ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นสารประกอบเชิงซ้อนอุดมธาตุเหล็ก พบได้ในเลือดของคนเรา โดยมีหน้าที่หลักคือลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และอีกหน้าที่สำคัญคือนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์กลับไปที่ปอด ปกติความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเลือด คือ 13.5 - 18 g/dL (ผู้ชาย) และ 12 - 16 g/dL (ผู้หญิง) ถ้าระดับฮีโมโกลบินต่ำก็อย่าเพิ่งตกใจ คุณเพิ่มได้โดยเปลี่ยนอาหารการกิน รักษาด้วยสมุนไพร และถ้าไม่ได้ผลจริงๆ ก็ยังเหลือการรักษาทางการแพทย์อีก ว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เปลี่ยนอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ธาตุเหล็กนั้นสำคัญต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ถ้าคุณมีฮีโมโกลบินน้อย ให้พยายามเพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กเยอะ เช่น [1]
    • ตับ
    • เนื้อสัตว์
    • กุ้ง
    • เนื้อวัว
    • เต้าหู้
    • ผักปวยเล้ง
    • สับปะรด
    • ถั่วต่างๆ เช่น อัลมอนด์ แต่ต้องเช็คก่อนว่าคุณแพ้หรือเปล่า
  2. เพราะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น แหล่งของวิตามินซีก็คือผักผลไม้ต่างๆ
    • ส้ม
    • มะม่วง
    • ส้มเขียวหวาน
    • สตรอเบอร์รี่
    • กะหล่ำปลี
    • บร็อคโคลี
    • พริกไทย
    • ผักปวยเล้ง
  3. กรดโฟลิก (Folic acids) นั้นจำเป็นมากต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง อาหารที่อุดมกรดโฟลิกก็คือ
    • เมล็ดพืช
    • ถั่วลิสง
    • จมูกข้าวสาลี (Wheat germ)
    • ต้นอ่อนพืช เช่น ถั่วงอก
    • บร็อคโคลี
    • ถั่วต่างๆ
      • ถ้าอาหารที่กินมีวิตามินซีเยอะอยู่แล้ว ก็แนะนำให้ลดอาหารที่มีกรดโฟลิกลง เพราะวิตามินซีจะทำให้ร่างกายขับกรดโฟลิกออกมา
  4. พวกซีเรียล พาสต้า และขนมปังจากธัญพืชโฮลเกรน จะมีธาตุเหล็กเยอะ อย่างที่บอกว่าธาตุเหล็กนั้นจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน (เลือดต้องใช้สร้างโปรตีน) เพราะงั้นถ้ากินอาหารประเภทนี้ จะทำให้ธาตุเหล็กเยอะขึ้น ระดับฮีโมโกลบินก็จะสูงตาม
    • อย่าพยายามกินขนมปัง ซีเรียล และพาสต้าจากแป้งขาว เพราะผ่านการแปรรูปและฟอกสีจนเสียคุณค่าทางอาหาร พวกนี้กินแล้วไม่ค่อยมีประโยชน์ และมีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (simple carbohydrates) หรือน้ำตาลสูง
  5. ระวังอาหารที่เรียกว่า iron blocker คือเป็นอาหารที่จะไปยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าร่างกาย ตัวอย่างอาหารและสารที่จะไปบล็อกธาตุเหล็กก็เช่น
    • ผักชีฝรั่ง (Parsley)
    • กาแฟ
    • นม
    • ชา
    • โคล่า
    • ยาลดกรดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา
    • อาหารที่มีกากใย (ไฟเบอร์) และแคลเซียมสูง
  6. กลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง พบได้ในธัญพืชต่างๆ แต่ถ้าใครแพ้กลูเตน (gluten-sensitive enteropathy) แล้วไปกินอาหารประเภทนี้เข้า อาจเป็นอันตรายต่อผนังลำไส้เล็ก จนดูดซึมสารอาหารสำคัญต่างๆ อย่างแคลเซียม ไขมัน โฟเลต และธาตุเหล็กไม่ได้
    • โชคดีที่เดี๋ยวนี้อาหาร gluten-free (ไม่มีกลูเตน) แพร่หลาย หากินง่ายขึ้น กระทั่งตามร้านอาหาร ก็มีเมนู gluten-free ออกมา และตามฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในซูเปอร์ก็บอกด้วยว่ามีกลูเตน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้สมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขาวิจัยกันมาแล้วว่าสมุนไพรชนิดนี้ใช้แล้วระดับฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้นอย่างเห็นผล โดยเฉพาะในเด็ก เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในการแพทย์อายุรเวทเวลารักษาภาวะโลหิตจางเพราะขาดธาตุเหล็ก [2]
    • ตามงานวิจัยที่เรายกมา ใช้โสมอินเดียแล้วเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และ ระดับฮีโมโกลบินก็เพิ่มตาม ยังไงลองปรึกษาคุณหมอก่อน ว่าอาการของคุณใช้อาหารเสริมนี้ได้ไหม และในปริมาณเท่าไหร่
  2. กินอาหารเสริมจากใบตำแย (nettle leaf) เพราะอุดมธาตุเหล็ก. ใบตำแย (Nettle leaf) เป็นสมุนไพรอุดมธาตุเหล็กที่ปกตินิยมใช้รักษาโรคข้ออักเสบ (arthritis) ซึ่งธาตุเหล็กถือว่าสำคัญมากในการผลิตและดูดซึมฮีโมโกลบิน ยิ่งร่างกายได้รับธาตุเหล็กเยอะ ก็ยิ่งผลิตฮีโมโกลบินได้เยอะตาม
    • มีหลายวิตามินและอาหารเสริมเลยที่มีใบตำแยเป็นส่วนผสม หาซื้อได้ตามร้านขายยาและในเน็ต ทั้งในรูปของน้ำมัน แคปซูล กระทั่งชาหรือน้ำสมุนไพร
  3. จากการวิจัยเชิงทดลอง พบว่าพอร่างกายได้ตังกุยแล้ว จะช่วยให้ระดับฮีโมโกลบินสูงขึ้นได้ จนแทบกลับมาดีตามปกติเลย [3] ปกติตังกุยนิยมใช้รักษาอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome (PMS)), อาการระหว่างมีประจำเดือน (ปวดท้องเมนส์) ท้องผูก และโลหิตจาง เชื่อว่าโคบอลต์ในตังกุยช่วยเพิ่มมวลฮีโมโกลบินในเลือดได้
    • ตังกุยจะอยู่ในรูปแคปซูลเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าเป็นน้ำมันก็ผสมน้ำดื่มได้เลย หาซื้อได้ทั้งตามร้านขายยาและในเน็ต
  4. มีงานวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยไตวาย พอได้รับไคโตซาน 45 มก. แล้วช่วยให้คอเลสเตอรอลลดลง ในขณะที่ฮีโมโกลบินเพิ่มสูงขึ้น [4] ยังไงลองปรึกษาคุณหมอดูก่อน ว่าสภาพร่างกายของคุณเหมาะจะใช้ไคโตซานหรือเปล่า
    • ไคโตซานมีขายทั้งในเน็ตและตามร้านขายยา ย้ำกันอีกทีว่าภาษาอังกฤษเขียน Chitosan แต่อ่านว่า ไคโตซาน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรึกษาคุณหมอเรื่องเพิ่มฮีโมโกลบินโดยใช้อาหารเสริมสมุนไพร. บางเคสคุณหมอจะแนะนำให้กินยาหรือสมุนไพร ทั้งแบบคุณหมอจ่ายให้หรือซื้อกินเอง เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบิน อาหารเสริมที่ว่าก็เช่น [5]
    • ธาตุเหล็ก 20 - 25 มก. ต่อวัน เพื่อกระตุ้นการสร้างฮีมาติน (hematin)
    • กรดโฟลิก 400 mcg (ไมโครกรัม) ต่อวัน เพื่อเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่ใช้ลำเลียงฮีโมโกลบิน
    • วิตามินบี 6 ในปริมาณ 50 - 100 mcg ต่อวัน เพื่อเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • วิตามินบี 12 ในปริมาณ 500 - 1000 มก. ต่อวัน เพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • วิตามินซี 1,000 มก. ต่อวัน เพื่อเพิ่มการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงเช่นกัน
  2. erythropoietin เป็นฮอร์โมนที่ได้จากไต ช่วยเรื่องการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงจากไขกระดูก พอเซลล์ไตจับได้ว่าระดับออกซิเจนในเลือดต่ำผิดปกติ จะสร้างแล้วหลั่ง erythropoietin ออกมาเพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนได้ดียิ่งขึ้น
    • สรุปแล้วหน้าที่หลักของ erythropoietin คือกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบิน (ที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน)
    • ปกติหมอจะฉีด erythropoietin เข้าเส้นเลือดหรือใต้ผิวหนัง (ส่วนที่เป็นชั้นไขมันด้านนอก แถวขาและต้นขา)
  3. บางเคสที่น่าเป็นห่วง คุณหมอจะแนะนำให้ถ่ายเลือดเพื่อเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินแทน
    • ก่อนเข้ารับการถ่ายเลือด เลือดจะถูกตรวจสอบก่อนว่าคุณภาพดีและเข้ากันได้กับเลือดของคุณ โดยเฉพาะจะมีการทดสอบหาสิ่งปนเปื้อน เพราะถ้ามีจะเป็นอันตรายต่อผู้รับเลือดมาก โดยเฉพาะเชื้ออย่าง HIV/AIDS หรือไวรัสตับอักเสบ (hepatitis) เพราะฉะนั้นถือเป็นขั้นตอนสำคัญมาก
    • พอเลือดผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดแล้ว ก็ถึงเวลาถ่ายเลือดผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง หรือหลอดเลือดดำบริเวณแขน ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง
    • หลังถ่ายเลือดผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด คันหรือมีผื่น และอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
    โฆษณา

คำเตือน

  • บางทีฮีโมโกลบินก็ต่ำเพราะโรคต่างๆ เช่น Crohn’s disease, ไทรอยด์ผิดปกติ, โรคไต และลูคีเมีย เป็นต้น
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,118 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา