ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสูญเสียคนรักเป็นเรื่องยากเสมอ ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหน การเอาชนะความกลัวที่จะสูญเสียคนที่รักเป็นประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวเอาเสียมากๆ โชคดีที่มีเทคนิคอันเป็นผลจากการวิจัยที่สามารถช่วยได้ ไม่ว่าจะให้ได้ครุ่นคิดถึงเรื่องความตายบนพื้นของความเป็นจริง การรับมือกับความกลัวที่จะสูญเสีย และการได้รับกำลังใจทางสังคม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

คิดถึงความตายบนพื้นฐานของความเป็นจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตระหนักว่าความหวาดกลัวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตายนั้นเป็นเรื่องปกติ. คนส่วนใหญ่ล้วนกลัวว่าคนที่รักจะจากไป ณ จุดหนึ่งของชีวิตทั้งนั้น [1] นอกจากนั้น คนส่วนใหญ่ต่างล้วนต้องสูญเสียคนที่รักไปในช่วงชีวิตของตนเอง [2] ตามทฤษฎีการจัดการความหวาดกลัวแล้ว การคิดถึงความตายของคนที่รักหรือคิดว่าเขากำลังจะตายนั้นสามารถทำให้กลัวจนตัวแข็งทื่อเลยได้ [3] การคิดว่าคนอื่นกำลังจะตายนั้นยังสะท้อนถึงความไม่อยู่ยั้งยืนนานของตัวเราเองด้วย
    • จงรู้ไว้ว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว คนอื่นๆ ต่างเห็นใจในสถานการณ์ของคุณเพราะพวกเขาก็ต้องเคยประสบประเด็นปัญหาเดียวกันนี้มา ถ้าคุณรู้สึกอึดอัด คุณสามารถระบายความรู้สึกออกมาให้คนอื่นที่เคยต้องสูญเสียใครได้ร่วมรับฟัง นี่อาจช่วยคุณรับรู้ว่ามีคนคอยให้กำลังใจและความรู้สึกของคุณก็ไม่ได้ถูกเพิกเฉย
    • ให้เหตุผลกับความกลัวและความรู้สึกของตนเอง บอกกับตัวเองว่า “จะรู้สึกกลัวหรือเศร้าไปก็ไม่เป็นไรนะ มันเป็นการตอบสนองที่ปกติสำหรับเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว”
  2. หากคุณกำลังดูแลคนรักที่กำลังเจ็บป่วย นี่อาจทำให้เกิดความกังวลใจ ความทุกข์ หน้าที่ และการขาดอิสระเพิ่มเติมเข้ามา [4] ในขณะที่คุณสามารถทำสุดความสามารถในการช่วยคนที่รัก แต่คุณอาจไม่สามารถควบคุมได้ว่าเขาจะมีชีวิตยืนนานอีกแค่ไหน ให้เพ่งไปที่สิ่งซึ่งคุณสามารถทำได้ในวันนี้แทน เช่น ใช้เวลาอยู่กับเขาหรือรับมือกับความกลัวและความเศร้าของคุณเองอย่างดีต่อสุขภาพ
    • คิดถึงทุกสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ในสถานการณ์เช่นนี้ เช่น คุณสามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองหรือสิ่งที่คุณเลือกที่จะทำในสถานการณ์แบบนี้ คุณสามารถเพ่งเน้นไปที่การจะคอยดูแลและทำให้คนรักสบายใจให้สุดความสามารถของคุณเอง หรือเน้นที่การได้ปลดปล่อยตนเองโดยบอกความรู้สึกให้คนที่รักเข้าใจเพื่อประมวลความเศร้าของคุณเอง
    • ปล่อยสิ่งที่คุณไม่อาจควบคุมได้ไป การนึกภาพหรือจินตนาการภาพสามารถช่วยให้เกิดมุมมองว่าสิ่งไหนควบคุมได้หรือไม่ได้ ลองจินตนาการว่าวางความกลัวนั้นลงบนใบไม้ที่กำลังไหลไปตามแม่น้ำ ดูมันลอยห่างออกไปลับตา
    • กำหนดขีดจำกัด. ถ้าคุณกำลังดูแลคนที่รักซึ่งกำลังไม่สบาย มันอาจทำให้เกิดความยากลำบากเพิ่มขึ้นมาอีกมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าขีดความยืดหยุ่น ความกังวลใจ และอารมณ์ที่ซึมเศร้า [5] ให้ทำเฉพาะในสิ่งที่คุณทำได้ และหาเวลามาดูแลตัวเองด้วย คุณอาจจำเป็นต้องขีดกรอบแยกจากคนอื่นเพื่อจะสงวนช่วงเวลานี้ให้กับตนเองเพียงผู้เดียว
    • ใช้สติเพื่อใส่ใจในปัจจุบันขณะ เรากลัวเพราะเราคิดไปถึงอนาคตและสิ่งที่อาจเกิดขึ้น แทนที่จะเพ่งอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้และสิ่งที่คุณจะทำได้ในตอนนี้ ทำในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้เลย (อย่างที่คุณกำลังทำคืออ่านบทความนี้อยู่ไง)!
  3. จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อคนเราทำใจยอมรับในการตายมากขึ้น พวกเขาจะรับมือกับความสูญเสียได้ง่ายขึ้นและปรับตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ดีขึ้น [6]
    • คุณสามารถเริ่มฝึกการยอมรับโดยลิสต์อารมณ์กับความคิดที่ปะทุขึ้นพร้อมกับความกลัวการสูญเสียคนที่รักนั้นออกมา เขียนความคิดและความกลัวที่ซ่อนลึกอยู่ในใจและยอมรับในแต่ละข้อนั้น คุณสามารถบอกกับตัวเองว่า "ฉันยอมรับว่ากลัวและเจ็บปวด ฉันยอมรับว่าฉันอาจสูญเสียเขาไปในสักวันหนึ่ง มันเป็นเรื่องยาก แต่ฉันจะยอมรับความสูญเสียนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต"
    • เตือนตัวเองว่าความตายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โชคร้ายที่การสูญเสียก็เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในช่วงชีวิตของคนเรา
  4. เวลาที่ใครเชื่อมั่นว่าโลกนั้นยุติธรรมเท่าเทียม พวกเขาจะฟื้นตัวกลับมาเหมือนเดิมได้ดีกว่า และรับมือกับการสูญเสียคนที่รักได้ง่ายขึ้นด้วย [7]
    • วิธีหนึ่งที่จะคิดถึงโลกในแง่บวกคือการตระหนักถึงวงจรชีวิตว่าชีวิตกับความตายนั้นมันเป็นเรื่องธรรมชาติ เพื่อที่จะมีชีวิตมันก็ย่อมจะต้องมีความตาย พยายามมองเห็นความงามทั้งในชีวิตและความตาย วงจรชีวิตนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เราสามารถเรียนรู้ที่จะพึงพอใจและนึกขอบคุณมัน เวลามีใครจากไป คนอื่นๆ ก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้
    • ฝึกความรู้สึกขอบคุณ. บอกกับตัวเองว่า "ฉันอาจสูญเสียคนที่ฉันรัก แต่อย่างน้อยในตอนนี้ฉันก็มีเวลาได้ใช้ร่วมกับเขา ฉันจะเพ่งไปที่จุดนี้และรู้ในคุณค่าของช่วงเวลาที่ฉันมีนี้ ฉันขอขอบคุณทุกนาทีที่ได้ใช้ร่วมกับเขา" เรายังสามารถเลือกที่จะสำนึกรู้คุณว่าเราทุกคน รวมไปถึงคนที่เรารัก ล้วนได้มีโอกาสได้ใช้ชีวิต
    • หากคนที่คุณรักอยู่ในความเจ็บปวด คุณสามารถเพ่งไปคิดว่าหลังจากเขาจากไปก็ถือว่าพ้นทุกข์พ้นทรมานแล้ว คุณสามารถเพ่งย้ำข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าเขา (หรือคุณ) จะมีความเชื่อความศรัทธาใด เขาก็จะได้พบความสงบในที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รับมือกับความกลัวเรื่องการสูญเสีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีหนทางการรับมือก่อนการสูญเสียที่ไม่เพียงพอนั้นจะทำให้ประสบกับความยากลำบากสูงขึ้นและมีสิทธิเป็นโรคเศร้าซึมเรื้อรังหลังจากสูญเสียคนที่รัก [8] ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดเตรียมกลไกการรับมือเวลาที่คุณกลัวจะสูญเสียคนที่รัก
    • ผู้คนมักมีวิธีในการรับมือกับอารมณ์จำเพาะที่เกิดขึ้น เช่น ความกลัว ความสูญเสีย ความโศกเศร้า และอารมณ์ซึมเศร้า ตัวอย่างของวิธีรับมือความกลัวการสูญเสียคนที่รักในเชิงสร้างสรรค์ก็เช่น การออกกำลังกาย การเขียน ศิลปะ มีกิจกรรมทางธรรมชาติ เข้าหาศาสนา (เช่น สวดมนต์) และดนตรี
    • จัดการกับความรู้สึกของคุณอย่างเหมาะสม ปล่อยตัวเองให้รู้สึกและปลดปล่อยมันไปถ้าต้องการ ระดับความซึมเศร้าที่สูงขึ้น (ก่อนการจากไปของคนที่รัก) อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปรับตัวรับการสูญเสียที่ดีขึ้นเมื่อเกิดการสูญเสียขึ้นมาจริง [9] การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่ถูกต้องและเป็นปกติสำหรับการปลดปล่อยความเศร้าและความกลัว
    • เขียนบันทึกความกลัว เขียนความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับการสูญเสียคนที่รัก
  2. ถ้าคุณพบตัวเองกำลังตื่นตระหนกหรือกระวนกระวายอย่างมากกับความคิดเรื่องการสูญเสียคนที่รัก การสูดหายใจลึกๆ สามารถช่วยลดปฏิกิริยาทางกาย (หายใจฟืดฟาด หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น) ลงได้ และจะช่วยให้คุณรู้สึกสงบ
    • นั่งหรือเอนตัวนอนในท่าทางและในที่ซึ่งรู้สึกสบาย หายใจช้าๆ ลึกๆ ทางจมูกแล้วหายใจออกทางปาก รวบรวมสมาธิจดจ่ออยู่กับรูปแบบการหายใจ ให้ความใส่ใจตรงท้องและกะบังลมเวลาที่มันขยับเข้าออกในตอนที่คุณหายใจ
  3. เกื้อหนุนความนับถือตนเองและการเป็นตัวของตัวเอง. การมีความนับถือในตนเองสูงเป็นปัจจัยที่คอยปกป้องบรรดาความยากลำบากที่เกิดจากปัญหาเรื่องความตาย [10] อย่างไรก็ตาม ประเด็นความสัมพันธ์เช่น ความขัดแย้งหรือการยึดติดกับคนอื่นจนเกินไปนั้นอาจส่งผลให้คนผู้นั้นสุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคเศร้าเรื้อรังหลังการจากไปของคนที่รักได้ [11]
    • จงเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และวางแผนที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากการผูกมัดกับอะไร [12]
    • เชื่อใจว่าทุกอย่างมันจะง่ายขึ้นแล้วคุณจะสามารถรับมือกับมันได้
  4. การเชื่อว่าโลกนั้นมีความหมาย (จุดประสงค์) ช่วยให้คนเรารับมือกับความเป็นจริงเรื่องความตายได้ และจะช่วยลดความกลัวการสูญเสียคนที่รักลง [13] การมีเป้าหมายในชีวิตหมายถึงการใช้ชีวิตสำหรับเหตุผลบางอย่าง (เช่นเพื่อครอบครัว งาน ช่วยโลก ตอบแทนชุมชน เป็นต้น) แทนที่จะอยู่มีชีวิตอยู่ไปวันๆ ถ้าคุณมีจุดหมายหนึ่งหรือมีหลายจุดหมายในชีวิต คุณสามารถโฟกัสไปที่สิ่งที่คุณจะทำสำเร็จลงได้และดำเนินชีวิตต่อไปแม้คนที่รักจะจากไปแล้ว มันจะช่วยเสริมความมั่นใจว่าคุณจะยังคงมีอะไรที่ควรค่าแก่การดำเนินชีวิตถึงคนที่รักจะไม่อยู่กับคุณแล้วก็ตาม
    • จำไว้ว่าคุณเป็นสมาชิกที่มีค่าคนหนึ่งของสังคม เพ่งความสนใจไปที่คุณจะทำอะไรเพื่อโลกได้บ้าง คุณอยากช่วยคนอื่นไหม มีความเมตตาต่อคนแปลกหน้าบ้างหรือเปล่า เคยบริจาคเพื่อการกุศลหรืออาสาสมัครอะไรบ้างไหม การรับรู้ในสิ่งที่ทำเหล่านี้จะช่วยให้คุณรำลึกได้ว่าคุณเองมีจุดประสงค์ของการใช้ชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อบรรลุจุดประสงค์นั้นได้ไม่ว่าจะเสียคนที่รักไป คุณยังอาจอุทิศกิจกรรมหรือโครงงานที่ทำในอนาคตเพื่อคนที่รักได้ด้วย
    • ลองสร้างความหมายให้กับความตาย. ตัวอย่างของการสร้างความหมายจากการจากไปก็เช่นความตายนั้นจำเป็นต่อชีวิต หรือไม่ความตายก็เป็นแค่ประตูเปิดสู่มิติหรือโลกแห่งความจริงแบบอื่น (อย่างเช่นในความเชื่อเรื่องโลกหน้า) ความตายมีความหมายเช่นไรต่อคุณ คนที่คุณรักยังมีชีวิตอยู่ในโลกหลังความตายไหม เขาจะยังมีชีวิตอยู่ในความทรงจำของคนที่รักเขาไหม หรือ สิ่งที่เขาทำเพื่อสังคมยังคงมีอยู่ใช่ไหม
  5. อำนาจที่เหนือกว่าสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่ยิ่งใหญ่กว่าและมีพลังอำนาจสูงกว่าคุณ การเข้าไปใกล้ชิดหรือครุ่นคิดถึงศาสนา ความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือโลกทัศน์สามารถช่วยให้ใครรับมือกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตายได้ [14] [15]
    • ถ้าคุณไม่ได้นับถือศาสนาหรือไม่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า คุณสามารถเพ่งเน้นอำนาจที่เหนือกว่าเช่น ธรรมชาติ (พระจันทร์กับทะเลมีพลังสูงมาก) หรืออาจเป็นกลุ่มคน (เนื่องจากคนเป็นกลุ่มย่อมมีพลังมากกว่าคนๆ เดียว)
    • เขียนจดหมายถึงอำนาจที่เหนือกว่า ระบายความกลัวการสูญเสียคนที่รัก
    • สวดมนต์ถึงอำนาจที่เหนือกว่าถึงความรู้สึกและความคิดคุณ ร้องขอผลที่คุณปรารถนา (ให้คนที่รักผ่านพ้นมันไปได้ หรือให้เขาจากไปอย่างไม่ทรมาน เป็นต้น)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เพิ่มการให้กำลังใจทางสังคม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคนที่คุณรักยังมีชีวิตอยู่ ให้แน่ใจว่าได้ใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของเขาอย่างมีคุณภาพ
    • พูดคุยกับคนที่รักถึงความทรงจำที่มีร่วมกัน และสิ่งที่คุณชื่นชอบในตัวเขา
    • ให้แน่ใจว่าคุณได้เน้นย้ำความรู้สึกที่มีต่อตัวเขา บอกไปว่าคุณรักเขา
    • การสนทนาในช่วงท้ายของชีวิตนั้นเป็นเรื่องยาก แต่คุณก็ต้องการจะแน่ใจว่าได้พูดในสิ่งที่อยากพูดออกไปเพื่อจะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง คุณอาจลองเขียนสิ่งที่อยากบอกก่อนบอกออกไปก็ได้
  2. ครอบครัวที่มาร่วมผูกพันร่วมให้กำลังใจกันในช่วงเวลาแห่งการสูญเสียจะทำให้รับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความสูญเสียได้ดีขึ้น [16]
    • หากคุณรู้สึกจำเป็นต้องพูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน ลองถามออกไปเลย มีโอกาสอย่างยิ่งที่คุณจะไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่ต้องการพูดเพื่อความสบายใจ [17]
    • อยู่ท่ามกลางญาติพี่น้องและสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยการพูดคุยถึงความทรงจำที่มีร่วมกันหรือทำกิจกรรมร่วมกัน
  3. ไม่เพียงแต่ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวเท่านั้นที่จะช่วยบรรเทาความกลัวที่จะสูญเสียคนที่รัก แต่ความสัมพันธ์นอกครอบครัวก็มีประโยชน์ในการเพิ่มพูนความสามารถที่จะรับมือกับการสูญเสียในเชิงบวกยิ่งขึ้น [18] การได้เปิดเผยความรู้สึกและความคิดกับผู้อื่นจะช่วยลดความกลัวและความกังวลใจลงได้ [19]
    • ถ้าคุณเป็นคนเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาหรือโลกแห่งจิตวิญญาณ ลองพูดคุยกับผู้นำทางความเชื่อเพื่อทำให้สบายใจขึ้นและอาจหาบทสวดที่เหมาะกับคุณได้
  4. ไม่เพียงแต่เราจะต้องการกำลังใจทางสังคมเมื่อเรานึกกังวลว่าใครกำลังจะจากไป แต่การให้กำลังใจผู้อื่นก็เป็นวิธีที่จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นด้วย [20]
    • พูดเรื่องความตายกับลูก ถ้าคุณมีลูก ให้แน่ใจว่าได้ใช้เวลาพิเศษสักช่วงพูดคุยในหัวข้อการจากไป ห้องสมุดสาธารณะส่วนใหญ่จะมีหนังสือสำหรับเด็กที่จะช่วยคุณกับลูกให้รับมือกับเรื่องเช่นนี้ได้อย่างสวยงาม
  5. หนึ่งในความหวั่นกลัวที่สุดของคนเราเมื่อคิดถึงความตายของคนที่รักก็คือมันเป็นจุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์ [21] กระนั้น ความสัมพันธ์กับใครคนหนึ่งอาจยังคงมีชีวิตหลังจากความตาย อยู่ในความทรงจำ ในคำสวดขอพร ในความคิด และในความรู้สึกที่ยังคงมีอยู่ต่อคนผู้นั้น
    • เน้นตรงข้อเท็จจริงที่ว่าความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างคุณกับคนผู้นั้นจะไม่มีวันมลาย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณจำเป็นต้องหาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยของอย่างรายการตลก เพื่อนที่ไม่ข้องเกี่ยวกับการสูญเสีย เป็นต้น ให้เปิดรับสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ต้องรู้สึกตะขิดตะขวงใจ
  • ถ้าคุณอยากร้องไห้ ร้องออกมาเลย มันเป็นการตอบสนองทางชีวภาพของมนุษย์อยู่แล้วและเหมาะสมที่จะทำในเวลาจำเป็นเช่นนี้
โฆษณา

คำเตือน

  • นี่คือช่วงเวลาอันเป็นส่วนตัวในชีวิตคุณเช่นเดียวกับผู้คนรอบข้างคุณ แต่คนอื่นเขาอาจไม่ได้ร่วมรู้สึกอยากร้องไห้หรือหัวเราะไปกับคุณ ถ้าเป็นเช่นนี้ บางทีควรหาที่เงียบๆ เป็นส่วนตัวหรือแยกตัวออกมาจากคนที่กำลังคร่ำครวญคนอื่นๆ เพื่อมาทำใจเองก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,742 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา