ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แมวตัวเมียที่ยังไม่ผ่านการทำหมันจะโตเต็มที่ประมาณอายุ 5 เดือนครึ่งถึง 12 เดือน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและความยาวของวัน [1] โดยแมวบ้านต่างจากแมวป่าที่ต้องต่อสู้หาอาหารในฤดูหนาว ตรงที่ทานได้เต็มที่และได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟ ดังนั้นแมวป่าจะเข้าสู่ฤดูผสมพันธ์ุ และคลอดเพียงช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงประมาณกันยายน แต่แมวบ้านสามารถเป็นสัดได้ตลอด อาจจะทุกๆ 3-4 สัปดาห์ อาการเป็นสัดนี้สามารถสังเกตได้ถ้าคุณเจ้าของไม่รู้ว่าแมวเป็นอะไร ลองสังเกตตามวิธีข้างล่างนี้เลยค่า ว่าน้องเหมียวของคุณเป็นสัดอยู่หรือเปล่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รู้จักสัญลักษณ์ผ่านท่าทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเป็นสัดเรียกอีกอย่างได้ว่า “การร้องหาคู่” เพราะแมวตัวเมียจะร้องดังมาก และชอบเดินไปรอบบ้านร้องเสียงหง่าวๆหรือเสียงดังๆ [2] น้องแมวอาจส่งเสียงเหมือนกำลังเจ็บปวด ร้องไห้ และอาจจะเสียงดังจนคุณเจ้าของนอนข่มตาไม่ลงตอนกลางคืน
    • แต่ถ้าเจ้าเหมียวของคุณชอบร้องอยู่แล้ว การร้องเสียงดังอาจไม่ได้แปลว่าเธอกำลังอยู่ในระยะเป็นสัด
    • น้องเหมียวจะ “ร้องหาคู่” ดังและนานกว่าปกติ และเกิดขึ้นร่วมๆกับอาการดังด้านล่างนี้
  2. อาการอยู่ไม่สุขและเดินไปเดินมาเป็นอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะเป็นสัดของแมวเพศเมีย [3]
    • อาการนี้มักเกิดพร้อมๆกับการร้องเสียงดัง
  3. แมวเพศเมียในช่วงเป็นสัดจะขี้อ้อนมากกว่าปกติ ถ้าเจ้าเหมียวของคุณเป็นจอมหยิ่ง เธอจะกลายเป็นจอมอ้อนในช่วงนี้ [4]
    • เมื่อเป็นสัด เจ้าเหมียวมักจะถูข้อเท้าเจ้าของไปมา จนคุณอาจจะสะดุดล้มได้ตอนเดิน
    • นิสัยที่สังเกตได้อีกอย่างคือเธอจะถูคางและแก้ม (ซึ่งมีต่อมรับกลิ่นอยู่) กับเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะตามขอบเช่น ขอบประตู
    • กลิ่นตัวของน้องแมวเองจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยด้วย และเธอก็จะชอบไปฝากกลิ่นไว้ตามที่ต่างๆเพื่อป่าวประกาศว่า ฉันอยากมีคู่แล้วนะ [5]
  4. เมื่อแมวพร้อมผสมพันธ์ุจะส่งสัญญาณได้ผ่านการขยับหาง หมายความว่าเมื่อคุณลูบหลังของเธอ โดยเฉพาะบนกระดูกเชิงกรานใกล้รอยต่อกับหาง แมวเพศเมียจะกระดกก้นขึ้นและขยับหางไปด้านหนึ่ง [6]
    • การตอบสนองนี้เป็นวิธีที่ทำให้แมวเพศผู้สามารถเข้าถึงช่องคลอดของเธอได้ง่ายขึ้นเวลาผสมพันธ์ุ
  5. พฤติกรรมนี้คือการที่เจ้าเหมียวแอ่นหลังขนานพื้น ยกก้นขึ้นและคลานไปมาตามพื้น [7]
  6. ในช่วงการเป็นสัด แมวเพศเมียบางตัวจะนอนกลิ้งบนพื้นพร้อมกับส่งเสียงโหยหวน [8]
    • เป็นไปได้ว่า ถ้าคุณไม่รู้ว่าพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติ อาจมองว่าเธอกำลังร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้คุณแตกตื่นโทรหาสัตวแพทย์ ทั้งที่พฤติกรรมนี้ไม่ได้บ่งบอกว่าน้องแมวกำลังเจ็บป่วย
  7. บริเวณปากช่องคลอดของแมวจะบวมขึ้นในระยะเป็นสัด ทำให้เจ้าเหมียวไม่สบายตัว เธอจึงอาจใช้เวลาเลียทำความสะอาดตรงนี้มากเป็นพิเศษ [9]
    • อาการบวมนี้อาจสังเกตได้ยากถ้าไม่ตั้งใจดูดีๆ อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายนอกให้เห็น [10]
  8. แม้แต่เจ้าเหมียวที่ติดบ้านก็จะชอบออกผจญภัยในระยะเป็นสัด ถ้าแมวตัวผู้ไม่มาหา เธออาจจะออกไปตามหาเองเป็นวันๆ [11]
    • ถ้าแมวยังไม่ทำหมันและคุณก็ไม่อยากให้เธอท้อง เก็บเธอไว้ในบ้านและอย่าให้แมวตัวผู้เข้ามาในช่วงการเป็นสัด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทำความเข้าใจกับวงจรการผสมพันธ์ของเจ้าเหมียว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แมวเพศเมียเป็นสัดบ่อยๆ ซึ่งก็คือเธอสามารถเป็นสัดได้หลายๆ ครั้งต่อปี [12]
    • วงจรของแมวต่างจากสุนัขที่มีช่วงพัก ทำให้อยู่ในช่วงเป็นสัดสองครั้งต่อปีเท่านั้น [13]
    • ในระยะเป็นสัดนี้ ช่องคลอดของน้องแมวจะบวม เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นเตรียมรับการตั้งท้อง แต่อาการบวมนี้ไม่สามารถสังเกตผ่านอาการภายนอกได้ [14]
  2. ฤดูผสมพันธ์ุของแมวป่าคือช่วงเดือนมีนาคมถึงประมาณมิถุนายน นั่นคือลูกแมวจะเกิดห่างจากช่วงฤดูหนาวอันโหดร้ายที่มีโอกาสรอดชีวิตน้อย [15]
    • แต่แสงจากหลอดไฟสามารถหลอกให้แมวเชื่อว่ายังไม่ถึงฤดูหนาวได้ ดังนั้นถ้าเจ้าเหมียวของคุณอยู่แต่ในบ้าน การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลจะมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อวงจรการผสมพันธ์ุของเธอ [16]
    • ดังนั้นพวกเธอจะเป็นสัดได้ตลอดทั้งปี
  3. ช่วงฤดูผสมพันธ์ุของแมวเฉลี่ยอยู่ที่ 21 วัน ใน 3 สัปดาห์นี้ พวกเธออาจเป็นสัดมากถึง 7 วัน [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ายังไม่อยากเลี้ยงลูกแมว เก็บเจ้าเหมียวของคุณไว้ในบ้านอย่าให้เจอตัวผู้ในระยะเป็นสัด
  • โดยปกติแมวจะเป็นสัดประมาณ 4-7 วัน
  • แมวจะคลอดลูกครั้งละหลายตัว ก่อให้เกิดปัญหาแมวจรจัดและถูกกำจัดจำนวนมาก ดังนั้นถ้าคุณไม่ใช่นักผสมพันธ์ุสัตว์ ควรพาแมวของคุณไปทำหมัน
  • การทำหมันแมวสามารถทำได้ที่คลินิกสัตว์ทั่วไป โดยปกติแล้วราคาอาจประมาณ 1000 บาท แล้วแต่สถานที่ทำหมัน
  • หากแมวทานน้อยหรืออาเจียนอาหารออกมา รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้จะอยู่ในระยะเป็นสัด แต่แมวจะไม่มีการขับของเหลวออกทางช่องคลอด ดังนั้นถ้าคุณเห็นเลือดหรือน้ำสีเหลืองปนเขียวออกมาจากช่องคลอดของแมว พาไปพบสัตวแพทย์ทันที [18]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  2. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  3. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  4. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  5. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  6. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  7. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  8. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  9. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  1. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  2. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  3. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  4. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  5. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  6. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  7. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  8. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.
  9. Reproduction in the Dog & Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindall.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 86,773 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา