ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนล้วนมีขี้หู ซึ่งที่เรียกว่า เซรูเมน (cerumen) อย่างไรก็ตาม คุณอาจเคยเจอความรู้สึกว่าขี้หูเต็มรูหู มีของเสียไหลออกมาจากหู หรือฟังอะไรไม่ค่อยได้ยินในบางครั้ง [1] ทั้งหมดนี้อาจเป็นอาการของภาวะขี้หูอุดตัน (cerumen impaction) [2] โดยการตรวจดูว่าคุณมีขี้หูอุดตันหรือไม่และทำการรักษาเองที่บ้านหรือจะไปหาหมอก็แล้วแต่ คุณจะกำจัดภาวะขี้หูอุดตันได้สำเร็จในที่สุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาอาการขี้หูอุดตันที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนอาจไม่เคยประสบปัญหากับเรื่องขี้หูเลย ในขณะที่บางคนจะมีการก่อตัวของขี้หูได้ง่าย การรู้ว่าคุณมีแนวโน้มแบบไหนจะช่วยชี้ได้ว่าคุณจะเกิดมีขี้หูอุดตันหรือเปล่า
  2. วิธีดีที่สุดในการตรวจก็คือไปพบแพทย์ แต่คุณอาจลองทำการรักษาเองที่บ้านก่อนก็ได้ ก่อนจะเริ่มทำการรักษาแบบใดๆ ก็จำต้องทราบก่อนว่าคุณเป็นจริงหรือไม่ นี่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าคุณไม่ได้ใช้วิธีการที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือคุณไม่ได้มีภาวะอื่นแทรกซ้อนอย่างหูติดเชื้อ
    • คุณสามารถหาซื้อไฟส่องพิเศษ (กล้องส่องตรวจหู) เพื่อส่องรูหู อุปกรณ์นี้ถูกทำเพื่อคนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์และมีราคาราว 350-1,000 บาท หาซื้อได้ทางอินเทอร์เน็ตหรือตามร้านขายยา เพื่อนหรือใครในครอบครัวสามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ช่วยดูว่าคุณมีขี้หูอุดตันหรือไม่
  3. บางทีการพิจารณาดูว่าคุณมีขี้หูอุดตันหรือไม่นั้นอาจง่ายมากๆ แค่คุณรู้จักอาการของมัน ตั้งแต่การรู้สึกแน่นรูหูไปจนถึงมีของเสียไหลออกมาจากหู มีสัญญาณมากมายที่อาจชี้ได้ว่าคุณมีขี้หูอุดตันที่ต้องเอาออก [7]
    • ความรู้สึกแน่นรูหูหรือความรู้สึกเสมือนว่ารูหูมันถูกอุดไว้อาจเป็นภาวะขี้หูอุดตัน [8] คุณยังอาจรู้สึกเหมือนคันในรูหู [9]
    • อาจมีเสียงดังในหู หรือที่เรียกว่า หูอื้อ (tinnitus) [10]
    • คุณอาจเจออาการหูบอดบางส่วนที่จะแย่ลงเมื่อขี้หูอุดตัน [11]
    • คุณอาจมีอาการปวดหูหรือปวดเบาๆ จากขี้หูอุดตัน [12]
    • คุณอาจสังเกตเห็นของเหลวที่ดูเหมือนขี้ผึ้งไหลออกมาจากหูที่มีขี้หูอุดตัน [13]
    • คุณอาจสังเกตได้ว่ามีกลิ่นเหม็นจางๆ เล็ดลอดออกมาจากรูหู [14]
    • ถ้าคุณปวดรูหูอย่างมาก มีไข้ หรือของเสียที่ไหลออกมามีหน้าตาหรือกลิ่นเหมือนน้ำหนอง คุณควรไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าหูไม่ได้ติดเชื้อ
  4. คุณสามารถทำความสะอาดข้างนอกของรูหูด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชู่ นี่อาจช่วยเช็ดของเสียหรือขี้หูที่เกิดสะสมตรงบริเวณด้านนอกของหูชั้นใน [15]
    • ใช้ผ้านุ่มเช็ดรอบๆ ด้านนอกของใบหูและรูหูด้านนอก [16] ถ้าคุณต้องการก็สามารถจุ่มผ้าในน้ำอุ่นให้พอหมาดก็ได้ [17]
    • พันกระดาษทิชชู่รอบๆ นิ้วมือและเช็ดใบหูด้านนอกกับรูหูด้านนอกเบาๆ ด้วยทิชชู่นั้น [18]
  5. หยอดยาหยอดละลายขี้หูที่มีขายทั่วไปเพื่อกำจัดขี้หู. สำหรับผู้ที่มีขี้หูสะสมในปริมาณน้อยถึงปานกลางนั้น ใช้ยาหยอดหูทั่วไปก็ช่วยขจัดการอุดตันของขี้หูได้แล้ว [19]
    • ยาหยอดหูที่มีขายส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมของน้ำมันกับสารละลายเปอร์ออกไซด์ [20]
    • ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ไม่ได้ละลายขี้หู แต่ช่วยให้มันไหลออกมาตามรูหู [21]
    • ให้แน่ใจว่าได้ทำตามคำแนะนำข้างกล่องเพื่อความมั่นใจว่าไม่ได้ก่อปัญหาอื่นเพิ่มเติม
    • ถ้าคุณมีอาการเยื่อแก้วหูทะลุหรือสันนิษฐานว่ามี อย่าใช้ยาหยอดหูเหล่านี้ [22]
    • คุณสามารถหาซื้อยาหยอดละลายขี้หูได้ตามร้านขายยาทั่วไป
  6. ลองหยอดน้ำมันหรือไกลเซอรินเพื่อทำให้ขี้หูนิ่ม. นอกเหนือจากการใช้ยาหยอดหูแล้ว คุณยังอาจใช้น้ำมันทั่วไปที่ใช้ในบ้านหรือยาหยอดไกลเซอรินเพื่อบรรเทาอาการขี้หูอุดตันได้ วิธีเหล่านี้จะช่วยทำให้ขี้หูนิ่มลง ทำให้นำออกมาจากรูหูได้ง่ายขึ้น [23]
    • คุณสามารถใช้เบบี้ออยล์หรือมิเนอรัลออยล์เป็นตัวรักษาได้ [24] หยอดเบบี้ออยล์หรือมิเนอรัลออยล์สักสองสามหยดในหูแต่ละข้างแล้วทิ้งไว้สักระยะก่อนเอียงให้มันไหลออกมา [25]
    • คุณอาจลองน้ำมันมะกอกก็ได้ [26] อย่างไรก็ดี การศึกษาครั้งหนึ่งพบว่าน้ำมีประสิทธิภาพในการกำจัดขี้หูได้ดีกว่าน้ำมันมะกอก [27]
    • ยังไม่มีการศึกษาว่าควรจะใช้น้ำมันหรือไกลเซอรินได้บ่อยขนาดไหน แต่ถ้าไม่ใช้เกินสองสามครั้งต่อสัปดาห์ก็น่าจะไม่เป็นอะไร [28]
  7. การสวนล้าง หรือบางครั้งเรียกว่า “การใช้กระบอกฉีดสวน” เป็นหนึ่งในวิธีการทั่วไปที่ใช้กำจัดขี้หูออกจากรูหู [29] ลองล้างรูหูด้วยวิธีการสวนล้างถ้าคุณมีขี้หูแข็งหรือมีปริมาณมาก [30] คุณอาจต้องให้เพื่อนหรือครอบครัวมาช่วยสวนล้างรูหูให้
    • คุณจำเป็นต้องมีกระบอกฉีดยาสำหรับใช้วิธีนี้ ซึ่งจะหาซื้อได้ตามร้านขายยา [31]
    • เติมน้ำเท่าอุณหภูมิร่างกายให้เต็มกระบอกฉีด การใช้น้ำที่เย็นหรืออุ่นกว่าอาจทำให้รู้สึกเวียนศีรษะหรือบ้านหมุนได้ [32]
    • ค่อยๆ เอียงศีรษะให้ส่วนใบหูอยู่ด้านบนเพื่อที่จะให้รูหูเป็นแนวตรง [33]
    • ฉีดน้ำเข้าไปในรูหูตรงจุดที่มีขี้หูอุดตันอยู่ [34]
    • เอียงศีรษะให้น้ำไหลออก [35]
    • คุณอาจต้องทำการสวนล้างหลายหนเพื่อล้างสิ่งที่อุดตันให้หมด [36]
    • จากการศึกษาพบว่าการฉีดน้ำหรือน้ำมันเล็กน้อยเข้าไปในหูก่อนการสวนล้างอาจช่วยทำให้กำจัดขี้หูได้ไวขึ้น [37]
    • อย่าใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำพุ่งเป็นลำที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับฟันมาใช้สวนล้างรูหู [38]
  8. คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ดูดหรือที่ดูดมากำจัดขี้หู ถึงแม้ในการศึกษาจะพบว่าวิธีนี้ไม่ค่อยได้ผล คุณอาจพบว่ามันได้ผลสำหรับตัวเองก็เป็นได้ [39]
    • คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ดูดขี้หูได้ตามร้านขายยา
  9. หลังจากเอาขี้หูที่อุดตันออกหมดแล้ว เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเช็ดหูให้แห้งหมดจด นี่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าคุณจะไม่ติดเชื้อหรือเกิดปัญหาอื่นๆ อีก [40]
    • คุณสามารถใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผลสักสองสามหยดเช็ดหูให้แห้ง [41]
    • เครื่องเป่าผมที่ตั้งค่าไว้ในระดับต่ำสุดก็สามารถเป่าให้หูแห้งได้ [42]
  10. หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดบ่อยจนเกินไปหรือใช้อุปกรณ์ช่วย. ต้องเข้าใจว่าทุกคนล้วนจำเป็นต้องมีขี้หูในปริมาณระดับหนึ่งเพื่อช่วยป้องกันหูติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดหูบ่อยจนเกินไปหรือใช้อุปกรณ์อย่างเช่นไม้ปั่นหูเพื่อช่วยให้มีปริมาณขี้หูในระดับที่ดีต่อสุขภาพในรูหู [43]
    • ให้ทำความสะอาดรูหูบ่อยแค่เฉพาะเมื่อคุณรู้สึกว่าต้องทำมันแล้ว ถ้าคุณสังเกตว่าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดรูหูทุกวันไม่งั้นมีของเสียมาก ให้ไปพบแพทย์ [44]
    • การใช้อุปกรณ์อย่างสำลีปั่นหูหรือกิ๊บติดผมจะเป็นการดันขี้หูเข้าไปแทนที่จะเอามันออกมา และอาจทำให้เกิดติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ ด้วย [45]
    • การใช้อุปกรณ์ยังอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุและนำไปสู่การติดเชื้อหรือสูญเสียการได้ยิน [46]
  11. มีตำรับแพทย์สูตรตะวันออกหรือแนวพหุลักษณ์บางที่อาจแนะนำให้ใช้วิธี “หยดเทียน” เพื่อกำจัดขี้หู วิธีการนี้จะใช้เทียนหยดน้ำตาเทียนลงไปในรูหู ซึ่งโดยทั่วไปไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพและยังอาจเป็นอันตรายได้ [47]
    • ถ้าการหยดเทียนทำไปโดยปราศจากการดูแลของมืออาชีพ มันสามารถทำให้รูหูเกิดไหม้ ทำให้สูญเสียการได้ยินหรือติดเชื้อได้ [48]
  12. ในกรณีที่คุณไม่สามารถกำจัดขี้หูเองหรือหลังทำการรักษาเองแล้วกลับมีอาการแย่ลง ให้ปรึกษาแพทย์
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

มองหาวิธีการรักษาแบบมืออาชีพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณไม่สามารถเอาขี้หูออกเองได้หรือประสบปัญหาอื่นเช่นสูญเสียการได้ยิน มีอาการปวดหรือมีของเสียไหลออกมา ให้ปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกการรักษาวิธีต่างๆ นี่จะช่วยเสริมความมั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่ไม่มีอันตรายและปวดน้อยที่สุดสำหรับภาวะขี้หูอุดตัน
    • แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาหรือทางเลือกที่คุณอาจใช้เองที่บ้าน เช่น ยาหยอดละลายขี้หูหรือการสวนล้าง [49]
  2. แพทย์อาจตัดสินใจรักษาโดยการสวนล้างรูหู นี่จะช่วยทำให้ขี้หูนิ่มลงและขจัดการอุดตันซึ่งทำให้เป็นปัญหาออกไป
    • แพทย์จะฉีดน้ำหรือสารละลายอย่างน้ำเกลือเข้าไปในรูหูและปล่อยให้มันทำให้ขี้หูนิ่มลง [50]
    • เมื่อเอียงคอให้น้ำไหลออกมาแล้ว แพทย์จะตรวจดูว่าอาการอุดตันหายไปแล้วหรือไม่ หรือมันจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อย่างเครื่องขูดขี้หูมาเอาออก [51]
    • คุณอาจรู้สึกอึดอัดกับการสวนล้างเล็กน้อย [52]
  3. ต่างจากวิธีการดูดที่ทำกันเอง แพทย์อาจใช้เครื่องมือสำหรับดูดขี้หูที่มีกำลังมากกว่า ซึ่งจะช่วยกำจัดขี้หูได้อย่างมีประสิทธิภาพและหมดจดยิ่งกว่า [53]
    • แพทย์จะสอดอุปกรณ์ดูเข้าไปในรูหูเพื่อกำจัดขี้หู [54]
    • เขาอาจตรวจดูว่าขี้หูหายไปหรือยังหลังดูดเสร็จแล้วประเมินว่าคุณต้องการวิธีอื่นหรือวิธีที่แรงขึ้นในการเอาขี้หูออกหรือไม่ [55]
    • การดูดขี้หูอาจทำให้รู้สึกอึดอัดหรือมีเลือดออกเล็กน้อยได้ [56]
  4. ถ้าขี้หูนั้นมันจับตัวแน่นมาก แพทย์อาจเลือกใช้เครื่องมือชนิดอื่นมาใช้อันได้แก่ช้อนแคะหูหรือเครื่องขูดขี้หู [57] การรักษานี้จะเอาขี้หูออกโดยตรงและอาจลดภาวะขี้หูอุดตันได้อย่างรวดเร็วและได้ผล
    • เครื่องขูดขี้หูเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กชิ้นบางๆ ที่แพทย์จะสอดเข้าไปในรูหูเพื่อกำจัดการอุดตัน [58]
    • ช้อนแคะหูเป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่จะสอดเข้าไปในรูหูแล้วแคะขี้หูที่อุดตันออกมา [59]
    • การใช้อุปกรณ์ช่วยในการกำจัดขี้หูนั้นอาจทำให้รู้สึกอึดอัดและมีเลือดไหลได้ [60]
  5. แพทย์อาจส่งคุณต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญด้าน ENT (หู คอ จมูก) เมื่อไม่อาจเอาขี้หูออกได้. ผู้เชี่ยวชาญด้าน ENT จะใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูขี้หู นี่จะช่วยให้เขาประเมินระดับการอุดตันได้ดีขึ้นและดูว่าจะต้องกำจัดการอุดตันทั้งหมดเลยหรือไม่
    • การจะส่องรูหูด้วยกล้องจุลทรรศน์นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้าน ENT จะวางเครื่องถ่างไว้ข้างในรูหูแล้วฉายไฟกล้องจุลทรรศน์ดูข้างใน [61]
    • ผู้เชี่ยวชาญด้าน ENT อาจยังคงใช้กล่องจุลทรรศน์ส่องต่อเพื่อช่วยในการเอาขี้หูออก
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดนั้นมีสาเหตุจากขี้หูหรือไม่ ให้ไปพบแพทย์ก่อนทำการรักษาเอง
  • อย่าพยายามแคะขี้หูแข็งออกมา เพราะมีแต่จะดันมันลึกเข้าไปในรูหูยิ่งขึ้น
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนจะลองกำจัดขี้หูอุดตันเองถ้าคุณเคยมีปัญหาทางหูมาก่อน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ผ้าเช็ด
  • ที่หยอด
  • เบบี้ออยล์ ยาหยอดหูที่วางขายทั่วไป ไกลเซอริน มิเนอรัลออยล์ หรือไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์
  • ผ้าขนหนูหรือที่เป่าผม
  1. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  4. http://my.clevelandclinic.org/services/head-neck/diseases-conditions/hic-cerumen-impaction-earwax-buildup-and-blockage
  5. http://my.clevelandclinic.org/services/head-neck/diseases-conditions/hic-cerumen-impaction-earwax-buildup-and-blockage
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  7. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  8. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  10. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  11. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  12. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  13. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  14. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  15. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  16. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  18. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  20. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  21. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  22. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  24. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  26. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  27. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  28. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  29. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  30. http://my.clevelandclinic.org/services/head-neck/diseases-conditions/hic-cerumen-impaction-earwax-buildup-and-blockage
  31. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  32. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  33. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  34. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  35. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  36. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  37. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  38. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  39. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  40. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  41. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/
  42. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  43. http://www.ncemi.org/cse/cse0301.htm
  44. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  45. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  46. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  47. http://www.ncemi.org/cse/cse0301.htm
  48. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  49. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000979.htm
  50. http://www.ncemi.org/cse/cse0301.htm
  51. http://www.ncemi.org/cse/cse0301.htm
  52. http://american-hearing.org/disorders/ear-wax/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 230,139 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา