ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การไอตอนกลางคืนอาจเป็นการรบกวนคนที่นอนข้างๆ และทำให้คุณต้องตื่นกลางดึกได้ และบางทีอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอย่างโรคหวัด หลอดลมอักเสบ โรคไอกรน ปอดอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหืด หรือโรคกรดไหลย้อน ถ้าอาการไอตอนกลางคืนของคุณไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ อาการแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอาการของภูมิแพ้ หรือทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งสามารถดีขึ้นได้ถ้ารักษาอย่างถูกวิธี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับพฤติกรรมการนอน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้หมอนหนุนหลังก่อนจะหลับ และพยายามนอนหนุนหมอนมากกว่าหนึ่งใบ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูกหรือเสมหะที่กลืนลงคอไประหว่างวันไหลย้อนกลับขึ้นมาได้ตอนคุณนอน [1]
    • คุณสามารถหาบล็อคไม้มาวางใต้หัวเตียงเพื่อยกสูงขึ้นสัก 4 นิ้ว มุมนี้จะช่วยทำให้กรดต่างๆ ในกระเพาะไม่ไหลย้อนขึ้นมาให้ระคายคอได้
    • ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงาย เพราะมันจะไปกดทับทางเดินหายใจเวลาคุณหลับ และทำให้มีอาการไอได้ [2]
    • การนอนบนที่ลาดโดยใช้หมอนหนุนหลายใบ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาอาการไอจากภาวะหัวใจล้มเหลว ของเหลวในปอดจะถูกเก็บไว้ที่ปอดกลีบล่างและจะไม่กระทบต่อการหายใจ
  2. อากาศแห้งสามารถทำให้คุณไอมากขึ้นในตอนกลางคืน ดังนั้นให้อบไอน้ำหรือแช่น้ำอุ่นสักหน่อยก่อนเข้านอน [3]
    • ถ้าคุณเป็นโรคหืดอยู่แล้ว ไอน้ำอาจทำให้อาการไอแย่ลง ห้ามใช้วิธีนี้สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืด
  3. การที่มีลมพัดเข้าหน้าตอนนอนจะยิ่งทำให้ไอหนักขึ้น ให้ย้ายที่นอนไม่ให้อยู่ในจุดที่แอร์เย็นๆ หรือความร้อนจากฮีทเตอร์ตกใส่ ถ้าคุณเปิดพัดลมนอน ก็ให้ย้ายพัดลมไปไว้ตรงข้ามเตียง [4]
  4. เครื่องทำความชื้นจะช่วยรักษาความชื้นในอากาศในห้อง ทำให้อากาศไม่แห้ง ไอน้ำจะเปิดทางเดินอากาศ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น และยังรักษาความชุ่มชื้นในอากาศ ทำให้ไอน้อยลงด้วย [5]
    • ควบคุมค่าความชื้นให้อยู่ที่ 40-50 เปอร์เซ็นต์ เพราะไรฝุ่นและเชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าอากาศชื้น ใช้ไฮโกรมิเตอร์ในการวัดความชื้นภายในห้อง หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องมือทั่วไป
  5. ถ้าคุณมีอาการไอตอนกลางคืนอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้ ให้รักษาความสะอาดของเครื่องนอน ไรฝุ่นเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่กินเศษผิวหนังที่ตายแล้ว อาศัยอยู่ตามเครื่องนอนและเป็นตัวการของภูมิแพ้ ยิ่งถ้าคุณเป็นภูมิแพ้หรือโรคหืดอยู่แล้ว มันจะเป็นอันตรายต่อตัวคุณมาก ควรซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำและใช้ผ้าคลุมเตียงไว้ [6]
    • ซักเครื่องนอนทุกชิ้นด้วยน้ำร้อน สัปดาห์ละครั้ง ทั้งผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ไปจนถึงปลอกผ้านวม
    • คุณจะคลุมฟูกหรือที่นอนไว้ด้วยพลาสติกก็ได้ เพื่อป้องกันไรฝุ่นและทำให้เครื่องนอนสะอาด
  6. ถ้าทำเช่นนี้ เวลาตื่นกลางดึกเพราะไอ คุณก็จะสามารถจิบน้ำเพื่อให้โล่งคอขึ้นได้ [7]
  7. ก่อนจะนอน ให้นึกถึงคำพูดที่ว่า “จมูกมีไว้หายใจ ปากมีไว้เพื่อกิน” ควรฝึกหายใจทางจมูกเวลาหลับโดยการหายใจทางจมูกบ่อยๆ ขณะรู้สึกตัว มันจะช่วยลดแรงกดดันบริเวณลำคอ ซึ่งจะสามารถลดอาการไอตอนกลางคืนได้
    • นั่งตัวตรงในท่าสบาย [8]
    • ผ่อนคลายร่างกายส่วนบน และปิดปาก วางลิ้นไว้หลังฟันล่างให้ห่างจากเพดานปาก
    • วางมือไว้บริเวณกะบังลม หรือตรงหน้าท้องส่วนล่าง คุณควรฝึกหายใจโดยใช้กะบังลมแทนการใช้กล้ามเนื้อหน้าอก เพราะการหายใจโดยใช้กะบังลมมีความสำคัญคือช่วยปอดในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และยังเป็นการนวดกระตุ้นตับ กระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งจะช่วยขับสารพิษออกจากอวัยวะเหล่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยผ่อนคลายร่างกายส่วนบนอีกด้วย
    • สูดหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก นาน 2-3 วินาที
    • หายใจออก ใช้เวลา 3-4 วินาที หยุดพัก 2-3 วินาที ก่อนสูดหายใจเข้าทางจมูกอีกครั้ง
    • ฝึกหายใจทางจมูกแบบนี้หลายๆ รอบ การยืดเวลาหายใจเข้า-ออก จะช่วยให้ร่างกายของคุณคุ้นเคยกับการหายใจทางจมูกมากกว่าทางปาก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีการรักษาแบบผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาแก้ไอที่มีขายทั่วไปสามารถช่วยได้สองทาง [9]
    • ยาขับเสมหะ เช่น มิวซิเน็กซ์ ดีเอ็ม (Mucinex DM) ช่วยสลายน้ำมูกและเสมหะในลำคอและทางเดินหายใจ
    • ยาระงับอาการไอ เช่น เดลซิม (Delsym) ช่วยระงับอาการไอโดยอัตโนมัติ และลดแรงกระตุ้นในการไอของร่างกาย
    • คุณสามารถทานยาน้ำแก้ไอทั่วไป หรือทาวิคส์ วาโปรับ (Vick’s Vapor Rub) ที่หน้าอกก่อนนอนก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้จะช่วยลดอาการไอตอนกลางคืน
    • อ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้ และถามเภสัชกรถ้าไม่แน่ใจว่ายาแก้ไอแบบไหนที่เหมาะสำหรับอาการไอของคุณ
  2. ยาแก้ไอบางชนิดใช้ส่วนผสมที่ทำให้ชาอย่างเบนโซเคน ซึ่งจะช่วยให้อาการไอสงบลงนานพอให้คุณหลับได้ [10]
  3. ถ้าอาการไอกลางดึกยังคงแย่ลงหลังจากการดูแลรักษา การกินยา หรือหลังจาก 7 วันแล้ว ควรไปพบแพทย์ สาเหตุของการไอตอนกลางคืนนั้นอาจมาจากโรคหืด โรคหวัดทั่วไป โรคกรดไหลย้อน การกินยาลดความดันโลหิต อาการติดเชื้อไวรัส โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมโป่งพอง หรือโรคมะเร็ง ถ้าคุณมีไข้สูงและมีอาการไอกลางดึกเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด [11]
    • การตรวจโรคไอเรื้อรังจะเริ่มจากตรวจประวัติและร่างกาย แพทย์อาจต้องทำการเอ็กซเรย์ปอดเพื่อตรวจหาโรค และอาจจำเป็นต้องตรวจโรคกรดไหลย้อนและโรคหืดด้วย
    • แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก (decongestant) หรือยาที่แรงกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรค ยาเชอราทัซซิน (Cheratussin) ที่มีโคเดอีน เป็นยาระงับอาการไอที่แพทย์มักจะสั่งจ่ายทั่วไป ถ้าคุณมีปัญหาใหญ่ที่ทำให้ไอกลางดึกอย่างโรคหืดหรือโรคหวัดเรื้อรัง ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อรักษาโรค แพทย์อาจจ่ายยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan), มอร์ฟีน, ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) และกาบาเพนติน (Gabapentin)
    • ปรึกษาแพทย์หากคุณทานยาลดความดันโลหิตอยู่ เพราะการไออาจเป็นผลข้างเคียงจากยา
    • อาการไอบางชนิด โดยเฉพาะที่เรื้อรัง อาจเป็นอาการของโรคที่รุนแรงอย่างโรคหัวใจและมะเร็งปอด แต่โรคเหล่านี้ก็มักจะมีอาการที่ชัดเจนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไอเป็นเลือด หรือมีประวัติป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีการรักษาแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำผึ้งเป็นยารักษาอาการระคายคอแบบธรรมชาติที่ดีมาก เพราะมันจะช่วยเคลือบและบรรเทาอาการระคายเยื่อบุในช่องคอ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย ต้องขอบคุณเอนไซม์จากผึ้งทั้งหลายเลยล่ะ ดังนั้นถ้าอาการไอของคุณเป็นเพราะโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย น้ำผึ้งจะช่วยกำจัดแบคทีเรียตัวร้ายเหล่านั้นได้ [13]
    • ทานน้ำผึ้งสดแท้ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 1-3 ครั้ง และก่อนนอน คุณสามารถละลายน้ำผึ้งในน้ำอุ่นสักถ้วย บีบมะนาวลงไป และดื่มก่อนนอนก็ได้
    • สำหรับเด็ก ให้กินน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา วันละ 1-3 ครั้ง และก่อนนอน
    • ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบกินน้ำผึ้งเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษและติดเชื้อจากแบคทีเรียได้
  2. รากชะเอมเทศเป็นยาจากธรรมชาติที่ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ มันจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ละลายเสมหะ และยังบรรเทาอาการอักเสบในลำคออีกด้วย [14]
    • หาซื้อรากชะเอมเทศแห้งตามร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ หรือสามารถซื้อชาชะเอมเทศได้ที่แผนกขายชาตามร้านขายของทั่วไป
    • แช่รากชะเอมเทศในน้ำร้อน 10-15 นาที หรือตามที่ระบุไว้บนถุงชา ปิดฝาไว้ระหว่างที่แช่เพื่อให้มันอบอวลไปด้วยไอร้อนและน้ำมันจากชา ดื่มวันละ 1-2 ครั้ง และก่อนนอน
    • ถ้าคุณใช้ยาสเตียรอยด์อยู่ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับไต ห้ามกินรากชะเอมเทศ
  3. น้ำเกลือสามารถบรรเทาอาการไม่สบายในลำคอและขจัดเสมหะได้ หากคุณมีเสมหะหรือไอ การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยขับเสมหะในลำคอ [15]
    • ใส่เกลือ 1 ช้อนชา ลงในน้ำอุ่น 8 ออนซ์ คนให้ละลาย
    • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ 15 วินาที ระวังอย่ากลืนลงไป
    • บ้วนทิ้ง และใช้น้ำเกลือที่เหลือกลั้วคออีกครั้ง
    • เสร็จแล้วล้างปากด้วยน้ำเปล่า
  4. อังหน้าด้วยไอร้อนจากน้ำและน้ำมันจากธรรมชาติ. การอบไอน้ำเป็นวิธีที่ดีที่จะดูดซับความชุ่มชื้นผ่านทางจมูกและป้องกันการไอแห้ง การเติมน้ำมันที่สกัดจากพืชอย่างทีทรีออยล์ และน้ำมันยูคาลิปตัส จะช่วยต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และการอักเสบ [16]
    • ต้มน้ำร้อนในปริมาณพอที่จะใส่ชามกันร้อนขนาดกลางได้ เทน้ำลงในชามและทิ้งไว้ให้เย็นลงประมาณ 30-60 วินาที
    • เติมทีทรีออยล์ 1-2 หยด และน้ำมันยูคาลิปตัส 1-2 หยด ลงในน้ำ คนเร็วๆ เพื่อให้มีไอระเหยออกมา
    • ยื่นหน้าไปเหนือชามให้ใกล้ไอน้ำมากที่สุด แต่อย่าใกล้เกินไปเพราะไอร้อนอาจจะทำให้แสบผิวได้ คลุมผ้าสะอาดไว้บนหัวเหมือนเป็นเต็นท์เพื่อช่วยกักเก็บไอน้ำ หายใจเข้าลึกๆ 5-10 นาที อบไอน้ำใส่น้ำมันหอมแบบนี้ 2-3 ครั้งต่อวัน
    • คุณสามารถทาน้ำมันสกัดบนหน้าอกของลูกเพื่อป้องกันการไอกลางดึกได้ โดยผสมน้ำมันหอมสกัดจากพืชกับน้ำมันมะกอกก่อนที่จะนำมาทาผิวเสมอ เพราะไม่ควรนำมาทาผิวโดยตรง น้ำมันหอมสกัดจากพืชจะให้ผลดีเทียบเท่าวิคส์ วาโปรับ แต่จะมาจากธรรมชาติล้วนๆ และไม่มีส่วนผสมของน้ำมันปิโตรเลียม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โปรดอ่านคำเตือนบนฉลากขวดน้ำมันสกัดก่อนใช้เพื่อความปลอดภัย [17]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 201,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา