถ้ามีอาการขั้นรุนแรง คุณหมออาจแนะนำให้ถ่ายเลือด เพราะทำให้ระดับธาตุเหล็กกลับมาเป็นปกติได้เร็วกว่า [10]
    • คุณหมอจะฉีดยาหรือให้ยาทางสายน้ำเกลือ ก็ต่อเมื่อเพิ่มระดับธาตุเหล็กและ ferritin ด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลเท่านั้น
    • การฉีดธาตุเหล็กก็มีผลข้างเคียงได้ เหมือนกับการกินอาหารเสริม
  3. มีหลายตัวยาใช้เพิ่มระดับธาตุเหล็กและ ferritin ในร่างกายคนเรา ถ้าคุณมีโรคที่ขัดขวางการดูดซึมหรือกักเก็บธาตุเหล็ก คุณหมอก็อาจจ่ายยาที่ว่าให้ เช่น
    • Ferrous sulfate
    • Ferrous gluconate
    • Ferrous fumarate
    • Carbonyl iron
    • Iron dextran complex [11]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง นี่แหละแหล่งธาตุเหล็กชั้นดี นอกจากเพราะเนื้อสัตว์จะอุดมธาตุเหล็กแล้ว ร่างกายเรายังดูดซึมธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์ได้ง่ายกว่าอาหารชนิดอื่นด้วย ถ้ากินเนื้อให้มากขึ้น ก็เท่ากับเพิ่มระดับธาตุเหล็กและ ferritin ไปในตัว เนื้อสัตว์ที่ช่วยเพิ่มระดับธาตุเหล็กได้ดีก็เช่น
  2. ถัดจากเนื้อสัตว์ ก็มีผักหลายชนิดที่ธาตุเหล็กสูง กินแล้วช่วยเพิ่มระดับ ferritin ในเลือด แต่โดยเฉลี่ยต้องกินผักที่ว่ามากเป็น 2 เท่า ถึงจะได้ธาตุเหล็กเท่ากับที่ได้จากเนื้อสัตว์ ผักที่อุดมธาตุเหล็กก็เช่น
    • ปวยเล้ง
    • ข้าวสาลี
    • ข้าวโอ๊ต
    • ถั่วเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nuts)
    • ข้าว (ข้าวเสริมสารอาหาร)
    • ถั่วฝัก (beans) [13]
  3. จำกัดอาหารและแร่ธาตุที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกาย. อาหารและแร่ธาตุบางชนิด กินแล้วร่างกายอาจย่อยและดูดซึมธาตุเหล็กยากกว่าเดิม แต่ไม่ถึงกับต้องงดอาหารประเภทนั้นไปเลย แค่กินให้น้อยลง อาหารที่ว่าก็เช่น
    • ไวน์แดง
    • กาแฟ
    • ชาดำและชาเขียว
    • ถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมัก [14]
    • นม
    • แคลเซียม
    • แมกนีเซียม
    • สังกะสี (Zinc)
    • ทองแดง [15]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,601 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา