ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในเรื่องพีชคณิตทวินามคือนิพจน์ที่มีสองพจน์เชื่อมโยงกันด้วยเครื่องหมายบวกหรือเครื่องหมายลบอย่างเช่น พจน์แรกมีตัวแปรเสมอ แต่พจน์ที่สองอาจมีหรือไม่มีตัวแปรก็ได้ การแยกตัวประกอบทวินามหมายถึงการหาพจน์ในรูปอย่างง่ายที่นำมาคูณกันแล้วจะได้นิพจน์ทวินามนั้น การแยกตัวประกอบทวินามช่วยเราแก้สมการหรือทำให้อยู่ในรูปอย่างง่ายเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ศึกษาวิธีการแยกตัวประกอบทวินาม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การแยกตัวประกอบคือการแยกย่อยตัวเลขจำนวนหนึ่งที่มีค่ามากออกเป็นส่วนประกอบง่ายๆ ที่สามารถหารได้ลงตัว ส่วนประกอบแต่ละส่วนเรียกว่า "ตัวประกอบ" ตัวอย่างเช่น เลข 6 สามารถหารด้วยตัวเลขต่างๆ สี่จำนวนได้ลงตัวดังนี้: 1, 2, 3, และ 6 ฉะนั้นตัวประกอบของ 6 คือ 1, 2, 3, และ 6
    • ตัวประกอบของ 32 คือ 1, 2, 4, 8, 16 และ 32
    • ทั้ง "1" และตัวเลขที่ถูกแยกตัวประกอบออกมาเป็นตัวประกอบเสมอ ฉะนั้นตัวประกอบของจำนวนที่มีค่าน้อยจำนวนหนึ่งอย่างเช่น 3 คือ 1 และ 3
    • ตัวประกอบคือจำนวนที่สามารถหารได้ลงตัวโดยสมบูรณ์ หรือจำนวน "เต็ม"เท่านั้น เราสามารถหาร 32 ด้วย 3.564 หรือ 21.4952 ได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ใช่ตัวประกอบ เป็นแค่เลขทศนิยมอีกจำนวนหนึ่งเท่านั้น
  2. จัดเรียงพจน์ของทวินามใหม่เพื่อให้ดูง่ายขึ้น. ทวินามเป็นพียงจำนวนสองจำนวนที่มาบวกหรือลบกันเท่านั้นและมีอย่างน้อยหนึ่งจำนวนที่มีตัวแปร บางครั้งตัวแปรเหล่านี้มีเลขชี้กำลังอย่างเช่น หรือ เป็นต้น เรียงลำดับสมการใหม่ก่อนที่จะแยกตัวประกอบทวินาม เรียงลำดับพจน์ตัวแปรจากต่ำไปสูง หมายความว่าเลขชี้กำลังที่เยอะสุดจะอยู่ลำดับสุดท้าย ตัวอย่างเช่น:
      • จะสังเกตเห็นว่าเครื่องหมายลบยังอยู่ที่หน้า 2 ถ้าพจน์หนึ่งมีเครื่องหมายลบอยู่ข้างหน้า เก็บเครื่องหมายลบหน้าพจน์นั้นไว้
  3. หมายความว่าเราต้องหาตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดและเป็นตัวเลขที่หารส่วนประกอบทั้งสองของทวินามได้ลงตัวด้วย ถ้าไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แค่แยกตัวประกอบของตัวเลขแต่ละจำนวนออกมาก่อน จากนั้นดูสิว่าจำนวนที่มากที่สุดซึ่งทั้งสองมีเหมือนกันคือจำนวนใด
    • ตัวอย่าง:
      • ตัวประกอบของ 3: 1, 3
      • ตัวประกอบของ 6: 1, 2, 3, 6
      • ตัวหารร่วมมากคือ 3
  4. พอเรารู้ว่าตัวประกอบร่วมคือจำนวนใดแล้ว เราต้องดึงตัวประกอบร่วมจำนวนนั้นออกมาจากแต่ละพจน์ อย่างไรก็ตามจะสังเกตเห็นว่าเราแค่นำตัวหารร่วมมากมาหารออกจากแต่ละพจน์เพื่อแยกตัวประกอบออกมา ถ้าทำถูกต้อง สมการทั้งสองจะมีตัวประกอบร่วมกัน
    • ตัวอย่าง:
    • ตัวหารร่วมมาก: 3
    • นำตัวหารร่วมมากมาหารทั้งสองพจน์:
  5. ในขั้นตอนที่แล้วเราดึง 3 ออกมาเพื่อให้ได้ แต่เราไม่ได้ขจัดสามออกไปเลยโดยสิ้นเชิง เราแค่ดึงออกมาเพื่อให้สมการอยู่ในรูปอย่างง่าย สามไม่ได้หายไปไหน ถ้าไม่นำกลับเข้าไปคูณในวงเล็บ! นำตัวประกอบมาคูณกับนิพจน์ที่เป็นผลลัพธ์ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการแยกตัวประกอบ ดูตัวอย่างที่ด้านล่างนี้
    • ตัวอย่าง:
    • ตัวหารร่วมมาก: 3
    • นำตัวหารร่วมมากมาหารทั้งสองพจน์:
    • นำตัวประกอบมาคูณกับนิพจน์ใหม่:
    • คำตอบสุดท้าย:
  6. นำตัวประกอบร่วมมาคูณกับนิพจน์ใหม่เพื่อตรวจคำตอบ. ถ้าเราทำทุกขั้นตอนถูกต้อง การตรวจว่าคำตอบที่ได้ถูกต้องหรือไม่นั้นเป็นเรื่องง่าย แค่นำตัวประกอบกลับเข้าไปคูณส่วนประกอบทั้งสองส่วนในวงเล็บ ถ้าผลลัพธ์ตรงกับสมการเดิมซึ่งเป็นทวินามที่ยังไม่ได้แยกตัวประกอบ แสดงว่าคำตอบของเราถูกต้อง เราจะมาแยกตัวประกอบของ ตั้งแต่เริ่มจนจบขั้นตอนเพื่อเป็นการฝึกแยกตัวประกอบทวินาม
    • เรียงลำดับพจน์ใหม่:
    • ตัวหารร่วมมาก:
    • นำตัวหารร่วมมากมาหารทั้งสองพจน์:
    • นำตัวประกอบมาคูณกับนิพจน์ใหม่:
    • ตรวจคำตอบ:
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แยกตัวประกอบทวินามเพื่อแก้สมการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้การแยกตัวประกอบเพื่อทำให้สมการอยู่ในรูปอย่างง่ายและทำให้แก้สมการได้ง่าย. เมื่อแก้สมการทวินามโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมการทวินามที่ซับซ้อน อาจดูเหมือนว่าพจน์ทั้งสองในสมการไม่มีตัวประกอบร่วมกัน คราวนี้ลองมาแก้สมการ วิธีการแก้สมการโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีเลขชี้กำลังคือการแยกตัวประกอบออกมาก่อน
    • ตัวอย่าง:
    • อย่าลืมว่าทวินามต้องมีพจน์แค่สองพจน์เท่านั้น แต่ถ้ามีมากกว่าสองพจน์ขึ้นไป ให้อ่านบทความวิธีการ แก้สมการพหุนาม
  2. บวกและลบเพื่อให้ข้างหนึ่งของสมการมีค่าเท่ากับศูนย์. กลวิธีนี้มาจากข้อเท็จจริงพื้นฐานที่สุดของคณิตศาสตร์คือ อะไรก็ตามมาคูณกับศูนย์ ก็ต้องได้เท่ากับศูนย์ ฉะนั้นหากสมการเท่ากับศูนย์ แสดงว่าหนึ่งในพจน์ที่แยกตัวประกอบแล้วของเราต้องเท่ากับศูนย์! เริ่มจากบวกและลบเพื่อให้ข้างหนึ่งของสมการมีค่าเท่ากับศูนย์
    • ตัวอย่าง:
    • ตั้งสมการให้มีค่าเท่ากับศูนย์:
  3. แยกตัวประกอบของสมการข้างที่ไม่ใช่ศูนย์เหมือนปกติ. พอมาถึงขั้นตอนนี้เราสามารถแสร้งทำเป็นว่าอีกข้างหนึ่งของสมการไม่มีอยู่ก็ได้ แค่หาตัวหารร่วมมาก นำมาหารออกจากทั้งสองพจน์ และจากนั้นเขียนนิพจน์ในแบบที่แยกตัวประกอบเรียบร้อยแล้ว
    • ตัวอย่าง:
    • ตั้งสมการให้เท่ากับศูนย์:
    • แยกตัวประกอบ:
  4. ตั้งสมการภายในและภายนอกวงเล็บให้เท่ากับศูนย์. ในตัวอย่างนี้เรานำ 2y มาคูณ 4 – y และผลลัพธ์ต้องเท่ากับศูนย์ เนื่องจากอะไรก็ตามคูณกับศูนย์ ก็ต้องเท่ากับศูนย์ แสดงว่า 2y หรือ 4 – y ต้องเป็น 0 ตั้งสมการแยกอีกสองสมการให้เท่ากับศูนย์เพื่อหาค่า y ของแต่ละสมการ
    • ตัวอย่าง:
    • ตั้งสมการให้เท่ากับศูนย์:
    • แยกตัวประกอบ:
    • ตั้งสมการทั้งสองให้เท่ากับ 0:
  5. เราอาจได้คำตอบเดียวหรือเกินหนึ่งคำตอบก็ได้ อย่าลืมว่ามีเพียงข้างเดียวของสมการเท่านั้นที่เท่ากับศูนย์ ฉะนั้นเราจะได้ค่า y ต่างกันสองสามค่าเพื่อแก้สมการเดียวกัน ต่อไปนี้คือขั้นตอบการแก้สมการทั้งสองเพื่อให้ได้คำตอบสุดท้าย
      • y = 0
      • y = 4
  6. ถ้าค่าของ y ถูกต้อง เราจะสามารถใช้ค่าที่ได้แก้สมการได้ แค่ลองนำค่าแต่ละค่ามาแทนตัวแปร y อย่างที่แสดงในตัวอย่างด้านล่างนี้ เนื่องจากคำตอบของสมการคือ y = 0 และ y = 4 เราจะนำทั้งสองค่ามาแทนลงไปในสมการดังนี้
      • คำตอบนี้ถูกต้อง
      • คำตอบนี้ถูกต้องเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

แยกตัวประกอบทวินามที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าลืมว่าตัวแปรเป็นตัวประกอบด้วยเหมือนกันรวมทั้งตัวแปรที่มีเลขชี้กำลังด้วย. อย่าลืมว่าการแยกตัวประกอบคือการหาว่าจำนวนใดสามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว นิพจน์ คือการแสดง ในอีกรูปแบบหนึ่ง หมายความว่าเราสามารถดึง x แต่ละตัวออกมาได้ ถ้าอีกพจน์หนึ่งมีเหมือนกัน แยกตัวประกอบของตัวแปรให้เหมือนแยกตัวประกอบของตัวเลขปกติ ดูตัวอย่างด้านล่างนี้
    • สามารถแยกตัวประกอบได้ เพราะพจน์ทั้งสองมี t ทั้งคู่ เมื่อแยกตัวประกอบออกมาแล้ว ก็จะได้เป็น
    • เรายังสามารถดึงตัวแปรออกมาได้หลายตัวในคราวเดียวด้วย ตัวอย่างเช่น ใน ทั้งสองพจน์มี เหมือนกัน เมื่อแยกตัวประกอบออกมาแล้ว ก็จะได้เป็น
  2. นำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกหรือลบกันเพื่อทำให้ทวินามอยู่ในรูปอย่างง่าย. ตัวอย่างเช่น นิพจน์ ดูเหมือนเป็นนิพจน์ที่มีสี่พจน์ แต่หากมองดูให้ดีๆ แล้ว เราจะเห็นว่านิพจน์นี้มีพจน์จริงๆ แค่สองพจน์ เราสามารถนำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกกันได้ เนื่องจาก 6 และ 14 ไม่มีตัวแปรทั้งคู่ 2x และ 3x ต่างมีตัวแปรตัวเดียวกัน ฉะนั้นจึงสามารถนำมาบวกกันได้ จากนั้นก็จะแยกตัวประกอบได้ง่าย ดูตัวอย่างด้านล่างนี้
    • ตัวอย่าง:
    • เรียงลำดับพจน์ใหม่:
    • นำพจน์ที่เหมือนกันมาบวกหรือลบกัน:
    • หาตัวหารร่วมมาก:
    • แยกตัวประกอบ:
  3. ใช้สูตร"ผลต่างของกำลังสองสมบูรณ์"ในการแยกตัวประกอบ. กำลังสองสมบูรณ์คือตัวเลขที่มีรากที่สองเป็นจำนวนเต็มอย่างเช่น , หรือ เป็นต้น ถ้าทวินามของเรามีพจน์ที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ทั้งคู่และลบกันอยู่ในรูปแบบ เราสามารถนำไปแทนลงในสูตรด้านล่างนี้ได้เลย
    • สูตรผลต่างของกำลังสองสมบูรณ์:
    • ตัวอย่าง:
    • หารากที่สอง:
    • แทนค่าลงไปในสูตร:
  4. 4
    ใช้สูตร"ผลต่างของกำลังสามสมบูรณ์"ในการแยกตัวประกอบ. ทวินามที่มีพจน์ทั้งสองเป็นกำลังสามสมบูรณ์และลบกันอยู่ก็มีสูตรง่ายๆ เช่นเดียวกัน ถ้าเราเจอทวินามในรูปแบบ เราแค่ทำเหมือนก่อนหน้านี้เลย แค่หารากที่สามของแต่ละพจน์ แล้วแทนลงไปในสูตร
    • สูตรผลต่างของกำลังสามสมบูรณ์:
    • ตัวอย่าง:
    • หารากที่สาม:
    • แทนค่าลงไปในสูตร: [1]
  5. 5
    ใช้สูตรผลบวกของกำลังสามสมบูรณ์ในการแยกตัวประกอบ. ถ้าเราเจอทวินามในรูปแบบ ซึ่งเป็นทวินามที่มีพจน์ทั้งสองเป็นกำลังสามสมบูรณ์และบวกกันอยู่ เราไม่สามารถใช้สูตรผลต่างของกำลังสามสมบูรณ์ได้ ต้องใช้สูตรผลบวกของกำลังสามสมบูรณ์แทน สูตรนี้เกือบจะคล้ายกับสูตรในขั้นตอนที่แล้วเลย แค่สลับที่เครื่องหมายบวกและลบบางจุดเท่านั้น สูตรนี้ก็ใช้ง่ายเหมือนสูตรสองสูตรก่อนหน้านี้ เราแค่ต้องดูให้แน่ใจว่าทวินามของเรามีพจน์สองพจน์เป็นกำลังสามสมบูรณ์ใช่หรือไม่และดูว่ากำลังบวกหรือลบกัน
    • สูตรผลบวกของกำลังสามสมบูรณ์:
    • ตัวอย่าง:
    • หารากที่สาม:
    • แทนค่าลงไปในสูตร: [2]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไม่ใช่ทวินามทุกทวินามจะมีตัวประกอบร่วม! บางทวินามก็อยู่ในรูปอย่างง่ายอยู่แล้ว
  • ถ้าไม่แน่ใจว่าทวินามมีตัวประกอบร่วมกันไหม ให้หารด้วยตัวเลขที่มีค่าน้อย ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากรู้ว่า 16 เป็นตัวประกอบร่วมของ 32 และ 16 หรือไม่ ให้เริ่มจากหารจำนวนทั้งสองด้วย 2 เมื่อหารแล้ว ก็จะเหลือ 16 และ 8 ทั้งสองจำนวนที่เหลือยังสามารถหารด้วย 8 ได้ทั้งคู่ คราวนี้เมื่อหารแล้ว ก็จะเหลือ 2 และ 1 ซึ่งเป็นตัวประกอบที่มีค่าน้อยที่สุด เราก็ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่ามีจำนวนที่มากกว่าทั้ง 8 และ 2 รวมทั้งเป็นตัวประกอบร่วมของทั้งสองพจน์ในทวินาม นั่นก็คือสิบหก
  • จะสังเกตเห็นว่ากำลังหก (x 6 ) เป็นทั้งกำลังสองสมบูรณ์ ‘’และ’’กำลังสามสมบูรณ์ เราสามารถนำสูตรเฉพาะที่กล่าวไปแล้วข้างต้นทั้งสองสูตรมาใช้กับทวินามที่มีพจน์กำลังหกสมบูรณ์และลบกันอยูู่อย่างเช่น x 6 - 64 จะใช้สูตรไหนก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตามใช้สูตรผลต่างของกำลังสองสมบูรณ์ก่อนจะง่ายกว่า เราจะแยกตัวประกอบทวินามออกมาได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • เราไม่สามารถแยกตัวประกอบทวินามที่เป็นผลบวกของกำลังสองสมบูรณ์ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,908 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา