ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราทุกคนต่างก็ทำผิดพลาดบ้างเป็นบางครั้งบางคราว เรื่องที่เราอาจทำผิดพลาดได้ในแต่ละวัน เช่น ทำงานที่ต้องใช้มือทำ (เขียน พิมพ์คอมฯ วาดรูป และอื่นๆ ) ผิดพลาด เผลอไปทำให้ใครไม่พอใจ ไปทำบางสิ่งที่ต้องเสียใจภายหลัง และเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง แต่เพราะเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ตลอด การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาและวิธีรับมือเรื่องไม่คาดฝันจึงเป็นสิ่งสำคัญ วิธีแก้ไขความผิดพลาดมีขั้นตอนตั้งแต่ การทำความเข้าใจความผิดพลาดของตนเอง การวางแผนแก้ไขความผิดพลาด การหมั่นดูแลตนเอง และการสื่อสารอย่างเหมาะสม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำความเข้าใจความผิดพลาดของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องเข้าใจก่อนว่าทำผิดพลาดเรื่องอะไร จะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
    • หาความผิดพลาด พูดอะไรผิดไปหรือเปล่า เผลอไปทำอะไรผิดพลาดในแผนงานหรือโครงงานที่ต้องส่งครูหรือเปล่า ลืมทำความสะอาดห้องน้ำทั้งที่สัญญาเอาไว้แล้วหรือเปล่า
    • ทำความเข้าใจว่าเราทำผิดพลาดอย่างไรและทำไมถึงทำผิดพลาด ทำไปโดยเจตนาแล้วมาเสียใจภายหลังหรือเปล่า ไม่ตั้งใจทำมากพอหรือเปล่า ลองคิดแบบว่า “ฉันลืมทำความสะอาดห้องน้ำไปได้อย่างไร ฉันไม่อยากทำเหรอ จึงหลีกเลี่ยงไม่ทำ ฉันยุ่งมากเลยเหรอ”
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าทำผิดพลาดเรื่องอะไรกันแน่ ลองถามคนอื่น (เพื่อน สมาชิกในครอบครัว ครู เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน) ให้ช่วยหาว่าเราทำอะไรผิดพลาดไป ตัวอย่างเช่น ถ้ามีใครสักคนโกรธเราอยู่ ก็ให้ถามไปว่า “ฉันรู้สึกว่าเธอโกรธฉันอยู่ เธอโกรธฉันเรื่องอะไรเหรอ” คนนั้นอาจตอบกลับมาว่า “ฉันโกรธเพราะเธอสัญญาว่าจะทำความสะอาดห้องน้ำให้แต่ก็ไม่ทำ”
  2. [1] ดูรูปแบบพฤติกรรมและดูว่าได้ทำเรื่องผิดพลาดแบบเดียวกันนี้ในอดีตอย่างไร มีครั้งอื่นไหมที่ลืมทำอะไรไปสักอย่าง
    • เขียนลักษณะพฤติกรรมหรือประเด็นใดก็ได้ที่เราสังเกตเห็นและนึกออก วิธีนี้อาจช่วยกำหนดเป้าหมายที่เราต้องทำต่อไป (ขอบเขตความสนใจ ทักษะต่างๆ เป็นต้น ) ตัวอย่างเช่น เราอาจมักจะลืมทำงานที่ไม่อยากทำอย่างการทำความสะอาด เรื่องนี้อาจบอกว่าเรากำลังหลีกเลี่ยงงานนี้ หรือต้องมีระเบียบมากกว่านี้ ถึงจะจำและทำสิ่งที่ต้องรับผิดชอบให้เสร็จโดยสมบูรณ์
  3. จงเข้าใจว่าเราเป็นคนทำผิดพลาดเอง เราจึงต้องแสดงความรับผิดชอบและไม่โยนความผิดให้คนอื่น [2] ถ้าเอาแต่โทษคนอื่น เราก็ไม่สามารถเรื่องรู้จากความผิดพลาดของเรา และอาจทำผิดเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก
    • เขียนสิ่งที่เป็นปัญหาซึ่งเรามีส่วนก่อลงไป หรือความผิดพลาดเฉพาะส่วนที่เราทำ
    • กำหนดสิ่งที่เราจะทำเพื่อลดความผิดพลาดให้เกิดขึ้นน้อยลง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

วางแผนแก้ไข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [3] หนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาหรือแก้ไขความผิดพลาดที่ดีที่สุดคือการหาว่าเราแก้ปัญหาหรือความผิดพลาดเดียวกันนี้ในอดีตอย่างไร ลองคิดแบบอย่างเช่น “ฉันได้นึกถึงความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ฉันแก้ไขมันอย่างไรกันนะ อ๋อใช่แล้ว ฉันเขียนลงในปฏิทินและคอยเช็คหลายครั้งในแต่ละวัน!”
    • ลองเขียนความผิดพลาดเดียวกันที่ได้ทำลงไป หาวิธีการว่าเราจะจัดการความผิดพลาดแต่ละอย่างอย่างไร และวิธีจัดการความผิดพลาดนั้นมีประโยชน์กับเราหรือไม่ ถ้าไม่ วิธีการแก้ปัญหานั้นอาจไม่ได้ผล
  2. [4] คิดหาทางเลือกหลายทางที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเท่าที่จะทำได้ ในตัวอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ทางเลือกมีหลายทางเช่น ทำความสะอาดห้องน้ำให้เรียบร้อย ขอโทษที่เราไม่รักษาสัญญา เสนอตัวขอทำความสะอาดบ้านส่วนอื่น ขอต่อรอง วางแผนทำความสะอาดห้องน้ำในวันถัดไป เป็นต้น
    • ใช้ทักษะการแก้ปัญหาคิดหาทางแก้ไขที่เป็นไปได้ให้กับปัญหาที่เผชิญอยู่
    • เขียนข้อดีข้อเสียของวิธีแก้ปัญหาแต่ละวิธี ตัวอย่างเช่น ถ้าตั้งใจว่าจะใช้วิธีแก้ปัญหาเรื่องการลืมทำความสะอาดห้องน้ำด้วยการทำความสะอาดวันพรุ่งนี้ ข้อดีข้อเสียก็อาจจะเป็นตามนี้ ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่ว่าอย่างไรห้องน้ำก็จะสะอาดอยู่ดี ส่วนข้อเสียคือ ห้องน้ำจะไม่สะอาดวันนี้ แถมพรุ่งนี้เราอาจจะลืมทำความสะอาด (ไม่แน่ใจเลยว่าจะได้ทำหรือเปล่า) วิธีนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการลืมทำความสะอาดห้องน้ำ เมื่อประเมินได้แบบนี้ การทำความสะอาดห้องน้ำในวันนี้เลยถ้าเป็นไปได้อาจเป็นวิธีที่ดีกว่า และอาจวางแผนให้ไม่ลืมทำความสะอาดห้องน้ำครั้งต่อไปด้วย
  3. เราต้องมีแผนในการแก้ปัญหา หาทางแก้ที่เป็นไปได้และดีที่สุดโดยอิงความผิดพลาดเดียวกันที่เกิดขึ้นในอดีตและทางเลือกที่มีอยู่ แล้วทำตามแผนที่วางไว้เสีย [5]
    • ทำให้สำเร็จ ถ้าสัญญาว่าจะแก้ปัญหาแล้ว ก็ทำเสีย การทำตามสัญญานั้นสำคัญ เพราะจะทำให้ผู้อื่นเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ และทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น [6]
  4. ไม่ว่าจะวางแผนที่ดีเลิศแค่ไหน ก็อาจจะใช้แก้ไขปัญหาไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้เราอาจทำความสะอาดห้องน้ำให้แล้ว แต่คนที่ขอให้เราทำก็อาจยังคงโกรธเราอยู่
    • หาทางแก้ไขอื่นๆ ที่เป็นไปได้ และเขียนลงไปตั้งแต่วิธีแก้ที่เป็นประโยชน์มากที่สุดจนถึงวิธีแก้ที่เป็นประโยชน์น้อยที่สุด เขียนลงไปตั้งแต่วิธีแรกจนถึงวิธีสุดท้าย ทางแก้อาจได้แก่ อาสาทำความสะอาดห้องให้อีกห้องหนึ่ง ขอโทษจากใจจริง ถามคนคนนั้นว่าอยากให้เราทำอะไรเพื่อเป็นการไถ่โทษเรื่องนี้ หรือทำอะไรบางอย่างที่ทำให้เขามีความสุข (พาไปเลี้ยงข้าว หรือทำกิจกรรมที่ชอบ เป็นต้น)
  5. ถ้าหาวิธีแก้ไขความผิดพลาดพบแล้ว ก็ให้ใช่วิธีนั้นแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอนาคต และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก [7]
    • เขียนสิ่งที่คิดว่าทำผิดลงไป จากนั้นเขียนเป้าหมายว่าจะทำอะไรในอนาคต ตัวอย่างเช่น ถ้าลืมทำความสะอาดห้องน้ำ อาจเขียนเป้าหมายอย่างเช่น เขียนงานที่ต้องทำในแต่ละวัน เช็คสิ่งที่เขียนไว้สองครั้งต่อวัน ขีดฆ่างานที่ทำเสร็จไปแล้ว และติดโพสต์-อิทเตือนความจำไว้ที่ตู้เย็นสำหรับพวกงานที่ต้องทำเป็นอันดับแรกสุด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

หมั่นดูแลตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงเข้าใจว่าคนเราทำผิดพลาดกันได้ อาจรู้สึกผิด แต่การยอมรับตนเอง ถึงแม้ว่ามันจะเป็นจุดอ่อนของเราก็ตามเป็นเรื่องสำคัญ [8]
    • ให้อภัยตนเองและเดินหน้าต่อไปแทนที่จะจมปลักอยู่กับความผิดพลาด
    • ตั้งใจทำให้ดีขึ้นในตอนนี้และในอนาคต
  2. เมื่อทำสิ่งที่ผิดพลาดลงไป ย่อมหงุดหงิด คิดอะไรไม่ออก หรือไม่ก็ยอมแพ้ไปเสียดื้อๆ ได้ง่าย ถ้าหากรู้สึกว่ายังมีอารมณ์รุนแรงหรือเครียดมากเกินไป ให้หยุดพัก ไม่มีประโยชน์ที่จะแก้ปัญหาตอนที่อารมณ์ขุ่นมัวอยู่
  3. การหาหนทางจัดการความรู้สึกด้านลบจะทำให้รู้สึกดีขึ้น ลองคิดวิธีการที่ใช้จัดการกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต ดูว่าวิธีการไหนใช้ได้ผลดีและวิธีการไหนที่ทำให้เรารู้สึกแย่ลง
    • เทคนิคซึ่งนิยมใช้รับมือกับความผิดพลาดคือ การพูดสิ่งที่ดีกับตนเอง (พูดถึงสิ่งดีๆ เกี่ยวกับตนเอง) ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอย่างอ่านหนังสือ เล่นเกม
    • วิธีการรับมือกับความผิดพลาดที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ การทำพฤติกรรมทำลายตนเองอย่างเช่น การใช้แอลกอฮอล์และสารอื่นๆ ทำร้ายร่างกายตนเอง ครุ่นคิดแต่เรื่องแย่ๆ ของตนเอง
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้ทักษะการสื่อสารแบบกล้าแสดงออกหมายถึงการพูดว่าตนเองคิดและรู้สึกอย่างไรโดยใช้วิธีการที่เหมาะและแสดงถึงความเคารพผู้อื่น [9] เมื่อกล้าแสดงออก เราจะยอมรับเมื่อทำความผิดและรับความผิดของตนเอง เราจะไม่โทษคนอื่น เมื่อเราทำผิดพลาด
    • หลีกเลี่ยงการนิ่งเฉย การนิ่งเฉยหมายถึง การไม่ยอมพูดคุยเรื่องความผิดพลาดของตน ปิดบังความผิดพลาดนั้นไว้ ทำตามที่คนอื่นต้องการให้ทำ และไม่ยืนหยัดเพื่อตนเอง
    • อย่าก้าวร้าว ขึ้นเสียง ตะโกน สบประมาท ด่าทอ และใช้ความรุนแรง (ขว้างปาสิ่งของ ทุบตี)
    • อย่าดื้อเงียบ การดื้อเงียบเป็นการสื่อสารที่ผสมผสานกันระหว่างการสื่อสารแบบนิ่งเฉยและการสื่อสารแบบก้าวร้าว นั้นคือเราอาจโกรธใครสักคนอยู่ แต่ไม่แสดงความรู้สึกออกมา ฉะนั้นเราจึงอาจไปทำอะไรลับหลังเขาเพื่อแก้แค้น หรือเอาแต่เงียบไม่พูดด้วย นี้ไม่ใช่การสื่อสารที่ดีเลย และคนที่เราขุ่นเคืองก็อาจไม่เข้าใจว่าเราพยายามจะสื่ออะไร หรือทำไมถึงทำแบบนี้
    • ส่งสารเชิงบวกแบบไม่ใช้ถ้อยคำ การสื่อสารแบบไม่ใช่ถ้อยคำจะส่งสารถึงคนรอบตัวเรา รอยยิ้มจะบอกว่า “นี่ ฉันควรจะหน้าบึ้ง แต่ฉันก็สามารถทำตัวให้กล้าหาญ และผ่านความผิดพลาดนี้ไปได้”
  2. ปล่อยให้คนที่เขาโกรธระบายความขัดข้องใจ และรอที่จะตอบรับ [10]
    • พยายามฟังอย่างเดียว ไม่ต้องพะวงว่าควรตอบกลับอย่างไร จดจ่อกับความคิดและความรู้สึกของคนคนนั้นแทนที่จะจดจ่อกับความคิดและความรู้สึกของเราเอง
    • กล่าวสรุปและถามให้กระจ่าง อย่างเช่น “ได้ยินว่าเธอโกรธเพราะฉันลืมทำความสะอาดห้องน้ำให้ ใช่ไหม”
    • เห็นอกเห็นใจ พยายามเข้าใจและเอาใจเขามาใส่ใจเรา
  3. เมื่อเราทำพลาดไป และบางครั้งสิ่งที่ทำพลาดไปนั้นทำรายจิตใจคนอื่น ให้ขอโทษเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเสียใจกับสิ่งที่ทำผิดพลาดไป รู้สึกแย่ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน และอยากปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในคราวหน้า [11]
    • อย่าแก้ตัวหรือบ่ายเบี่ยง ยอมรับไปเลยตรงๆ ว่า“ขอยอมรับว่าฉันลืมทำความสะอาดห้องน้ำ ขอโทษด้วยนะ”
    • ระวังอย่าโทษคนอื่น อย่าพูดแบบว่า “ถ้าเธอเตือนฉันให้ทำความสะอาดห้องน้ำ ฉันก็คงจะนึกขึ้นได้และทำไปแล้ว”
  4. การขอไถ่โทษที่สร้างปัญหาและพยายามทำทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาเป็นวิธีแก้ไขความผิดพลาดที่ใช้ในกรณีที่มีคนอื่นได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดของเรา
    • พยายามคิดหาทางแก้ปัญหา ถามคนที่เขาขุ่นเคืองเราว่ามีอะไรที่เขาอยากจะให้เราทำเพื่อเป็นการไถ่โทษไหม อาจพูดว่า “มีอะไรที่ฉันทำได้ตอนนี้ไหม”
    • รู้ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดเหมือนเดิมอีกในอนาคต อาจถามเขาว่า “เธอคิดว่ามีอะไรไหมที่พอจะช่วยฉันไม่ให้ทำผิดพลาดอีก”
    • บอกคนคนนั้นว่าเราอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดการทำผิดพลาดซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต อาจจะบอกว่า “ฉันไม่อยากให้ความผิดพลาดแบบนี้เกิดขึ้นอีกแล้ว ฉะนั้นฉันจะพยายาม____” บอกไปเลยว่าจะทำอะไรอย่างเช่น “ฉันจะเขียนงานบ้านที่ต้องทำลงไป จะได้ไม่ลืมอีก”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเห็นว่าการแก้ไขความผิดพลาดนั้นหนักหนาสาหัสเกินไป ให้หยุดพักก่อนหรือขอความช่วยเหลือ
  • ถ้าไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดได้เลยทันที ให้ลองดูว่าจะแก้ไขอย่างไรเมื่อเกิดขึ้นอีก
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามแก้ไขความผิดพลาด ถ้ามันอาจเป็นอันตรายกับเราหรือคนอื่น คำนึงถึงความปลอดภัย สุขภาพ และสวัสดิภาพของตนเองและผู้อื่น เมื่อจะแก้ไขความผิดพลาด


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 39,348 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา