ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยปวดหลังหรือไม่? ทุกคนคงล้วนเคยปวดหลังทั้งสิ้น อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรืออายุมาก แต่อาการปวดหลังส่วนล่างนี้สามารถบรรเทาหรือแก้ไขได้โดยการดูแลตนเองและรู้วิธีที่ถูกต้อง หากอาการปวดหลังไม่หาย หรือรุนแรงนานกว่า 1 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

วินิจฉัยอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการปวดหลังส่วนล่างมักหายเองได้ในไม่กี่สัปดาห์ หากไม่หายนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัย ซึ่งอาการปวดหลังส่วนล่างนี้มักเป็นการปวดในบริเวณรอบๆ นั้น มักไม่ใช่อาการปวดจากกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อที่ติดกระดูกสันหลังโดยตรง
    • โดยอาการปวดหลังส่วนล่างนี้มีสาเหตุได้หลายสาเหตุ ได้แก่: [1]
      • อายุมาก
      • ข้อต่ออักเสบ
      • หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น
      • การหักของกระดูกสันหลังที่มีเคลื่อนร่วมด้วย
      • อาการเจ็บป่วย เช่น กระดูกสันหลังคด
    • หากไม่ทราบสาเหตุการปวดที่แน่ชัดหรือคิดว่าอาการที่เป็นนั้นรุนแรงกว่าการปวดหลังธรรมดา ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดเพื่อให้รู้สึกสบายขึ้นขณะทำกิจวัตรประจำวัน
  2. การก้มตัว ทำให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างถูกใช้โดยตรง หรือการออกกำลังกายหรือบิดตัวไปมาก็ทำให้ใช้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเช่นเดียวกัน แต่ใช้แบบทางอ้อม แม้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างนั้นจะแข็งแรง แต่ก็ต้องการการพัก โดยการได้พักอย่างเหมาะสม อาจทำให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
    • บางครั้งอาการปวดหลังส่วนล่างอาจเกิดจากการนอน โดยมีวิธีที่ลดอาการปวดหลังขณะนอน เช่น:
      • นอนตะแคง [1]
      • ควรมีหมอนเล็กๆ สอดไว้ระหว่างขาสองข้างขณะนอน เพื่อช่วยให้หลังส่วนล่างไม่บิดและขาเหยียดได้ตรงขณะนอน
      • เลือกใช้ที่นอนที่เฟิร์มพอเหมาะ ไม่นิ่มไม่แข็งเกินไป เพราะจะทำให้หลังไม่ต้องทำงานหนักขณะนอน [1]
  3. การทรงท่าที่ไม่ดี อาจเป็นสาเหตุให้ปวดหลังส่วนล่าง เนื่องจากการรับน้ำหนักที่เปลี่ยนไปของร่างกาย
    • ท่าทางที่ดีคือควรให้กระดูกสันหลังบริเวณเอวแอ่นเล็กน้อย และบริเวณหลังส่วนบนโค้งโก่งเล็กน้อยและเว้าแบบแอ่นเล็กน้อยเช่นกันสำหรับกระดูกคอ (คือให้กระดูกคออยู่ในแนวตรงแต่โค้งแอ่นไปด้านหน้าเล็กน้อย)
    • หากคุณมีไหล่งุ้ม ให้ทำการแบะสะบักให้กลับมาอยู่ในท่าตรง ไม่แอ่นอกหรือผายไหล่จนมากเกินตำแหน่งปกติเหมือนปีกนก
    • ควรหมั่นเช็คการทรงท่าของตนเองตลอดวัน ดังนี้:
      • อกผายไหล่ผึ่ง
      • ศีรษะยืดตรงอยู่ในแนวเดียวกับลำตัว
      • ไหล่ควรอยู่ในท่าที่สบาย เพื่อไม่ให้เกิดแรงกระทำต่อส่วนที่อยู่ล่างลงไป
  4. โต๊ะทำงานหรืออุปกรณ์ในการทำงานอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม. เราใช้เวลากับการทำงานหลายชั่วโมงต่อวัน มักส่งผลเสียต่อหลัง ขา และมือ การปรับสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี ก็จะช่วยให้มีการทรงท่าที่ดีและไม่ปวดหลัง
    • หากต้องนั่ง ให้เท้าทั้งสองข้างวางราบกับพื้น ซึ่งความสูงของเก้าอี้ควรเหมาะสม
    • เปลี่ยนท่าทางเป็นประจำ การนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงควรลุกบ่อยๆ นั่งให้น้อยลง
    • หาเวลาลุกยืนให้ได้ทุก 1 ชั่วโมง โดยพักสัก 5 นาทีแล้วลุกเดินรอบๆ มองไปนอกหน้าต่าง พุดคุยกับเพื่อนร่วมงาน พักจากการจ้องมองแต่จอบ้าง
      • อาจลองปรับสิ่งแวดล้อมเป็นการยืนทำงานบ้าง โดยหาโต๊ะที่เหมาะสำหรับการยืนมาไว้ในที่ทำงานเพื่อให้ได้ลุกยืนมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วิธีรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาอาการกล้ามเนื้อเกร็ง.กล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเรียบในร่างกายเกิดการหดตัวโดยระบบประสาทอย่างอัตโนมัติ มักทำให้เกิดอาการปวด เกิดจากการบาดเจ็บหรือฉีดขาดของกล้ามเนื้อ [2]
    • ใช้การยืดเบาๆ บริเวณหลังส่วนล่าง ใช้การงอ แอ่นหลังร่วมด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวขึ้น หากการยืดทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้นควรหยุดและพบแพทย์ โดยการยืดกล้ามเนื้อนี้จะช่วยลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ [3]
  2. โดยเลือกรับประทาน NSAID ที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen Aspirin ซึ่งจะลดอักเสบและยับยั้งสารอักเสบได้ [4]
    • รับประทาน Ibuprofen ตามที่ฉลากกำหนดไว้ ยานี้จะช่วยลดอักเสบและควบคุมอาการปวดได้
    • เด็กไม่ควรรับประทาน aspirin เนื่องจากยานี้อาจะทำให้เกิดภาวะ Reye’s syndrome ทำให้เกิดอันตรายต่อสมองและตับอย่างเฉียบพลันในเด็ก แต่ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของยานี้คือ จะช่วยละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการป้องกันอาการหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวาย [5] อย่างไรก็ตาม ประโยชน์อีกอย่างของ aspirin คือการที่มันลดการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นจึงช่วยให้ไม่เกิดอาการหัวใจวาย [4]
  3. ความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดใต้ผิวหนังหดตัว ลดอาการปวดตื้อและบวม หากต้องการวางประคบเย็นบริเวณหลังส่วนล่างควรใช้วิธีดังต่อไปนี้:
    • ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นแล้วใส่ถุงพลาสติก นำไปแช่แข็งประมาณ 15-30 นาที แล้วนำผ้าออกมาจากถุง แล้วมาวางบริเวณหลังส่วนล่างที่ปวด [6]
    • ทำแผ่นประคบเย็นสำหรับใช้เอง โดยใส่น้ำ 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) หรือประมาณ 450 มิลลิลิตร แล้วนำไปแช่แข็ง รีดอากาศออกให้หมดแล้วปิดให้สนิท นำมาวางบนหลังที่ปวด [6]
    • ใช้ถุงแช่ผักแช่แข็งมาวางบนบริเวณหลังที่ปวด
    • ทำแผ่นประคบเย็นขึ้นมาเอง โดยการให้น้ำเปล่า 3 ถ้วย ผสมกับแอลกอฮอล์ 1 ถ้วย แล้วใส่ถุงนำไปแช่แข็ง รอจนแข็งแล้วนำมาวางบริเวณที่ปวด [6]
  4. ความร้อนจะช่วยให้ผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดได้ หากต้องการให้ได้ผลดีที่สุด ควรสลับระหว่างร้อนและเย็นร่วมด้วยกัน
    • ใช้ความร้อนแบบชื้นประคบบนหลังส่วนล่างประมาณ 15-20 นาทีต่อครั้ง ความร้อนชื้น(เช่น การอาบน้ำอุ่น อบไอน้ำ หรือแผ่นประคบร้อน) ซึ่งจะได้ผลดีกว่าความร้อนแบบแห้ง [6]
    • สามารถซื้อแผ่นสำหรับประคบร้อนโดยเฉพาะได้ที่ร้านขายยาทั่วไป
    • ไม่ควรประคบร้อนด้วยแผ่นร้อนไฟฟ้าขณะรู้สึกง่วงนอน ขณะประคบควรตั้งที่อุณหภูมิต่ำหรือปานกลาง ห้ามตั้งอุณหภูมิสูง และตั้งนาฬิกาปลุกหากคุณรู้สึกง่วง เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้จากความร้อน [6]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

บรรเทาอาการปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การปวดหลังส่วนล่างนี้มักเป็นๆหายๆ การยืดกล้ามเนื้อไม่ควรทำให้เกิดอาการเจ็บ แต่หากมีอาการเจ็บอยู่เรื่อยๆ อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อหลังอ่อนแรง ควรออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อมีแรงดึงและรับน้ำหนักได้ดี ซึ่งการออกกำลังกายที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว แต่หากเจ็บควรหยุดทำ
    • ท่าผีเสื้อ. นั่งคล้ายท่านั่งขัดสมาธิ โดยงอเข่าทั้งสองข้างให้เท้าสองข้างประกบกันตรงกลาง พยายามใช้มือสองข้างกดเข่าทั้งสองข้างลงให้ติดพื้น แล้วก้มตัวลงไปหาเท้า โดยเข่ายังคงติดพื้นอยู่ ค้างไว้ 15 วินาทีแล้วค่อยๆ กลับมาท่าปกติ
    • ท่าเด็ก. นอนหงาย ยกขาทั้งข้างขึ้นมา กางและแบะขาออกให้ขาชี้ฟ้า โดยขาท่อนล่างตั้งฉากกับพื้น ใช้มือสองข้างจับขาทั้งสองไว้แล้วจับกดลงให้เข่าลงหาพื้นมากที่สุด ค้างไว้ 15 วินาทีแล้วค่อยๆ ปล่อย
    • ท่านกพิราบ. นั่งขัดสมาธิให้ขาซ้ายอยู่ทางด้านหน้า แล้วเหยียดขาขวาไปด้านหลังให้สุด จนสะโพกด้านขวาแนบพื้น มือสองข้างวางที่สะโพกแล้วแอ่นตัวยืดขึ้นเล็กน้อย แล้วยกมือสองข้างขึ้นมาทางด้านหน้าแล้วก้มตัวลงไปหาขา ค้างไว้ 15 วินาทีแล้วค่อยๆ กลับมาท่าปกติ
    • และหลีกเลี่ยงการทำท่าดังนี้ หากมีอาการปวดหลัง:
      • ซิทอัพแบบขาเหยียดตรง
      • ซิทอัพแบบงอเข่า ทั้งแบบบิดตัวและขึ้นตรงๆ
      • นอนหงายยกขาสองข้างเหยียดตรง
      • ยกน้ำหนักแบบงอศอก หรือยกน้ำหนักขึ้นเหนือศีรษะ
      • ยืนก้มตัวแตะปลายเท้า
  2. อาจจะเลือกเดินบนลู่วิ่ง หรือ เดินกลางแจ้งสักประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ได้การเดินแบบธรรมชาติมากกว่าลู่วิ่ง อย่ากดดันตัวเอง หากมีอาการปวดขึ้นมาควรหยุด การออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่างที่แพทย์หลายคนแนะนำ [1] โดยประโยชน์คือช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
  3. วางไว้ขณะนั่งทำงาน โดยออกแรงกดขวดเข้าหาเก้าอี้ โดยใส่น้ำเย็นไว้ในขวด นอกจากจะช่วยให้นั่งอยู่ในท่าที่เหมาะสมแล้ว ความเย็นยังช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้
  4. นอกจากการเดิน ยืดหลัง และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกสันหลังแล้ว ยังมีการรักษาอื่นๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น:
    • นวด มีการนวดหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการนวดแบบที่ดีต่อหลังคือ นวดแบบสวีดิช (Swedish massage) และการนวดบางรูปแบบที่อาจเกิดอันตรายต่อหลังได้เช่น การนวดกดจุดแบบญี่ปุ่น (Shiatsu massage) เพราะฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนลองรักษา
    • จัดกระดูกสันหลัง. ผู้ป่วยหลายรายรักษาด้วยวิธีนี้แล้วเห็นผลดีค่อนข้างจะทันที [7] ซึ่งรักษาด้วยไคโรแพรกเตอร์หรือนักกายภาพบำบัด โดยการรักษาควรสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์
    • ฝังเข็ม การฝังเข็มเป็นเทคนิคของแพทย์แผนจีนโดยการใช้เข็มจิ้มไปที่จุดเฉพาะ อาจจะดูไม่น่าเชื่อ แต่จากการทดลองใช้กับผู้ป่วยหลายรายพบว่าหลังฝังเข็ม อาการปวดลดลงและสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น [8]
  5. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียดเนื่องจากทำให้รู้สึกดีแล้ว ยังทำให้หายปวดหลังส่วนล่างได้อีกด้วย มีงานวิจัยกล่าวว่าผู้ที่เครียดหรือซึมเศร้าจะหายจากอาการปวดหลังช้ากว่าปกติ และทำให้ซึมเศร้ามากยิ่งขึ้น [1]
    โฆษณา

ควบคุมอาการปวดหลังโดยไม่ต้องใช้ยา

1. เพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลัง: โดยแนวของกระดูกสันหลังนั้นจะมีลักษณะโค้ง ล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อยึดกระดูกสันหลัง ซึ่งจะยังคงทำงานอยู่บ้างแม้ขณะนอน ดังนั้นวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดคือนอนหงายแล้วงอเข่าสองข้าง เพื่อให้หลังส่วนล่างแนบกับพื้น/ที่นอน วิธีนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังผ่อนคลาย ทำวันละ 15 นาที ทุกวัน หรือทำก่อนนอนจนรู้สึกเริ่มง่วงนอนแล้วจึงนอนหลับ

2. ยืดกล้ามเนื้อหลัง โดยการใช้ท่าโยคะ: ยืนตรง.มือไขว้หลังไว้บริเวณหลังส่วนล่าง หายใจเข้า แล้วขณะหายใจออกให้ก้มตัวลงช้าๆ เท่าที่ก้มลงไปได้ ค้างไว้ในท่านั้นแล้วกลับสู่ท่าปกติ(ท่ายืนตรง)ขณะหายใจออก ทำ 5-10 ครั้งในตอนแรก และค่อยๆ เพิ่มโดยค้างไว้ จนถึง 2 นาที ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกตึงบริเวณเข่าแต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ จะรู้สึกดีขึ้น

เคล็ดลับ

  • อย่าออกกำลังกายหนักๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • ใช้ประคบร้อนเมื่อมีอาการปวดหลังโดยอาจจะใช้หมอนเล็กๆช่วยรองหลังบริเวณที่ปวดร่วมด้วย
  • อย่ากดหรือนวดลงบนหลังด้วยตนเอง เนื่องจากอาจทำให้ยิ่งบาดเจ็บมากขึ้น
  • หากอาการปวดยังคงไม่ดีขึ้น อาจลองใช้ความร้อนลึกโดยนักกายภาพบำบัด หรือไคโรแพรกเตอร์
  • ลดน้ำหนักก็สามารถช่วยลดอาการปวดหลังได้ รวมทั้งเล่นโยคะ
  • อาการปวดหลังอาจเกิดจากท้องผูก หากมีอาการมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับวิธีการรักษา โดยหาวิธียืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง และขยับข้อต่อเท่าที่สามารถทำได้ที่บ้าน
  • ถูมือสองมือเข้าด้วยกันให้อุ่นแล้วเอามือมาวางบริเวณที่ปวดหลัง
  • อาการปวดหลังอาจเกิดจากการมีประจำเดือน ให้รับประทานยาแก้ปวดประจำเดือนอาจจะทำให้ปวดหลังลดลง
  • อย่าซื้อยารับประทานเองเพื่อแก้อาการปวดหลัง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย
  • หรือทำแผ่นประคบเย็นใช้เอง หรือใช้ฟองน้ำ (ซึ่งจะเป็นฟองน้ำใหญ่หรือเล็ก ขึ้นกับบริเวณที่ต้องการ) ชุบน้ำแล้วบีบน้ำออกเล็กน้อย (ไม่บีบออกมากเกินไป) จากนั้นนำไปใส่ถุงซิปล็อคแล้วแช่แข็ง
    • ปิดถุงซิปล็อคให้แน่นป้องกันน้ำรั่วออกมานอกถุง
โฆษณา

คำเตือน

  • หากปวดหลังนานหลายสัปดาห์ ให้ไปพบแพทย์
  • หากไม่แน่ใจสาเหตุของอาการปวดหลัง ให้ไปพบแพทย์
  • ห้ามให้เด็กรับประทานแอสไพรินโดยไม่ได้สั่งจ่ายจากแพทย์ เพราะจะทำให้เกิดภาวะ Reye's syndrome
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,256 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา