ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความคิดที่จะฆ่าตัวตายนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อคุณรู้สึกว่าความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่คุณมีเผชิญอยู่นั้นดูเหมือนจะไม่มีทางเอาชนะได้เลย ซึ่งอาจจะรู้สึกเจ็บปวดมากจนคิดว่าการฆ่าตัวตายเป็นทางออกเดียวที่ช่วยปลดปล่อยคุณออกจากความคิดหรือสถานการณ์ที่เป็นปัญหาอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถทำเพื่อแก้ไขปัญหาและยังคงมีชีวิตอยู่เพื่อได้สัมผัสกับความสุข ความรัก และความเบิกบานอีกครั้งได้ หากคุณคิดจะฆ่าตัวตาย ให้รีบนำตัวเองไปสู่ที่ปลอดภัย แล้วสำรวจหาสาเหตุว่าทำไมคุณถึงมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย จากนั้นวางแผนที่จะเอาชนะปัญหานั้นเมื่อมันกลับมาอีกครั้ง การทำตามวิธีดังต่อนี้จะช่วยหยุดความเจ็บปวดได้โดยที่ไม่ต้องฆ่าตัวตาย

“ถ้าคุณคิดถึงการฆ่าตัวตายและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ได้โปรดโทรไปที่สายด่วนให้กำลังใจผู้ซึมเศร้าป้องกันการฆ่าตัวตายก่อน โทร. 02-713-6793”

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มองหาความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต. ผู้ที่คิดจะฆ่าตัวตายนั้นมักจะกำลังทุกข์ทรมานจากปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง เช่น ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น และคนเหล่านี้มักจะต้องได้รับการช่วยเหลือ [1]
    • ถ้าความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายนั้นเกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์เฉพาะ เช่น ความรู้สึกผิดจากการอกหัก สูญเสียงาน หรือกลายเป็นคนพิการ ให้จำไว้ว่าภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้ยังสามารถรักษาได้
  2. ให้ปรึกษากับผู้ชี้นำทางจิตใจถ้าคุณเลื่อมใสในศาสนา. ถ้าคุณเลื่อมใสในศาสนาและเข้าถึงผู้ชี้นำทางจิตใจได้ ให้ลองพูดคุยกับท่านดู [2] บางคนชอบพูดคุยกับบุคคลทางศาสนามากกว่าบุคคลที่ฝึกด้านจิตวิทยามา ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าบุคคลทางศาสนานั้นได้รับการฝึกฝนเพื่อช่วยผู้คนที่ประสบกับวิกฤตในชีวิต รวมไปถึงบุคคลที่อยู่ในความทุกข์ที่อาจจะคิดฆ่าตัวตายด้วย
    • ถ้าคุณเลื่อมใสในสิ่งเหล่านี้ ผู้ชี้นำทางจิตใจอาจจะช่วยคุณบรรเทาความเจ็บปวดโดยการให้คุณมองปัญหาในมุมมองใหม่ๆ และให้ข้อคิดกับคุณ
  3. การรักษาแบบกลุ่ม (Support groups) นั้นสามารถเข้าร่วมได้ทั้งบนอินเทอร์เน็ตและในชุมชนของคุณ ซึ่งเป็นที่ที่คุณสามารถหาความสบายใจได้ด้วยการพูดคุยกับคนที่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายเหมือนกันหรือคนที่เคยคิดฆ่าตัวตายมาก่อน [3]
    • ในการเข้ารับการรักษาแบบกลุ่มนั้น คุณอาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการนัดพบแบบกลุ่ม หรือช่วยคุณมองหาการรักษาแบบกลุ่มใกล้บ้านคุณบนอินเทอร์เน็ต
  4. สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจำคือไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร คุณก็ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกนี้ ให้ออกไปหาคนที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างคุณ คนที่เข้าใจความรู้สึกของคุณ และคนที่ต้องการช่วยคุณ ถ้าคุณไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ให้ลองติดต่อกับบริการดังต่อไปนี้
    • ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต โทร. 1667
    • ถ้าคุณเป็นเพศทางเลือก (ชายรักชาย หญิงรักหญิง หรือสาวประเภทสอง) ให้ติดต่อคลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี (Gender Variation Clinic / Gen V Clinic) โทร. 02-201-2799
    • ถ้าคุณเป็นทหารผ่านศึก ให้ติดต่อองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ โทร. 02-354-8587
    • ถ้าคุณเป็นวัยรุ่น ให้ติดต่อสายด่วนสุขภาพวัยรุ่น โทร. 1323
    • ส่งอีเมล์แบบนิรนามเพื่อปรึกษาเรื่องการฆ่าตัวตายได้ที่ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต อีเมล์ suicidethailand@gmail.com.
    • ติดต่อกับนักจิตบำบัด คุณสามารถศึกษาและติดต่อนักจิตบำบัดได้ที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719
  5. บอกเขาว่าคุณรู้สึกอย่างไรและบอกว่าคุณต้องการให้เขาช่วยเหลือ ขอให้เพื่อนช่วยคอยเตือนสติคุณให้คิดในแง่บวกและเข้มแข็งเข้าไว้ หรือพูดถึงเวลาแห่งความสนุกสนานที่คุณมีร่วมกันก็ได้ [4]
    • ให้เลือกเพื่อนที่คุณคิดว่าไว้ใจได้ การพูดเรื่องนี้กับเพื่อนไม่แท้นั้นมีแต่จะทำให้ทุกอย่างแย่ลง เพราะเพื่อนไม่แท้จะไม่พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคุณ
    • หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว ให้แน่ใจว่าเพื่อนและครอบครัวนั้นไม่ปล่อยให้คุณออกห่างจากสายตาของพวกเขา ถ้าคุณไม่มีใครที่คอยจับตามองคุณ ให้ไปอยู่ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว ถ้าคุณกำลังเข้าร่วมการรักษาแบบกลุ่ม ให้พึ่งพาคนที่เข้าร่วมการรักษากับคุณเพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนจากคนที่เข้าใจถึงสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่และสามารถช่วยคุณได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วางแผนเพื่อรับมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จัดการกับสิ่งที่คาดว่าคุณจะใช้เพื่อฆ่าตัวตาย. ถ้าคุณกำลังคิดถึงการฆ่าตัวตาย ทำให้การฆ่าตัวตายยากขึ้นโดยการนำสิ่งที่คุณอาจจะใช้เพื่อฆ่าตัวตายออกไปจากตัวทั้งหมด [5]
    • ซึ่งอาจจะรวมไปถึงปืนพก มีด เชือก หรือยา
    • ถ้าคุณไม่สามารถทิ้งยาได้เพราะคุณต้องทาน ให้นำไปฝากไว้กับคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่คุณไว้ใจที่สามารถจ่ายยาให้คุณตามที่แพทย์สั่งได้
  2. เขียนสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขให้ครบทุกสิ่งเท่าที่คุณสามารถคิดได้ หรือสิ่งที่คุณมีความทรงจำที่เต็มไปด้วยความรักและความสนุกสนาน ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนชื่อของคนในครอบครัว สัตว์ กีฬาที่ชอบ นักเขียนที่ชอบ ภาพยนตร์ที่ชอบ อาหารที่ทำให้คุณนึกถึงตอนเป็นเด็ก สถานที่ที่อยู่แล้วรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ดวงดาว ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ ถ้ามันเป็นสิ่งที่ดี ก็เขียนลงไปเลย [6]
    • นอกจากนี้ให้เขียนถึงสิ่งที่คุณรักในตัวเองลงไปด้วย เขียนอุปนิสัยที่พิเศษในตัวคุณ ซึ่งอาจจะเป็นนิสัยทางกายภาพ (Physical trait) อุปนิสัยส่วนตัว (Personality traits) และอื่นๆ ให้เขียนสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จ หรือเขียนถึงช่วงเวลาที่คุณภาคภูมิใจในตัวเอง
    • เขียนถึงสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่ ลองเขียนสถานที่ที่คุณอยากไปอยู่สักวันหนึ่ง เขียนสิ่งที่คุณวางแผนที่จะสร้าง เขียนงานที่คุณอยากจะลองทำ เขียนถึงลูกๆ ที่คุณอยากจะมี หรือเขียนถึงคู่รักที่อาจจะได้พบ
  3. เขียนสิ่งที่ช่วยให้คุณเลิกคิดถึงการฆ่าตัวตาย. อะไรที่เคยช่วยโน้มน้าวคุณไม่ให้ฆ่าตัวตายได้บ้าง ลองเขียนลงไป สิ่งรบกวนใดๆ ก็ตามล้วนเป็นสิ่งที่ดีถ้าสิ่งเหล่านั้นช่วยให้คุณเลิกล้มการทำร้ายตัวเองในภายภาคหน้าได้ การมีรายการแบบนี้ไว้หันไปมองเวลาที่มืดแปดด้านนั้นมีไว้เพื่อให้จดจำไว้ว่าอะไรที่คุณทำนั้นจะมีประโยชน์ในอนาคตบ้าง [7] ตัวอย่างความคิดที่คุณควรจะเขียนมีดังนี้
    • โทรไปพูดคุยกับเพื่อน
    • ทานอาหารเพื่อสุขภาพ
    • ออกไปเดินเล่นหรือออกกำลังกาย
    • วาดรูป เขียนหนังสือ หรืออ่านหนังสือ
  4. ให้เขียนชื่อและหมายเลขโทรศัพท์อย่างน้อย 5 คน เผื่อไว้ในกรณีที่มีบางคนไม่ว่างพอที่จะคุยกับคุณ ณ ขณะนั้นได้ ให้เขียนชื่อเพื่อน คนในครอบครัว และคนรู้จักที่จะรับสายโทรศัพท์และช่วยคุณได้
    • นอกจากนี้ ให้เขียนชื่อของที่ปรึกษา นักจิตวิทยา และสมาชิกที่เข้ารับการรักษาแบบกลุ่มที่คุณไว้ใจ
    • เขียนหมายเลขโทรศัพท์สายด่วนที่คุณรู้สึกสบายใจเมื่อโทรหา
  5. แผนเพื่อความปลอดภัยของคุณนั้นคือแผนที่คุณจะอ่านและทำตามเมื่อคุณเริ่มมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย แผนของคุณจะต้องเป็นรายการที่เขียนถึงสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อโน้มน้าวตัวเองไม่ให้ฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นแผนที่ออกแบบมาสำหรับตัวคุณเท่านั้น เมื่อคุณกำลังมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย การดึงตัวเองออกมาและจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นที่ช่วยคุณได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่เมื่อคุณมีแผนรับมือในใจแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำเมื่อความคิดที่จะฆ่าตัวตายกลับมาอีกครั้งคือหยิบแผนที่วางไว้ออกมาแล้วอ่านให้ครบ จากนั้นให้ทำตามวิธีในรายการนั้นจนกว่าคุณถึงจุดที่รู้สึกกลับมาปลอดภัยอีกครั้ง ตัวอย่างของแผนเพื่อความปลอดภัยนั้นมีดังต่อไปนี้ [8]
    • “1. อ่านรายชื่อสิ่งที่ฉันรัก” เตือนตัวฉันให้คิดถึงสิ่งที่ช่วยขัดขวางฉันจากการฆ่าตัวตาย
    • “2. อ่านรายชื่อสิ่งรบกวนที่ดี” ดึงตัวฉันออกจากความคิดด้วยสิ่งที่ฉันทำแล้วได้ผล
    • “3. อ่านรายชื่อคนที่ฉันโทรไปหาได้” โทรหาคนแรกที่อยู่ในรายชื่อเพื่อพูดคุย หากติดต่อไม่ได้ ให้ติดต่อคนอื่นจนกว่าฉันจะโทรหาคนที่พูดคุยกับฉันได้นานเท่าที่ฉันต้องการ
    • “4. เลื่อนการฆ่าตัวตายออกไปและทำให้บ้านเป็นที่ปลอดภัย” สัญญากับตัวเองว่าฉันจะรออย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนจะลงมือฆ่าตัวตาย ในช่วงเวลานี้นั้น ให้นำยา ของมีคม และสิ่งของอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของฉันออกไป
    • “5. โทรหาใครสักคนให้มาอยู่กับฉัน” ถ้าไม่มีใครอยู่ด้วย ให้โทรหานักบำบัดหรือเบอร์โทรฉุกเฉิน
    • “6. ไปสถานที่ที่ฉันรู้สึกปลอดภัย” เช่น บ้านของพ่อแม่ บ้านของเพื่อน และศูนย์ชุมชน
    • “7. ไปที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล”
    • “8. โทรเรียกบริการฉุกเฉิน”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ลองพิจารณาหาวิธีแก้ปัญหาทางอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตือนตัวเองไว้ว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว. เมื่อคุณคิดที่จะฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง การคิดถึงวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นนั้นอาจจะทำได้ยาก แต่วิธีหนึ่งที่คุณควรลองทำดูคือการถอยหลังออกมาและพิจารณาหาวิธีแก้ปัญหาวิธีอื่นมากกว่าที่จะฆ่าตัวตาย วิธีนั้นก็คือการเตือนตัวเองว่าคุณไม่ได้รู้สึกอยากจะฆ่าตัวตายไปตลอดชีวิต และคุณจะไม่รู้สึกแบบนี้ในอนาคต [9]
    • ความรู้สึกทั้งหมดนั้นมีจุดสิ้นสุดและอาจจะกลับมาบ้างเป็นบางครั้ง เหมือนกับที่คุณรู้สึกหิว เศร้า เหนื่อย หรือโกรธ ดังนั้น ความคิดและความรู้สึกที่อยากจะฆ่าตัวตายมันจะจางหายเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าคุณกำลังมีปัญหาในการทำให้ตัวเองคิดถึงทางเลือกในการแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเพราะคุณแค่อยากจะจบชีวิตของตัวเอง ให้จำวิธีนี้เอาไว้ในใจเสมอ
  2. พยายามตั้งใจที่จะถอยหลังออกมาและเลื่อนสิ่งที่คุณวางแผนเอาไว้อย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนที่จะลงมือฆ่าตัวตาย [10] ไม่ว่าคุณวางแผนจะทำอะไรก็ตาม ให้รอเวลาสักพัก บอกกับตัวเองไว้คุณมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว และคุณจะให้เวลาตัวเอง 2 วันในการคิด ซึ่งเวลา 2 วันนั้นไม่ใช่เวลาที่ยาวนานนักเมื่อคุณคิดถึงปัญหาที่เกิดอยู่
    • ในช่วงเวลา 2 วันนั้น คุณจะมีเวลาเพื่อคิด พักผ่อน และค้นหาวิธีที่จะโน้มน้าวตัวเองว่ายังมีวิธีอื่นอีกที่จะช่วยปลดปล่อยตัวคุณออกจากความเจ็บปวดที่คุณเป็นอยู่หรือไม่
  3. คิดถึงแหล่งความช่วยเหลือที่คุณต้องการที่จะแก้ปัญหา คุณต้องการใครสักคนมาช่วยหรือไม่ ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้ปัญหาวิธีอื่น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังคิดจะฆ่าตัวตายเพราะคุณไม่มีเงิน คุณอาจจะลองขอยืมเงินจากเพื่อนหรือครอบครัวแทน ให้ยึดถือวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ให้นานเท่าที่คุณต้องการ ถ้าวิธีแก้ปัญหาวิธีแรกนั้นไม่ได้ผล ก็ให้ลองหาวิธีอื่นดู [11]
    • จำไว้ว่าไม่มีอะไรที่สามารถทำสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน เป้าหมายของคุณอาจจะใช้เวลาสักพักกว่าที่คุณจะนึกออก
    • ถ้าคุณกำลังทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง การตั้งเป้าหมายและไปให้ถึงนั้นอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะจะยิ่งทำให้คนที่ทรมานจากโรคซึมเศร้านั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเก็บกดและสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาไปเลย [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คิดให้ดี การฆ่าตัวตายนั้น ตายแล้วตายเลย ไม่สามารถฟื้นกลับมาได้ แต่คุณยังสามารถเปลี่ยนชีวิตตัวเองและทำทุกสิ่งที่คุณทำได้ให้ดียิ่งขึ้น ได้โปรดอย่าทำร้ายตัวเอง
  • มั่นใจว่าคุณได้ทานยาหรือเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์แนะทำ ห้ามหยุดยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อนเป็นอันขาด
  • มั่นใจว่าคุณได้เข้ารับการปรึกษาตามเวลาที่กำหนดครบทุกครั้ง ถ้าหากจำเป็นต้องมีคนบังคับ ให้หาคนที่น่าเชื่อถือในการพาคุณไปเข้ารับการปรึกษาทุกสัปดาห์ แล้วคุณจะมีความรับผิดชอบในการไปตามเวลานัดมากยิ่งขึ้น
  • ถ้าคุณอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ให้ลองหาข้อมูลในเว็บมูลนิธิอเมริกันป้องกันฆ่าตัวตาย (American Foundation for Suicide Prevention) เพื่อเข้ารับการรักษาแบบกลุ่มบนอินเทอร์เน็ตหรือพบตัวต่อตัว คุณยังสามารถค้นหากลุ่มที่เจาะจงกับลักษณะของคุณ เช่น กลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น
  • ถ้าคุณอยู่ในสหราชอาณาจักร ให้ลองหาข้อมูลที่เว็บไซต์ของระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (National Healthcare Service, NSH) หรือเว็บไซต์ในประเทศของคุณ เพื่อหาทางเลือกให้กับตัวเอง [13]
  • ถ้าไม่สามารถหากลุ่มรักษาในกรณีฆ่าตัวตายหรือซึมเศร้าได้ ให้ปรึกษากับนักบำบัดหรือโรงพยาบาลท้องถิ่นเกี่ยวกับการรักษาแบบกลุ่มที่พวกเขาดำเนินการรักษาอยู่ หรือให้ช่วยหาวิธีเข้าร่วมรักษาแบบกลุ่ม นอกจากนี้ คุณยังสามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ให้คำปรึกษาบนอินเทอร์เน็ตผ่านวีดีโอได้ [14]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,704 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา